"พลังของ การคิดบวกทำให้สามารถรับมือและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี"
บทความดี ๆ เกี่ยวกับสามก๊ก โจโฉ และความคิดบวก โดยพระอาจารย์ ว.วชิรเมธี
คุณเชื่อในวิถีแห่งการคิดบวกไหมครับ ? มองให้เห็นดี คิดในแง่บวก คำพูดและการกระทำ รวมทั้งผลลัพท์ของการกระทำนั้นก็จะออกมาดี"พลังของ การคิดบวกทำให้สามารถรับมือและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี"
วันนี้สามก๊กวิทยาอ่านเจอบทความดี ๆ บทความหนึ่งในเว็บไซต์ SECRET Thailand ชื่อว่า "พลังแห่งความคิดบวก" และผู้ที่เขียนบทความนี้ ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี หรือพระอาจารย์ "ว.วชิรเมธี" พระภิกษุนักวิชาการ นักคิดนักเขียน และนักบรรยายธรรมที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีนั่นเอง
บทความนี้จะกล่าวถึงตัวละครสำคัญในเรื่องสามก๊กอย่าง "โจโฉ" ว่าเป็นผู้มีความคิดบวก ทำให้ประสบความสำเร็จในชีวิต กลายเป็นบุคคลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติจีน รวมทั้งกล่าวถึงพระปุณณะ และองค์ทะไลลามะ บุคคลสำคัญในพระพุทธศาสนาที่เด่นชัดเรื่องการคิดบวก
บทความนี้ดี มีคติสอนใจ จึงขออนุญาตินำมาบันทึกไว้และแบ่งปันให้ทุกท่านได้อ่านโดยทั่วกัน
พลังแห่งความคิดบวก
ในอดีตมีคนที่ประสบความสำเร็จเพราะคิดบวกอยู่มากมายโจโฉ นักการเมืองชื่อดังในสมัยสามก๊ก เป็นตัวอย่างหนึ่งของคนคิดบวกที่ ประสบความสำเร็จ (ความสำเร็จของเขาถูกตีความจากหลายฝ่าย ฝ่ายที่ชอบก็บอกว่า เขาคือนักการเมืองตัวจริงเสียงจริง ถึงกับยกให้เป็นนายกฯตลอดกาล ส่วนฝ่าย ที่ไม่ชอบก็บอกว่า เขาเป็นทรราช แต่ไม่ว่าจะตีความอย่างไรโจโฉก็ได้เป็นส่วน หนึ่งในห้วงประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของมหาอาณาจักรจีนไปแล้ว) อย่างมีนัย สำคัญ
เหตุการณ์ที่สะท้อนว่าโจโฉเป็นคนคิดบวก (แม้ในชีวิตจริงเขาจะคิดบวกสลับ กับคิดลบอยู่บ่อยครั้ง แต่ในที่นี้อยากจะชี้ให้เห็นเฉพาะจุดที่เขาคิดบวก) มีปรากฏอยู่ในฉากหนึ่งของวรรณกรรมสามก๊ก คอลัมน์ “วิถีแห่งอำนาจ สุมาอี้” เขียนโดยเสถียร จันทิมาธร พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ ข่าวสด ฉบับวันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 หน้า 30 เล่าไว้ดังนี้
"โจโฉ นักการเมืองเด่นดังในสมัยสามก๊ก ไม่เพียงแต่สันทัดในงานขีดเขียน หากยังสามารถรวบรวมบรรดานักประพันธ์ที่มีฝีมือดีไว้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งคน ที่เคยคัดค้านท่านด้วย ตันหลิมก็เป็นคนหนึ่งในจำนวนนั้น"
"ตันหลิมเป็นเสมียนของอ้วนเสี้ยว ขุนศึกที่มีความทะเยอ-ทะยานและมีกำลัง พลใหญ่โตที่สุดในสมัยนั้น ความเติบใหญ่ของโจโฉยังความหนักใจมากแก่อ้วน เสี้ยว จึงคิดจะกำจัดโจโฉเสีย"
"อยู่มาวันหนึ่งอ้วนเสี้ยวให้ตันหลิมเขียนประกาศกล่าวโทษโจโฉฉบับหนึ่ง"
"ตันหลิมทำตามคำสั่งของอ้วนเสี้ยว เขียนประกาศดังกล่าวเสร็จสิ้น อย่างรวดเร็วด้วยสำนวนโวหารอันคมคาย ประณามโจโฉจนไม่มีชิ้นดี รวมทั้งบรรพ บุรุษของโจโฉด้วย"
"โจโฉมีโรคปวดศีรษะเป็นประจำ ขณะที่พวกบริวารนำหนังสือกล่าวโทษที่ตัน หลิมเขียนขึ้นนั้นมาให้อ่านก็ตรงกับเวลาที่โรคปวดศีรษะของโจโฉกำเริบพอดี โจ โฉจึงต้องนอนอ่านบนเตียง"
"เนื่องจากบทความนั้นเขียนได้ดีมาก โจโฉยิ่งอ่านก็ยิ่งตื่นเต้น ศีรษะก็พลอยหายปวดไปด้วย จึงยืนขึ้นมาแล้วพูดว่า"
‘เขียนได้ดีมาก ๆ ทำเอาโรคปวดศีรษะของข้าพลอยหายไปด้วย’
"พออ่านไปถึงตอนที่ตัวเองถูกด่าเจ็บ ๆ โจโฉก็โกรธเหมือนกันแต่ถึงอย่างไร ก็ยังนิยมชมชอบลีลาการเขียนของตันหลิม และรู้สึกเสียดายที่คนดี ๆ อย่างนี้ ต้องไปรับใช้อ้วนเสี้ยว"
"เหตุนี้เอง เมื่อโจโฉพิชิตอ้วนเสี้ยวได้ ก็ส่งคนไปหาตัวตันหลิมมาใช้งาน โดยไม่ถือโทษ ทั้งยังให้ทำหน้าที่ยกร่างเอกสารสำคัญ ๆ ของทางราชการ ต่อมาโจ โฉเคยถามตันหลิมว่า"
‘เมื่อครั้งที่ท่านเขียนหนังสือกล่าวโทษข้าน่าจะกล่าวโทษข้าแต่ผู้เดียวก็พอแล้ว ไฉนจึงลามปามไปถึงท่านพ่อท่านปู่ของข้าด้วยเล่า’
"ตันหลิมหน้าแดงและตอบว่า ‘ขณะนั้นข้าน้อยอยู่ใต้บังคับบัญชาของอ้วนเสี้ยว เขาสั่งให้ข้าน้อยเขียนก็ ต้องเขียน ประหนึ่งลูกธนูขึ้นสายเต็มเหนี่ยวจำต้องยิงออกไป’
"โจโฉเมื่อได้ยินเช่นนั้นก็หัวเราะดังก้อง ความใจกว้างของโจโฉทำให้ตันหลิมยิ่งตื้นตันใจ หลังจากนั้นโจโฉก็มิได้พูดถึงเรื่องนี้อีก”
โจโฉ |
ความคิดบวกใช่จะมีอยู่แต่ในหมู่คนธรรมดาเท่านั้นก็หาไม่แม้แต่ในหมู่พระ อริยสงฆ์บางรูป ก็ใช้วิธีคิดบวกเป็นหลักในการทำงานเผยแผ่ด้วยเช่นกัน ดังมี เรื่องเล่าของพระปุณณะ ซึ่งได้ตัดสินใจกลับไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังแผ่นดิน ถิ่นเกิดซึ่งเป็นดินแดนที่ผู้คนใจคอโหดเหี้ยม เมื่อพระพุทธองค์ทรงสอบถามถึง บริบทของสังคมในเรื่องนี้ พระปุณณะได้ตอบคำถามซึ่งสะท้อนถึงวิธีคิดเชิงบวก เอาไว้ดังนี้
พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “ชาวสุนาปรันตะเป็นคนดุร้าย ถ้าเขาด่าว่าท่าน ท่านจะวางใจต่อคนเหล่านั้นอย่างไร”
พระปุณณะทูลว่า “ยังดีนักหนาที่เขาไม่ตบตี”
ตรัสถามว่า “ถ้าเขาตบตี จะวางใจอย่างไร”
ทูลว่า “จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ขว้างปาด้วยก้อนดิน”
ตรัสถามว่า “ถ้าเขาขว้างปาด้วยก้อนดิน จะวางใจอย่างไร”
ทูลว่า “จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ทุบตีด้วยท่อนไม้”
ตรัสถามว่า “ถ้าเขาทุบตีด้วยท่อนไม้ จะวางใจอย่างไร”
ทูลว่า “จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่ฟันแทงด้วยศัสตรา”
ตรัสถามว่า “ถ้าเขาฟันแทงด้วยศัสตรา จะวางใจอย่างไร”
ทูลว่า “จะคิดว่ายังดีนักหนาที่เขาไม่เอาศัสตราอันคมฆ่าเสีย”
ตรัสถามว่า “ถ้าเขาเอาศัสตราอันคมปลิดชีพเสีย จะวางใจอย่างไร”
ทูลว่า “จะคิดว่ามีสาวกบางท่านเบื่อหน่ายร่างกายและชีวิตต้องเที่ยวหาศัสตรามาสังหารตนเอง แต่เราไม่ต้องเที่ยวหาเลยก็ได้ศัสตราแล้ว”
จบวิสัชนาตอนนี้แล้ว พระพุทธองค์ทรงพอพระทัยมากตรัสสาธุการชมเชยว่าเป็น การคิดถูกแล้ว ด้วยการคิดอย่างนี้ (คือคิดเชิงบวก) สามารถออกไปทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดนที่เต็มไปด้วย คนดุร้ายได้ ในเวลาต่อมาท่านก็สามารถนำเอาพระพุทธศาสนาไปประดิษฐานยังดินแดน นั้นได้จริง ๆ
องค์ทะไลลามะก็ทรงเป็นนักคิดบวกเหมือนกัน พระองค์ต้องทรงลี้ภัยออกมาจาก ทิเบตตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ ตลอดพระชนมชีพ พระองค์ทรงเดินทางไปทั่วโลกเพื่อ เรียกร้องสันติภาพและเอกราชให้กับแผ่นดินมาตุภูมิ แต่วันหนึ่ง เมื่อทรงถูก ถามว่า ทรงวางใจอย่างไรต่อศัตรูของพระองค์ (หมายถึงรัฐบาลจีน) แทนที่ พระองค์จะตรัสถึงกองทัพจีนในทางเสียหายพระองค์กลับตรัสว่า
“ในการฝึกความอดทนนั้น ศัตรูของเราเป็นสิ่งจำเป็น”
ในเมื่อทรงมองว่าศัตรูเป็นครูฝึกความอดทนเสียแล้วองค์ทะไลลามะจึงไม่ทรง โกรธ เกลียด หรือชิงชังใครเลยดังที่เคยตรัสว่า “ความเมตตาคือศาสนาของ ข้าพเจ้า”
เรื่องราวของโจโฉ พระปุณณะ และองค์ทะไลลามะล้วนแสดงให้เห็นว่า พลังของ การคิดบวกทำให้สามารถรับมือและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งข้อนี้ เองคือกุญแจของความสำเร็จทุกเรื่องในชีวิต
เรื่อง ว.วชิรเมธี dhammatoday@gmail.com, www.facebook.com/v.vajiramedhi
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
กรุณาแสดงความคิดเห็น