ปฏิภาณไหวพริบของ “ขงเบ้ง” สามารถห้ามเสือสองตัวไม่ให้ต่อสู้กันได้
สร้างความพึงพอใจให้กับทั้งสองฝ่าย และมีความเกรงใจซึ่งกันและกัน พร้อมใช้ความสามารถที่มีอยู่ สนองงานเจ้านายอย่าง “เล่าปี่” จนสุดความสามารถ
เมื่อครั้ง “เล่าปี่” ยกทัพไป “เสฉวน” หมายรวมแผ่นดิน กระชับอำนาจตามยุทธศาสตร์ที่ “ขงเบ้ง” เสนอไว้เมื่อคราวที่ไปคารวะเชิญมาร่วมหัวจมท้าย
แม้ “เล่าปี่” จะกระอักกระอวนใจในการเข้ายึดเอา “เสฉวน” เพราะด้วยเหตุว่า “เล่าเจี้ยง” เจ้าเมืองเสฉวนนั้นเป็นเชื้อสายแซ่เดียวกัน ความลังเลทำให้ศึกยืดเยื้ออยู่นาน ทำให้ขุนพลคนสำคัญ “บังทอง” ต้องจบชีวิตลง ซึ่งเหตุการณ์ก่อนที่ “บังทอง”จะจบชีวิตนั้น มีรายละเอียดที่น่าสนใจไว้วันหลังจะเล่าให้ฟัง เพราะมีการขบเหลี่ยมกันอยู่นิดๆ ระหว่าง “บังทอง” กับ “ขงเบ้ง”
ระหว่างศึก เดินทางมาใกล้ถึงจุดไคลแม็ค หลังจากที่ “บังทอง” สิ้นบุญแล้ว
แม้ “เล่าปี่” จะกระอักกระอวนใจในการเข้ายึดเอา “เสฉวน” เพราะด้วยเหตุว่า “เล่าเจี้ยง” เจ้าเมืองเสฉวนนั้นเป็นเชื้อสายแซ่เดียวกัน ความลังเลทำให้ศึกยืดเยื้ออยู่นาน ทำให้ขุนพลคนสำคัญ “บังทอง” ต้องจบชีวิตลง ซึ่งเหตุการณ์ก่อนที่ “บังทอง”จะจบชีวิตนั้น มีรายละเอียดที่น่าสนใจไว้วันหลังจะเล่าให้ฟัง เพราะมีการขบเหลี่ยมกันอยู่นิดๆ ระหว่าง “บังทอง” กับ “ขงเบ้ง”
ระหว่างศึก เดินทางมาใกล้ถึงจุดไคลแม็ค หลังจากที่ “บังทอง” สิ้นบุญแล้ว
“เล่าปี่” ต้องเชิญ “ขงเบ้ง” ซึ่งตอนนั้นพำนักอยู่ที่เมือง “เกงจิ๋ว” กับ “กวนอู” เพื่อคอยระวังหลังเกรงว่า “โจโฉ” จะอาศัยช่วงที่ “เล่าปี่” ไม่อยู่ ยกพลมาบุกยึดเมือง จึงต้องวางหมากให้รัดกุม เพลเซฟไว้ก่อน
ถึงคราวที่ “ขงเบ้ง” ต้องไปช่วย “เล่าปี่” วางแผนยึด “เสฉวน” ได้เรียกตัว “กวนอู” มาสั่งสอนให้รู้จักการหนักแลเบา เพื่อรักษา “เกงจิ๋ว” ไว้ให้ได้จนกว่าจะกลับมา
เมื่อหมดห่วง “ขงเบ้ง” จึงไปช่วย “เล่าปี่” วางแผนการจนสามารถพิชิต “เสฉวน” ได้สำเร็จ!!!
....
ม้าเฉียว |
ในศึกยึด “เสฉวน” นั้น ทัพของ “เล่าปี่” ได้ขุนพลคนสำคัญเข้ามาเป็นกำลัง นั่นคือ “ม้าเฉียว”
ซึ่ง “ม้าเฉียว” นี้เป็นลูกของ “ม้าเท้ง” ขุนทหารหัวเมืองคนสำคัญที่เคยร่วมรบมาตั้งแต่ต้นๆเรื่อง และเป็นผู้ลงลายมือชื่อกำจัด “โจโฉ” ร่วมกับ “เล่าปี่” อีกด้วย
ก่อนหน้านั้น“ม้าเฉียว” ถูก “โจโฉ” รุกไล่จนต้องหนีหัวซุกหัวซุน ไปอยู่กับ “เตียวฬ่อ” แคว้น “ฮันต๋ง” และอาสา “เตียวฬ่อ” ออกศึกสู้กับ “เล่าปี่” เพื่อทดแทนบุญคุณ
“ม้าเฉียว” ออกรบกับ “เตียวหุ่ย” อย่างห้าวหาญสู้กันนับร้อยๆเพลง ยังไม่รู้แพ้รู้ชนะ
ทั้ง “เล่าปี่” และ “ขงเบ้ง” ต่างชื่นชมในฝีมือ “ม้าเฉียว” และอยากได้มาร่วมทัพด้วย
และท้ายที่สุดก็มีเหตุให้ “ม้าเฉียว” ต้องมาอยู่ร่วมทัพกับฝ่าย “เล่าปี่”
....
ตัดสลับมาในตอนที่ “เล่าปี่” ได้ “เมืองเสฉวน” ได้ทำการจัดแจงบ้านเมืองให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข “ขงเบ้ง” รับหน้าที่เขียนกติกาขึ้นมาใหม่มีการปรับปรุงกฎหมายต่างๆให้มีความทันสมัย ให้ประชาชนได้อยู่ดีกินดี
ความที่เป็นคนเอื้ออารีต่อราษฎรนั้นทำให้ประชาชนรักและภักดีต่อ “เล่าปี่” มากกว่าเมื่อคราวที่ “เล่าเจี้ยง” เป็นเจ้าเมือง
เมื่อจัดแจงทุกอย่างเสร็จสรรพ “ขงเบ้ง” มีหนังสือบอกไปยัง “กวนอู” ถึงความสำเร็จในครั้งนี้และมอบรางวัลให้แก่ “กวนอู” นัยว่าช่วยดูแล “เกงจิ๋ว” เป็นอย่างดีไม่ต้องพะว้าพะวงในการทำศึกครั้งนี้
กวนอู |
ฝ่าย “กวนอู” เมื่อทราบว่า “เล่าปี่” ได้ “เมืองเสฉวน” และได้ “ม้าเฉียว” ขุนทหารที่ฤชาปรากฏ เกิดอยากวัดกำลังดูว่าใครจะเก๋ากว่าใคร จึงให้คนส่งจดหมายมาถึง “เล่าปี่” ว่าจะขอประลองกับ “ม้าเฉียว” ดูสักตั้ง
เรื่องนี้ร้อนถึง “ขงเบ้ง” ทันที เพราะ “เล่าปี่” รีบนำเรื่องร้อนนี้มาปรึกษา
เอาไงดีหว่า...?
“ขงเบ้ง” จึงว่า คู่นี้หากประลองกำลังกันก็คงไม่ต่างจากเสือสองตัวต่อสู้กัน ไม่ว่าฝ่ายไหนแพ้หรือชนะย่อมมีบาดแผลทั้งสิ้น
“ขงเบ้ง” จึงบอกกับ “เล่าปี่” ไปว่าจะทำหนังสือตอบกลับไปยัง “กวนอู” เพื่อให้เกิดความสบายใจ ไม่ต้องต่อสู้กัน ซึ่งในหนังสือนั้นมีสาระสำคัญว่า
แม้ “ม้าเฉียว” จะมีความเลื่องลือในความสามารถและเชิงชั้นการเป็นนักรบที่ห้าวหาญ ระดับฝีมือก็เพียงแค่สู้ได้สูสิกับ “เตียวหุย” เท่านั้น ถ้าจะเทียบเคียงกับ “กวนอู” ฝีมือต่างกันราวฟ้ากับเหว
“กวนอู” สบายใจได้ในปฐพีนี้ มีหรือใครจะเก่งกาจเทียบเท่าตัวนั้นไม่มี
“ขงเบ้ง” หยอดคำหวานมาซะขนาดนี้มีหรือ “กวนอู” จะไม่สบายใจ จึงเชื่ออย่างสนิทใจว่า “ม้าเฉียว” ไม่มีทางสู้ตนได้
ปฏิภาณไหวพริบของ “ขงเบ้ง” สามารถห้ามเสือสองตัวไม่ให้ต่อสู้กันได้
สร้างความพึงพอใจให้กับทั้งสองฝ่าย และมีความเกรงใจซึ่งกันและกัน พร้อมใช้ความสามารถที่มีอยู่ สนองงานเจ้านายอย่าง “เล่าปี่” จนสุดความสามารถ
นี่แลปฏิภาณห้ามทัพได้ หรือจะยุส่งให้เกิดศึกก็ยังไหว
ปรีชา นาฬิกุล
๒๒ เม.ย.๒๕๖๒
กรุณาแสดงความคิดเห็น