อ่านหนังสือ "เลียดก๊ก" เป็นวรรณกรรมไทยที่แปลจากพงศาวดารจีน นับเป็นเรื่องที่สามในประวัติของวรรณกรรมไทย โดยสองเรื่องแรก คือ "สามก๊ก" และ "ไซฮั่น" ซึ่งแปลในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ในแบบออนไลน์
วรรณกรรมไทยที่แปลจากพงศาวดารจีน นับเป็นเรื่องที่สามต่อจาก "สามก๊ก" และ "ไซฮั่น"
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณกรรมเรื่อง เลียดก๊ก นี้ มีหลักฐานเท่าที่ ปรากฏอยู่ในขณะนี้ค่อนข้างน้อย ทราบเบื้องต้นเพียง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดประชุมนักปราชญ์ในราชสํานัก แปลพงศาวดารจีนเรื่องนี้ เป็นหนังสือจำนวน 153 เล่มสมุดไทย เมื่อ พ.ศ.2362 และโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์พิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ พ.ศ.2413
รายละเอียดเรื่องการแปลปรากฏในตอนต้นเรื่อง ซึ่งระบุผู้ที่มีส่วนในการแปลเรื่อง เลียดก๊ก ว่าเป็นผู้สูงศักดิ์ และทรงความสามารถ ถึง 11 คน คือ
- กรมหมื่นนเรศโยธี
- เจ้าพระยายมราช
- เจ้าพระยาวงษาสุรียศักดิ์
- พระยาโชดึกหนึ่ง
- ขุนท่องสื่อ
- จหมื่นไวยวรนาถ
- เล่ห์อาวุธ
- นายจ่าเรศ
- หลวงลิขิตปรีชา
- หลวงญาณปรีชา
- ขุนมหาสิทธิโวหาร
เนื้อเรื่องสลับซับซ้อน ว่าด้วยการขับเคี่ยวชิง ชัยกันระหว่างนครรัฐต่าง ๆ ในยุคศักดินาสวามิภักดิ์ ของจีน มีตัวละคร จํานวนมากนับพันตัว แสดงบทบาท ที่สะท้อนความเป็นมนุษย์ ในแง่มุมต่างๆ โดยมีสงครามเป็นบรรยากาศ หลักของเรื่อง และ ในยุคนี้ได้ถือกําเนิดนักคิดคน สําคัญของจีน ได้แก่ เล่าจื๊อ ขงจื๊อ และหันเฟยจื้อ อีกด้วย
ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์จีนที่ เป็นเหตุการณ์ในเรื่องเลียดก๊กนั้น แบ่งออกเป็น 2 ช่วง เรียกว่า ยุคชุนชิว (722 ปีก่อน ค.ศ. ถึง 481 ปีก่อนคริสตศักราช) และยุคจั้นกว๋อ (403 ถึง 221 ปีก่อนคริสตศักราช )
ต้นยุคชุนชิวแผ่นดินจีนมีประมาณสองร้อยนครรัฐ แต่สงครามแย่งชิงอำนาจหรือแผ่ขยายอิทธิพลต่างผนวกดินแดนต่างๆเข้ากับรัฐผู้ชนะจนกระทั่งเหลือเพียงรัฐใหญ่ เจ็ดรัฐมหาอำนาจในตอนปลายยุคชุนชิว นักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า "เจ็ดมหานครรัฐแห่งยุคจั้นกั๋ว 战国七雄" ได้แก่
- รัฐฉี 齐
- รัฐฉู่ 楚
- รัฐเยียน 燕
- รัฐหาน 韩
- รัฐเจ้า 赵
- รัฐเว่ย 魏
- รัฐฉิน 秦
อ่าน เลียดก๊ก ออนไลน์
"ห้องสมุดวชิรญาณ" โครงการห้องสมุดดิจิทัล ที่จัดทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งรวบรวมหนังสือต่างๆ ในประเทศไทยในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงเพื่อศึกษาและค้น คว้าได้สะดวกอย่างกว้างขวางทั่วถึง
"เลียดก๊ก" ในเว็บไซต์ห้องสมุดวชิรญาณ เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปอ่าน หรือปริ้นท์หนังสือมาเก็บไว้ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย รวมทั้งยังมีหนังสือดี ๆ อีกมากมาย
เชิญนักอ่าน หรือท่านที่สนใจเข้าไปอ่านกันได้เลยครับ
น่าจะมีเขียนแปลเป็นแบบจีนกลาง เขียนแปลแบบจีนบ้านนอกอ่านแล้วขัดหูขัดตา
ตอบลบนั่นแหละ ตอนนี้ ผมยังสงสยในใจ ว่าหงอเส็ง มันคือใคร ไปหา googleก็มีแต่หมอเส็ง จะขายยาให้ซะงั้น 555
ตอบลบรอเมื่อไหร่หนังสือแปลจีน เป็นไทยสมัย รัชกาลที่ 1 หรือสมัยอื่นที่แปลเป็นไทยสำเนียงฮกเกี้ยน น่าจะแปลใหม่ให้เป็นสำเนียงจีนกลางได้แล้วนะครับ เพราะถ้าเอาไปเทียบกับหนังสือประวัติศาสตร์จีนที่แปลไทยสมัยหลังๆเป็นสำเนียงจีนกลางทั้งหมด จะเอามาศึกษาเทียบเคียงกันยากมาก
ตอบลบ