บทความการเมืองไทย เปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก ตอน 'เหตุก๊กเล่าปี่ล่ม' โดย กิเลน ประลองเชิง คอลัมนิสต์อาวุโสของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
"มืดมนโมหันธ์ ไม่รู้ข้อบกพร่องของตัวเอง ขุนนางระวังตัวกลัวความผิด เข้าท้องพระโรง ไม่ฟังคำพูดที่ถูกต้อง ออกไปข้างนอกเห็นราษฎรมีสีหน้าหิวโหย"
กิเลน ประลองเชิง คอลัมนิสต์อาวุโสของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เขียนบทความการเมืองไทย เปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก ตอน 'เหตุก๊กเล่าปี่ล่ม'
บทความนี้ตีพิมพ์ในคอลัมน์ ชักธงรบ ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันที่ 21 ม.ค.63 อ่านแล้วสนุก ได้ข้อคิดทางการเมือง จึงขอบันทึกไว้และแบ่งปันให้ทุกท่านได้อ่านกัน
เหตุก๊กเล่าปี่ล่ม
ใน 101 คำถามสามก๊ก (หลี่ฉวนจวินและคณะเขียน ถาวร สิกขโกศล แปล สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ.2556) คำถามที่ 58 สาเหตุที่จ๊กก๊กล่มสลายก่อนก๊กอื่นคืออะไร? สะดุดใจให้ต้องรีบอ่านหลังขงเบ้งตาย เจียวอ้วนและบิฮุย เป็นอัครมหาเสนาบดี บริหารจ๊กก๊ก เจียวอ้วนยังคิดแผนปราบวุ่ยก๊ก ฟื้นฟูราชวงศ์ฮั่น แต่บิฮุยไม่เอาด้วย บิฮุยตาย เกียงอุยกุมอำนาจ กลับรบพุ่งชิงชัยกลับวุ่ยก๊กอีก
ก่อนบิฮุยตายเคยพูดกับเกียงอุยว่า “พวกเราไม่เสมอด้วยขงเบ้ง ท่านยังไม่สามารถชิงจงหยวนจากโจโฉได้ นับประสาอะไรกับพวกเรา มิสู้ป้องกันประเทศชาติ ปกครองประชาชน เคารพรักษาราชอาณาจักรเอาไว้”
รัชกาลพระเจ้าเล่าเสี้ยน ปีที่ 16-20 (ค.ศ.253-257) เกียงอุย ตีวุ่ยก๊กห้าครั้ง ล้มเหลวทุกครั้ง จ๊กก๊กและกองทัพจึงบอบช้ำหนัก
พระเจ้าเล่าเสี้ยนไร้พระปรีชาสามารถ แต่ครองราชย์ได้ถึง 40 ปี ช่วงแรกมีขงเบ้งค้ำจุน การปกครองค่อนโปร่งใส แต่เมื่อถึงยุคบิฮุย เล่าเสี้ยนหลงถ้อยคำขันทีฮุยโฮการเมืองจึงมืดมัว ราชการแผ่นดินฟอนเฟะ
พงศาวดารสามก๊กจี่บันทึกว่า ค.ศ.261 ง่อก๊กส่งทูตไปจ๊กก๊ก กลับมารายงานพระเจ้าซุนฮิวว่า
“กษัตริย์ (เล่าเสี้ยน) มืดมนโมหันธ์ ไม่รู้ข้อบกพร่องของตัวเอง ขุนนางระวังตัวกลัวความผิด เข้าท้องพระโรง ไม่ฟังคำพูดที่ถูกต้อง ออกไปข้างนอกเห็นราษฎรมีสีหน้าหิวโหย”
ค.ศ.263 วุ่ยก๊กยกทัพใหญ่ตีจ๊กก๊ก เต็งงายหาทางเข้าเสฉวนวิบาก (ขงเบ้งวางด่านไว้) เคลื่อนทัพถึงเมืองลกเสีย ห่างเมืองหลวงจ๊กก๊ก 80 ลี้ พระเจ้าเล่าเสี้ยนเชื่อคำแนะนำจองเจียวจิ๋ว ยอมสวามิภักดิ์
จ๊กก๊กล่มสลาย
พงศาวดารจ๊กก๊กบันทึกว่า เมื่อจ๊กก๊กล่มมี 28 หมื่นครอบครัว ราษฎร 94 หมื่น ทหาร 10 หมื่น 2 พัน ข้าราชการ 4 หมื่นคน ในก๊กทั้งสาม จ๊กก๊กมีพื้นที่เล็ก ประชากรน้อยและกำลังด้อยที่สุด
กำลังทางเศรษฐกิจยากจะเทียบกับง่อก๊ก (ซุนกวน) และวุ่ยก๊ก (โจโฉ) ได้
ยุคขงเบ้ง การเมืองโปร่งใส ประเทศสงบสุข จึงเลือกเป็นฝ่ายกระทำ บุกตีวุ่ยก๊ก ถึงยุคบิฮุยและเกียงอุย การเมืองฟอนเฟะ ราษฎรยากจน กำลังอ่อนแอ รักษาดินแดนป้องกันตัวก็ยังยาก
แต่เกียงอุยมืดมัวในภาวการณ์ ยึดความเห็นตนมุ่งปราบวุ่ยก๊ก ทำให้เกิดความวุ่นวายไปสู่ความวิบัติ ถูกวุ่ยก๊กตีโต้จนล่มสลาย
นับแต่เล่าปี่ครองราชย์ เมื่อ ค.ศ.221 ถึงเล่าเสี้ยนสวามิภักดิ์ต่อวุ่ยก๊ก เมื่อ ค.ศ.263 รวมเวลาได้ 42 ปี
รัชศกหวงซู ปีที่ 4 ของวุ่ยก๊ก เล่าปี่ตายศพฝังไว้ที่สุสานฮุ่ยหลิง ทางใต้เมืองเฉิงตู ถึงราชวงศ์หลิวซ่งยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ สุสานขยายเป็นศาลเล่าปี่ ปลายราชวงศ์หมิงถูกไฟจากสงครามเผาไหม้ สร้างขึ้นใหม่ในยุคต้นราชวงศ์ชิง
ปัจจุบันห้องโถงกลางศาล ด้านข้างของรูปเล่าปี่เป็นรูปของเป่ยตี้อ๋องเล่าขำ ผู้เป็นหลานปู่
ในห้องข้างห้องหนึ่งมีรูปกวนอูและบุตร อีกห้องเตียวหุยและบุตรหลาน ระเบียงหน้าห้องสองข้าง มีรูปขุนนางและทหาร 28 คน แต่ไม่มีรูปเล่าเสี้ยน บุตรเล่าปี่
มีบันทึกว่า เดิมทีศาลนี้มีรูปเล่าเสี้ยน เหตุเพราะเล่าเสี้ยนสิ้นชาติ รูปเล่าเสี้ยนถูกยกออกไปก่อนราชวงศ์ถัง ภายหลังกลับมาเข้าศาล รัชศกซิ่งลี่ราชวงศ์ซ่งเหนือ เจียงถังไฉ ข้าหลวงมณฑลเอ๊กจิ๋ว สั่งให้ยกรูปเล่าเสี้ยนออก
ไม่นานก็ถูกยกกลับ ถึงยุคราชวงศ์หมิง นิยายสามก๊กแพร่หลาย รูปเล่าขำ บุตรเล่าเสี้ยนถูกยกเข้ามาแทน นับแต่นั้นรูปเล่าเสี้ยนไม่เคยกลับเข้าศาลเล่าปี่อีก
พระเจ้าเล่าเสี้ยนน่าจะเป็นที่มาของสำนวนไทย เจ้าไม่มีศาล
ซึ่งก็เป็นเหตุปัจจัยเดียวกับนักการเมือง ถึงเวลาชาวบ้านรักก็สร้างศาลเอาไว้กราบไหว้ อีกเวลาเบื่อเขาก็รวมหัวกันยกไปทิ้ง กรณีวิ่งไล่ลุง หรือวิ่งตามลุงจึงเกิดมี
ถึงวันนี้บ้านเมืองเรา เท่าที่พอจำกันได้ มีเจ้าไม่มีศาล ทั้งที่ตายไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่ตายก็หลายคน.
ค.ศ.263 วุ่ยก๊กยกทัพใหญ่ตีจ๊กก๊ก เต็งงายหาทางเข้าเสฉวนวิบาก (ขงเบ้งวางด่านไว้) เคลื่อนทัพถึงเมืองลกเสีย ห่างเมืองหลวงจ๊กก๊ก 80 ลี้ พระเจ้าเล่าเสี้ยนเชื่อคำแนะนำจองเจียวจิ๋ว ยอมสวามิภักดิ์
จ๊กก๊กล่มสลาย
เล่าเสี้ยน |
พงศาวดารจ๊กก๊กบันทึกว่า เมื่อจ๊กก๊กล่มมี 28 หมื่นครอบครัว ราษฎร 94 หมื่น ทหาร 10 หมื่น 2 พัน ข้าราชการ 4 หมื่นคน ในก๊กทั้งสาม จ๊กก๊กมีพื้นที่เล็ก ประชากรน้อยและกำลังด้อยที่สุด
กำลังทางเศรษฐกิจยากจะเทียบกับง่อก๊ก (ซุนกวน) และวุ่ยก๊ก (โจโฉ) ได้
ยุคขงเบ้ง การเมืองโปร่งใส ประเทศสงบสุข จึงเลือกเป็นฝ่ายกระทำ บุกตีวุ่ยก๊ก ถึงยุคบิฮุยและเกียงอุย การเมืองฟอนเฟะ ราษฎรยากจน กำลังอ่อนแอ รักษาดินแดนป้องกันตัวก็ยังยาก
แต่เกียงอุยมืดมัวในภาวการณ์ ยึดความเห็นตนมุ่งปราบวุ่ยก๊ก ทำให้เกิดความวุ่นวายไปสู่ความวิบัติ ถูกวุ่ยก๊กตีโต้จนล่มสลาย
นับแต่เล่าปี่ครองราชย์ เมื่อ ค.ศ.221 ถึงเล่าเสี้ยนสวามิภักดิ์ต่อวุ่ยก๊ก เมื่อ ค.ศ.263 รวมเวลาได้ 42 ปี
รัชศกหวงซู ปีที่ 4 ของวุ่ยก๊ก เล่าปี่ตายศพฝังไว้ที่สุสานฮุ่ยหลิง ทางใต้เมืองเฉิงตู ถึงราชวงศ์หลิวซ่งยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ สุสานขยายเป็นศาลเล่าปี่ ปลายราชวงศ์หมิงถูกไฟจากสงครามเผาไหม้ สร้างขึ้นใหม่ในยุคต้นราชวงศ์ชิง
ปัจจุบันห้องโถงกลางศาล ด้านข้างของรูปเล่าปี่เป็นรูปของเป่ยตี้อ๋องเล่าขำ ผู้เป็นหลานปู่
ในห้องข้างห้องหนึ่งมีรูปกวนอูและบุตร อีกห้องเตียวหุยและบุตรหลาน ระเบียงหน้าห้องสองข้าง มีรูปขุนนางและทหาร 28 คน แต่ไม่มีรูปเล่าเสี้ยน บุตรเล่าปี่
มีบันทึกว่า เดิมทีศาลนี้มีรูปเล่าเสี้ยน เหตุเพราะเล่าเสี้ยนสิ้นชาติ รูปเล่าเสี้ยนถูกยกออกไปก่อนราชวงศ์ถัง ภายหลังกลับมาเข้าศาล รัชศกซิ่งลี่ราชวงศ์ซ่งเหนือ เจียงถังไฉ ข้าหลวงมณฑลเอ๊กจิ๋ว สั่งให้ยกรูปเล่าเสี้ยนออก
ไม่นานก็ถูกยกกลับ ถึงยุคราชวงศ์หมิง นิยายสามก๊กแพร่หลาย รูปเล่าขำ บุตรเล่าเสี้ยนถูกยกเข้ามาแทน นับแต่นั้นรูปเล่าเสี้ยนไม่เคยกลับเข้าศาลเล่าปี่อีก
พระเจ้าเล่าเสี้ยนน่าจะเป็นที่มาของสำนวนไทย เจ้าไม่มีศาล
ซึ่งก็เป็นเหตุปัจจัยเดียวกับนักการเมือง ถึงเวลาชาวบ้านรักก็สร้างศาลเอาไว้กราบไหว้ อีกเวลาเบื่อเขาก็รวมหัวกันยกไปทิ้ง กรณีวิ่งไล่ลุง หรือวิ่งตามลุงจึงเกิดมี
ถึงวันนี้บ้านเมืองเรา เท่าที่พอจำกันได้ มีเจ้าไม่มีศาล ทั้งที่ตายไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่ตายก็หลายคน.
กิเลน ประลองเชิง
กรุณาแสดงความคิดเห็น