ชนเผ่า "ลาว" ในสมัยสามก๊กนี้มีพัฒนาการมาจากชนเผ่าเก่าแก่เมื่อประมาณไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว แต่ยังไม่มีการศึกษาชื่อชนเผ่า "ลาว" ในสมัยสามก๊ก จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของคนลาวและประเทศลาวทุกวันนี้หรือไม่ ? อย่างไร ?
และยังไม่มีใครรู้ว่า ชื่อชนเผ่าลาว สมัยสามก๊กนั้นมีความหมายอย่างไร ?
สมัยสามก๊ก มีเอกสารจีนระบุชนเผ่าหนึ่งซึ่งอยู่ทางภาคใต้ชื่อว่า "ลาว(獠、僚)""ลาว คือ ผู้เป็นใหญ่"
เจีย แยนจอง (謝遠章 ยรรยง จิระนคร นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญเรื่องคนไทยในเมืองจีน แห่งสถาบันเอเชียอาคเนย์ เมืองคุนมิง มณฑลยูนนาน) บอกว่าชนเผ่า "ลาว" ในสมัยสามก๊กนี้มีพัฒนาการมาจากชนเผ่าเก่าแก่เมื่อประมาณไม่น้อยกว่า 3,000 ปีมาแล้ว แต่ยังไม่มีการศึกษาชื่อชนเผ่า "ลาว" ในสมัยสามก๊ก จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของคนลาวและประเทศลาวทุกวันนี้หรือไม่ ? อย่างไร ? และยังไม่มีใครรู้ว่า ชื่อชนเผ่าลาว สมัยสามก๊กนั้นมีความหมายอย่างไร ?
เมื่อถึงสมัยราชวงศ์จิ้น (ราวพุทธศตวรรษที่ 9 - 10) แล้ว คุณเจียแยนจองบอกอีกว่าชื่อของชนเผ่าลาวนั้นเปลี่ยนไปเป็น "หลัง(狼)" จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ซ้อง (ราวพุทธศตวรรษที่ 16 - 19) จะนิยมเรียกชนเผ่านี้ว่า "จ้วง(僮)" (หรือเรียกตามสำเนียงท้องถิ่นว่า ผู้จ่อง) ที่น่าสนใจอีกชนเผ่าหนึ่งก็คือพวก "มู่หล่าว(仫佬)" คุณเจียแยนจองบอกอีกว่าพวกมู่หล่าวเรียกตนเองอีกชื่อหนึ่งว่า "มู่ลำ(仫伶)" คำว่า มู่ ในภาษาของมู่หล่าวแปลว่า คน แต่บางทีเรียกว่า "พูเคียม(布僅)" หรือ ผู้เคียม ซึ่งคำว่า พู หรือ ผู้ แปลว่า คน
ชนชาติเกอเหล่า ชาวลาวในจดหมายเหตุประวัติศาสตร์จีน |
เอกสารจีนสมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิงระบุว่าพวกมู่หล่าวอาศัยอยู่ที่ "หลอเฉิน(羅城)"คุณเจียแยนจอง บอกว่าชื่อหลอเฉินนี้ หากเรียกตามไวยากรณ์ไทย ก็คือ "เชียงลอ" คำว่า เชียง ตามภาษาจีนอ่านว่า เฉิน (ถ้าสำเนียงกวางตุ้งว่า ฉิ่ง) ซึ่งแปลว่า เมือง ซึ่งเป็นคำของชนเผ่ากลุ่มที่พูดตระกูลภาษาไทย-ลาวแต่โบราณ นอกจากนั้นในท้องถิ่นที่ชนเผ่าจ้วงหรือผู้จ่องอาศัยอยู่นั้น จะมีชื่อเมืองที่เรียกเป็นเชียงถึง 20 แห่ง
ทุกวันนี้พวกมู่หล่าวอยู่ในท้องที่อำเภอหลอเฉินแห่งมณฑลกวางสีประมาณ 7 หมื่นคน นอกจากจะกินข้าวโพดและข้าวเจ้าเป็นอาหารแล้ว ยังนิยมกินข้าวเหนียวและอาหารที่มีรสเปรี้ยวด้วย
แต่เรื่องราวทั้งหมดนี้ยังมิได้มีการศึกษาว่ามีความเกี่ยวข้องกับผู้คนในประเทศลาวอย่างไรบ้างหรือไม่ ?
ประเด็นน่าสนใจอยู่ที่รายงานของ Princeton S. HSU (นักวิชาการอยู่ฮ่องกงมีมารดาเป็นชนชาติจ้วง ซึ่ง จิตร ภูมิศักดิ์ อ้างถึง) โดยกล่าวว่าค้นพบการใช้คำว่า ลาว ในภาษาจ้วงและภาษาในพื้นมณฑลกวางตุ้งและกวางสี และแปลว่า คน
กรณีนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ เพิ่มเติมอีกว่าดูเหมือนจะไม่ได้แปลว่าคนเฉยๆ ในความหมายที่แยกจากสัตว์ หากมีความหมายถึงอารยชน หรือ ชนผู้เป็นนาย นั่นคือทำนองเดียวกันกับชนชาติอารยันเรียกตนเองเพื่อแสดงว่าตนเป็นอารยะ
ไท-คน (คนไท ทิ้งแผ่นดิน) ลาว-จ้าว (จ้าวลาว) = คนผู้เป็นใหญ่ |
ตำนานสิงหนวัติกุมาร (ฉบับสอบค้น ของ มานิต วัลลิโภดม : คณะกรรมการจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์เผยแพร่ : 2516) ระบุหัวหน้าคนพื้นเมืองซึ่งอาศัยอยู่สองฟากแม่น้ำโขงบริเวณตอนเหนือของไทยและลาวทุกวันนี้ว่าชื่อ "ลาวกะยู" เมื่อสิ้นลาวกะยูแล้วผู้ที่มีชื่อว่า "ปู่เจ้าลาวจก" ก็สืบทอดเป็นหัวหน้าคนพื้นเมือง
เหตุที่เรีกชื่อว่าผู้เจ้าลาวจก ก็เพราะผู้นี้เป็นหัวหน้าใหญ่ที่มี "จก"(คนทั่วไปไม่มี) จึงเรียก ลาวจก จก คือ จอบขุดดิน ซึ่งปู่เจ้าลาวจกมีมากกว่า 500 เล่มขึ้นไปสำหรับแจกจ่ายให้หมู่บริวารเช่ายืมไปทำไร่ ขอบเขตของคนพื้นเมืองกลุ่มนี้อยู่ฟากตะวันตกของแม่น้ำโขง บริเวณที่เป็นอำเภอเชียงแสน และอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ต่อเนื่องไปจนถึงเมืองเชียงตุงของพม่า (พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) : พงศาวดารโยนก : สำนักพิมพ์คลังวิทยา 2517 : หน้า 135)
ที่มา : จากหนังสือ เจ๊กปนลาว หน้า 14
NOYd9 (FB : นอย 'ดี นายน์ )
___________________
หมายเหตุ
บทความนี้เรียบเรียงโดย คุณ นอย ดี' นายน์ (NOYd9) ที่ส่งเข้ามาร่วมแบ่งปันให้กับเพื่อน ๆ ผู้รักในวิชาสามก๊กทุกคน ....
สามก๊กวิทยา จึงขอขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
สามก๊กวิทยา จึงขอขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
กรุณาแสดงความคิดเห็น