Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

ระบบการปกครองทั้งสามก๊ก

รูปแบบของระบบการปกครอง ของ วุย จ๊ก และ ง่อ ในสมัยสามก๊ก
 ระบบการปกครองทั้งสามก๊ก
" รูปแบบการปกครอง ของ วุย จ๊ก และ ง่อ "
     จากฮั่นตะวันออกที่สงบสุขมานาน สู่สงครามแย่งชิงอำนาจสามก๊ก เป็นยุครบราฆ่าฟันมากที่สุดยุคสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์จีนและโลก เป็นการนองเลือดกว่าร้อยปี ชั่วอายุคนไปยังชั่วอายุคน ทั้งสามอาณาจักรทุ่มเทพัฒนายุทโธปกรณ์ และกลยุทธ์การทำศึกตลอดเวลา

     หลังจากเกิดกบฏโจรโพกผ้าเหลือง หัวเมืองต่าง ๆ ก็ซ่องซุมกำลังเพื่อป้องกันพวกโจร มีกองอาสาเกิดขึ้นเช่น กลุ่มสามพี่น้องที่ทำการโดยอิสระ บางเมืองที่มีกำลังน้อยก็คิดการใหญ่ จนโฮจิ๋น ผู้บัญชาการแห่งกองทัพฮั่นถูกลอบฆ่า ตั๋งโต๊ะได้เข้ามายึดกุมอำนาจ ตั้งแต่นั้นบ้างเมืองก็แตกออกเป็นก๊กเป็นเหล่ามากมาย จนกระทั่งโจโฉ เล่าปี่ และซุนกวน ได้รวบรวมอาณาจักรเป็นของตนและตั้งยันกันในลักษณะสามก๊กอยู่ยาวนาน

==[ วุยก๊ก ]==

วุยก๊กของโจโฉ
วุยก๊ก ของ โจโฉ
     วุยก๊ก เป็นก๊กที่เข้มแข็ง และมีอาณาเขตกว้างขวางที่สุดในยุคสามก๊ก มีอายุยืนยาว 45 ปี เมืองหลวงเดิมอยู่ที่ฮูโต๋ ซึ่งเป็นราชธานีที่โจโฉสร้างขึ้นมาและเชิญเสด็จพระเจ้าเหี้ยนเต้ไปประทับ จากนั้น โจผีถอดพระเจ้าเหี้ยนเต้ออกจากราชบัลลังก์และขึ้นครองราชย์แทน ก่อนจะย้ายเมืองหลวงกลับไปที่ลกเอี๋ยง ซึ่งเป็นราชธานีเดิมสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก

     วุยก๊กครอบครองดินแดนทางเหนือของประเทศอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ทั้งก๊กมีประชากรประมาณ 4,400,000 คน หรือคิดเป็น 58 เปอร์เซ็นต์ของแผ่นดินจีนหรือต้าฮั่นตะวันออกในยุคนั้น

     วุยก๊กมีฮ่องเต้ทั้งหมด 5 พระองค์ แต่เป็นการสถาปนาย้อนหลังหนึ่งพระองค์ คือ พระเจ้าโจโฉ หากรวมพระเจ้าโจโฉด้วย วุยก๊กจะมีฮ่องเต้ถึง 6 พระองค์ คือ พระเจ้าโจโฉ พระเจ้าโจผี พระเจ้าโจยอย พระเจ้าโจฮอง พระเจ้าโจมอ และพระเจ้าโจฮวน

- กำลังทหาร -

     แรกเริ่มเดิมที โจโฉมีกำลังทหารของตนเองประมาณ 5, 000 นาย โดยทหารเอกส่วนใหญ่มาจากอาสาสมัครที่เป็นญาติหรือแซ่เดียวกัน เช่น แฮหัวตุ้น แฮหัวเอี๋ยน โจหยิน โจหอง (โจโฉเดิมแซ่ “แฮหัว” แต่เปลี่ยนเป็นแซ่โจตามพ่อ เพราะพ่อของโจโฉคือโจโก๋ เปลี่ยนไปใช้แซ่โจตามพ่อบุญธรรมซึ่งเป็นขันทีชื่อโจเท้ง)

     กองทัพของโจโฉเติบโตแบบก้าวกระโดดจากการเอาชนะกบฏโพกผ้าเหลือง ทำให้ได้ทหารอีกรวมประมาณ 300,000 นาย กลายเป็นกองทัพขนาดมหึมาในยุคนั้น ต่อมากำลังทหารโจโฉยิ่งเพิ่มขึ้นจากการชนะอ้วนเสี้ยวในศึกกัวต๋อ และเพิ่มมากขึ้นอีกหลังจากยึดได้เกงจิ๋ว (กวางโจว) ทำให้โจโฉผูกขาดกองทหารม้าไว้ได้แต่ผู้เดียว

     ในยุคนี้ มีการสร้างอานม้าและโกลนเพื่อช่วยในการบังคับ ทำให้ประสิทธิภาพของกองทหารม้าสูงขึ้น ทำให้กองทัพวุยก๊กมีประสิทธิภาพในการรบภาคพื้นดินดีเยี่ยม ทหารม้าสามารถตีตะลุยผ่ากองทหารเดินเท้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ม้าศึกช่วยให้ยกไปโจมตีข้าศึกได้อย่างรวดเร็วและสามารถหนีได้อย่างรวดเร็ว แต่ในสมัยนั้น การใช้ม้าคงไม่ได้กว้างขวาง น่าจะยังมีจำกัดให้ใช้เฉพาะแม่ทัพนายกองคนสำคัญเท่านั้น ทหารส่วนใหญ่ยังคงพลเดินเท้า

     กองทหารม้ามักถูกใช้ในยุทธการแบบสายฟ้าแลบ เช่น ใช้โจมตีตัดเสบียงของฝ่ายข้าศึก ตีตัดกองกำลังของข้าศึกให้แยกออกเป็นส่วนๆแล้วทำลายทิ้ง ซึ่งโจโฉเชี่ยวชาญยุทธศาสตร์ด้านนี้มาก เพราะมีกองทหารม้าที่มีประสิทธิภาพ

-สถาบันทางการทหาร-

     โครงสร้างบัญชาการของทัพวุยก๊กก็ถ่ายทอดมาจากระบอบการบังคับบัญชาของฮั่น แต่เมื่อโจโฉได้กำลังพลของอ้วนเสี้ยวมาปกครองก็มีการปรับเปลี่ยนสายการบังคับบัญชาขึ้นมาใหม่ โดยมีทหารอาชีพส่วนกลาง และกองกำลังในภูมิภาคเรียกว่า กองทัพภายนอก

     กองทัพส่วนกลางมีที่มาจากทหารองครักษ์ของโจโฉซึ่งเรียกว่ากองทหารเสือและเสือดาว ผู้บัญชาการก็มักเป็นเครือญาติของโจโฉ เช่น โจฮิว โจจิ๋น ส่วนทหารเอกก็เช่นเคาทู เตียนอุย เป็นต้น ในปี ค.ศ. 220 กองทัพส่วนกลางได้กรมเดียวเรียกว่าจงเจียน ภายใต้การบังคับบัญชาของเคาทู พอถึงยุคสมัยของโจผีและโจยอย ในปี ค.ศ.230 ก็มีทหารส่วนกลางอยู่ 5 กองด้วยกัน

     กองทัพภูมิภาคมักมีขนาดใหญ่กว่ากองทัพส่วนกลาง บางกองอาจมีกำลังพลมากกว่า 50,000 คน ในปีค.ศ. 222 โจผีแยกกองกำลังภูมิภาคแบ่งตามจังหวัดโดยมีหัวหน้าผู้ควบคุม (Chief Controllers) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลาง

     กองกำลังภูมิภาคมักหมายความถึง กองทัพตะวันออก นอกจากนี้ก็มีทหารชายแดน ซึ่งถูกควบคุมโดยผู้บัญชาการใหญ่ (Grand administrators)หรือผู้ตรวจการ (Inspector) ตำแหน่งทั้งสองนี้มักจะแยกกันดูแล พลเรือนและทหารในเขตแดนนั้น

- บูซู - (Buqu) และการสืบทอดตำแหน่ง

     บูซูเป็นนักสู้อิสระ บูและซูเป็นหน่วยย่อยของทัพ ระหว่างราชวงศ์ฮั่นถึงสามก๊ก มีการรวมคำทั้งสองนี้เพื่อหมายถึงกองทัพทหารอิสระที่ทำงานให้กับขุนศึกเป็นการส่วนตัว ความสัมพันธ์ระหว่างแม่ทัพ 2 ทัพกับบูซู เป็นแบบสืบทอดตามสายเลือด ถ้าแม่ทัพตาย บุตรชายคนโตก็จะขึ้นสืบทอดตำแหน่งแทน แต่ถ้าทหารตาย สมาชิกในครอบครัวที่เป็นชายจะได้รับตำแหน่งต่อ ส่วนคนอื่นๆ ก็จะเป็นแรงงานในภาคเกษตร ซึ่งผลตอบแทนก็คือ จะได้รับสถานะให้เป็นเจ้าของที่ดิน (คล้ายกับระบบศักดินาของไทย)

     เนื่องจากในสมัยจักรพรรดิกวงอูได้ปลดประจำการทหารทำให้กองกำลังตามจังหวัดอ่อนแอ ส่วนทหารชายแดนจะถูกยกระดับชั่วคราวในเวลาที่มีศึกสงครามเท่านั้นหลังจากที่ระบอบฮั่นล่มสลายลง วุยก๊กก็ได้ยกระดับรูปแบบบูซูขึ้นขนานใหญ่ ครอบครัวของนายทหารจะต้องย้ายไปอยู่ในเมืองหลวงหรือรอบๆ เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมมิให้แปรพักตร์ในยามที่ไปรบ ทหารและครอบครัวถือว่าเป็นทรัพย์สินของกองทัพ ทหารและบุคคลในครอบครัวที่มีสถานะทางทหารเท่านั้น เพื่อให้แน่ใจว่าการแต่งงานไปภายนอกจะไม่ทำให้กำลังคนของกองทัพลดน้อยลง และจะต้องรับใช้กองทัพไปตลอดชีวิต

- นโยบายตันเถียน -

     นโยบายตันเถียนเป็นระบบผลิตอาหารให้กองทัพ ก่อตั้งโดยโจโฉ โดยการใช้เหล่าทหารที่ว่างเว้นจากการรบได้ร่วมทำนากับราษฏร์เพื่อให้มีการผลิตให้มีการผลิตอาหารอย่างพอเพียงแก่กองทัพวุย ส่วนรายละเอียดไม่ปรากฏชัดว่ามีรูปแบบอย่างไร

- จุดแข็ง -

     วุยก๊กเป็นก๊กที่กุมอำนาจทางการเมืองการทหารไว้ทั้งหมด อีกทั้งยังตั้งอยู่ ณ ใจกลางของแผ่นดินจีน จึงถือได้ว่ามีความได้เปรียบก๊กอื่นๆทั้งด้านกำลังทหารและทรัพยากรต่างๆ ด้วยพื้นที่ที่กว้างขวาง ทำให้วุยก๊กแผ่ขยายดินแดนไปเรื่อยๆ ในลักษณะปลาใหญ่กินปลาเล็กจนยากที่ก๊กอื่นจะต่อกรได้ ปัจจัยสำคัญที่สุดของวุยก๊กก็คือ ทรัพยากรบุคคลที่วางรากฐานมาตั้งแต่พระเจ้าโจโฉ ไม่ว่าจะเป็นนักรบฝ่ายบู๊และมันสมองของกุนซือฝ่ายบุ๋นที่มีมากมายกว่าก๊กอื่น ๆ

- จุดอ่อน -

     ในช่วงปลายราชวงศ์วุย หลังจากพระเจ้าโจยอยสิ้นพระชนม์ ฮ่องเต้วุยก๊กล้วนแต่ทรงพระเยาว์ การเมืองในประเทศจึงเกิดความวุ่นวายอย่างมาก เกิดการแก่งแย่งอำนาจภายในและการปฏิวัติรัฐประหาร ในที่สุด อำนาจเบ็ดเสร็จตกเป็นของตระกูลสุมา นำโดยสุมาอี้กับลูกชายสองคน คือ สุมาสู กับ สุมาเจียว ทำให้ราชวงศ์วุยอ่อนแอลง ท้ายที่สุดแม้จะรวบรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งได้ แต่ก็ไม่ใช่ในนามของราชวงศ์วุยและตระกูลโจอีกต่อไป
______________________________________________

==( จ๊กก๊ก )==

จ๊กก๊กของเล่าปี่
จ๊กก๊ก ของ เล่าปี่
      จ๊กก๊ก เป็นอาณาจักรของราชวงศ์จ๊กฮั่น ก่อตั้งโดยพระเจ้าเล่าปี่ ครอบครองดินแดนบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน พื้นที่ส่วนใหญ่คือ แคว้นเอ๊กจิ๋ว (อี้โจว) หรือมณฑลเสฉวนในปัจจุบัน เมืองหลวงคือ เชงโต๋ (เฉิงตู) มีประชากรประมาณ 940,000 คน กองทัพมีกำลังพลไม่เกิน 100,000 นาย ถือเป็นก๊กที่เล็ก และมีประชากรน้อยที่สุดในสามก๊ก

     จ๊กก๊กมีอายุยืนยาวประมาณ 43 ปี มีกษัตริย์เพียง 2 พระองค์ คือ พระเจ้าเล่าปี่ และพระเจ้าเล่าเสี้ยน จ๊กก๊กก่อสร้างประเทศขึ้นได้โดยความสามารถของอัครมหาเสนาบดีคนสำคัญ คือ จูกัดเหลียงหรือขงเบ้ง เมื่อขงเบ้งตาย จ๊กก๊กก็อ่อนแอลงตามลำดับ ใน ค.ศ. 263 ทัพวุยมุ่งมาตามทางลัดอิมเป๋งมุ่งตรงมาถึงเชงโต๋ พระเจ้าเล่าเสี้ยนยอมจำนนอย่างง่ายดาย เป็นอันสิ้นสุดจ๊กก๊กที่มีอายุยืนยาวถึง 43 ปี

- กำลังทหาร -

     กำลังทหารของจ๊กก๊กมีจำนวนไม่มากนักเมื่อเทียบกับก๊กใหญ่อย่างวุยก๊ก เม่อครั้งบุกเขากิสานครั้งที่ 6 วุยก๊กใช้กำลังพลประมาณ 100,000 นาย แต่ตัวนโยบายหมุนเวียนกำลังพลของขงเบ้ง ทำให้เขาสำรองกำลังไว้อีก 100,000 นาย เพื่อสับเปลี่ยนกัน เพื่อความสดของกำลังพล แม้กระนั้นก็ยังน้อยกว่ากำลังพลของวุยก๊กกว่าครึ่งค่อน

     สภาพภูมิประเทศของฝ่ายจ๊กเป็นพื้นที่ภูเขาเสียส่วนใหญ่ ทำให้ฝ่ายจ๊กมีกองทัพม้าด้อยกว่าฝ่ายวุยมาก แต่ขงเบ้งได้พัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้มีความทันสมัยเหนือคู่ต่อสู้ และมียุทธวิธีที่เหนือกว่าทำให้ชนะกองทัพที่มีกำลังพลมากกว่าได้

     อาวุธที่ฝ่ายจ๊กใช้มีความแปลกใหม่ล้ำสมัยกว่าอาวุธในยุคนั้น ขงเบ้งรู้จักวิธีใช้ดินระเบิดและนำมาใช้ในการสงครามเป็นครั้งแรก เมื่อยกทัพไปปราบชนเผ่าทางใต้ ลุดตัดกุดและทหารตีนกะเป๋งต่างก็โดนประทัดเหล็กระเบิดใส่จนศีรษะ แขน ขาขาดตายเกลื่อนทั้งกองทัพ เป็นครั้งแรกที่โลกได้พบเห็นอานุภาพของระเบิดสังหาร

     อาวุธมหัศจรรย์ที่ขงเบ้งคิดค้นก็คือ หน้าไม้กล ในนิยายกล่าวว่ายิงได้ทีละ 10 ดอก และยิงได้ไกลมากกว่าธนูโดยทั่วไป แต่ว่าแบบหน้าไม้ที่กล่าวถึงนี้ไม่ปรากฏมาถึงปัจจุบัน เราจึงไม่ทราบว่าหน้าไม้นี้คือต้นแบบของปืนใช่หรือไม่

     โคยนตร์ ก็เป็นอีกสิ่งประดิษฐ์หนึ่งที่ขงเบ้งคิดขึ้น เพื่อช่วยในการขนส่งเสบียงและยุทธปัจจัยต่างๆ ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของเสฉวนเป็นพื้นที่สูงชันทำให้ยากต่อการขนส่ง ในสามก๊กฉบับนิยายได้กล่าวถึงประสิทธิภาพโคยนตร์ไว้อย่างพิสดารว่า “ขงเบ้งก็เอาโคยนตร์นั้นลองดู ทหารเข้ารุนแต่พอให้พ้นจากที่ โคยนตร์นั้นก็เดินไปขึ้นเนินเขาลงลุ่มได้ดังเป็น ขงเบ้งจึงว่า ถ้าเดินแต่ตัวเดียวไปได้ไกลทางประมาณ 300 เส้น แม้ไปทั้งพวกเดินทางได้ถึง 700 ถึง 800 เส้น” เรียกว่าสิ่งประดิษฐ์ของขงเบ้งนี้ล้ำสมัยเสียจนเราคาดไม่ถึง แต่ก็ไม่มีใครทราบหน้าตาของโคยนตร์ว่าเป็นเช่นไร นักวิชาการในยุคปัจจุบันบางท่าน สัณนิษฐานว่าอาจเป็นรถเข็นที่ใช้ล้อเลื่อน

     นอกจากนี้ยังมีการประดิษฐ์บัลลูนอากาศร้อน ซึ่งใช้สำหรับบอกตำแหน่งทางการทหาร ซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ เรียกกันว่า โคมของขงเบ้ง

- จุดแข็ง -

     จ๊กก๊กมีชัยภูมิที่ง่ายต่อการป้องกันแต่ยากต่อการโจมตี เนื่องจากภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน อีกทั้งการได้ผู้นำชั้นเยี่ยมอย่างขงเบ้งทำให้จ๊กก๊กรักษาอธิปไตยได้อย่างมั่นคง บ้านเมืองก็ร่มเย็น ด้านการทหาร ขงเบ้งพยายามนำทัพบุกขึ้นเหนือจนเกือบยึดดินแดนวุยได้หลายครั้ง

- จุดอ่อน -

     กษัตริย์องค์หลังของจ๊กก๊ก คือ พระเจ้าเล่าเสี้ยน เป็นฮ่องเต้ที่อ่อนแอที่สุดคนหนึ่งในยุคสามก๊ก ด้วยความโง่เขลาและไม่ใส่ใจในการบริหารกิจการบ้านเมือง เอาแต่รักสนุก ลุ่มหลงสตรี หูเบาเชื่อแต่คำขันที จนนำบ้านเมืองที่พระบิดาและบรรดานายทหารร่วมสร้างขึ้นมาด้วยความลำบากไปสู่กาลอวสานในที่สุด
________________________________________

=={ ง่อก๊ก }==

ง่อก๊ก ของ ซุนกวน
ง่อก๊ก ของ ซุนกวน
      ง่อก๊ก ครองครองดินแดนทางภาคใต้และภาคตะวันออกของจีน ดินแดนทั้งหมดอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแยงซีเจียง วึ่งเป็นที่มาของคำว่า “กังตั๋ง” หรือ “เจียงตง” (ตงแปลว่าตะวันออก เจียงแปลว่าแม่น้ำ)

     ง่อก๊กมีอายุยืนยาว 58 ปี มากที่สุดในสามก๊ก แต่มีฮ่องเต้ช้ากว่าก๊กอื่นๆ กล่าวคือ พระเจ้าซุนกวนสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้เมื่อ ค.ศ.229 หลังจากพระเจ้าโจผีสถาปนาตนเองถึง 9 ปี โดยมีฮ่องเต้ทั้งหมด 4 พระองค์ คือ พระเจ้าซุนกวน พระเจ้าซุนเหลียง พระเจ้าซุนฮิว และพระเจ้าซุนโฮ ไม่นับรวมการสถาปนาย้อนหลังให้ซุนเกี๋ยนและซุนซัก พระราชบิดาและพระเชษฐาของพระเจ้าซุนกวนเป็นฮ่องเต้เช่นเดียวกัน

- กำลังทหาร -

     ง่อก๊กมีกำลังไม่มากนักเมื่อเทียบกับวุยก๊ก แต่มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งเกรียงไกร เนื่องจากสภาพภูมิประเทศมีแม่น้ำแยงซีเป็นชัยภูมิ ง่อก๊กจึงมีความชำนาญในการรบทางน้ำมากกว่าก๊กอื่น ทำให้ยากต่อการรุกราน กองทัพวุยก๊กพยายามรุกฝ่าแนวป้องกันของง่อก๊กที่หับป๋าหลายครั้งแต่ก็ไม่เคยสำเร็จ
 
     เรือของฝ่ายง่อมีประสิทธิภาพสูงมาก อาวุธทีเด็ดของฝ่ายง่อก็คือเรือไฟ ซึ่งเสมือนหนึ่งขีปนาวุธในปัจจุบันที่เข้าทำลายเรือของฝ่ายตรงข้ามได้อย่างแม่นยำ กองทัพของโจโฉก็โดนเรือไฟของจิวยี่เข้าโจมตีจนพ่ายแพ้อย่างไม่เป็นท่าเช่นกัน

     เรือรบของง่อก๊กมีหลากหลายแบบ ในเอกสารของไป่ซ่งจี่ได้กล่าวถึงชื่อเรือของง่อก๊กเช่น “เมฆบิน” และ “เรือรบมังกรเขียว” ซึ่งเรือที่สามารถบรรทุกม้าได้ 80 ตัวก็ยังถือได้ว่ามีขนาดเล็ก ฝ่ายง่อยังมีเรือขนาดใหญ่ที่บรรจุนักรบได้ถึง 10,000 คน ในปี ค.ศ.280 เมื่อฝ่ายง่อถูกพิชิตโดยไต้จิ้น มีเรือถูกยึดมากถึง 50,000 ลำ ชัยชนะของฝ่ายไต้จิ้นเกิดจากการตีโอบล้อมมาจากทางตะวันตก โดยหลีกเลี่ยงทางเหนือที่ฝ่ายง่อควบคุมเส้นทางน้ำอยู่ หากบุกมาทางเหนือก็คงเอาชนะฝ่ายง่อไม่ได้

- จุดแข็ง -

     ง่อก๊กเป็นก๊กที่มีชัยภูมิดีที่สุดอีกก๊กหนึ่ง การตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำ ทำให้มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ ราษฎรไม่อดอยาก แม้อาจได้รับความเดือดร้อนจากน้ำท่วมอยู่บ้าง แม่น้ำแยงซีเจียงที่ขวางกั้นเป็นจุดแข็งที่สุดในการป้องกันประเทศ ทำให้ก๊กอื่นยากที่จะบุกมาโจมตีได้ และด้วยความสามารถผนวกกับการอุ้มชูของยอดขุนพลแต่ละยุคสมัยทำให้สามารถดำรงยืนยงอยู่ได้ยาวนานกว่าก๊กใด ๆ

- จุดอ่อน -

     เช่นเดียวกับก๊กอื่นๆ หลังยุคของพระเจ้าซุนกวน การเมืองการปกครองภายในประเทศก็เริ่มมีปัญหาภายใน ฮ่องเต้องค์หลังๆไม่เข้มแข็งเหมือนพระเจ้าซุนกวน และตกอยู่ใต้อำนาจของนายทหารหลายคน

     กาลอวสานของง่อก๊กมาถึง เมื่อพระเจ้าซุนโฮ ทรราชย์หมายเลขหนึ่งแห่งยุคสามก๊กขึ้นครองราชย์ และได้ทำการโฉดชั่วมากมายจนแผ่นดินลุกเป็นไฟ ในที่สุด ทัพง่อจึงพ่ายแพ้ต่อไต้จิ้น จบสิ้นแผ่นดินง่อที่มีอายุยืนยาวมาเกือบ 60 ปี
________________________________________

อ้างอิงจาก
NOYd9         
(FB : นอย 'ดี นายน์ )

__________________

หมายเหตุ

     บทความนี้เรียบเรียงโดย คุณ นอย ดี' นายน์ (NOYd9) ที่ส่งเข้ามาร่วมแบ่งปันให้กับเพื่อน ๆ ผู้รักในวิชาสามก๊กทุกคน ....

     สามก๊กวิทยา จึงขอขอบพระคุณท่านมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ

กรุณาแสดงความคิดเห็น

BLOGGER: 1
  1. ไม่ระบุชื่อ9 มีนาคม 2559 เวลา 05:25

    1. ในสมัยโจยอย มีการสถาปนาฮ่องเต้ย้อนหลังอีกสองพระองค์ คือ โจโก๋ และโจเท้งครับ (ไม่เข้าใจ ทำไมไม่สถาปนาพ่อแท้ๆของโจโก๋ เพราะโจเท้งเป็นพ่อบุญธรรมของโจโก๋)

    2. ในความคิดผม จุดแข็งของวุยคือจำนวนทหาร ของจ๊กคือคณะอริสโตแครตที่มากฝีมือ ส่วนง่อคือการเอาดีด้านเศรษฐกิจ ไม่เน้นสงคราม ซึ่งก๊กทั้งสามก็ล้มลงเพราะจุดแข็งของตัวเองเป็นเหตุ วุยล้มลงเพราะทหารกบฏต่อราชวงศ์ จ๊กล้มเพราะขาดคณะอริสโตแครตไป (ขงเบ้งกับห้าทหารเสือตาย ก็ทำอะไรไม่ได้อีก) ส่วนง่อที่สนแต่การทำการค้าและความสงบ มากกว่าการปราบอีกสองก๊ก ลงท้ายก็มาพังเพราะถูกก๊กอื่นที่ตนไม่ยอมไปปราบเข้ายึดครอง

    ตอบลบ

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,18,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,118,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,66,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: ระบบการปกครองทั้งสามก๊ก
ระบบการปกครองทั้งสามก๊ก
รูปแบบของระบบการปกครอง ของ วุย จ๊ก และ ง่อ ในสมัยสามก๊ก
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgQXA2X2_WtQ0D9knbTDH8GXk3DOyPDGh3hc0WWQ3mNK-yHUTkFkPyOx4bQLRkONqdwHJDplkI2xhFBhYSMIg052PzJdu3-MGx6pPEUNsAFHjyBj64X89gx7Ml5lCEGoEJe2-Iy8sjVUz4/s1600/%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%258A%25E0%25B8%2581.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgQXA2X2_WtQ0D9knbTDH8GXk3DOyPDGh3hc0WWQ3mNK-yHUTkFkPyOx4bQLRkONqdwHJDplkI2xhFBhYSMIg052PzJdu3-MGx6pPEUNsAFHjyBj64X89gx7Ml5lCEGoEJe2-Iy8sjVUz4/s72-c/%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B0%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25AD%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25B1%25E0%25B9%2589%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%258A%25E0%25B8%2581.jpg
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2015/09/regime-of-the-three-kingdoms.html?m=0
https://www.samkok911.com/?m=0
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2015/09/regime-of-the-three-kingdoms.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ