ขงเบ้งทำ "โคมไฟเสี่ยงทาย" ไปก็เท่านั้น ... ไม่อาจสู้ "คุ้กกี้เสี่ยงทาย" ที่น่าจะมีประโยชน์มากกว่า ในแง่มุมของความบันเทิง
"โคมไฟเสี่ยงทายเป็นของไร้ประโยชน์"
ขงเบ้งจึงสั่งให้เกียงอุย ลูกศิษย์คนโปรดจัดทหารสี่สิบเก้าคน ให้ห่มเสื้อขาวใส่หมวกขาวถือธงขาวล้อมตัวไว้ แล้วนิ่งทำการอยู่ในม่าน เฉพาะแต่เวลากลางคืน ตั้งใจจะให้ครบเจ็ดวัน หากทำสำเร็จก็จะมีอายุสืบไปได้อีกสองปี แต่ถ้าเพลิงในโคมดับ ก็แสดงว่าจะถึงแก่ความตาย
ระหว่างทำพิธี ขงเบ้งร่ายมนต์คาถา อาราธนาเทวดาตั้งแต่ค่ำยันรุ่งว่า
"ตัวข้าพเจ้าชื่อจูกัดเหลียงคือขงเบ้ง เอากำเนิดมาในหว่างแผ่นดินจลาจล พระเจ้าเล่าปี่มีความอุตส่าห์ไปหาข้าพเจ้าถึงสามครั้งก็ได้มาช่วยทำการทำนุ บำรุงแผ่นดิน พระเจ้าเล่าปี่นั้นมีพระคุณชุบเลี้ยงข้าพเจ้าถึงขนาด เมื่อพระองค์จะสวรรคตก็ได้สั่งการทั้งปวงไว้แก่ข้าพเจ้า แลข้าพเจ้าก็ได้คิดอ่านทำการสงครามหวังจะกำจัดศัตรูแผ่นดิน แลการทั้งนี้ก็ไม่สำเร็จ บัดนี้เห็นดาวสำหรับตัวข้าพเจ้าเสร้าหมอง จะถึงกำหนดอายุอยู่แล้ว ตัวข้าพเจ้าตั้งใจทำการบำรุงพระมหากษัตริย์ก็ยังไม่สำเร็จ ขอเทพดาทั้งปวงจงให้กำลังแลชีวิตข้าพเจ้าไว้ก่อน จะได้ช่วยป้องกันดับร้อนอาณาประชาราษฎรสืบไป"
ขงเบ้งทำเช่นนี้ ซ้ำอยู่จนถึงคืนที่หก สุมาอี้ดูดาว เห็นดาวขงเบ้งใกล้เริ่มสิ้นแสง ก็รู้ว่าขงเบ้งกำลังจะตาย สุมาอี้จึงสั่งให้ทหารออกมาท้ารบ
ขงเบ้งทำพิธีต่ออายุ |
อุยเอี๋ยนเห็นทหารข้าศึกร้องท้าทายอยู่หน้าค่าย ก็ทนไม่ได้ รีบวิ่งเข้าไปในกระโจม ทำให้สะดุดโคมใหญ่ล้มดับไป
ขงเบ้งเห็นเป็นเช่นนั้น ก็ได้แต่ร้องทอดถอนใจว่า
"ความตายนี้เปนบุราณกรรม ถึงมาทว่าจะคิดอ่านแก้ไขประการใดก็ไม่พ้น ตัวเราครั้งนี้จะถึงความตายเปนมั่นคง"
ไม่นานหลังจากนั้นขงเบ้งก็สิ้นลม ส่วนกองทัพจ๊กก๊กก็มีปัญหาภายใน เกิดความขัดแย้ง อุยเอี๋ยนทำการกบฏ ต้องฆ่าฟันกันเอง และถอยทัพกลับไป
........................
ในทางพระพุทธศาสนา การเสี่ยงทาย ทำนาย ดูฤกษ์ยาม พยากรณ์ หรือพิธีกรรมคาถา ล้วนเข้าข่าย "ติรัจฉานวิชา" อันเป็นความรู้ที่ขวางต่อการบรรลุมรรคผลและพระนิพพาน เพราะเป็นวิชาที่ทำให้หมกมุ่น เพลิดเพลิน ยึดติด ไม่ประกอบภารกิจหน้าที่อันพึงกระทำ
ติรัจฉานวิชา สามารถจัดแบ่งได้เป็น 4 มุมมอง คือ
- มุมมองเกี่ยวกับวิชาการดูดวง ดูฤกษ์ ดูยาม
- มุมมองว่าด้วยวิชาโหราศาสตร์
- มุมมอง ว่าด้วยวิชาปลุกเสกเครื่องรางของขลัง
- มุมมองว่าด้วยการเข้าองค์ ทรงเจ้า
ขงเบ้ง กับโคมไฟเสี่ยงทาย |
ขงเบ้งเสียเวลากับ "ติรัจฉานวิชา" อย่างไร้ประโยชน์ไป "หกวัน" พอไม่ได้ตามคาดก็หมดกำลังใจล้มตายไปโดยไม่ทันสะสางภารกิจ ขุนพลแตกแยก กองทัพล่มสลาย ยกทัพกลับเมืองโดยเสียเปล่า
หกวันสุดท้ายของขงเบ้ง หากใช้ไปกับการวางแผนให้รัดกุม และย้อนกลสุมาอี้ บางทีอาจจะกำจัดสุมาอี้ และส่งต่อความสำเร็จให้คนรุ่นหลัง
บ้านเมืองไทยเราในแต่ละวัน หมดเปลืองเวลาและทรัพยากรให้ ติรัจฉานวิชา ไปวันละเท่าไหร่ ไม่กล้าคิด ส่วนพระสงฆ์ กับ ติรัจฉานวิชา ก็แทบจะแยกออกจากกันไม่ได้
ขงเบ้งทำ "โคมไฟเสี่ยงทาย" ไปก็เท่านั้น ... ไม่อาจสู้ "คุ้กกี้เสี่ยงทาย" ที่น่าจะมีประโยชน์มากกว่า ในแง่มุมของความบันเทิง
กรุณาแสดงความคิดเห็น