"กิเลน ประลองเชิง" นักเขียนอาวุโส เจ้าของคอลัมน์ "ชักธงรบ" ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ได้เขียนบทความวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทย อันใกล้เคียงกับเหตุการณ์ "กบฏ" ในยุคสามก๊ก
"การทำนาเป็นอาชีพที่เป็นกำลังและข้ออ้างในการโค่นล้มอำนาจนักการเมือง"
"กิเลน ประลองเชิง" นักเขียนอาวุโส เจ้าของคอลัมน์ "ชักธงรบ" ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ได้เขียนบทความวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทย อันใกล้เคียงกับเหตุการณ์ "กบฏ" ในยุคสามก๊ก
บทความนี้มีชื่อว่า "กบฏเต๋า" อันกล่าวถึงประวัติ ความเป็นมาของความโกลาหลวุ่นวายของบ้านเมืองในอดีต อันเกี่ยวพันกับ "ข้าว" และการ "ทำนา" ซึ่งก็แน่นอนว่าเข้ากับประเด็นร้อนทางการเมืองของไทยในเวลานี้ที่ "น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี" กำลังจะถูกตัดสินให้เป็นหนึ่งในบุคคลที่จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย จากการดำเนินโครงการ "รับจำนำข้าว"
สามก๊กวิทยา เคยเขียนเรื่องทำนองนี้ไว้แล้วในบทความเรื่อง "โจรจำนำข้าว (Rice Thief)" และ "โจโฉโกงข้าว" แต่ก็อาจจะตกหล่นไปบ้าง
บทความ "กบฏเต๋า" ของอาจารย์กิเลน จึงช่วยเติมเต็มเหตุการณ์ "มหากาพย์จำนำข้าว" นี้ได้เป็นอย่างดี
บทความ "กบฏเต๋า" ของอาจารย์กิเลน จึงช่วยเติมเต็มเหตุการณ์ "มหากาพย์จำนำข้าว" นี้ได้เป็นอย่างดี
บทความชิ้นนี้ดี และมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องสามก๊ก จึงจำต้องขอบันทึกไว้ในบล็อก พร้อมกับปันให้ทุกท่านอ่านโดยทั่วกัน
กบฏเต๋า
โดย กิเลน ประลองเชิง 18 ก.พ. 2558กบฏเต๋า |
ลัทธิเต๋าดั้งเดิมของเหลาจื๊อ เลี่ยจื๊อ และจวงจื่อ เป็นปรัชญาค่อนข้างบริสุทธิ์ การศึกษาเพื่อให้เข้าถึงเต๋า เน้นด้านปัญญาสมาธิ แต่ต่อมา ในสมัยราชวงศ์ฮั่น ลัทธิเต๋าเริ่มมีไสยเวท เช่น ยันต์ มนตรา ยาอายุวัฒนะ มีฤทธิ์เดชยุ่งเหยิงขึ้นเรื่อยๆ
ต้นยุคสามก๊ก นิกายเต๋าที่เน้นไสยเวท มีสองนิกาย ไท่ผิงเต๋า (เต๋าสันติสุข) และอู่โต้วหมี่เต๋า (เต๋าข้าวห้าถัง)
เตียวก๊ก |
หัวหน้ากบฏอีกคนในสามก๊ก ชื่อเตียวฬ่อ หลานชายเตียวเหลียง ผู้ก่อตั้งนิกายเต๋าข้าวห้าถัง เตียวฬ่อเหนือกว่าเตียวก๊ก ไม่ปลุกระดมชาวนาจับอาวุธโค่นอำนาจรัฐ แต่ใช้ทางลัดครอบงำขุนศึกผู้กุมกองทัพให้เป็นสาวก
จึงยึดเมืองฮันต๋ง ปกครองอยู่เป็นเวลานาน เตียวฬ่อเคยส่งม้าเฉียวไปทำศึกกับขงเบ้ง ต่อมา พ.ศ.758 ก็แพ้แก่โจโฉ
พ้นยุคเตียวฬ่อ แต่เต๋าข้าวห้าถังก็ยังคงอยู่ จนถึงยุคราชวงศ์ตงจิ้น ต้นรัชกาลเสี้ยวอู่ตี๋ (พ.ศ.915-939) ประมุขเต๋าข้าวห้าถังชื่อซุนไท่ เห็นโอกาสที่ราชสำนักเสื่อมโทรม ก็ปลุกระดมมวลชนเข้ายึดอำนาจรัฐ แต่ถูกปราบปราม ซุนไท่ถูกฆ่า
เตียวฬ่อ |
พ.ศ.939 เกิดความขัดแย้งระหว่างราชสำนัก กับเจ้าที่ดินท้องถิ่นซือหม่าหยวนเสี่ยน ราชบุตรเสี้ยวอู่ตี๋ เตรียมจับชาวนาเกณฑ์เข้าเป็นทหารหลวง ตัดกำลังที่กำลังจะเติบโตของเจ้าที่ดิน เกิดข่าวลือสับสน ชาวบ้านตื่นตระหนก
ซุนเอินเห็นโอกาส พาสานุศิษย์ร้อยคนเศษขึ้นบกที่กุ้ยจี มณฑลเจียงชู ปลุกระดมได้ชาวนาเป็นกำลังหลายหมื่นคน แล้วนำทัพเข้ายึดเมืองได้หลายเมือง จับข้าหลวงฆ่าไปหลายคน
พ.ศ.944 กองทัพเต๋าข้าวห้าถัง มีกำลังพลสิบหมื่น รุกคืบหน้ามาตามแม่น้ำแยงซีเกียง จนเกือบถึงราชธานีนานกิง
แต่ราชวงศ์ตงจิ้น มีขุนศึกดีชื่อ หลิวอวี้ ยกทัพออกมาปะทะ ผลปรากฏว่า ทัพชาวนาแพ้ หลิวอวี้ไล่ตามโจมตีซุนเอินไปจนถึงริมทะเล ซุนเอินหมดทางสู้ กระโดดลงทะเลฆ่าตัวตาย
พ.ศ.953 หลูสวิน น้องเขยซุนเอิน นำศิษย์เต๋าข้าวห้าถัง ก่อกบฏที่แถบมณฑลกวางตุ้ง แต่เมื่อขุนศึกหลิวอวี้ยกกำลังไปปราบผลก็ปรากฏว่า ทัพชาวนาแพ้เหมือนเดิม ยุติกบฏเต๋า
แม้ปราบกบฏเต๋าข้าวห้าถังได้...แต่ราชสำนักจิ้นก็ยิ่งอ่อนแอเสื่อมทราม ขุนศึกผู้กุมกำลังทหารต่างก็คิดแย่งชิงกันเป็นใหญ่ จ้องจะเข้ารัฐประหาร ขุนศึกหวนสวน โค่นล้มราชวงศ์จิ้นได้ แต่ก็พลาดท่า ถูกขุนศึกหลิวอวี้กำจัด
พ.ศ.963 ขุนศึกหลิวอวี้ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้ ตั้งราชวงศ์ซ่ง
นอกจากสงครามระหว่างผู้ชนะที่เป็นเจ้า กับผู้แพ้ที่ถูกเรียกว่ากบฏ ราชวงศ์ซ่งเอง ยังต้องปะทะขัดแย้งกับชาวพื้นเมืองดั้งเดิม เช่น ชาวฌ้อ และชาวเย่ว์
กบฏโพกผ้าเหลือง |
เหล่านี้เอง ที่ทำให้ผู้คนผู้มีวิญญาณกวีอย่างเถาหยวนหมิง ปลีกตัวเร้นกายแสวงวิเวกหนีความวุ่นวาย
บทกวีบทหนึ่ง ชื่อ ตำนานธารดอกท้อ เถาหยวนหมิงพรรณนาถึงบ้านเมืองสงบสุข เหมือนเมืองในฝัน พ.ศ.2501 ทวีปวร กวีไทย เขียนบทกวีถึง...
ท่านเถาหยวนหมิงไปไหน มุ่งสู่สถานใดในหน ดินแดนดอกท้อสถิตยล ไถนาได้ผลหรือไร
ความสุขสงบเย็นเป็นนิรันดร์ ในทัศนะของกวีไม่ว่ารุ่นเถาหยวนหมิง หรือทวีปวร มีความหมายเดียว คือการทำนา
และการทำนาก็เป็นอาชีพเดียว ที่เป็นทั้งกำลังและเป็นข้ออ้าง ในการโค่นล้มอำนาจ...ของพวกนักการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองในอดีตกาล พันปีที่แล้ว หรือนักการเมืองปัจจุบัน...วันนี้.
กิเลน ประลองเชิง
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
กรุณาแสดงความคิดเห็น