"วิถีแห่งอำนาจลกซุน" คอลัมน์พิเศษเกี่ยวกับวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก ผลงานชิ้นล่าสุดจากปลายปากกาของสื่อมวลชนอาวุโส "เสถียร จันทิมาธร" ที่จะวิเคราะห์ เจาะลึกถึงประวัติความเป็นมา และวีรกรรมของยอดแม่ทัพหนุ่มแห่งดินแดนกังตั๋ง "ลกซุน"
"การก้าวขึ้นสู่อำนาจของลกซุน"
"วิถีแห่งอำนาจลกซุน" คอลัมน์พิเศษเกี่ยวกับวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก ผลงานชิ้นล่าสุดจากปลายปากกาของสื่อมวลชนอาวุโส "เสถียร จันทิมาธร" ที่จะวิเคราะห์ เจาะลึกถึงประวัติความเป็นมา และวีรกรรมของยอดแม่ทัพหนุ่มแห่งดินแดนกังตั๋ง "ลกซุน"
คุณเสถียร จันทิมาธร ได้เขียนบทความพิเศษในคอลัมน์ "วิถีแห่งอำนาจ" ไว้หลายชุด ทั้งในหนังสือพิมพ์ข่าวสดและมติชนสุดสัปดาห์ อาทิเช่น
"วิถีแห่งอำนาจลกซุน" จึงเป็นบทความชิ้นที่สาม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสามก๊ก ต่อจาก วิถีแห่งอำนาจสุมาอี้ และวิถีแห่งอำนาจโจโฉ ส่วนเนื้อหาก็จะเป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับ "ลกซุน" กุนซือหนุ่มผู้ที่รับช่วงอำนาจแม่ทัพแห่งเมืองง่อต่อจาก จิวยี่ โลซก และลิบอง โดยมีผลงานสำคัญอยู่ที่การปราบทั้งกองทัพของพระเจ้าเล่าปี่ และกองทัพพระเจ้าโจผี ที่มารุกรานแผ่นดินได้อย่างราบคาบ
คอลัมน์นี้จะตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ข่าวสด และในเว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ อย่างต่อเนื่องทุกวันจันทร์-ศุกร์ ท่านผู้ใดสนใจสามารถติดตามอ่านกันได้ตามสื่อดังกล่าว
ทั้งนี้ สามก๊กวิทยา ได้นำตัวอย่างบทความตอนที่ 1 "สิ้นซุนเซก เริ่มซุนกวน" มาให้ชมกันก่อน รวมทั้งจะจัดทำ Link ของบทความแต่ละตอนไปยังหน้าของเว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ มาให้ชมกันเป็นระยะ ๆ ครับ
แต่นั่นก็มิได้เป็นจุดเริ่มแห่งยุคของ "สามก๊ก" ในทางเป็นจริง
เพราะว่าทางเหนือสุดยังมีม้าเท้งครองเสเหลียง ทางใต้ยังมีซุนเซกยึดครองกังตั๋ง พื้นที่เกงจิ๋วมีเล่าเปียว ลึกไปทางฮั่นตงมีเตียวล่อ ลึกไปทางเช็งโต๋มีเล่าเจี้ยง
ขณะที่เล่าปี่ก็ยังระเหเร่ร่อนไปพึ่งใบบุญของเล่าเปียวในเกงจิ๋ว
กล่าวในเชิงเปรียบเทียบ โจโฉเกิดเมื่อปี ค.ศ.155 ปีเดียวกับซุนเกี๋ยนบิดาของซุนเซก ซุนกวน ขณะที่เล่าปี่เกิดเมื่อปี ค.ศ.166
โจโฉจึงอยู่ในฐานะอาวุโสสูงสุด
ขณะเดียวกัน การดำเนินแผน "บีบบังคับฮ่องเต้ แล้วใช้ราชโองการฮ่องเต้มาออกคำสั่งกับบรรดาเจ้าผู้ครองแคว้น" เมื่อปี ค.ศ.196 ตามข้อเสนอจากมอกายและซุนฮก ทำให้การแผ่อำนาจของโจโฉมีความชอบธรรมมากยิ่งขึ้น
เพราะไม่เพียงแต่สามารถบีบอ้วนเสี้ยว บีบอ้วนสุด บีบลิโป้ บีบเล่าปี่ บีบเล่าเจี้ยง หากแม้กระทั่งซุนเซกแห่งแคว้นกังตั๋งก็ไม่มีเว้น
แล้วอำนาจของซุนกวนเริ่มต้นขึ้นอย่างไร
ซุนเซกขึ้นครองอำนาจในแคว้นกังตั๋งหลังซุนเซกเสียชีวิตเพราะถูกลอบสังหารในปีค.ศ.200 ขณะโจโฉทำศึกกัวต๋อกับอ้วนเสี้ยว
คำสั่งเสียสุดท้ายจากซุนเซก พี่ชายคือ
"ขอเตียวเจียวและท่านทั้งหลายจงคอยประคับประคองช่วยเหลือน้องชายข้าพเจ้าด้วย ถ้ารบทัพกังตั๋งเข้ารบพุ่งชิงชัยในใต้ฟ้านี้กับผู้ใดแล้วไซร้น้องยังสู้พี่ มิได้ แต่ถ้าอาศัยคนดีมีวิชาสามารถคุ้มครองป้องกันกังตั๋งแล้วพี่สู้น้องมิได้ ขอน้องจงดูตัวอย่างแห่งความยากลำบากที่พ่อและพี่ได้ทำไว้แล้วไตร่ตรองแล้ว ใช้ให้เกิดผลดีด้วยสติปัญญาของเจ้าเถิด"
คุณเสถียร จันทิมาธร ได้เขียนบทความพิเศษในคอลัมน์ "วิถีแห่งอำนาจ" ไว้หลายชุด ทั้งในหนังสือพิมพ์ข่าวสดและมติชนสุดสัปดาห์ อาทิเช่น
- วิถีแห่งอำนาจ สุมาอี้ (ข่าวสด, ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มแล้ว)
- วิถีแห่งอำนาจจางเหลียง (ข่าวสด, ยังไม่ได้ตีพิมพ์เป็นเล่ม)
- วิถีแห่งอำนาจ ถังไท่จง (ข่าวสด, ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มแล้ว)
- วิถีแห่งอำนาจ บูเช็กเทียน (ข่าวสด, ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มแล้ว)
- วิถีแห่งอำนาจ เจงกิสข่าน (ข่าวสด, ตีพิมพ์เป็นรูปเล่มแล้ว)
- วิถีแห่งอำนาจ จูหยวนจาง (ข่าวสด, ยังไม่ได้ตีพิมพ์เป็นเล่ม)
- วิถีแห่งอำนาจ โจโฉ (มติชนสุดสัปดาห์, ยังไม่จบ)
"วิถีแห่งอำนาจลกซุน" จึงเป็นบทความชิ้นที่สาม ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องสามก๊ก ต่อจาก วิถีแห่งอำนาจสุมาอี้ และวิถีแห่งอำนาจโจโฉ ส่วนเนื้อหาก็จะเป็นการเล่าเรื่องราวชีวิตความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับ "ลกซุน" กุนซือหนุ่มผู้ที่รับช่วงอำนาจแม่ทัพแห่งเมืองง่อต่อจาก จิวยี่ โลซก และลิบอง โดยมีผลงานสำคัญอยู่ที่การปราบทั้งกองทัพของพระเจ้าเล่าปี่ และกองทัพพระเจ้าโจผี ที่มารุกรานแผ่นดินได้อย่างราบคาบ
คอลัมน์นี้จะตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ข่าวสด และในเว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ อย่างต่อเนื่องทุกวันจันทร์-ศุกร์ ท่านผู้ใดสนใจสามารถติดตามอ่านกันได้ตามสื่อดังกล่าว
ทั้งนี้ สามก๊กวิทยา ได้นำตัวอย่างบทความตอนที่ 1 "สิ้นซุนเซก เริ่มซุนกวน" มาให้ชมกันก่อน รวมทั้งจะจัดทำ Link ของบทความแต่ละตอนไปยังหน้าของเว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ มาให้ชมกันเป็นระยะ ๆ ครับ
ซุนกวน |
สิ้นซุนเซก เริ่มซุนกวน (1)
ศึกกัวต๋อเมื่อปี ค.ศ.200 อาจมีผลให้โจโฉสามารถกำราบอ้วนเสี้ยวลงได้ ทำให้อำนาจนำของโจโฉในภาคเหนือดำเนินไปอย่างเกือบเบ็ดเสร็จแต่นั่นก็มิได้เป็นจุดเริ่มแห่งยุคของ "สามก๊ก" ในทางเป็นจริง
เพราะว่าทางเหนือสุดยังมีม้าเท้งครองเสเหลียง ทางใต้ยังมีซุนเซกยึดครองกังตั๋ง พื้นที่เกงจิ๋วมีเล่าเปียว ลึกไปทางฮั่นตงมีเตียวล่อ ลึกไปทางเช็งโต๋มีเล่าเจี้ยง
ขณะที่เล่าปี่ก็ยังระเหเร่ร่อนไปพึ่งใบบุญของเล่าเปียวในเกงจิ๋ว
กล่าวในเชิงเปรียบเทียบ โจโฉเกิดเมื่อปี ค.ศ.155 ปีเดียวกับซุนเกี๋ยนบิดาของซุนเซก ซุนกวน ขณะที่เล่าปี่เกิดเมื่อปี ค.ศ.166
โจโฉจึงอยู่ในฐานะอาวุโสสูงสุด
ขณะเดียวกัน การดำเนินแผน "บีบบังคับฮ่องเต้ แล้วใช้ราชโองการฮ่องเต้มาออกคำสั่งกับบรรดาเจ้าผู้ครองแคว้น" เมื่อปี ค.ศ.196 ตามข้อเสนอจากมอกายและซุนฮก ทำให้การแผ่อำนาจของโจโฉมีความชอบธรรมมากยิ่งขึ้น
เพราะไม่เพียงแต่สามารถบีบอ้วนเสี้ยว บีบอ้วนสุด บีบลิโป้ บีบเล่าปี่ บีบเล่าเจี้ยง หากแม้กระทั่งซุนเซกแห่งแคว้นกังตั๋งก็ไม่มีเว้น
แล้วอำนาจของซุนกวนเริ่มต้นขึ้นอย่างไร
ซุนเซกขึ้นครองอำนาจในแคว้นกังตั๋งหลังซุนเซกเสียชีวิตเพราะถูกลอบสังหารในปีค.ศ.200 ขณะโจโฉทำศึกกัวต๋อกับอ้วนเสี้ยว
คำสั่งเสียสุดท้ายจากซุนเซก พี่ชายคือ
"ขอเตียวเจียวและท่านทั้งหลายจงคอยประคับประคองช่วยเหลือน้องชายข้าพเจ้าด้วย ถ้ารบทัพกังตั๋งเข้ารบพุ่งชิงชัยในใต้ฟ้านี้กับผู้ใดแล้วไซร้น้องยังสู้พี่ มิได้ แต่ถ้าอาศัยคนดีมีวิชาสามารถคุ้มครองป้องกันกังตั๋งแล้วพี่สู้น้องมิได้ ขอน้องจงดูตัวอย่างแห่งความยากลำบากที่พ่อและพี่ได้ทำไว้แล้วไตร่ตรองแล้ว ใช้ให้เกิดผลดีด้วยสติปัญญาของเจ้าเถิด"
ซุนกวนร้องไห้โฮ กระทำคำนับรับตราประจำตำแหน่งไว้
จากนั้น ซุนเซกเรียกนางเกียวฮูหยินผู้เป็นภรรยามาสั่งเสียว่า
"ตัวข้าหาบุญไม่แล้วจำต้องจากเจ้าไป เจ้าอยู่หลังจงช่วยดูแลแม่ของข้าด้วย ถ้าเจ้าได้พบน้องสาวของเจ้าเมื่อใดก็ขอสั่งถึงจิวยี่ว่าให้ช่วยดูแลรักษา น้องชายของข้าขออย่าได้ห่างเหินไปเสีย"
จากนั้นกล่าวกับมารดาว่า "น้องคนนี้มีความสามารถกว่าลูกถึง 10 เท่าเชื่อว่าจะปกครองบ้านเมืองได้เป็นอย่างดี สำหรับการปกครองภายในนั้นหากเหลือความคิดขอให้ปรึกษากับเตียวเจียว ส่วนการภายนอกขอให้ปรึกษากับจิวยี่"
แล้วเรียกน้องคนอื่นๆ มาสั่งเสียว่า
"เมื่อพี่ตายไปแล้วน้องทุกคนจะต้องเป็นกำลังช่วยซุนกวนให้ตลอดรอดฝั่ง ในตระกูลของเรานั้นหากมีใครคิดนอกใจขอจงร่วมกันสังหารมันเสีย เมื่อเนื้อกับกระดูกทรยศกันเองแล้วไซร้ตายไปอย่าเอาไปฝังร่วมในเขตสุสานของ บรรพบุรุษของเราเป็นอันขาด"
บรรดาน้องๆ รับคำแล้วก็ร้องไห้กันทุกคน ซุนเซกพูดจบก็หลับตาสิ้นใจ รวมอายุได้ 26 ปี ซุนกวนร้องไห้ฟุบหน้าอยู่ข้างเตียง
เตียวเจียว ที่ปรึกษาเห็นดังนั้นจึงเข้าไปปลอบ "จะมาร้องไห้อยู่ไย เร่งแต่งการศพให้เสร็จสิ้นแล้วเตรียมจัดการบ้านเมืองให้เรียบร้อยจึงจะชอบ"
นี่คือความเฉียบขาดของเตียวเจียว
เมื่อซุนกวนหยุดร้องไห้แล้วเตียวเจียวสั่งให้ซุนเจ้งจัดการศพ แล้วเชิญซุนกวนออกว่าราชการรับคำนับของขุนนางฝ่ายบุ๋นและฝ่ายบู๊
ขณะที่ซุนกวนกำลังจัดแจงราชการบ้านเมืองอยู่จิวยี่ยกทัพจากด่านปากิ๋วเข้ามา แล้วเข้าไปร้องไห้อยู่ข้างโลงศพ นางงอฮูหยินจึงเข้ามาหาจิวยี่แจ้งคำสั่งเสียของซุนเซกให้ทราบทุกประการ จิวยี่ก้มลงกระทำคำนับกับพื้นแล้วว่า
"ข้าพเจ้าขอเป็นหมาและม้าไปจนกว่าชีวิตจะหาไม่"
สักครู่หนึ่งซุนกวนก็เข้ามาหาจิวยี่ เมื่อกระทำคำนับต่อกันแล้วซุนกวนพูดว่า
"ขอท่านอย่าลืมคำสั่งเสียของพี่ชายข้าพเจ้าเป็นอันขาด"
จิวยี่น้อมศีรษะลงพลางพูด "ข้าพเจ้ายอมตายเพื่อท่านได้ทุกกรณี"
ซุนกวนถามว่า "บัดนี้ข้าพเจ้าจำต้องรับภาระหน้าที่ของพ่อและพี่ต่อไป ข้าพเจ้าควรจะถือหลักในการปกครองอย่างไร"
"โบราณว่าไว้ มีคนดีไว้ใช้ย่อมรุ่งเรือง เสียคนดีย่อมมีแต่พินาศ ภาษิตนี้ยังใช้ได้ในปัจจุบัน ขอท่านจงสรรหาคนดี มีสติปัญญามาช่วยเป็นกำลังให้มากๆ รากฐานของท่านจึงจะมั่นคง" เป็นคำตอบจากจิวยี่
เป็นอันว่ากำลังหลักของซุนกวน 1 คือ เตียวเจียว 1 คือ จิวยี่
นี่คือจุดเริ่มต้นของซุนกวนเมื่อซุนเซกจากไปอย่างไม่ทันได้คาดคิดในปีค.ศ.200 เป็นจุดเริ่มต้นของชายหนุ่มที่มีอายุได้เพียง 19 ปี
รวม Link บทความวิถีแห่งอำนาจลกซุน
- สิ้นซุนเซก เริ่มซุนกวน (1)
- รากฐาน ซุนกวน (2)
- โลซก จูกัดกิ๋น (3)
- ที่ปรึกษา ซุนกวน(4)
- สาแหรก ลกซุน(5)
- สภาพหลัง ค.ศ.200(6)
- ยุทธศาสตร์ แนวร่วม(7)
- ทำไม ต้อง เกงจิ๋ว (8)
- หนี้แค้น หองจอ (9)
- นายอำเภอ ลกซุน (10)
- การศึก ที่ฮุยเจี๋ยง (11)
- เป้าหมาย คือ เกงจิ๋ว (12)
- จุดยืน แน่วแน่ โลซก (13)
- ลิ้นลม ของ ขงเบ้ง(14)
- จิวยี่ ตัดสินใจ(15)
- บทวิเคราะห์ จิวยี่ (16)
- เทียเภา จิวยี่ (17)
- หลอกวนจง ขงเบ้ง (18)
- ลมบูรพา ขงเบ้ง (19)
- ขงเบ้ง ยืม เกาทัณฑ์ (20)
- สองด้าน ซุนกวน (21)
- สงคราม การข่าว (22)
- ลกซุน ใน เซ็กเพ็ก (23)
- เผด็จศึก เซ็กเพ็ก (24)
- ไฟ หรือ โรคระบาด (25)
- เริ่มยุค สามก๊ก (26)
- ลำกุ๋น เป็นเป้าหมาย (27)
- จิวยี่ ต้องเกาทัณฑ์ (28)
- จิวยี่ แสร้งตาย (29)
- เสียเกงจิ๋ว ซงหยง (30)
- ขงเบ้ง กับ โลซก (31)
- เกงจิ๋ว ยุทธภูมิสัญจร (32)
- การศึก ที่ หับป๋า (33)
- ย้อนกลับ เกงจิ๋ว (34)
- "ยืม" เมืองเกงจิ๋ว (35)
- จิวยี่ ซุนกวน โลซก (36)
- การตายของ จิวยี่ (37)
- คำสั่งเสีย จิวยี่ (38)
- โลซก เท่ากับ โง่ (39)
- นักการทูต โลซก (40)
- พระอาทิตย์ 2 ดวง (41)
- การทูต นำ การทหาร (42)
- โลซก กับ บังทอง (43)
- ขงเบ้ง อำลา เกงจิ๋ว (44)
- อนุสาสน์ ขงเบ้ง (45)
- จูกัดกิ๋น จูกัดเหลียง (46)
- หน้าเหล้า หน้าข้าว (47)
- การทหาร นำ การทูต (48)
- ศึกฮันต๋ง ศึกหับป๋า (49)
- เล่าปี่ คาย 3 เมือง (50)
- ซุนกวน สวามิภักดิ์ (51)
- กลยุทธ์ สุมาอี้ (52)
- กวนอู เหิมหาญ (53)
- ยกแรก ศึกอ้วนเสีย (54)
- แนวหลัง เกงจิ๋ว (55)
- กวนอู ทดน้ำ (56)
- หมันทอง สุมาอี้ (57)
- แม่ทัพง่อก๊ก ลิบอง (58)
- ลิบอง ทำ มารยา (59)
- อุบาย ของ ลกซุน (60)
- จังหวะก้าว ลกซุน (61)
- หนังสือ ลกซุน (62)
- ขึ้นเรือน ชักกระได (63)
- ชายชุดขาว ยึดเกงจิ๋ว (64)
- การเมือง การทหาร (65)
- กลยุทธ์ รบทางใจ (66)
- เกงจิ๋ว ปฏิเสธ กวนอู (67)
- เพลงฌ้อ 4 ทิศ (68)
- ลิบอง สยบ กวนอู (69)
- การตาย ของ ลิบอง (70)
- ศีรษะ กวนอู (71)
- 3 ปี ในความแค้น (72)
- จูล่ง จินปิด ทัดทาน (73)
- ทัพ 75 หมื่น เคลื่อน (74)
- ฐานะเปลี่ยน ความคิดเปลี่ยน (75)
- การทูต นำการทหาร (76)
- กลยุทธ์ ซุนกวน (77)
- การทหาร แพ้ราบ (78)
- บทบาท กำเต๊ก (79)
- แม่ทัพพิทักษ์ตะวันตก (80)
- ท่าทีฮันต๋ง จิวท่าย (81)
- แรงกดดัน ฮันต๋ง (82)
- ลกซุน จากมุมเล่าปี่ (83)
- ทัพลวง ทัพจริง (84)
- พระเจ้าโจผี ฟันธง (85)
- ขงเบ้ง วิเคราะห์ (86)
- 20 ค่าย เล่าปี่ราบ (87)
- การรุก ของ ลกซุน (88)
- เล่าปี่ พ่ายแพ้ ยับเยิน (89)
- ทัพวุยก๊ก เคลื่อน (90)
- ตีทัพ เมืองวุย ย่อยยับ (91)
- วาระสุดท้าย เล่าปี่ (92)
- กวนอู หรือ เกงจิ๋ว (93)
- อัตวิสัย เล่าปี่ (94)
- ถอยทางยุทธศาสตร์ (95)
- ได้ทีก็รุก รู้ยากก็ถอย (96)
- เกียรติภูมิ ลกซุน (97)
- ศึก 3 เส้า วุย จก ง่อ (98)
- กระบวนถอย ลกซุน (99)
- ข้าศึกแข็ง ให้เลี่ยง (100)
- ซุนกวน เป็นกษัตริย์ (101)
- ลกซุน ตรอมใจตาย (102)
- 62 ปี อันรุ่งโรจน์ (103)
- สถานการณ์ สร้างวีรบุรุษ(104)
- วิถี ขุนนาง ซื่อสัตย์ (105)
<< จบบริบูรณ์ >>
น่าอ่านมากครับ
ตอบลบงานเขียนของอาจารย์เสถียรชุด "วิถีแห่งอำนาจ" น่าอ่านและมีคุณภาพทุกชุดครับ
ลบส่วน "วิถีแห่งอำนาจลกซุน" คุณ Gene สามารถติดตามอ่านได้ที่หน้าบล็อกนี้เลย จะอัพเดท Link เรื่อย ๆ จบกว่าจะจบครับ
ตามอ่านมาตลอดส่วนตัวชอบลกซุนมากครับ
ตอบลบติดตามครับ
ตอบลบ