มาฟังข้อคิดจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันการศึกษาอันดับหนึ่งของประเทศไทย ว่าเหตุใด สามก๊ก จึงเป็นหนังสือเล่มโปรดของท่าน
อีกหนึ่งคำยืนยัน ที่บ่งบอกว่า สามก๊ก คือหนังสือที่มีคุณค่ามากที่สุดหากพูดถึงมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของประเทศไทยในปัจจุบัน เราต้องนึกถึง "มหาวิทยาลัยมหิดล" สถาบันการศึกษาที่ ผลิตบุคลากรสำคัญทางการแพทย์ อันครอบคลุมด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
และเมื่อวานนี้ (27 มกราคม 2562) Youtube ของ Mahidol Library Channel ได้นำคลิปวีดีโอบทสัมภาษณ์ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับหนังสือเล่มโปรด มาลงใน Channel ของตน
หนังสือเล่มโปรดของท่านก็คือ "สามก๊ก"
อะไรที่ทำให้ สามก๊ก เป็นหนังสือเล่มโปรดของท่าน ลองชมวีดีโอนี้ดูครับ
สรุปใจความสำคัญ
- ท่านอ่านหนังสือสามก๊กตั้งแต่อายุ 10 ขวบ และยังคงอ่านมาจนถึงปัจจุบัน
- การอ่านสามก๊กในแต่ละครั้ง จะให้มุมมองที่แตกต่างกัน ตามต้นทุนความเข้าใจในชีวิต
- ในช่วงชีวิตหนึ่ง ต้องอ่านสามก๊กหลาย ๆ ครั้ง เพื่อให้ได้ประโยชน์อันงอกเงย
- การอ่านหนังสือต่างกับการดูหนัง เพราะการอ่านหนังสือคือการใช้ภูมิหลังของเราในการมองเรื่อง ต่างจากการดูหนังที่เราต้องมองในมุมของผู้กำกับภาพยนตร์
- สามก๊ก สอนตรรกะของชีวิต หากมองคนรอบตัวเรา เราสามารถคาดการณ์ชีวิตของเขาได้ เพราะทุกตัวละครในสามก๊ก ได้ถ่ายทอดลักษณะนิสัยของมนุษย์ไว้ทั้งหมด
- ตัวละครโปรดคือ จูล่ง ที่แม้จะรบไม่เก่งเท่ากวนอู เตียวหุย แต่กวนอูหยิ่งทะนงใช้งานยาก เตียวหุยมีปัญหาด้านอารมณ์ จูล่งหนักแน่น มั่นคง มีความรับผิดชอบสูงมาก ขงเบ้งจึงชอบใช้งานจูล่งมากที่สุด
- เจ้านายทุกคนล้วนอยากได้คนแบบจูล่งเป็นลูกน้อง เพราะ มี Loyalty(ความจงรักภักดี) Responsibility(ความรับผิดชอบ) Competency(ความสามารถ) และ Punctual(ตรงเวลา)
- การอ่านหนังสือคือวิธีเพิ่มพูนปัญญา ประสบการณ์ ความเข้าใจในชีวิต หากมีโอกาสควรอ่านหนังสือเพื่อเสริมความเข้าใจในการแก้โจทย์ปัญหาของชีวิต
กรุณาแสดงความคิดเห็น