"สามก๊ก : วรรณคดีบนวิถีแห่งชัยชนะและอำนาจ" เป็นกิจกรรมจาก "สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสนา" ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ณ นี้ ห้องโถงมติชนอคาเดมี เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
"เดิมแผ่นดินเมืองจีนทั้งปวงนั้น เป็นสุขมาช้านานแล้วก็เป็นศึก ครั้นศึกสงบแล้วก็เป็นสุข... "
นี่คือประโยคแรกของวรรณคดีจีนที่ทรงอิทธิพลยิ่งต่อสังคมไทย
นี่คือฉากเริ่มต้นแห่งสงครามยืดเยื้อเพื่อความยิ่งใหญ่
นี่คือบันทึกวิถีของทรราชเหี้ยม, โจรโหด, ขุนนางโฉด, ขันทีชั่ว,
ปราชญ์ที่เกลือกกลั้วกับอามิส... จนถึงอิทธิฤทธิ์ของสาวงาม
นี่คือบทเรียนที่ไม่เคยล้าสมัย แม้ในโลกปัจจุบัน... ไม่ว่าคุณจะอ่านมากี่ครั้ง
"สามก๊ก : วรรณคดีบนวิถีแห่งชัยชนะและอำนาจ" เป็นกิจกรรมจาก "สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสนา" ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 ณ นี้ ห้องโถงมติชนอคาเดมี เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
ในงานเสวนา เชิญพบกับคุณ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), ผศ.ถาวร สิกขโกศล นักเขียนและนักวิชาการอิสระ และ รศ.ดร.กนกพร นุ่มทอง รองคณบดีคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ดำเนินรายการ
ท่านผู้สนใจ เชิญพบกันในวันพฤหัสบดี ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องโถงมติชนอคาเดมี
ในงานเสวนา เชิญพบกับคุณ ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน), ผศ.ถาวร สิกขโกศล นักเขียนและนักวิชาการอิสระ
ท่านผู้สนใจ เชิญพบกันในวันพฤหัสบดี ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลา 13.30-16.30 น. ณ ห้องโถงมติชนอคาเดมี
แผนที่ มติชนอคาเดมี |
โปรดสำรองที่นั่งล่วงหน้า เพ
พิเศษสำหรับลูกค้าเอไอเอสที
ตัวอย่างเนื้อหาการเสวนา
ยี่เอ๋ง หรือ บีเอ๋ง
ยี่เอ๋ง หรือ บีเอ๋ง |
"...ตามความรู้สึกของข้าพเจ้านั้น ฉบับพิมพ์ครั้งก่อนๆ อ่านรื่นหูดีกว่า ฉบับที่ราชบัญฑิตยสภาดันไปแก้ เช่น ใครๆ ก็เคยรู้จักทหารเสือของเล่าปี่คนที่ช่วยชีวิตอาเต๊าราชบุตรไว้ได้ชื่อว่า "เตียวจูหลง" หรือตัดแซ่ "เตียว" ...ออกเสียเหลือแต่ "จูหลง" ลุ่นๆ เท่านั้น ครั้นมาอ่านฉบับแก้ไขของราชบัณฑิตยสภาที่แก้ชื่อ "จูหลง" ไปเป็น "จูล่ง" แล้ว ก็อดรู้สึกว่าหยุมหยิมจุกจิกเกินไปไม่เข้าเรื่องเสียมากกว่าอย่างอื่น..."
อาจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ ปราชญ์ทางภาษาและวรรณกรรมคนหนึ่งของไทยกล่าวถึงหนังสือสามก๊กฉบับราชบัณฑิตยสภา อ้างโดย อาจารย์ถาวร สิกขโกศล
นอกจากนี้อาจารย์สุกิจ ยังกล่าวว่า ชื่อที่ควรแก้ไขคือชื่อ "ยี่เอ๋ง" แต่
"ฉบับแก้ไขแล้วของราชบัญฑิตยสภาก็ยังคง 'ยีเอ๋ง' ไว้ตามเดิม จะเป็นเพราะหลงหูหลงตาหรือด้วยเหตุใดก็ยากแท้จะหยั่งถึง ส่วนที่ข้าพเจ้าเข้าใจนั้นเข้าใจว่า เมื่อคัดลอกสำเนามาจากต้นฉบับเดิม อาจมีการเขียนหวัดลอกผิด เกิดอักษรวิบัติทำนองทุนาวินวิบัติอะไรขึ้น สิ่งที่น่าจะสะกดด้วยตัว 'บ' ไพล่ไปหยักกลางบิดหัวเป็น ตัว 'ย' ไป 'บีเอ๋ง' จึงกลายเป็น 'ยีเอ๋ง' ไปเสียฉิบ..."
หนังสือสามก๊กของสมเด็จฯเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร
สามก๊ก ฉบับโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ ที่รักษาสำนวนเดิมของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) |
สามก๊ก ฉบับโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ ที่รักษาสำนวนเดิมของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) |
"พอให้ผู้ที่สนใจใช้เป็นต้นฉบับศึกษาเปรียบเทียบกับต้นฉบับสมุดไทยและฉบับ ของราชบัณฑิยสภาได้เป้นเบื้องต้น อย่างน้อยก็ช่วยให้ผู้อ่านได้อ่านต้นฉบับที่คงสำนวนเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ไว้มากกว่าฉบับราชบัณฑิตยสถานซึ่งแพร่หลายหนแทนฉบับเดิมมาเป็นเวลาเกือบร้อย ปี"
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
Update : วิดีโองานเสวนา "สามก๊ก" วรรณคดีบนวิถีแห่งชัยชนะและอำนาจ : matichon tv
กรุณาแสดงความคิดเห็น