Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

“เตียวหุย” ขุนทหารตายน้ำตื้น บทเรียนพึงรู้ผ่อนหนักผ่อนเบา

แม้ทุกชีวิตมีปลายทางเดียวกันนั้นคือความตาย แต่ตายแบบไหนจะเท่ห์กว่ากันเท่านั้นเอง พึงรู้จักการหนักการเบา คิดพิเคราะห์เสมอก่อนตัดสินใจทำอะไรลงไป
 “เตียวหุย” ขุนทหารตายน้ำตื้น บทเรียนพึงรู้ผ่อนหนักผ่อนเบา
แม้ทุกชีวิตมีปลายทางเดียวกันนั้นคือความตาย แต่ตายแบบไหนจะเท่ห์กว่ากันเท่านั้นเอง พึงรู้จักการหนักการเบา คิดพิเคราะห์เสมอก่อนตัดสินใจทำอะไรลงไป

ใครจะไปคิดว่าขุนทหารเชี่ยวชาญศึกอย่า “เตียวหุย” เมื่อถึงคราจะสิ้นลม ก็ง่ายนิดเดียว ตายเพราะถูกลอบฆ่าโดยทหารของตัวเอง ภาษาบ้านๆเขาจึงเรียกว่าตายน้ำตื้น

ทำไมถึงเรียกว่าตายน้ำตื้น...?
คำตอบง่ายๆคือ ตายง่ายเกินไป

.....

“เตียวหุย” เป็นน้องร่วมสาบานกับ “เล่าปี่” และ “กวนอู” ว่ากันตามฐานะความมีอันจะกินแล้ว “เตียวหุย” เป็นผู้มั่งคั่งที่สุดในสามพี่น้อง เมื่อคราวเกิดโจรโพกผ้าเหลือง ราชสำนักประกาศหาอาสาสมัครร่วมปราบโจร

“เล่าปี่” มีปัญญาคิดอ่านในการวางแผน แต่ขาดยุทธปัจจัย ไม่มีขุนพลคู่ใจ ที่จะรบทัพจับศึก แต่พอได้ “กวนอู” ผู้มีฝีมือเชิงชั้นการทหาร และ มี “เตียวหุย” ที่มีทั้งฝีมือและมีทรัพย์สิน ทั้งสามมีอุดมการณ์เดียวกัน จึงดื่มน้ำสาบานเป็นพี่น้องกัน โดยใช้พื้นที่บ้านของ “เตียวหุย” เป็นแหล่งรวมพลหาแนวร่วมและฝึกปรือทหาร


แม้ไม่เกิดวันเดือนปีเดียวกัน แต่ขอตายวันเดือนปีเดียวกัน ว่าไปนู่น แต่เอาเข้าจริงๆก็ไม่เป็นไปตามสาบานเสียทั้งหมด สิ่งที่ทั้งสามแน่วแน่เป็นหนึ่งเดียวคือความรักที่มีต่อกัน เป็นรักที่บริสุทธิ์เกื้อกูลกันตราบจนสิ้นลม

เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย
เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย
....

“เตียวหุย” ตายเมื่อตอนอายุห้าสิบปี วัยเพียงห้าสิบนี้ยังถือว่าหนุ่มแน่นนัก ยังสามารถที่จะรบทัพจับศึกได้อีกหลายปี การตายของ “เตียวหุย” เกิดขึ้นหลังจาก “กวนอู” ตาย

และเหตุการณ์สำคัญหลังจากที่ “กวนอู” ตายมีการผลัดแผ่นดินขึ้น ณ แคว้นวุยก๊ก (ก๊กโจโฉ)

หลังจาก “โจโฉ” ตาย (“โจโฉ” ตายภายหลัง “กวนอู”ไม่นาน) “โจผี” ลูกชาย ขึ้นตำแหน่งแทนพ่อทุกตำแหน่ง แต่มีอาการเหี้ยมหาญเหิมเกริมมากกว่าพ่อหลายสิบเท่า

“โจผี” ชิงราชบัลลังก์ ปลด “พระเจ้าเหี้ยนเต้” ออกแล้วเนรเทศไปอยู่ชายแดนห้ามให้กลับมาเมืองหลวง

เหตุการณ์สะเทือนแผ่นดินนี้ทำให้อาณาประชาราษฎร เคียดแค้นชิงชังเป็นอย่างมาก หมายที่จะให้มีผู้แก้แค้นแทนพระเจ้า “เหี้ยนเต้” ทั้งสิ้น

รูปการของความชอบธรรมก็ควรเป็นเช่นนั้น

......

เมื่อ “โจผี” ปล้นราชสมบัติ “พระเจ้าเหี้ยนเต้” ฟากฝั่ง “เมืองเสฉวน”ที่ “เล่าปี่”ปกครองอยู่ เหล่าขุนนางจึงพร้อมใจทูลเชิญให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ เพราะเห็นว่า “เล่าปี่” มีความชอบธรรมเพราะเป็นเชื้อพระวงศ์มาแต่เดิม “พระเจ้าเหี้ยนเต้” นับถือจนถึงขั้นเรียกพระเจ้าอา หลังจากที่ให้อาลักษณ์ไล่เลียงลำดับญาติ ความชอบธรรมนี้มีมาเต็มๆ แต่ “เล่าปี่” ก็บิดพลิ้วไม่ยอมรับอยู่นานสองนานเพราะหวั่นคำครหาว่าครองราชย์ไม่ชอบธรรม

แต่ที่สุดแล้วก็ได้ขึ้นครองราชย์ เพื่อให้ราษฎรมีขวัญกำลังใจและมีที่พึ่ง ที่ยึดเหนี่ยวทางจิตรใจ

พิจารณาตามความชอบธรรม ณ ตรงนี้ “พระเจ้าเล่าปี่” พึงที่จะกำยกทับไปปราบ “พระเจ้าโจผี” ตามความต้องการของประชาชน ตามคำแนะนำของเหล่ากุนซือ ที่ต่างช่วยกันวิเคราะห์ผลดีผลเสียต่างๆ แต่ก็ไม่เป็นผล

แม้ “ขงเบ้ง” จะทัดทานหลายครั้งก็ไม่เป็นผลเช่นกัน

เล่าปี่ เตรียมยกทัพไปแก้แค้นให้กวนอู
เล่าปี่ เตรียมยกทัพไปแก้แค้นให้กวนอู

“พระเจ้าเล่าปี่” แน่วแน่ที่จะยกทัพไปปราบ “ซุนกวน” เพื่อแก้แค้นแทน “กวนอู” น้องร่วมสาบาน ซึ่งถูกฝ่าย “ซุนกวน” ล้อมปราบและฆ่าในที่สุด

ฝ่าย “ซุนกวน” เมื่อฆ่า “กวนอู” แล้วเกรงความผิดหวั่น “เล่าปี่” ยกทัพใหญ่มาทำศึกแก้แค้นกับตน จึงให้ทหารนำหัวของ “กวนอู” ไปมอบให้แก่ “โจโฉ”เพื่อพลางให้เกิดภาพว่า “ซุนกวน” ฆ่า “กวนอู” ตามคำสั่ง “โจโฉ”

มุกตื้นๆเพียงแค่นี้ไหนเลย “โจโฉ” จะไม่รู้ทัน จึงแก้เกมส์ด้วยการจัดการพิธีศพอย่างสมเกียรติ

ทุกปมสงสัยจึงคลีคลายว่า “กวนอู” นั้นตายเพราะฝีมือของฝ่าย “ซุนกวน”

อย่าเพิ่งงง นะครับ
ต้องปูเรื่องต้นทางให้เห็นภาพ จึงจะเห็นประเด็นมองเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ร่วมกันวิเคราะห์ถกประเด็นต่อเนื่องได้

.....
“พระเจ้าเล่าปี่” ฟังธงแน่นแน่ว่าจะต้องแก้แค้นแทน “กวนอู” ใครทัดทานก็ไม่ฟังแล้ว
เมื่อแน่วแน่เช่นนี้ ทุกฝ่ายก็ต้องยอม แล้วจัดแจงให้ “ขงเบ้ง” ดูแล “เมืองเสฉวน” แทน

ขณะที่ปรึกษาทัพเตรียมออกศึก ได้มีหนังสือไปเรียก “เตียวหุย” ซึ่งตอนนั้นเป็นเจ้า “เมืองลองจิ๋ว” มาปรึกษาร่วมวางแผน

แต่กว่าจะกางแผนการได้ เมื่อ “พระเจ้าเล่าปี่” กับ “เตียวหุย” ได้เจอกันต่างกอดคอกันร้องไห้อาลัย “กวนอู” น้ำตาแทบเป็นสายเลือด

เมื่อวางแผนเรียบร้อยจึงให้“เตียวหุย” กลับไป “เมืองลองจิ๋ว” เพื่อเตรียมทัพให้พร้อมแล้วจะยกพลไปเจอกันกับทัพหลวงของ “พระเจ้าเล่าปี่” ณ เมือง “เกงจิ๋ว” เพื่อปราบ “ซุนกวน”ให้หายแค้น

เล่าปี่ เตียวหุย วางแผนจะแก้แค้นให้กวนอู
เล่าปี่ เตียวหุย วางแผนจะแก้แค้นให้กวนอู
...

ความเหี้ยมหาญเป็นเหตุ...?
ความไม่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาเป็นเหตุ...?

“เตียวหุย” เมื่อกลับถึง “เมืองลองจิ๋ว” เรียกประชุมขุนนางทันที สั่งการโดยด่วนว่า ให้เตรียมทัพสู้ศึกครั้งนี้โดยไว ให้แล้วเสร็จภายในสามวัน

ย้ำ...!!!ภายในสามวัน

สิ่งของประการสำคัญที่ต้องเตรียมคือ เครื่องศราสตราวุธต่างๆให้ครบถ้วนจำนวนทหาร ม้าขาว ธงขาว ผ้าขาว

หลังจากที่ได้ยินคำสั่ง “ฮอมเกียง” และ “เตียวตัด” หัวหน้านายทหาร มองว่าเป็นไปได้ยากจริงๆที่จะเตรียมการตามสั่งให้ได้ทันภายในสามวัน

ทั้งสองจึงเข้าไปทัดทานและให้เหตุผลว่าเตรียมไม่ทันจริงๆ ขอให้ยืดระยะเวลาออกไปอีกสักนิด

“เตียวหุย” ควันออกหูทันทีหลังจากหัวหน้านายทหารทั้งสองว่ามาเช่นนั้น

ด้วยความเกรี้ยวกราด จึงสั่งให้นำตัวไปประหาร แต่มีผู้ร้องขอจึงลดโทษให้ โดยนำตัวไปผูกกับเสาไม้แล้วลงมือเฆี่ยนทหารทั้งสองคนละห้าสิบทีด้วยตัวเอง แถมกำชับใหม่ว่าทุกสิ่งที่สั่งให้แล้วเสร็จภายในวันพรุ่งนี้

เมื่อเลือดบ้าขึ้นหน้า ก็ไม่รู้ว่าผีห่าซาตานตัวไหนเข้าสิง
หรือเป็นเพราะชะตาถึงฆาตก็ไม่รู้นะ ทำให้ “เตียวหุย” แสดงกิริยาอย่างนั้นออกไป

ฮอมเกียง กับ เตียวตัด
ฮอมเกียง กับ เตียวตัด

เมื่อ “ฮอมเกียง” กับ “เตียวตัด” ถูกปล่อยตัวทั้งสองจึงปรึกษากันว่า วันนี้ถูกเฆี่ยนก็เหมือนซ้อมตาย ถ้ายังจะทำงานให้ “เตียวหุย” อยู่อีกได้ตายจริงๆแน่

ทางออกในการรักษาลมหายใจทั้งสองจึงชิงลงมือก่อน

ดึกสงัดคืนนั้น “เตียวหุย” นอนไม่หลับกระวนกระวาย ทำอย่างไรก็ไม่หลับจึงเรียกหาให้คนใช้นำสุราอย่างดีมาดื่มแกล้มพระจันทร์ เพื่อให้คลายกังวล

อาจด้วยเป็นวันที่ชะตาขาด จึงทำให้เหล้าแก้วนั้นหวานเป็นพิเศษ ยิ่งดื่มยิ่งดี ยิ่งผ่อนคลายจนเผลอหลับไป

“เตียวหุย” ตายแบบไม่ต้องปะทะ ไม่ต้องต่อสู้

“ฮอมเกียง” และ “เตียวตัด” ย่องมาเงียบๆ แล้วฆ่า “เตียวหุย” แล้วตัดหัวหนีไปเข้ากับ “ซุนกวน”

นี่จึงเป็นการตายแบบน้ำตื้นๆของขุนทหารนามระบือ ที่ชื่อ "เตียวหุย"
ตายเพราะไม่รู้ผ่อนหนักผ่อนเบา

เรื่องนี้จึงเป็นบทเรียนสำคัญยิ่ง แม้ทุกชีวิตมีปลายทางเดียวกันนั้นคือความตาย แต่ตายแบบไหนจะเท่ห์กว่ากันเท่านั้นเอง พึงรู้จักการหนักการเบา คิดพิเคราะห์เสมอก่อนตัดสินใจทำอะไรลงไป

ปรีชา นาฬิกุล
๒๙ เม.ย.๒๕๖๒

หมายเหตุ : บทความนี้เป็นผลงานของคุณ ปรีชา นาฬิกุล จากเพจ "หยิบสามก๊ก มาถกเล่น" ที่แบ่งปันมาให้อ่านเล่นกัน หากนักอ่านท่านใดสนใจบทความสามก๊กดี ๆ เพิ่มเติม สามารถแวะไปเยี่ยมชมได้ ทั้งนี้ต้องขอขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

กรุณาแสดงความคิดเห็น

BLOGGER: 1

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,18,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,118,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,66,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: “เตียวหุย” ขุนทหารตายน้ำตื้น บทเรียนพึงรู้ผ่อนหนักผ่อนเบา
“เตียวหุย” ขุนทหารตายน้ำตื้น บทเรียนพึงรู้ผ่อนหนักผ่อนเบา
แม้ทุกชีวิตมีปลายทางเดียวกันนั้นคือความตาย แต่ตายแบบไหนจะเท่ห์กว่ากันเท่านั้นเอง พึงรู้จักการหนักการเบา คิดพิเคราะห์เสมอก่อนตัดสินใจทำอะไรลงไป
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhmmK0RMIsct4ANGi8YWp5g3N7-CK9rgXccZ6aLBLBxRa1WPIHLXjMXVYRDO7ZmNx8ZjED-OGU-bEi6cTa3JUM8zMv7sIvb9bKcsTRaeEVBeCCHM2ACbgBrgn8xWvQMWmyvUMZlCTyAbXM/s640/%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A2-%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2599-%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%259C%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%259C%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B2.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhmmK0RMIsct4ANGi8YWp5g3N7-CK9rgXccZ6aLBLBxRa1WPIHLXjMXVYRDO7ZmNx8ZjED-OGU-bEi6cTa3JUM8zMv7sIvb9bKcsTRaeEVBeCCHM2ACbgBrgn8xWvQMWmyvUMZlCTyAbXM/s72-c/%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A2-%25E0%25B8%2582%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%25B3%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B7%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2599-%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2597%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%25B6%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B9%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%259C%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%259C%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2599%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%25B2.jpg
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2019/05/great-warrior-die-easily.html
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2019/05/great-warrior-die-easily.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ