Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก

"ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก" เป็นหนังสือสามก๊กอีกแนวจิตวิทยา การบริหารเล่มหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนได้รับตีพิมพ์ใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งในประเทศจีนและประเทศไทย ซึ่งแน่นอนว่านักอ่านสามก๊กหลายท่านเคยผ่านตาหนังสือเล่มนี้มาบ้างแล้ว หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักเขียนชาวจีนนามว่า "ฮั่วอวี่เจีย" แปลใหม่เป็นภาษาไทยโดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องสามก๊กอย่างอาจารย์ "บุญศักดิ์ แสงระวี" ซึ่งได้เปิดตัวหนังสือในฉบับตีพิมพ์ใหม่เล่มนี้ อย่างเป็นทางการในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ผ่านมา
ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก
บุคลากรศาสตร์ จากวรรณคดีชั้นเยี่ยม
ผสานใช้ได้กับทุกองค์กร ทุกระดับชั้น
ให้ลุถึงการ "ใช้คนเป็น" อย่างแยบยล
     "ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก" เป็นหนังสือสามก๊กอีกแนวจิตวิทยา การบริหารเล่มหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนได้รับตีพิมพ์ใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งในประเทศจีนและประเทศไทย ซึ่งแน่นอนว่านักอ่านสามก๊กหลายท่านเคยผ่านตาหนังสือเล่มนี้มาบ้างแล้ว

     หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักเขียนชาวจีนนามว่า "ฮั่วอวี่เจีย" แปลใหม่เป็นภาษาไทยโดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องสามก๊กอย่างอาจารย์ "บุญศักดิ์ แสงระวี" ซึ่งได้เปิดตัวหนังสือในฉบับตีพิมพ์ใหม่เล่มนี้ อย่างเป็นทางการในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ผ่านมา

     ในครั้งแรกที่ผมเห็นหนังสือเล่มนี้ ผมไม่คิดว่าจะนำมาบันทึกไว้ในบล็อก เพราะเห็นว่าเป็นหนังสือเก่า แต่เมื่อได้เห็นตัวเล่มจริง ๆ จึงได้พบว่ามีการปรับปรุงในหลาย ๆ ส่วน อาทิเช่น รูปเล่มที่ดูสวยงาม ภาพประกอบอันคมชัด การเรียบเรียงและลำดับอักษรที่อ่านง่ายสบายตา แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือเนื้อหา ที่ยังคงเต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ จึงต้องนำมาแนะนำให้นักอ่านสามก๊กรุ่นใหม่ได้รู้จักกันใหม่อีกครั้งครับ

     หากท่านผู้ใดสนใจ สามารถดูรายละเอียดในหน้าเว็บของสำนักพิมพ์ Book Time หรือ Download ตัวอย่างหนังสือจาก Link ท้ายบทความ ไปทดลองอ่านได้เลยครับ


โจโฉตั้งตนเป็นอ๋อง

คํานําจากผู้แปล

     ในเมืองไทยเรา นับแต่มีหนังสือพงศาวดารจีนเรื่อง สามก๊ก ฉบับภาษาไทยซึ่งอำนวยการแปลโดยเจ้าพระยา พระคลัง (หน) ขึ้น และได้แพร่หลายเป็นที่ต้อนรับโดยทั่วไปแล้ว ก็เข้าใจกันว่า สามก๊ก ฉบับนี้ ก็คือประวัติศาสตร์จริงสมัยสาม ก๊กของจีน และเข้าใจกันอยู่อย่างนี้จวบจนปัจจุบัน

     ที่แท้แล้ว สามก๊ก มีอยู่ด้วยกัน 2 ฉบับ ฉบับหนึ่งเป็น ประวัติศาสตร์จริงของสามก๊ก มีชื่อเรียกเป็นภาษาจีนกลางว่า ซานกว๋อจวื้อ มีความหมายทางภาษาไทยว่า จดหมายเหตุ สามก็ก ซึ่งบันทึกเรื่องราวของสามก๊กไว้ตามข้อเท็จจริงของยุค นั้น เขียนโดยเฉินโซ่ว อีกฉบับหนึ่งเป็นนิยายอิงประวัติศาสตร์ ชื่อ ซานกว๋อเหยี่ยนอี้ซึ่งพอจะแปลความหมายในทางภาษา ไทยว่า ตํานานสามก๊ก เขียนโดยหลัวก้วนจง ในรูปแบบนวนิยาย แต่ก็มิได้ละเลยหรือทิ้งข้อเท็จจริงสำคัญ ๆ ทางประวัติศาสตร์ ของสามก๊กไปแต่ประการใด

     เมื่อได้ตรวจสอบเปรียบเทียบแล้ว ปรากฏว่า สามก๊ก ฉบับที่เจ้าพระยาพระคลัง (หน) อำนวยการแปลเป็นภาษาไทย นั้น เป็น ซานกว๋อเหยี่ยนอี้หรือ ตํานานสามก๊ก นิยายอิง ประวัติศาสตร์ของหลัวก้วนจง ไม่ใช่ ซานกว๋อจวื้อ หรือ จดหมายเหตุสามก๊ก ของเฉินโซ่ว และเมื่อตรวจสอบเปรียบ เทียบลึกเข้าไปอีก ยังปรากฏว่า แม้แต่ สามก๊ก ฉบับภาษาไทยที่เจ้าพระยา พระคลัง (หน) อำนวยการแปลนั้น ก็ยังมีความคลาดเคลื่อนกับ ซานกว๋อ เหยี่ยนอี้หรือ ตํานานสามก๊ก ของหลัวก้วนจงฉบับภาษาจีนไปไม่น้อย โดยเฉพาะจำนวนตอน ซึ่งในฉบับภาษาจีนมี 120 ตอน แต่ของภาษาไทย เหลือเพียง 87 ตอน หายไปถึง 33 ตอน

     ความคลาดเคลื่อนนี้ อาจมาจากเหตุ 2 ประการ

     หนึ่งคือ ผู้แปลอาจจงใจตัดข้อความบางตอนทิ้งไปเสียโดยคิดเอา ว่าเยิ่นเย้อไม่สำคัญ ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด ซานกว๋อเหยี่ยนอี้หรือ ตํานาน สามก๊ก ได้ผูกเรื่องไว้ให้ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันโดยพิสดาร เมื่อถูกตัดตอน หนึ่งตอนใดไปแล้ว เรื่องราวก็จะไม่สอดรับกับเรื่องราวในตอนหลัง ที่ได้ ย้อนกลับไปเท้าความถึงตอนต้นในภายหลังต่อมา

     สองคือ หลังจากหลัวก้วนจงเขียน ซานกว๋อเหยี่ยนอี้หรือ ตํานาน สามก๊ก เมื่อสมัยราชวงศ์หมิง ก็ได้รับการต้อนรับอย่างแพร่หลาย ต่อมา มีผู้นำไปปรับปรุง ตัดต่อ แก้ไข เพิ่มเติมกันหลายต่อหลายคน ต่างคนต่าง ทำ ซานกว๋อเหยี่ยนอี้หรือ ตํานานสามก๊ก จึงมีหลายสำนวนที่แตกต่าง กันไป แต่ก็ยังใช้ชื่อหลัวก้วนจงเป็นผู้เขียนอยู่อย่างเดิม จึงไม่ทราบว่า ผู้ แปลภาษาไทย ได้นำสำนวนไหนมาแปล ฉะนั้นจึงคลาดเคลื่อนกับฉบับ ภาษาจีนที่นิยมอ่านกันอยู่ในปัจจุบัน ที่ปรับปรุงแก้ไขโดยเหมาจงก่าง นักอักษรศาสตร์ผู้ลือชื่อ ในสมัยราชวงศ์ชิงซึ่งมี 120 ตอน ดังกล่าว

     ส่วนเรื่องความเป็นมาของสามก๊ก และของหนังสือ สามก๊ก ตลอด จนชีวประวัติผู้เขียนทั้งสองคน ท่านผู้อ่านจะดูได้จากบทความเรื่อง สามก๊กจี่ และ สามก๊กเอี้ยนหงี ของอาจารย์ยง อิงคเวทย์ ซึ่งท่านได้ เขียนความละเอียดไว้หลายแง่หลายมุม อันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับ ผู้ที่สนใจ ซึ่งได้รวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วยแล้ว เพื่อความสะดวกของ ท่านผู้อ่าน

     สำหรับหนังสือ ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก เล่มนี้ ฮั่วอวี่เจียได้ถือ ซานกว๋อเหยี่ยนอี้หรือ ตํานานสามก๊ก 120 ตอน ที่ตรวจแก้ไขโดย เหมาจงก่างเป็นต้นฉบับในการวิเคราะห์วิจัย ซึ่งในขณะแปลเรื่องนี้ จึงต้อง ประสบกับความยุ่งยากหลายประการจากความคลาดเคลื่อนดังกล่าว ข้างต้น นี่เป็นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่ง ยังประสบกับความยุ่งยากในการเทียบ ชื่อ สถานที่ และบุคคลในสามก๊ก ซึ่งในฉบับภาษาไทยของเจ้าพระยา พระคลัง (หน) ใช้เป็นภาษาฮกเกี้ยนเป็นส่วนใหญ่และได้ปะปนภาษาแคะ แต้จิ๋วเข้าไปบ้าง อันทำให้เกิดความสับสนเป็นอย่างยิ่ง ใช่แต่เท่านั้น แม้แต่ ชื่อสถานที่และบุคคลเดียวกัน ตอนหน้าใช้อย่าง ตอนกลางใช้อย่าง ตอนหลัง ก็ใช้อีกอย่างบ้าง ในภาษาจีนกล่าวถึง แต่ในภาษาไทยหาไม่พบหายไป เสียเฉย ๆ ก็มี ดังนี้ เป็นต้น

     อย่างไรก็ดี สามก๊ก ฉบับภาษาไทยของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ก็เป็นวรรณกรรมแปลชิ้นเอกที่ไม่อาจปฏิเสธได้ แม้มีข้อบกพร่องดังกล่าว อยู่ก็ตาม ในการแปลเรื่องนี้ ข้อความใดที่ภาษาจีนได้อ้างไว้ ในภาษาไทย มีตรงกัน ผู้แปลก็ได้อัญเชิญสำนวนของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) มาใส่ไว้ แต่มิได้ระบุว่าหยิบยกมาจากตอนใด ซึ่งก็มีอยู่เท่าที่จำเป็น ส่วนที่ไม่มีหรือ ไม่ตรงกับของภาษาจีน ก็ได้แปลขึ้นมาใหม่ตามเนื้อของความภาษาจีน ส่วนชื่อสถานที่และบุคคลได้ใช้ตามต้นฉบับของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) สำหรับที่ไม่ปรากฏในภาษาไทย ผู้แปลก็แปลเป็นสำเนียงภาษาจีนกลาง ตามความนิยมในปัจจุบัน

     สำหรับภาพวาดที่ใช้ประกอบในหนังสือเล่มนี้ ได้เลือกเฟ้นมาจาก ต้นฉบับ ตํานานสามก๊ก ของหลัวก้วนจงฉบับภาษาจีน ซึ่งจัดพิมพ์ตั้งแต่ สมัยราชวงศ์ชิงโน้น โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้วาด

     จึงขอเรียนมาเพื่อทราบ และขออภัยในความบกพร่องซึ่งก็คงจะมี ในหนังสือเล่มนี้ไว้ ณ ที่นี้ด้วย


บุญศักดิ์ แสงระวี

สุมาเต๊กโชแนะนำขงเบ้งแก่เล่าปี่



เรื่องย่อ

     ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก มรดกทางบุคลากรศาสตร์อันทรงคุณค่าเป็นที่ยิ่งของจีนโบราณ การสนใจค้นคว้าศิลปะอันนี้ จะมีคุณประโยชน์อย่างใหญ่หลวง แก่การใช้คนของวงการทั่วไปอย่างกว้างขวาง
  • ไม่ถือความใกล้ชิด แยกคุณโทษแจ่มชัด
  • อย่าเลือกคนที่รูปร่างหน้าตา
  • เอาชนะทางใจ
     และอีกหลายเคล็ดลับที่ทำให้ “ได้ใจคน บรรลุภารกิจ”

สารบัญ

  • สามก๊กจี่ และ สามก๊กเอี้ยนหงี
    • สังเขปเหตุการณ์สมัยสามก๊ก
    • หนังสือ สามก๊กจี่ (จดหมายเหตุสามก๊ก)
      • เนื้อหาในหนังสือ สามก๊กจี่
      • ประวัติตันซิ่ว ผู้ประพันธ์ จดหมายเหตุสามก๊ก
    • สามก๊กจี่เอี้ยนหงี (นิทานสามก๊ก หรือตำนานสามก๊ก)
      • ความหมายของชื่อหนังสือ นิทานสามก๊ก(ตำนานสามก๊ก)
      • ประวัติผู้เรียบเรียง นิทานสามก๊ก
      • เนื้อหาสำหรับเรียบเรียง นิทานสามก๊ก
    • เค้าเรื่อง นิทานสามก๊ก
      • ความสำเร็จของ นิทานสามก๊ก
      • อิทธิพลของ นิทานสามก๊ก
      • คำวิจารณ์หนังสือ นิทานสามก๊ก
      • การจัดพิมพ์หนังสือ สามก๊กจี่เอี้ยนหงี ของล่อกวนตง
      • ประเมินค่าของ สามก๊กจี่ และ สามก๊กจี่เอี้ยนหงี
  • 1 นำเรื่อง
  • 2 ความรุ่งเรืองและความเสื่อมโทรมของสามก๊กกับการใช้คน
    • ใช้คนถูก สามก๊กเกิด
      • เล่าปี่เปลี่ยนฐานะเมื่อได้ขงเบ้ง
      • ซุนฮกช่วยโจโฉครองภาคเหนือ
      • ซุนกวนคุมกังตั๋งเมื่อฟังโลซก
    • ใช้คนผิด ทุกก๊กล่ม
      • ราชวงศ์วุยใช้โจซอง เสียอำนาจแก่ตระกูลสุมา
      • เล่าเสี้ยนหลงเชื่อฮุยโฮ เสียจ๊กก๊ก
      • ซุนโฮใกล้ชิดคนถ่อย ถูกจิ้นตีแตก
  • 3 จุดเด่นการใช้คนของสามก๊ก
    • เพียบพร้อมด้วยศีลธรรมความสามารถจุดเด่นการใช้คนของขงเบ้ง
    • เอาแต่ความสามารถเป็นที่ตั้งจุดเด่นการใช้คนของโจโฉ
    • ระแวงไม่ใช้ ใช้ไม่ระแวง
    • จุดเด่นการใช้คนของซุนกวน
  • 4 เปรียบเทียบการใช้คนในสามก๊ก
    • จุดซึ่งมีร่วมกัน
      • ไม่ถืออาวุโส ไม่ยึดกฎตายตัว
      • ไม่ถือความใกล้ชิด แยกคุณโทษแจ่มชัด
    • ต่างมีดีมีเสีย
      • เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียในการใช้คนระหว่างขงเบ้งกับโจโฉ
      • เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียในการใช้คนระหว่างโจโฉกับซุนกวน
      • เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียในการใช้คนระหว่างซุนกวนกับขงเบ้ง
  • 5 ศิลปะการปกครองคนในสามก๊ก
    • ศิลปะการปกครองคนของเล่าปี่
      • โยนอาเต๊า
      • กระโดดน้ำตาย
      • เสือกไสขุนพล
      • ปฏิเสธชีจิ๋ว
      • ฝากเล่าเสี้ยน
    • ศิลปะการปกครองคนของขงเบ้ง
      • เคร่งกฎหมาย
      • เอาชนะทางใจ
      • ถือสัจจะ
      • ยั่วยุขุนพลอย่างแยบยล
    • ศิลปะการปกครองคนของโจโฉ
      • หัวเราะกับร้องไห้
      • โกรธกับรัก
      • เผาจดหมาย
      • ตัดผมแทนหัว
      • ให้ยศศักดิ์เงินทอง
    • ศิลปะการปกครองคนของซุนกวน
      • ดูแผลให้ยา
      • ศัตรูให้เป็นมิตร
      • นัดแต่งงาน
  • 6 ข้อเตือนสติจากการใช้คนในสามก๊ก
    • เคารพนักปราชญ์ยกย่องบัณฑิตจึ่งได้บัณฑิต
    • สามัคคีคนทั้งปวง จึงสามารถบรรลุภารกิจ
    • ใช้คนที่ความสามารถ ไม่ใช่ที่แก่หรือหนุ่ม
    • อย่าเลือกคนแต่รูปร่างหน้าตา
    • ภัยของการปฏิเสธคำทักท้วง
    • จุดจบของการตั้งกลุ่มพรรคพวก
    • ใช้เล่ห์ได้คน แต่ไม่ได้ใจคน
    • ข้อเสียของการเหมางานทำแทน
  • 7 ผลร้ายของการใช้คนเอาแต่ความใกล้ชิดในสามก๊ก
    • เลนเต้ใช้ 10 ขันที บ้านเมืองจึงวุ่นวาย
    • ราชสำนักฮั่นใช้โฮจิ๋นจึงล่มจม
    • ตั๋งโต๊ะใช้ลิโป้คอจึงหลุดจากบ่า
    • โจโฉใช้แฮหัวเอี๋ยนจึงเสียฮั่นต๋ง
    • เล่าปี่ใช้กวนอูเสียเกงจิ๋ว
  • 8 เรื่องน่าชื่นชมในการรู้จักคนของสามก๊ก
    • โจโฉอุ่นสุราถกเรื่องวีรบุรุษ
    • เล่าปี่พูดถึงม้าเจ๊ก
    • ชีซีวิเคราะห์เล่าเปียว
    • เล่าปี่เชื่อจูล่งไม่ทรยศ
    • จูกัดกิ๋นรู้จักลูกชายตนเอง
  • 9 กลวิธีแนะนำนักปราชญ์ในสามก๊ก
    • สุมาเต๊กโชแนะนำขงเบ้งอย่างแยบคาย
    • ชีซีชักม้าหวนกลับมาแนะนำขงเบ้ง
    • ขงเบ้งแนะนำบังทองไม่เห็นแก่ตัว
    • งำเต๊กเอาชีวิตครอบครัวประกันลกซุน
    • ซุนฮกแนะนำนักปราชญ์แก่โจโฉ
    • นักปราชญ์ในง่อก๊กแนะนำซึ่งกันและกัน

ขงเบ้งตายใช้หุ่นสู้สุมาอี้

รายละเอียดหนังสือ

  • ชื่อเรื่อง : ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก
  • ผู้เขียน: ฮั่วอวี่เจีย
  • ผู้แปล: บุญศักดิ์ แสงระวี
  • ภาพประกอบ: -
  • พิมพ์ครั้งแรก: ตุลาคม 2557 (พิมพ์ครั้งที่ 4 ปรับปรุงใหม่)
  • ISBN: 9786167105857
  • Barcode: 9786167105857
  • สำนักพิมพ์: สุขภาพใจ
  • ขนาด: 14.5 x 21 ซ.ม.
  • จำนวนหน้า: 288 หน้า
  • ปก: ปกอ่อน
  • เนื้อใน: ถนอมสายตา
  • ราคา : 200 บาท
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก

กรุณาแสดงความคิดเห็น

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,18,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,118,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,66,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก
ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก
"ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก" เป็นหนังสือสามก๊กอีกแนวจิตวิทยา การบริหารเล่มหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก จนได้รับตีพิมพ์ใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งในประเทศจีนและประเทศไทย ซึ่งแน่นอนว่านักอ่านสามก๊กหลายท่านเคยผ่านตาหนังสือเล่มนี้มาบ้างแล้ว หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักเขียนชาวจีนนามว่า "ฮั่วอวี่เจีย" แปลใหม่เป็นภาษาไทยโดยผู้เชี่ยวชาญเรื่องสามก๊กอย่างอาจารย์ "บุญศักดิ์ แสงระวี" ซึ่งได้เปิดตัวหนังสือในฉบับตีพิมพ์ใหม่เล่มนี้ อย่างเป็นทางการในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ผ่านมา
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhVKZ_5qlmFtxBUHB5lnJc2Sy9BEME0IuBNddZWkTFdVVWacx_UGCHoJWdFGrNKYgaPPL_v6iVb5fJbwXF-H_X6TJERD0dMiE7sHSUpAkU5LC55cRR1wUORfrNwNSD0bTWSsn65_YklIU4/s1600/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%81.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhVKZ_5qlmFtxBUHB5lnJc2Sy9BEME0IuBNddZWkTFdVVWacx_UGCHoJWdFGrNKYgaPPL_v6iVb5fJbwXF-H_X6TJERD0dMiE7sHSUpAkU5LC55cRR1wUORfrNwNSD0bTWSsn65_YklIU4/s72-c/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%81.jpg
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2014/12/Leader-Art-in-Three-Kingdoms..html?m=0
https://www.samkok911.com/?m=0
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2014/12/Leader-Art-in-Three-Kingdoms..html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ