5 ประโยคอมตะ ประวัติศาสตร์สามก๊ก ที่แสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ ความเป็นยอดคน รวมทั้งความเหลวแหลก ฟอนเฟะในสังคมจีน
ในร้านหนังสือ ณ เวลานี้ มีหนังสือดี ๆ เล่มหนึ่ง ชื่อว่า “ประโยคอมตะ ประวัติศาสตร์จีน” (Knowing the Chinese History in One Sentence) เขียนโดย เหยียนมู่สุ่ย และแปลเป็นภาษาไทยโดยคุณ รำพรรณ รักศรีอักษร ซึ่งเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับนักปกครองและผองผู้นำ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการนำประโยคคำคมของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์จีน มาถ่ายทอดเป็นเรื่องราว เบื้องหลังความเป็นมาของประโยคนั้น ๆ พร้อมกับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
คารมคำคมต่าง ๆ เหล่านี้ มีทั้งทางดีและทางร้าย บางประโยคแสดงออกถึงความยิ่งใหญ่ ความเป็นยอดคน ในขณะที่บางประโยคก็แสดงออกถึงความเหลวแหลก ฟอนเฟะในสังคมจีน ไล่เรียงตามยุคสมัยจากเก่าไปหาใหม่ และที่แน่ ๆ ก็คือ มีบางประโยคอยู่ในยุค “สามก๊ก”
“สามก๊กวิทยา” จึงขออนุญาตนำประโยคเหล่านั้นมาแนะนำอย่างกระชับ ว่าใครพูดอะไร มีผลกระทบอย่างไร เพื่อกระตุ้นให้ผู้ที่สนใจ ได้ใช้เป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้าหารายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป ดังนี้
ฮั่นหลิงตี้ : ตำแหน่งนี้ขายถูกเกินไป ขาดทุนแล้ว
เสียดายที่ขายถูกเกินไป น่าจะต่อรองราคาให้สูงกว่านี้ (ฮั่นตะวันออก) ฮั่นหลิงตี้
เฉาเชา (โจโฉ) : ข้ายอมทำร้ายทุกคน แต่ไม่ยอมให้ใครทำร้ายข้า
เฉาเชาคิดและปฏิบัติเช่นนี้ตลอดชีวิต คำนี้ได้กลายเป็นหลักการดำเนินชีวิตของคนจำนวนมาก ไม่ต่างจากคำว่า “กระหายก็ดื่ม หิวก็กิน” และเจ้าของวาทะนี้ก็คือเฉาเชาแห่งสมัยฮั่นตะวันออกตอนปลายนี่เองข้ายอมทำร้ายทุกคน แต่ไม่ยอมให้ใครทำร้ายข้า (ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก) เฉาเชา
เฉินหลิน : อยู่วงการนักเลง ไม่อาจเป็นอย่างอื่น
ตอนที่เฉินหลินเป็นผู้ช่วยของหยวนเส้า (อ้วนเสี้ยว) เคยเขียนบทความด่าเฉาเชา ต่อมาเฉินหลินถูกเฉาเชาจับเป็นเชลย เมื่อถูกถามว่าทำไมจึงด่าอย่างรุนแรง เฉินหลินตอบด้วยถ้อยคำข้างต้นเมื่อน้าวสายธนูแล้วต้องยิงออกไป (ฮั่นตะวันออก) เฉินหลิน
ข่งหรง : แย่งภรรยาเขาเป็นการเจริญรอยตามแบบโบราณ
ข่งหรงยกคำนี้มาเยาะเย้ยเฉาพี (โจผี) บุตรของเฉาเชาที่แย่งเมียคนอื่น มีความหมายถากถางอย่างรุนแรง จนไม่อาจทนได้ และไม่ได้พูดครั้งเดียว การตายของเขาจึงเป็นเพราะปากจริง ๆอู่หวังพิชิตโจ้ว ยกต๋าจี่ให้โจวกง (ฮั่นตะวันออก) ข่งหรง
หลิวเป้ย (เล่าปี่) : ถ้าอาโต่วใช้การไม่ได้ ให้ท่านกุมอำนาจแทน
เป็นคำสั่งเสียของหลิวเป้ย (เล่าปี่) ก่อนสิ้นชีวิต อย่าคิดว่าเป็นความจริงใจ แต่เป็นเล่ห์เพทุบายครั้งสุดท้ายเพื่อให้จูเก๋อเหลียง (จูกัดเหลียงหรือขงเบ้ง) จงรักภักดีต่อไปท่านมีความสามารถมากกว่าเฉาพีสิบเท่าย่อมดูแลบ้านเมืองจัดการงานใหญ่ได้ วันข้างหน้าขอให้ท่านช่วยค้ำชูอาโต่ว ถ้าอาโต่วยังใช้ได้ก็ค้ำชูต่อไป ถ้าใช้ไม่ได้ก็ปลดออก ให้ท่านกุมอำนาจแทน (สามก๊ก) หลิวเป้ย
ข่งหยงในรูป หน้าแบบดูก็รู้เลยว่าปากจะพาจนสักวัน 5555
ตอบลบ