นโยบาย “ยึดตีเมืองเป็นรอง ครองใจคนเป็นเอก” ของขงเบ้ง จึงเป็นเรื่องของการวัดใจกันระหว่างคน 2 ฝ่าย
ขงเบ้ง ใช้เวลา ความมานะอดทน ให้โอกาสคน ครั้งแล้วครั
“ยึดตีเมืองเป็นรอง ครองใจคนเป็นเอก”อาณาจักรจ๊กก๊ก ปกครองโดยพระเจ้าเล่าเสี้ยน มี ‘ขงเบ้ง’ เป็นสมุหนายก บ้านเมืองสงบสุข แต่พอนานวันเข้าก็เริ่มระหองระแหง เพราะ ‘เบ้งเฮ็ก’ เจ้าเมืองมันอ๋องหัวก่อการขบถ บุกตีเมืองเองเฉียงและรวบรวมหัวเมืองทางตอนใต้ หมายตั้งตนเป็นใหญ่
ขงเบ้งเห็นว่าหากอาณาบริเวณในการปกครองยังมิอาจปราบปรามให้สงบ ความหวังที่จะสานต่อปณิธานของพระเจ้าเล่าปี่ ในการรวบรวมแผ่นดินจีน ฟื้นฟูราชวงค์ฮั่น มิอาจเป็นไปได้เลย ขงเบ้งจึงอาสายกทัพไปปราบเบ้งเฮ็กด้วยตนเอง
ม้าเจ๊กที่ปรึกษาของขงเบ้งได้เสนอนโยบายว่าควร “ยึดตีเมืองเป็นรอง ครองใจคนเป็นเอก” คนอย่างเบ้งเฮ็ก หากคิดเอาชนะด้วยกำลัง จะทำอย่างไรก็ชนะได้ แต่ไม่ช้าไม่นานก็อาจจะมีคนอื่น ๆ คิดตั้งตัวเป็นใหญ่มาทำการแข็งเมืองอีก
การศึกครั้งนี้ จึงมุ่งไปที่การเอาชนะทางความคิด พิชิตหัวใจคน
ขงเบ้งทำศึกกับเบ้งเฮ็ก สามารถเอาชนะ จับตัวได้ถึง 7 ครั้ง และให้โอกาสเบ้งเฮ็กกลับตัวกลับใจ ปล่อยตัวไปอีก 7 หน ดังนี้
ครั้งที่ 1
ขงเบ้งแกล้งจัดกระบวนทัพไม่เป็นท่า ลวงให้เบ้งเฮ็กประมาท พอรบกันเบ้งเฮ็กสู้ไม่ได้ แต่ก็ถูกล้อมจับโดยจูล่งและอุยเอี๋ยนก่อนที่ขงเบ้งจะปล่อยตัวเบ้งเฮ็ก เบ้งเฮ็กให้เหตุผลว่า แผ่นดินแดนใต้มิได้เป็นของกษัตริย์ พวกข้าพเจ้าอยู่กันมาแต่ดั้งเดิม ท่านต่างหากที่รุกรานเรา
ครั้งที่ 2
เบ้งเฮ็กตั้งค่ายโดยใช้แม่น้ำลกซุยอันมีพิษเป็นปราการป้องกัน ทหารขงเบ้งถูกพิษไปหลายรายแต่ก็ยังข้ามน้ำมาได้สุนาทหารของเบ้งเฮ็กอาสาออกรบ แต่เมื่อพ่ายแพ้ ขงเบ้งใช้ความเมตตาปล่อยตัวไป เมื่อสุนากลับถึงค่าย กลับถูกเบ้งเฮ็กลงโทษโบยตีให้เจ็บช้ำน้ำใจ
พอตกกลางดึก เบ้งเฮ็กเมาสุรา สุนาจึงจับมัดแล้วส่งตัวให้ขงเบ้ง
ก่อนถูกปล่อยตัว เหตุผลที่เบ้งเฮ็กใช้สู้คือ ถูกสุนาทรยศหักหลัง ทำร้ายฝ่ายเดียวกันเอง หาได้แพ้ปัญญาขงเบ้งไม่ ข้าพเจ้าไม่อาจยอมแพ้ ครั้งนี้จะขอกลับไปทำประชาพิจารณ์ก่อน หากประชาชนชาวม่านเห็นชอบ เราจึงจะยอมแพ้
ครั้งที่ 3
เบ็กเฮ็กได้รับการปล่อยตัว แต่สิ่งแรกที่ทำหาใช่การทำประชาพิจารณ์ เบ็กเฮ็กสะสางบัญชีกับสุนา ลวงไปฆ่าแล้วทิ้งลงคลองเบ้งเฮ็กวางแผนให้น้องชายชื่อเบ้งฮิว พาทหารเข้าไปขอนบนอบ ส่งบรรณาการ ลวงให้ขงเบ้งไว้ใจ เมื่อสบโอกาสจึงจะก่อการให้เบ้งฮิวตีจากภายใน เบ้งเฮ็กจะตีจากภายนอก
ผลไม่เป็นตามคาด เพราะขงเบ้งรู้ทัน วางยาสลบเบ้งฮิวและทหาร กองทัพเบ้งเฮ็กที่ยกมาจึงพลาดท่าและถูกจับอีกครั้ง
เบ้งเฮ็กยังไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ กล่าวโทษว่าแพ้เพราะน้องชายเห็นแก่กินจึงถูกวางยา แพ้เพราะไร้โชคชะตา หาใช่ไร้ฝีมือ
ขงเบ้งปล่อยตัวเบ้งเฮ็ก |
ครั้งที่ 4
เบ้งเฮ็กคิดก่อการครั้งใหญ่ รวบรวมเมืองขึ้น 93 หัวเมือง รวมกำลังพลกว่า 500,000 คน ตั้งค่ายพร้อมรบ ท้าทายขงเบ้งที่แม่น้ำเซียงหยีขงเบ้งแกล้งไม่ยอมออกรบ ชวนให้เบ้งเฮ็กสงสัย จากนั้นขงเบ้งก็ใช้อุบายแสร้งถอยทัพ ทิ้งเมืองเปล่า หลอกให้เบ้งเฮ็กตามตี จนตกหลุมพราง ถูกขงเบ้งจับตัวได้อีกครั้ง
เบ้งเฮ็กยังคงดื้อรั้นแล้วว่า เรากับท่านเป็นคนต่างแดนต่างภาษากัน ไม่อาจยอมให้กันกันได้ ท่านชนะเพราะกลอุบาย มิได้ชนะด้วยฝีมือ
ครั้งที่ 5
เบ้งเฮ็กหนีไปขอความร่วมมือกับโต้สูไต้อ๋องบนเขาอิมตองสัน อันเป็นพื้นที่อันตราย เต็มไปด้วยสัตว์ป่าและแม่น้ำที่มีพิษ 4 สาย กินแล้วเป็นใบ้ กินแล้วขาดใจ กินแล้วเจ็บปวด กินแล้วเนื้อเปื่อยพองขงเบ้งยกทัพมาเจอปัญหาไม่อาจข้ามผ่านดินแดนแห่งนี้ไปได้ แต่ก็มีเทพารักษ์รวมทั้งเบ้งเจียด พี่ชายของเบ้งเฮ็กช่วยหาทางแก้ไขให้ จึงยกทัพเข้ามาประชิด
ขณะที่เบ้งเฮ็กกับโต้สูไต้อ๋องเตรียมยกทัพออกรบ เอียวหอง ผู้ใหญ่บ้านเขางินติสัน ก็ยกทหารสามหมื่นมาขอเข้าร่วมด้วย เบ้งเฮ็กดีใจจัดงานเลี้ยงต้อนรับ
ระหว่างการเสพสุรารื่นเริง เอียวหองก็จัดสาวงาม 10 คนมาแสดงฟ้อนรำ เมื่อได้โอกาส เอียวหองก็ให้ทหารรุมจับตัวเบ้งเฮ็กกับพรรคพวกไปส่งให้ขงเบ้ง
เบ้งเฮ็กยังคงดื้อรั้น ให้เหตุผลว่าพ่ายแพ้เพราะถูกคนชาติเดียวกันทรยศหักหลัง ไม่ได้แพ้เพราะฝีมือ
ขงเบ้งจับเบ้งเฮ็กและภรรยา |
ครั้งที่ 6
เบ้งเฮ็กรวมพลอีกครั้งที่เมืองงินแข ให้นางจกหยง ผู้เป็นภรรยาออกรบ นางจกหยงมีฝีมือการรบมาก สามารถจับตัวเตียวหงีกับม้าตง นายทหารของขงเบ้งไปเป็นเชลยได้ แต่สุดท้ายนางถูกอุบายล้อมจับ จึงนำตัวไปแลกเชลยกลับคืนตั้วไหลน้องชายของจกหยง ไปขอกำลังจาก บกลกไต้อ๋อง เจ้าเมืองปัดหลับต๋องผู้มีมนต์คาถาเรียกผีมาช่วยรบ แต่ก็สู้ขงเบ้งปัญญาของไม่ได้
เมื่อสิ้นหนทาง เบ้งเฮ็กจึงออกอุบาย ให้ตั้วไหลแกล้งจะจับเบ้งเฮ็กและพรรคพวกส่งให้ขงเบ้ง หวังซ่อนอาวุธเข้าประชิดตัว แต่ขงเบ้งรู้ทัน ซ้อนกลจับได้เสียก่อน เบ้งเฮ็กจึงถูกจับอย่างง่ายดายอีกครั้ง
เบ้งเฮ็กให้เหตุผลว่า ครั้งนี้ไม่ได้แพ้เพราะฝีมือ แต่แพ้เพราะเราคิดผิด เข้ามาหาที่ตายเอง
ครั้งที่ 7
เบ้งเฮ็กไปขอกำลังจากลุดตัดกุด เจ้าเมืองออโกก๊ก ทหารของลุดตัดกุดสวมเสื้อเกราะหวายชุบน้ำมัน ฟันแทงไม่เข้า อาวุธใด ๆ มิอาจระคายทหารของลุดตัดกุดสร้างปัญหาให้กองทัพขงเบ้งหลายต่อหลายครั้ง การศึกเริ่มยืดเยื้อ ขงเบ้งจึงต้องใช้อุบายสุดท้ายเข้าดำเนินการ
ขงเบ้งให้อุยเอี๋ยนแสร้งรบแพ้ หลอกล่อให้ทหารของลุดตัดกุดไล่ตามเข้าไปกลางทุ่ง จึงถูกขงเบ้งใช้ระเบิดและไฟ เผากองทัพของลุดตัดกุด
เกราะหวายที่ชุดน้ำมัน เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ทหารของลุดตัดกุดกว่าสองหมื่นนาย ตายอย่างอเนจอนาถ บางคนถูกระเบิด หัว แขน ขาขาด กลิ่นศพเหม้นไหม้คละคลุ้งไปทั่วป่า ขงเบ้งแม้ได้ชัยชนะ แต่ก็น้ำตาตก เมื่อเห็นภาพนี้
ทหารเบ้งเฮ็กหลายคนสังเวชใจ ยอมแพ้เข้ากับขงเบ้ง ส่วนเบ้งเฮ็กสุดท้ายก็ถูกล้อมจับอีกครั้ง
หลังการศึก ขงเบ้งให้แต่งโต๊ะเลี้ยงทหารทั้งฝ่ายตน ทั้งฝ่ายม่าน ตั้งโต๊ะให้เบ้งเฮ็ก เบ้งฮิว ตั้วไหล และนางจกหยง ร่วมงานด้วย
ระหว่างเสพสุรา ขงเบ้งให้ทหารไปบอกเบ้งเฮ็กว่า จะปล่อยไป ให้โอกาสมาสู้กันอีกครั้ง
แต่ครั้งนี้เมื่อเบ้งเฮ็กได้ฟัง ก็ละอายแก่ใจ ร้องไห้แล้วว่า
“มีอย่างที่ไหน ใครเขาทำศึกจับได้แล้วปล่อยถึง 7 ครั้ง แม้ข้าพเจ้าจะเป็นคนป่าคนดอยก็จริง แต่ก็มีความรู้สึกรับผิดชอบและกระดากอายอยู่”
ว่าแล้วเบ็งเฮ็ก กับพรรคพวกก็พากันมาคำนับ ยอมอ่อนน้อมขงเบ้ง ไม่ขอต่อสู้อีกต่อไป
-----------------
เบ้งเฮ็กยอมสวามิภักดิ์ |
ขงเบ้ง ใช้เวลา ความมานะอดทน ให้โอกาสคน ครั้งแล้วครั้งเล่า
เบ้งเฮ็ก พากเพียร พยายาม ฝืนทนจนสูญเสียแทบสิ้นชาติ จึงหลั่งน้ำตา
เรื่องราวทำนองนี้ เกิดขึ้นมาแทบทุกยุค ทุกสมัย จับแล้วก็ปล่อย ปล่อยแล้วก็จับ วัดกันที่หัวใจ
เบ้งเฮ็ก(孟獲;Meng Hho)ผู้เป็นเจ้าชนเผ่าหมานอ๋องฟันทอง(เก็บตกสามก๊ก)เผยแพร่เป็นความรู้โดยนายกำธร เสนจันทร์ฒิไชย พ.ม.,กศ.บ.,ศศ.ม.(ข้อเขียนนี้ควรศึกษาเพิ่มเติม)
ตอบลบพระราชพงศาวดารจีน (สื่อจี้) “ซือหม่าเชียน” ว่า.. เผ่าไตหมานหมายถึงชนชาติไป๋เยว่ ร้อยเผ่าพันธุ์ร้อยวัฒนธรรม ที่ไม่ใช่จีนฮั่น (Han) ชนเผ่าที่อยู่ทิศใต้ของประเทศจีนทั้งหมด ในหนังสือโบราณชื่อโจวลี่ กำหนดไว้ว่า ห่างจากเขตแดนจีน 500 ลี้เป็นถิ่นของพวก “หมานฟันทอง” ในหนังสือซูอี่ก้งกำหนดว่า ห่างจากเขตแดน 300 ลี้เป็นถิ่น “หมาน”อันธพาลผู้ใช้อำนาจเป็นธรรม..ฯ..เอกสารจดหมายเหตุจีนโบราณบันทึกเรื่อง “หมานซู” ของ “ฝันฉัว” เสวกในข้าหลวงแห่งแคว้นอันหนาน รัชสมัยของพระเจ้าอี้จง ราวพ.ศ. 1410 (ตรงกับสมัยทวาราวดี)บางตำราเรียกหนังสือชุดนี้ว่า “บันทึกเรื่องราวของถิ่นหกเจ้ารัฐอิสระหกแคว้น” คือ เหม่งแซ (Mengshe;蒙舍) ม่งซุย (Mengsui;蒙嶲) ลางเซียง (Langqiong;浪穹) เต็งตัน (Dengtan;邆賧) ซีล่าง (Shilang;施浪) และ ยู่ซี (Yuexi;越析) มีการกล่าวถึงพระเจ้าสีนุโล แห่งเหม่งแซ ราวพ.ศ. 1192 ก่อตั้ง “สานสานโกวะ”และ “พระเจ้าพีล่อโก๊ะ” ครองราชย์ พ.ศ.1271 – 1291 และกล่าวถึง “พระเจ้าเก๋อหลอเฟิ่ง(พระเจ้าโก๊ะล่อฝง)เมื่อ “เก๋อหลอเฟิ่ง”สิ้นพระชนม์ “อี้โหม่วสิน (อี้เหมาซุน)” ผู้เป็นนัดดาได้ครองเมืองน่านเจ้า..ฯ..พวกหมานฟันทองฮวนนั้ง( 森人)คนป่าขึ้นอยู่ในปกครองของเมืองซีอาน ในแว่นแคว้นยูนนานน่านเจ้า เมื่อเกิดศึกสงครามคราวใด มักถูกระดมเข้ารบด้วยทุกครั้ง ยังมีหมานฟันเงิน ฟันดำ สักขาสักหน้า อาศัยปะปนอยู่รวมกันด้วย“หมาน” คืออนารยชนคนป่าเถื่อนอันธพาล เมืองเสฉวน เป็นชื่อเก่าแก่ 2,000 ปีมาแล้ว (อ้างอิง ; ฉบับชำระใหม่รัชกาลพระเจ้าเฉียนหลง ปี พ.ศ. 2317 พิมพ์เป็นฉบับหอสมุดหลวง ณ พระตำหนักอู่จิงเตี้ยน นครปักกิ่ง , นายหลินเซียะว์ (ลิ่มฮัก) , นายพิสิฐ ศรีเพ็ญ ,นายสังข์ พัธโนทัย , นายอารี ภิรมย์ แปลและเรียบเรียงสำนวน..กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, พ.ศ. 2506)
ขอบคุณมากครับ
ลบ