"โจรฉกรรจ์ สามก๊ก" กิเลสทั้งสาม คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง ที่ทำให้ความเป็นมนุษย์สูญเสียและเสื่อมถอยไป
"โจรฉกรรจ์ สามก๊ก" คือ โลภะ โทสะ และ โมหะ
"โจรฉกรรจ์ สามก๊ก" ไม่ใช่โจรโพกผ้าเหลืองสามคนพี่น้อง เตียวก๊ก เตียวเหลียง เตียวโป้ หรือผู้นำของก๊กทั้งสามอย่าง โจโฉ เล่าปี่ ซุนกวน แต่ "โจรฉกรรจ์ สามก๊ก" ในที่นี้นั้นคือหัวข้อปริศนาธรรม ของท่านพุทธทาสภิกขุ ที่เปรียบเทียบ "โจรฉกรรจ์ สามก๊ก" กับกิเลสทั้งสาม คือ ความโลภ ความโกรธ และความหลง ที่ทำให้ความเป็นมนุษย์สูญเสียและเสื่อมถอยไปวันนี้ผมจึงขอนำคำสอนของท่านพุทธทาสมาให้รับฟังกัน หรือถ้าใครสนใจจะเพิ่มพูนแนวความคิดทางธรรม ก็ลองหาหนังสือ "โจรฉกรรจ์ สามก๊ก" ของท่านพุทธทาส มาอ่านดู
คำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุ ทุกคำทุกข้อ เต็มเปี่ยมไปด้วยข้อคิดคำคม และเป็นอีกครั้งที่แสดงให้เห็นว่า "ใน สามก๊ก ยังมีธรรม"
ธรรมะจากท่านพุทธทาส เรื่อง "โจรฉกรรจ์ สามก๊ก"
หัวข้อปริศนาธรรม- ปาฏิโมกข์คำกลอน ของท่านพุทธทาส
ปริศนาธรรม- ปาฏิโมกข์คำกลอน
|
|
ไม้อิง สามขา
|
หลักใหญ่แยกออกจากกันไม่ได้ ๓ อย่าง ที่เหมือนไม้อิงกันคือ ๑.พระพุทธ ๒.พระธรรม ๓.พระสงฆ์ |
ศาสตรา มีสามอัน
|
ของมีคมที่ใช้ตัดปัญหามี ๓ อย่างคือ ๑.ศีล ๒.สมาธิ ๓.ปัญญา |
โจรฉกรรจ์ สามก๊ก
|
กิเลสสามกลุ่มเปรียบดังโจร คือ ๑.โลภะ ๒.โทสะ ๓.โมหะ |
ป่ารก สามดง
|
มิจฉาทิฏฐิ ๓ ที่เหมือนเป็นป่ารก คือ ๑.มิจฉาทิฏฐิว่า เที่ยง (ตายแล้วเกิด) ๒.ว่าสูญ ๓.ว่าไม่มีอะไรเลย |
เวียนวง สามวน
|
วัฏฏสงสาร ๓ คือ ๑.กิเลส-๒.กรรม-๓.วิบาก หรือ ๑.อยาก- ๒.แล้วก็ทำ- ๓.แล้วก็ได้ผล เวียนอยู่เป็นวงกลม |
ทุกข์ทน ทั้งสามโลก
|
โลกแห่งความทุกข์ที่ต้องทนมี ๓ โลก คือ ๑.กามโลก ๒.รูปโลก ๓.อรูปโลก |
เขาโคก มีสามเนิน
|
ความรู้สึกหรือมานะ ถือตัวถือตนมี ๓ ชนิดคือ ๑.รู้สึกว่ากูดีกว่า ๒.รู้สึกว่ากูเสมอกัน ๓.รู้สึกว่าเลวกว่า |
ทางห้ามเดิน สองแพร่ง
|
ทางห้ามเดิน ๒ ลักษณะ ๑.กามสุขัลลิกานุโยค และ ๒.อัตตกิลมถานุโยค |
ตัวแมลง ห้าตัว
|
แมลงรบกวนจิตใจ ๕ ตัวคือนิวรณ์ ๕ คือ ๑.กามฉันทะ (กามารมณ์) ๒.พยาบาท (พยาบาท อาฆาต) ๓. ถีนมิทธะ (ท้อแท้ อ่อนเพลีย ง่วงเหงา) ๔. อุทธัจจะกุกกุจจะ (ความคิดฟุ้งซ่าน) ๕. วิจิกิจฉา(ความลังเลไม่แน่ใจ) |
มารน่ากลัว ห้าตน
|
มารที่น่ากลัว ๕ ตน คือ ๑. กิเลสมาร ๒.ขันธมาร ๓.มัจจุมาร ๔.อภิสังขารมาร ๕. เทวปุตมาร |
บ่วงคล้องคน หกบ่วง
|
บ่วงคล้องคน ๖ บ่วงคือ ๑.รูป ๒.เสียง ๓.กลิ่น ๔.รส ๕.โผฏฐัพพะ ๖.ธรรมารมณ์ |
เหตุแห่งสิ่งทั้งปวง หกตำแหน่ง
|
เหตุแห่งสิ่งทั้งปวง ๖ตำแหน่งคือ ๑.จักษุสัมผัส ๒. โสตสัมผัส ๓. ฆานสัมผัส ๔. ชิวหาสัมผัส ๕. กายสัมผัส ๖. มโนสัมผัส |
แหล่งอบาย สี่ขุม
|
อบาย ๔ ขุมคือ ๑.นรก ๒.เดรัจฉาน ๓.เปรต ๔. อสุรกาย |
ที่ต้องคุม สามจุด
|
ที่ต้องควบคุม ๓ จุดคือ ๑.กาย ๒.วาจา ๓. ใจ |
ทางแห่งวิมุตติมี แปดองค์
|
มรรคมีองค์ ๘ คือ ๑.สัมมาทิฏฐิ ๒.สัมมาสังกัปโป ๓.สัมมาวาจา ๔.สัมมากัมมันโต ๕.สัมมาอาชีโว ๖.สัมมาวายาโม ๗.สัมมาสติ ๘.สัมมาสมาธิ |
วัตถุที่พึงประสงค์ สองสถาน
|
วัตถุที่พึงประสงค์ ๒ อย่างคือ ๑.ความรอดของตัวเอง ๒. ความรอดของผู้อื่น |
กรุณาแสดงความคิดเห็น