ในเรื่อง สามก๊ก เราได้ยินเรื่องกลศึกสงคราม ยุทธวิธีต่าง ๆ มากมาย แต่สำหรับเรื่องยุทธศาสตร์เราคุ้นเคยแต่เพียง ยุทธศาสตร์สามก๊ก หรือ ยุทธศาสตร์หลงจง ของขงเบ้งเท่านั้น
แท้จริงแล้วยังมีอีกยุทธศาสตร์หนึ่ง ที่เกิดขึ้นก่อนและสำคัญไม่แพ้ยุทธศาสตร์หลงจง นั่นคือ ยุทธศาสตร์สองก๊กของโลซก
"เปรียบเทียบสองยุทธศาสตร์ จากสองยอดกุนซือ"
ในเรื่อง สามก๊ก เราได้ยินเรื่องกลศึกสงคราม ยุทธวิธีต่าง ๆ มากมาย แต่สำหรับเรื่องยุทธศาสตร์เราคุ้นเคยแต่เพียง ยุทธศาสตร์สามก๊ก หรือ ยุทธศาสตร์หลงจง ของขงเบ้งเท่านั้น
แท้จริงแล้วยังมีอีกยุทธศาสตร์หนึ่ง ที่เกิดขึ้นก่อนและสำคัญไม่แพ้ยุทธศาสตร์หลงจง นั่นคือ ยุทธศาสตร์สองก๊กของโลซก
ยุทธศาสตร์สองก๊ก
ยุทธศาสตร์สองก๊ก เป็นแผนการแรกที่ โลซก อธิบายต่อซุนกวน ที่เมืองกังตั๋ง (ไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ จึงน่าจะตั้งชื่อให้ว่ายุทธศาสตร์กังตั๋ง) เป็นการแสดงวิสัยทัศน์ที่สร้างความประทับใจให้กับซุนกวนเป็นอย่างมาก แผนการนี้เกิดขึ้นก่อนยุทธศาสตร์หลงจง เพราะขณะนั้น เล่าปี่ ยังไม่ได้เจอ ขงเบ้ง และเป็นเพียงคนเร่ร่อน หนีจากอ้วนเสี้ยวมาอาศัยเล่าเพ็กอยู่ที่เมืองยีหลำเท่านั้น
หนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) อธิบายความในตอนนี้ว่า
“แผ่นดินทุกวันนี้เป็นจลาจลอยู่ เห็นพระเจ้าเหี้ยนเต้จะไม่ครองราชย์สมบัติไปโดยปรกตินั้นก็จริง แต่บัดนี้โจโฉได้เป็นมหาอุปราช มีสติปัญญาอยู่ ทั้งทหารก็มีฝีมือเป็นอันมาก แลท่านจะคิดหักหาญเอาโดยเร็วนั้นไม่ได้ แลอ้วนเสี้ยวก็ทำศึกขับเคี่ยวกันอยู่กับโจโฉ อันเล่าเปียวเจ้าเมืองเกงจิ๋วกับหองจอเจ้าเมืองกังแฮนั้น เป็นเสี้ยนหนามอยู่ใกล้เมืองเรา ขอให้ท่านคิดอ่านกำจัดเล่าเปียวกับหองจอก่อนเสียก่อน แล้วจึงค่อยคิดการใหญ่ต่อไป”
ความในตอนนี้หนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ทำตกหล่นไป แปลไม่ครบถ้วนอยู่บ้าง เพราะในหนังสือสามก๊กภาษาอังกฤษ มีเพิ่มต่อว่า
“ให้รวบรวมดินแดนแถบแม่น้ำแยงซี จากนั้นเมื่อรวมแผ่นดินได้ก็ให้ตั้งตนเป็นโอรสสวรรค์”
ยุทธศาสตร์นี้ มีข้อขัดแย้งอยู่บ้าง เพราะในหนังสือสามก๊กบางเล่ม ได้อธิบายว่า คล้ายคลึงยุทธศาสตร์หลงจงของขงเบ้ง เพราะแบ่งแผ่นดินออกเป็นสามส่วน คือ โจโฉ ซุนกวน และเล่าเปียว ซึ่งในข้อนี้ในหนังสือสามก๊กทั้งไทย อังกฤษ ไม่ได้กล่าวถึงความสำคัญของเล่าเปียวว่าจะเป็นก๊กใหญ่แต่อย่างใด แผ่นดินไม่ได้แบ่งเป็นสาม ดังนั้น จึงน่าจะเรียกว่า "ยุทธศาสตร์สองก๊ก" มากกว่า
ยุทธศาสตร์สามก๊ก
“เล่าเปียวคนนี้อายุจะไม่ยาวสืบไป ฝ่ายเล่าเจี้ยงนั้นเล่า ก็เป็นคนโลเลหามั่นคงไม่ ทั้งอาณาประชาราษฎรก็มิได้รักใคร่ ถึงว่าท่านมีความกตัญญูต่อพระเจ้าเหี้ยนเต้ มิได้คิดจะทำร้ายทั้งสองคนนี้ก็ดี นานไปก็จะเกิดอันตรายเอง เมืองทั้งสองนี้ก็จะได้แก่ท่านเป็นมั่นคง
แลขงเบ้งว่ากล่าวทั้งนี้ เหตุพิเคราะห์เห็นโดยตำราว่า ต่อไปภายหน้า เล่าปี่จะได้เป็นใหญ่อยู่ก๊กหนึ่ง โจโฉก๊กหนึ่ง ซุนกวนก๊กหนึ่ง เป็นสามก๊กฉะนี้ แลบรรดาคนจีนทั้งปวงจึงพากันนับถือขงเบ้งว่ามีปัญญารู้ตำราดูตลอดไปถึงกาลภายหน้า เป็นที่สรรเสริญมาตราบเท่าทุกวันนี้”
กรุณาแสดงความคิดเห็น