โครงการปริญญาโทวัฒนธรรมจีนศึกษา ภาควิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญชวนท่านผู้สนใจ เข้าร่วมฟังการบรรยาย วัฒนธรรมจีนศึกษาสโมสร ครั้งที่ 9 ประจำภาคการศึกษา 2/2558 เรื่อง "สถานภาพสามก๊กศึกษาในประเทศไทย" ในวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2559
โครงการปริญญาโทวัฒนธรรมจีนศึกษา ภาควิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอเชิญชวนท่านผู้สนใจ เข้าร่วมฟังการบรรยาย วัฒนธรรมจีนศึกษาสโมสร ครั้งที่ 9 ประจำภาคการศึกษา 2/2558 เรื่อง "สถานภาพสามก๊กศึกษาในประเทศไทย" ในวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 2559 เวลา 09.30-12.30 น. ห้อง LA301 ชั้น 3 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์"การศึกษาวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊กในสังคมไทย"
"สถานภาพสามก๊กศึกษาในประเทศไทย" บรรยายโดยนักเขียนเรื่องสามก๊กชื่อดัง "ยศไกร ส.ตันสกุล" จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าของผลงานมากมาย อาทิเช่น สามทัพ สามก๊ก สามก๊กพิชัยยุทธ์ ยุคดิจิตอล จดหมายเหตุสามก๊ก ตอน ยอดขุนพลจ๊กก๊ก จดหมายเหตุสามก๊กฉบับเฉินโซ่ว ฯลฯ
งานนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้ที่สนใจ เชิญติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
ที่แย่มากก็คือใช้ภาษาบ้านนอกๆ เวลาอ่านแล้ว ขัดลูกตา ฟังแล้วขัดหู เหมือนกับไม่ใช่ชื่อของมนุษย์มนา ภาษาจีนแมนดารินสมันก่อนก็โดนห้ามเพราะลัทธิสงครามเย็นอีก คนไทยที่รู้เรื่องสามก๊กจริงๆในสมัยก่อนจึงไม่มี
ตอบลบขอบพระคุณสำหรับความคิดเห็นครับ แต่กระนั้นผมก็ยังเคารพในภาษาของนักเขียนชั้นครูทุกท่าน นับตั้งแต่เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เรื่อยมา ซึ่งชื่อของตัวละครและสถานที่ต่าง ๆ ที่ท่านเหล่านั้นใช้ นับว่าเป็นมรดกสำคัญทางภาษา การเรียกผิดเรียกถูกนั่นเป็นเหตุสุดวิสัย เป็นข้อจำกัดของคนในยุคสมัยนั้น ซึ่งส่วนตัวผมเองมองว่าเป็น 'คำครู' ควรเคารพเทิดทูนแลรักษาไว้ให้เป็นมรดกของชาติสืบต่อไป
ลบ