คิดการใหญ่อย่าใส่ใจเรื่องหยุมหยิ๋ม พึงตั้งสติให้ดีก่อนตัดสินใจเชื่อ
คิดการใหญ่อย่าใส่ใจเรื่องหยุมหยิม พึงตั้งสติให้ดีก่อนตัดสินใจเชื่อครั้งหนึ่ง “โจโฉ”คิดจะไปปราบ “ซุนกวน” เพราะมีความแค้นฝังหุ่น หลังจากที่เคยพ่ายยับในศึก “เซ็กเพ็ก” ที่ถูก “จิวยี่” แม่ทัพเรือใหญ่ของฝ่าย “ซุนกวน”เผาทัพเรือจนวอดวายแทบเอาชีวิตไม่รอด
“โจโฉ” ทราบข่าวว่า “จิวยี่” เพิ่งเสียชีวิตลง “ซุนกวน” ยังไม่มีทหารเสือที่เก่งกาจพอที่จะต่อกรกับตัวเองได้ เป็นมูลเหตุเบื้องต้นที่คิดจะออกรบแก้แค้น “ซุนกวน”
ขณะที่ปรึกษากันอยู่นั้นเหล่าที่ปรึกษาจึงบอกแก่ “โจโฉ” ว่าหากจะไปทำศึกกับ “ซุนกวน” เกรงจะเจอทัพของ “ม้าเท้ง”มาตีตลบหลังเอาเมือง
ม้าเท้ง |
“ม้าเท้ง” ผู้นี้เป็นหนึ่งในทหารหัวเมืองที่เข้าร่วมปราบกบฏมาตั้งแต่ตอนต้น และเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้ลงชื่อร่วมปฏิญาณว่าจะกำจัด “โจโฉ” ตามข้อความในจดหมายเลือดของ “พระเจ้าเหี้ยนเต้” ซึ่งบุคคลที่เคยร่วมลงชื่อนั้น “โจโฉ” ได้กำจัดไปแล้วเกือบหมดเหลือเพียง “ม้าเท้ง” กับ “เล่าปี่” เท่านั้น
“ม้าเท้ง” จึงเป็นเสี้ยนหนามสำคัญที่จะเป็นตัวแปลอันจะทำให้ทัพหลวงของ “โจโฉ”ระส่ำระสายได้
“โจโฉ” และที่ปรึกษาจึงเห็นร่วมกันว่าก่อนจะเปิดศึกกับ “ซุนกวน” ต้องกำจัด “ม้าเท้ง” ให้ได้เสียก่อน จึงออกอุบายด้วยการถือรับสั่ง “พระเจ้าเหี้ยนเต้” เรียกให้ “ม้าเท้ง” เข้าเมืองหลวงเพื่อมารับตำแหน่ง แม่ทัพใหญ่
“ม้าเท้ง” เมื่อได้รับราชโองการนั้นก็สงสัยอยู่ว่าจะเป็นการแต่งกลลวง เพื่อกำจัดตนหรือไม่ แต่ครั้นจะไม่เข้าไปก็เกรงเป็นการขัดราชโองการ “โจโฉ” จะถือเป็นข้ออ้างยกทัพมากำจัดตนง่ายๆ จึงจำใจไป แต่ก็วางแผนการทางหนีทีไล่ไว้อย่างรัดกุม
“ม้าเท้ง” ให้ “ม้าเฉียว” ลูกชายอยู่เฝ้า “เมืองเสเหลียง” โดยให้ “หันซุย”เพื่อนรักเป็นที่ปรึกษาคอยทำนุบำรุงลูกชาย เป็นการคิดเผื่อไว้แล้วว่าหากเพลี่ยงพล้ำ “โจโฉ” จนตัวตายอย่างน้อยลูกยังจะมีที่อยู่ ที่ป้องกันตนอันมั่นคง
ท้ายที่สุด “ม้าเท้ง” ก็เสียที “โจโฉ” ตาย!!! ซิครับ
....
ม้าเฉียว |
“โจโฉ” เมื่อกำจัด “ม้าเท้ง” แล้วเป้าหมายถัดไปจึงเป็น “ม้าเฉียว”ลูกชายที่ยังคงปักหลักอยู่ที่เมือง “เสเหลียง” แต่การออกศึกในครั้งนี้ไม่หมูอย่างที่คิด เนื่องจาก “ม้าเฉียว” มีความห้าวหาญสมเป็นสายเลือดขุนศึกโดยแท้ อีกทั้งมี “หันซุย” เป็นกุนซือคนสำคัญคอยช่วยวางแผนการต่างๆ จน “โจโฉ”จวนเจียนจะพ่ายแพ้ก็หลายครั้ง
“โจโฉ” กับ “ม้าเฉียว” ตั้งทัพยันกันอยู่หลายเดือนยังไม่แพ้ชนะกัน ทหารทั้งสองฝ่ายก็อิดโรยยิ่งนัก อีกทั้งกำลังเข้าสู่ช่วง ฤดูหนาวการรบเกิดความยากลำบากยิ่ง ทั้งสองฝ่ายจึงสงสัญญาณหย่าศึกเพื่อให้กำลังพลได้พัก ซึ่งไอเดียนี้ “หันซุย” เป็นต้นคิด
“หันซุย” ร่างจดหมายไปถึง “โจโฉ” เพื่อส่งสัญญาณดังกล่าว
“โจโฉ” เมื่อรับทราบในหลักการนั้น ในเบื้องแรกก็ทำเป็นจะประนอมด้วย จึงเขียนจดหมายตอบกลับ แล้วชวนกันว่า ให้ทั้งสองฝ่ายสร้างสะพานมาเชื่อมกัน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการสงบศึก
อย่างไรก็ตามทั้งฝ่าย “ม้าเฉียว” และ “หันซุย” ก็ยังไม่ปลงใจเชื่อว่าจะสงบศึกเป็นการชั่วคราวได้จริง จึงปรึกษากันว่าต้องแบ่งทหารเป็นสองส่วนไว้เป็นกองซุ่มเผื่อทางหนีทีไล่ไว้หาก “โจโฉ” บิดพลิ้วไม่ทำตามจะได้มีกองกำลังรบกระหนาบเข้ามาช่วยเหลือกันได้
“ม้าเฉียว” จึงให้ “หันซุย” เป็นกองกำลังส่วนหน้า ทำหน้าที่บัญชาการทหารเพื่อสร้างสะพานตามที่ “โจโฉ” เสนอ
......
ขึ้นชื่อว่า “โจโฉ” กระทำการอันใดหากไม่ซ่อนกลคงไม่ใช่ คราวนี้ย่อมเช่นกัน
“โจโฉ”พยายามที่จะกำจัด “ม้าเฉียว” ให้ได้ จึงใช้วิธียุให้คนรักกันกินแหนงแคลงใจกัน
แน่นอนเป้าหมายใหญ่คือต้องทำให้ “ม้าเฉียว” กับ “หันซุย”เคืองใจกัน
“โจโฉ” รู้ว่า “ม้าเฉียว” นำทหารไปตั้งซุ่มอยู่ต่างหาก มอบภาระการทำสะพานให้แก่ “หันซุย” จึงใช้โอกาสนี้เดินเกมยุให้คนเขาแตกคอกัน อันเป็นงานถนัดของ “โจโฉ”
“โจโฉ” เริ่มที่การเชื้อเชิญให้ “หันซุย”ออกมาพูดคุยเจรจาข้อราชการแต่อันที่จริงคือเหลี่ยมของ “โจโฉ” ล้วนๆ โดยชวนให้ “หันซุย” ขี่ม้าออกมาเดินเคียงข้างร่วมพูดคุยเป็นนานสองนานตั้งแต่บ่ายยันค่ำ พูดคุยสัพเพเหระ ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบกัน ในฐานะที่เคยรู้จักกันมาก่อน ไม่ปริปากเรื่องข้อราชการแม้แต่คำเดียว
ทหารทั้งสองฝ่ายเห็นการพูดคุยเจรจาระหว่าง “โจโฉ” กับ “หันซุย” เป็นเวลานานสองนานต่างจับกลุ่มวิเคราะห์กันไปต่างๆนานา “ม้าเฉียว” ได้ยินเรื่องนี้เข้าจึงควบม้าบึ่งมาถาม “หันซุย”ถึงเรื่องที่ได้เจรจากันในวันนี้
“หันซุย”ก็ตอบไปตามจริงว่าไม่มีอะไรในกอไผ่ “โจโฉ”ไม่พูดเรื่องราชการ “หันซุย” ก็ไม่ปริปากด้วยเช่นกัน
หมากเกมนี้เริ่มเข้าทาง “โจโฉ” แล้ว แม้ว่า “หันซุย”จะบอกกับ “ม้าเฉียว” ไปตามสัตย์จริง แต่ยังมีอะไรค้างคาใจ “ม้าเฉียว”อยู่ กลายเป็นว่าทุกอย่านั้นเข้าล็อคที่ “โจโฉ”วางไว้เสียหมด
ป้ายถัดไปคือการยกระดับการยั่วยุให้เกิดความแตกแยก จนเกิดการทำลายล้างกัน
“โจโฉ” ทำทีให้คนมาส่งจดหมายถึง “หันซุย” นัยว่าเป็นการบอกข้อราชการสำคัญ แต่จดหมายฉบับนั้นกลับเป็นเพียงแค่กระดาษเปล่า ปิดผนึกแกล้งส่งมาให้เท่านั้น
ทันทีที่ “ม้าเฉียว” รู้ว่า “โจโฉ”ให้คนส่งจดหมายมาถึง “หันซุย” แจ้งข้อราชการก็รีบมาถามว่าในจดหมายนั้น “โจโฉ” ว่ามาอย่างไร “หันซุย” ก็นำจดหมายนั้นมาให้ “ม้าเฉียว”ดูแล้วบอกว่ามันเป็นเพียงกระดาษเปล่าเท่านั้น “โจโฉ”อาจหยิบผิดก็เป็นได้
จากที่เริ่มสงสัยพฤติกรรม “หันซุย” ขี่ม้าพูดคุยกับ “โจโฉ” เมื่อวันก่อนก็ยิ่งทวีความคลางแคลงใจขึ้นไปอีก จน “หันซุย” ต้องบอกว่าหากยังสงสัยอยู่จะไปถามให้รู้ความต่อหน้าว่าทำไม “โจโฉ” จึงส่งกระดาษเปล่า ข้อความราชการคืออะไรเพื่อให้ “ม้าเฉียว” สิ้นความสงสัย
เข้าทาง “โจโฉ” อีกแล้วครับท่าน
“หันซุย” รีบบึ่งไปยังค่าย “โจโฉ” แล้วร้องเรียกให้ “โจโฉ” ออกมาพบ แต่ “โจโฉ” กลับให้ลูกน้องออกมาพบแทน และไม่พูดพร่ำทำเพลงอะไร ลูกน้องของ “โจโฉ” รีบบอกว่า ให้ “หันซุย” รีบดำเนินการทุกอย่างตามข้อความในจดหมายที่ส่งให้นั้น
แน่นอนที่สุดลูกน้องของ “โจโฉ” ต้องพูดด้วยเสียงอันดังหมายจะให้ได้ยินไปถึงหู “ม้าเฉียว”
ยิ่งมีความสงสัยเป็นทุนเดิมยิ่งได้ยินเช่นนี้ “ม้าเฉียว” ก็ควันออกหูละซิครับ ควบม้าไล่ล่าหมายจะฆ่า “หันซุย”ให้ตายคามือ เดชะบุญที่ยังไม่ตาย แต่ “หันซุย”ก็แขนขาดในกาลนี้
“หันซุย” เมื่อกลับเข้าสู่ที่ตั้งได้ ตั้งสติพิจารณาแล้วว่า คงอยู่ร่วมกับ “ม้าเฉียว” ไม่ได้แล้ว แม้จะมีความสัมพันธ์อันดีกับรุ่นพ่อ แต่รุ่นลูกกลับเป็นคนหุนหันพลันแล่นยิ่งนัก ไม่คิดพิจารณาให้ถ้วนถี่จึงต้องกล “โจโฉ” เข้าให้สุดท้าย “หันซุย” ก็บ่ายหน้าเข้าไปอยู่กับ “โจโฉ” ขณะที่ “ม้าเฉียว”ก็แตกพ่ายหนีหัวซุกหัวซุนเกือบดับแนวตระกูล “ม้า”
กลศึกกระดาษเปล่ามีอานุภาพทำลายล้างค่อนข้างรุ่นแรงเช่นนี้เอง
ผู้รู้ท่านจึงบอกว่า “คิดการใหญ่อย่าใส่ใจเรื่องหยุมหยิม พึงตั้งสติให้ดีก่อนตัดสินใจเชื่อ”
ในทางธรรมก็เป็นไปตามหลักกาลามสูตร ๑๐ ประการ (สิ่งไม่ควรเชื่อ ๑๐ ประการ) นั่นเอง
“ม้าเฉียว” พ่ายกลศึกกระดาษเปล่าในครั้งนี้เพียงเพราะว่าเผลอตัวปลงใจเชื่อเพราะฟังตามเขามา นั่นเอง
..........
หมายเหตุ ๑ : กาลามสูตร ๑๐ ประการ ประกอบด้วย
๑.มา อนุสฺสวเนน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
๒.มา ปรมฺปราย : อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
๓.มา อิติกิราย : อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
๔.มา ปิฏกสมฺปทาเนน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
๕.มา ตกฺกเหตุ : อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
๖.มา นยเหตุ : อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
๗.มา อาการปริวิตกฺเกน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
๘.มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา : อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
๙.มา ภพฺพรูปตา : อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
๑๐.มา สมโณ โน ครูติ : อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา
หมายเหตุ ๒ : บทความนี้เป็นผลงานของคุณ ปรีชา นาฬิกุล จากเพจ "หยิบสามก๊ก มาถกเล่น" ที่แบ่งปันมาให้อ่านเล่นกัน หากนักอ่านท่านใดสนใจบทความสามก๊กดี ๆ เพิ่มเติม สามารถแวะไปเยี่ยมชมได้ ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
“โจโฉ”พยายามที่จะกำจัด “ม้าเฉียว” ให้ได้ จึงใช้วิธียุให้คนรักกันกินแหนงแคลงใจกัน
แน่นอนเป้าหมายใหญ่คือต้องทำให้ “ม้าเฉียว” กับ “หันซุย”เคืองใจกัน
“โจโฉ” รู้ว่า “ม้าเฉียว” นำทหารไปตั้งซุ่มอยู่ต่างหาก มอบภาระการทำสะพานให้แก่ “หันซุย” จึงใช้โอกาสนี้เดินเกมยุให้คนเขาแตกคอกัน อันเป็นงานถนัดของ “โจโฉ”
หันซุย |
“โจโฉ” เริ่มที่การเชื้อเชิญให้ “หันซุย”ออกมาพูดคุยเจรจาข้อราชการแต่อันที่จริงคือเหลี่ยมของ “โจโฉ” ล้วนๆ โดยชวนให้ “หันซุย” ขี่ม้าออกมาเดินเคียงข้างร่วมพูดคุยเป็นนานสองนานตั้งแต่บ่ายยันค่ำ พูดคุยสัพเพเหระ ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบกัน ในฐานะที่เคยรู้จักกันมาก่อน ไม่ปริปากเรื่องข้อราชการแม้แต่คำเดียว
ทหารทั้งสองฝ่ายเห็นการพูดคุยเจรจาระหว่าง “โจโฉ” กับ “หันซุย” เป็นเวลานานสองนานต่างจับกลุ่มวิเคราะห์กันไปต่างๆนานา “ม้าเฉียว” ได้ยินเรื่องนี้เข้าจึงควบม้าบึ่งมาถาม “หันซุย”ถึงเรื่องที่ได้เจรจากันในวันนี้
“หันซุย”ก็ตอบไปตามจริงว่าไม่มีอะไรในกอไผ่ “โจโฉ”ไม่พูดเรื่องราชการ “หันซุย” ก็ไม่ปริปากด้วยเช่นกัน
หมากเกมนี้เริ่มเข้าทาง “โจโฉ” แล้ว แม้ว่า “หันซุย”จะบอกกับ “ม้าเฉียว” ไปตามสัตย์จริง แต่ยังมีอะไรค้างคาใจ “ม้าเฉียว”อยู่ กลายเป็นว่าทุกอย่านั้นเข้าล็อคที่ “โจโฉ”วางไว้เสียหมด
ป้ายถัดไปคือการยกระดับการยั่วยุให้เกิดความแตกแยก จนเกิดการทำลายล้างกัน
“โจโฉ” ทำทีให้คนมาส่งจดหมายถึง “หันซุย” นัยว่าเป็นการบอกข้อราชการสำคัญ แต่จดหมายฉบับนั้นกลับเป็นเพียงแค่กระดาษเปล่า ปิดผนึกแกล้งส่งมาให้เท่านั้น
ทันทีที่ “ม้าเฉียว” รู้ว่า “โจโฉ”ให้คนส่งจดหมายมาถึง “หันซุย” แจ้งข้อราชการก็รีบมาถามว่าในจดหมายนั้น “โจโฉ” ว่ามาอย่างไร “หันซุย” ก็นำจดหมายนั้นมาให้ “ม้าเฉียว”ดูแล้วบอกว่ามันเป็นเพียงกระดาษเปล่าเท่านั้น “โจโฉ”อาจหยิบผิดก็เป็นได้
จากที่เริ่มสงสัยพฤติกรรม “หันซุย” ขี่ม้าพูดคุยกับ “โจโฉ” เมื่อวันก่อนก็ยิ่งทวีความคลางแคลงใจขึ้นไปอีก จน “หันซุย” ต้องบอกว่าหากยังสงสัยอยู่จะไปถามให้รู้ความต่อหน้าว่าทำไม “โจโฉ” จึงส่งกระดาษเปล่า ข้อความราชการคืออะไรเพื่อให้ “ม้าเฉียว” สิ้นความสงสัย
เข้าทาง “โจโฉ” อีกแล้วครับท่าน
“หันซุย” รีบบึ่งไปยังค่าย “โจโฉ” แล้วร้องเรียกให้ “โจโฉ” ออกมาพบ แต่ “โจโฉ” กลับให้ลูกน้องออกมาพบแทน และไม่พูดพร่ำทำเพลงอะไร ลูกน้องของ “โจโฉ” รีบบอกว่า ให้ “หันซุย” รีบดำเนินการทุกอย่างตามข้อความในจดหมายที่ส่งให้นั้น
โจโฉ |
แน่นอนที่สุดลูกน้องของ “โจโฉ” ต้องพูดด้วยเสียงอันดังหมายจะให้ได้ยินไปถึงหู “ม้าเฉียว”
ยิ่งมีความสงสัยเป็นทุนเดิมยิ่งได้ยินเช่นนี้ “ม้าเฉียว” ก็ควันออกหูละซิครับ ควบม้าไล่ล่าหมายจะฆ่า “หันซุย”ให้ตายคามือ เดชะบุญที่ยังไม่ตาย แต่ “หันซุย”ก็แขนขาดในกาลนี้
“หันซุย” เมื่อกลับเข้าสู่ที่ตั้งได้ ตั้งสติพิจารณาแล้วว่า คงอยู่ร่วมกับ “ม้าเฉียว” ไม่ได้แล้ว แม้จะมีความสัมพันธ์อันดีกับรุ่นพ่อ แต่รุ่นลูกกลับเป็นคนหุนหันพลันแล่นยิ่งนัก ไม่คิดพิจารณาให้ถ้วนถี่จึงต้องกล “โจโฉ” เข้าให้สุดท้าย “หันซุย” ก็บ่ายหน้าเข้าไปอยู่กับ “โจโฉ” ขณะที่ “ม้าเฉียว”ก็แตกพ่ายหนีหัวซุกหัวซุนเกือบดับแนวตระกูล “ม้า”
กลศึกกระดาษเปล่ามีอานุภาพทำลายล้างค่อนข้างรุ่นแรงเช่นนี้เอง
ผู้รู้ท่านจึงบอกว่า “คิดการใหญ่อย่าใส่ใจเรื่องหยุมหยิม พึงตั้งสติให้ดีก่อนตัดสินใจเชื่อ”
ในทางธรรมก็เป็นไปตามหลักกาลามสูตร ๑๐ ประการ (สิ่งไม่ควรเชื่อ ๑๐ ประการ) นั่นเอง
“ม้าเฉียว” พ่ายกลศึกกระดาษเปล่าในครั้งนี้เพียงเพราะว่าเผลอตัวปลงใจเชื่อเพราะฟังตามเขามา นั่นเอง
ปรีชา นาฬิกุล
..........
หมายเหตุ ๑ : กาลามสูตร ๑๐ ประการ ประกอบด้วย
๑.มา อนุสฺสวเนน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยฟังตามกันมา
๒.มา ปรมฺปราย : อย่าเพิ่งเชื่อโดยถือว่าเป็นของเก่าเล่าสืบๆ กันมา
๓.มา อิติกิราย : อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
๔.มา ปิฏกสมฺปทาเนน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างคัมภีร์หรือตำรา
๕.มา ตกฺกเหตุ : อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดเดาเอาเอง
๖.มา นยเหตุ : อย่าเพิ่งเชื่อโดยคิดคาดคะเนอนุมานเอา
๗.มา อาการปริวิตกฺเกน : อย่าเพิ่งเชื่อโดยตรึกเอาตามอาการที่ปรากฏ
๘.มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา : อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเห็นว่าต้องกับความเห็นของตน
๙.มา ภพฺพรูปตา : อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดควรเชื่อได้
๑๐.มา สมโณ โน ครูติ : อย่าเพิ่งเชื่อว่าผู้พูดนั้นเป็นครูของเรา
หมายเหตุ ๒ : บทความนี้เป็นผลงานของคุณ ปรีชา นาฬิกุล จากเพจ "หยิบสามก๊ก มาถกเล่น" ที่แบ่งปันมาให้อ่านเล่นกัน หากนักอ่านท่านใดสนใจบทความสามก๊กดี ๆ เพิ่มเติม สามารถแวะไปเยี่ยมชมได้ ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
กรุณาแสดงความคิดเห็น