Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

Google Play Book สามก๊ก

หนังสือ "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)" "สามก๊กฉบับวณิพก" และ "ตำนานหนังสือสามก๊ก" โหลดฟรีบน Play Book ของ Google
Google Play Book สามก๊ก
"หนังสือสามก๊กใน Play Book"
     สวัสดีท่านผู้ศึกษาสามก๊ก วันนี้สามก๊กวิทยามีของดีมาฝาก เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จากร้านค้าและห้องสมุดชื่อดัง Play Book ของ Google ที่สามารถติดตั้งได้ในเว็บเบราเซอร์ โทรศัพท์มือถือ และแท็ปเล็ต

     ที่สำคัญคือ มันเป็นหนังสือ "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)" "สามก๊กฉบับวณิพก" และ "ตำนานหนังสือสามก๊ก" ที่มีราคารวมหลายร้อยบาท 

    รออะไรละครับ ... รีบตามเก็บกันเลย

สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) : (三國演義)

สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) : (三國演義)

     * หนังสือชุดนี้ไม่ให้โหลดฟรีแล้ว แต่กำลังลดราคาครับ !

     สามก๊ก (三國演義) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษา และมีการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่งขึ้นประมาณในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุคสมัยราชวงศ์หยวน บทประพันธ์โดยหลัว กวั้นจง (羅貫中) แปลและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยครั้งแรกโดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2345 ในรูปแบบสมุดไทย

     ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ในปี พ.ศ. 2408 และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งภายใต้ชื่อ "หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา" โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ในปี พ.ศ. 2471 ปัจจุบันสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีกหลายครั้งโดยหลายสำนักพิมพ์ถือเป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เล่มที่ 2 โดยแปลหลังจากไซ่ฮั่นและเก่าแก่ที่สุดในไทย

     สามก๊กมีเนื้อหาหลากหลายรสชาติ เต็มไปด้วยกลเล่ห์เพทุบาย กลศึกในการรบ การชิงรักหักเหลี่ยม ความเคียดแค้นชิงชัง ความซื่อสัตย์และการให้อภัย ซึ่งมีเนื้อหาและเรื่องราวในทางที่ดีและร้ายปะปนกัน ภาพโดยรวมของสามก๊กกล่าวถึงประวัติศาสตร์จีนในยุคสามก๊ก ในปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 823 โดยจุดเริ่มต้นของสามก๊กเริ่มจากยุคโจรโพกผ้าเหลืองในปี พ.ศ. 726 ที่ออกอาละวาด จนเป็นเหตุให้บุคคลทั้งสามคือเล่าปี่ กวนอูและเตียวหุย ได้ร่วมสาบานตนเป็นพี่น้องและร่วมปราบกบฏโจรโพกผ้าเหลือง รวมทั้งการแย่งและช่วงชิงอำนาจความเป็นใหญ่ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นของก๊กต่าง ๆ อันประกอบด้วยวุยก๊กหรือก๊กเว่ย (魏) จ๊กก๊กหรือก๊กสู่ (蜀) และง่อก๊กหรือก๊กหวู (吳) จนถึงการสถาปนาราชวงศ์จิ้นโดยสุมาเอี๋ยน รวมระยะเวลาประมาณ 60 ปี

     นอกจากนี้ สามก๊กยังเป็นหนึ่งในสี่สุดยอดวรรณกรรมจีนร่วมกับไซอิ๋ว ซ้องกั๋งและความฝันในหอแดง ซึ่งนักอ่านหนังสือจำนวนมากยกย่องสามก๊กเป็นบทเรียนตำราพิชัยสงครามภาคปฏิบัติ การบริหารและเศรษฐกิจ

สามก๊ก ฉบับวณิพก 

สามก๊ก ฉบับวณิพก

     "สามก๊กฉบับวณิพก" เป็นหนึ่งในผลงานที่มีชื่อเสียงของนักเขียนระดับตำนาน "ยาขอบ" ซึ่งหยิบเอาตัวละครจากวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊กมาเล่าใหม่ในมุมมองของ "วณิพก" ผู้หาเลี้ยงชีพด้วยการเล่านิทานแลกเงิน เสน่ห์ของสามก๊กฉบับวณิพก ก็คือมุมมองอันบริสุทธิ์ ที่มองตัวละครต่างๆ อย่างเป็นธรรม สอดแทรกด้วยเกล็ดความรู้ กับสำบัดสำนวนชั้นบรมครูของยาขอบ ผสมผสานคลุกเคล้ากันจนได้รสอักษรอันกลมกล่อม หยิบยกมาอ่านกี่ครั้งๆ ก็มิรู้เบื่อ

ตำนานหนังสือสามก๊ก

ตำนานหนังสือสามก๊ก

     หนังสือสามก๊กไม่ใช่เป็นพงศาวดารสามัญจีนเรียกว่า “สามก๊กจี” แปลว่า จดหมายเหตุเรื่องสามก๊ก เป็นหนังสือซึ่งนักปราชญ์จีนคนหนึ่งเลือกเอาเรื่องในพงศาวดารตอนหนึ่งมาแต่งขึ้น โดยประสงค์จะให้เป็นตำราสำหรับศึกษาอุบายการเมืองแลการสงคราม แลแต่งดีอย่างยิ่ง จึงเป็นหนังสือเรื่องหนึ่งซึ่งนับถือทั่วไปในประเทศจีน แลตลอดไปจนถึงประเทศอื่นๆ

     ต้นตำนานของหนังสือสามก๊กนั้น ทราบว่าเดิมเรื่องสามก๊กเป็นแต่นิทานสำหรับเล่ากันอยู่ก่อน เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161–1449) เกิดมีการเล่นงิ้วขึ้นในเมืองจีน พวกงิ้วก็ชอบเอาเรื่องสามก๊กไปเล่นด้วยเรื่องหนึ่ง

     ต่อมาถึงสมัยราชวงศ์หงวน (พ.ศ. 1820–1910) การแต่งหนังสือจีนเฟื่องฟูขึ้น มีผู้ชอบเอาเรื่องพงศาวดารมาแต่งเป็นเรื่องหนังสืออ่าน แต่ก็ยังไม่ได้เอาเรื่องสามก๊กมาแต่งเป็นหนังสือ

     จนถึงสมัยราชวงศ์ไต้เหม็ง (พ.ศ. 1911–2186) จึงมีนักปราชญ์จีนชาวเมืองฮั่งจิ๋วคนหนึ่งชื่อ ล่อกวนตง คิดแต่งหนังสือเรื่องสามก๊กขึ้น เป็นหนังสือ 120 ตอน

     ต่อมามีนักปราชญ์จีนอีกสองคน คนหนึ่งชื่อ เม่าจงกัง คิดจะพิมพ์หนังสือสามก๊กจึงแต่งคำอธิบายแลพังโพย เพิ่มเข้า แล้วให้นักปราชญ์จีนอีกคนหนึ่งชื่อ กิมเสี่ยถ่าง อ่านตรวจ

     กิมเสี่ยถ่างเลื่อมใสในหนังสือสามก๊ก ช่วยแก้ไขคำพังโพยของเม่าจงกัง แล้วแต่งคำอธิบายของกิมเสี่ยถ่างเองเป็นทำนองคำนำ มอบให้เม่าจงกังไปแกะตัวพิมพ์ตีพิมพ์หนังสือเรื่องสามก๊กขึ้น หนังสือสามก๊กจึงได้มีฉบับพิมพ์แพร่หลายในประเทศจีน แล้วได้ฉบับต่อไปถึงประเทศอื่นๆ

กรุณาแสดงความคิดเห็น

BLOGGER: 2

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,18,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,118,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,66,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: Google Play Book สามก๊ก
Google Play Book สามก๊ก
หนังสือ "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)" "สามก๊กฉบับวณิพก" และ "ตำนานหนังสือสามก๊ก" โหลดฟรีบน Play Book ของ Google
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgiNEubb9MIug2t-Dej3NVqZXiDzyLxqXTlObK48hQE5-iUuujQwqkVCTY4uhCNlenl7jvlNNfz7ovxbYj3ZF4xQnyfNWwJP4ztgJ8d0DwsOFsTZiAUwIIfdtw7pcXRN4X3qCHNtzPt72Rj/s640/google-play-book-%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%258A%25E0%25B8%2581.png
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgiNEubb9MIug2t-Dej3NVqZXiDzyLxqXTlObK48hQE5-iUuujQwqkVCTY4uhCNlenl7jvlNNfz7ovxbYj3ZF4xQnyfNWwJP4ztgJ8d0DwsOFsTZiAUwIIfdtw7pcXRN4X3qCHNtzPt72Rj/s72-c/google-play-book-%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%258A%25E0%25B8%2581.png
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2016/03/google-play-book-samkok.html
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2016/03/google-play-book-samkok.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ