หากกล่าวถึงตำราพิชัยสงครามจีน เรามักคุ้นชื่อของพิชัยสงครามซุนวู พิชัยสงครามอู๋ฉี่ และตำรา 36 กลยุทธ์ ส่วนในวรรณกรรมสามก๊กนั้น ตำราพิชัยสงครามพอจะคุ้นหูคุ้นตาอยู่บ้างนั้นคือ ตำราพิชัยสงครามโจโฉ และตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง
ตำราพิชัยสงครามของโจโฉ ถูกโจโฉเผาทำลายทิ้งเสียเอง เพราะโมโหที่ถูกเตียวสงจับได้ว่าลอกตำราพิชัยสงครามทั้ง 13 บทของซุนวูมาทั้งดุ้น
ส่วนตำราพิชัยสงครามของขงเบ้ง ที่ขงเบ้งได้มอบให้กับเกียงอุยก่อนสิ้นใจ ได้สืบทอดต่อกันมาถึงปัจจุบันดังเช่นหนังสือแปลที่เราท่านคุ้นตา เช่น “ตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง” ของคุณ อมร ทองสุข ,”ปรัชญานิพนธ์และชีวประวัติของขงเบ้ง” โดยคุณ เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ และ “ยอดขุนพลจากปัญญาขงเบ้ง" ของคุณทำนุ นวยุค
ดูเหมือนว่าเรื่องสามก๊กจะทิ้งตำราพิชัยสงครามให้เราเพียงเท่านี้ แต่หากพิจารณาให้ละเอียด ในเรื่องสามก๊กจะมีอยู่ตอนหนึ่ง ที่กล่าวถึงหลักพิชัยแห่งการสงคราม 5 ข้อ
5 ข้อนี้ ไม่ใช่แนวคิดของใครที่ไหน แต่เป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง นั่นคือ “สุมาอี้”
หากกล่าวถึงตำราพิชัยสงครามจีน เรามักคุ้นชื่อของพิชัยสงครามซุนวู พิชัยสงครามอู๋ฉี่ และตำรา 36 กลยุทธ์ ส่วนในวรรณกรรมสามก๊กนั้น ตำราพิชัยสงครามที่พอจะคุ้นหูคุ้นตาอยู่บ้างนั้นคือ ตำราพิชัยสงครามโจโฉ และตำราพิชัยสงครามขงเบ้งศาสตร์และศิลป์ของสุมาอี้
ตำราพิชัยสงครามของโจโฉ ถูกโจโฉเผาทำลายทิ้งเสียเอง เพราะโมโหที่ถูกเตียวสงจับได้ว่าลอกตำราพิชัยสงครามทั้ง 13 บทของซุนวูมาทั้งดุ้น
ส่วนตำราพิชัยสงครามของขงเบ้ง ที่ขงเบ้งได้มอบให้กับเกียงอุยก่อนสิ้นใจ ได้สืบทอดต่อกันมาถึงปัจจุบันดังเช่นหนังสือแปลที่เราท่านคุ้นตา เช่น “ตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง” ของคุณ อมร ทองสุข ,”ปรัชญานิพนธ์และชีวประวัติของขงเบ้ง” โดยคุณ เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ และ “ยอดขุนพลจากปัญญาขงเบ้ง" ของคุณทำนุ นวยุค
ดูเหมือนว่าเรื่องสามก๊กจะทิ้งตำราพิชัยสงครามให้เราเพียงเท่านี้ แต่หากพิจารณาให้ละเอียด ในเรื่องสามก๊กจะมีอยู่ตอนหนึ่ง ที่กล่าวถึงหลักพิชัยแห่งการสงคราม 5 ข้อ
5 ข้อนี้ ไม่ใช่แนวคิดของใครที่ไหน แต่เป็นคู่ปรับคนสำคัญของขงเบ้ง นั่นคือ “สุมาอี้”
สุมาอี้ กับ สุมาเจียว ในสามก๊ก 2010 |
สุมาอี้รอดพ้นจากเงื้อมมือพญามังกรขงเบ้ง อีกทั้งยังสามารถวางรากฐานให้คนรุ่นลูกรุ่นหลาน รวบรวมแผ่นดินจีนได้สำเร็จ แสดงว่าเขาต้องมีแนวคิดหรือมีหลักพิชัยสงครามดี ๆ ติดตัว
แม้ไม่มีเอกสารหรือตำรา "ตราสุมาอี้" แต่ในเรื่องสามก๊กก็ยังพอมีแนวความคิดในการสงครามของสุมาอี้ปรากฏอยู่
การสงคราม 5 ประการ
สุมาอี้ |
แน่นอนว่าคนระดับกองซุนเอี๋ยนนั้นไม่ใช่คู่มือสุมาอี้ เมืองเซียงเป๋งของเขาถูกสุมาอี้ล้อมไว้อยู่หลายวัน ทหารในเมืองอดอยากไม่มีใจคิดสู้ กองซุนเอี๋ยนจึงส่งคนไปขอยอมสวามิภักดิ์ แต่สุมาอี้ไม่รับ ตัดหัวฑูตเพราะโกรธที่กองซุนเอี๋ยนไม่ยอมออกมาคำนับด้วยตนเอง
กองซุนเอี๋ยนตกใจ จึงให้โอยเอี๋ยนออกไปบอกสุมาอี้ว่า อย่าเพิ่งโกรธ พรุ่งนี้จะส่งเอากองซุนสิว บุตรชายไปเป็นตัวประกัน
สุมาอี้รู้ข่าวว่ากองซุนเอี๋ยนส่งโอยเอี๋ยนมา ก็ให้ทหารถืออาวุธยืนข้างหน้าเป็นสองแถว ขู่ให้โอยเอี๋ยนกลัวจนต้องคลานเข้าไปคำนับ เมื่อโอยเอี๋ยนบอกความของกองซุนเอี๋ยนให้ทราบ สุมาอี้ก็โกรธที่กองซุนเอี๋ยนยังคงดื้อดึงไม่ออกมาอ่อนน้อมด้วยตนเอง หนำซ้ำยังจะส่งบุตรมาเป็นประกันอีก จึงสอนว่า
“อันธรรมดาการสงครามนี้มีอยู่ห้าประการ
ประการหนึ่งเห็นว่าจะต้านทานได้ก็ให้คิดอ่านออกมารบพุ่งจงสามารถ
ประการหนึ่งถ้าเห็นสู้มิได้ก็อย่าออกมารบพุ่งให้รักษาเมืองจงมั่นคง
ประการหนึ่งถ้ารักษาเมืองไว้ไม่ได้ให้หนีเอาตัวรอด
ประการหนึ่งแม้ไม่หนีก็ให้ออกมาอ่อนน้อมแต่โดยดีจะมีชีวิตสืบไป
ประการหนึ่งถ้าไม่ออกมาอ่อนน้อมโดยดีก็ควรที่จะตาย”
ความเดียวกันในหนังสือสามก๊กฉบับภาษาอังกฤษของบริวิท เทเล่อร์ บทที่ 106 ก็ว่าไว้ดังนี้
"There are five possible operations for any army.
If you can fight, fight;
if you cannot fight, defend;
if you cannot defend, flee;
if you cannot flee, surrender;
if you cannot surrender, die. “
แปลเป็นไทยให้กระชับว่า
"สู้ได้ จงสู้
สู้ไม่ได้ จงป้องกัน
ป้องกันไม่ได้ จงหนี
หนีไม่ได้ จงยอม
หากไม่ยอม ก็ตาย"
ว่าจบสุมาอี้ก็ให้โอยเอี๋ยนกลับไปแจ้งให้กองซุนเอี๋ยนคิดอ่านหาทางป้องกันตัวไว้ กองซุนเอี๋ยนกลัวจึงลอบหนีออกจากเมือง แต่ก็ถูกสกัดจับได้ และถูกประหารชีวิตในที่สุด
สุมาอี้ จากเกมสามก๊ก12 |
บางที พิชัยสงครามของขงเบ้งเล่มโต ที่ขงเบ้ง เกียงอุยใช้ แต่กลับไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เป็นผล อาจจะเทียบกับพิชัยสงครามสั้น ๆ เพียง 5 ข้อของสุมาอี้ไม่ได้เลย
ในทางยุทธวิธี การศึกเล็ก ๆ สุมาอี้อาจจะเคยเพลี่ยงพล้ำ พลาดท่าให้กับขงเบ้งอยู่บ้าง แต่ในทางยุทธศาสตร์ สุมาอี้สามารถรักษาแผ่นดินมาตุภูมิ ป้องกันการรุกรานจากขงเบ้งได้ทุกครั้ง
รบแบบสุมาอี้ แม้นไม่ชนะ แต่ก็ไร้พ่าย เป็นศาสตร์และศิลป์ที่นักยุทธศาสตร์ควรศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
“หากสู้ได้ กูก็จักสู้ หากสู้มิได้ กูก็จักตั้งรับ หากมิอาจรับ กูก็จักถอยหนี หากไร้ทางหนี กูก็จักแสร้งจำยอม หากยอมแล้วอดสู กูก็พร้อมจะวางวาย” - สุมาอี้
ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ
ตอบลบปล.รูปสุมาอี้รูปแรกเหมือนงอนว่าทำไมต้องวาดให้แกดูแก่ตลอด 555
ดังตอนแก่ ก็เลยมีแต่รูปตอนแก่ครับ :)
ลบขอบคุณค่า
ตอบลบชอบตรงที่แปลเป็นไทยจังครับ ^_^
ตอบลบแต่สุมาอี้นี่ก็ยังดีนะ มีรูปหนุ่มๆให้ปรากฏบ้าง
ตอบลบแต่อุยกายนี่แก่ตลอดกาลเลย ตั้งแต่ซุนเกี๋ยนก็ให้หง่อมมาซะ 555
สมกับเป็น "ผู้ชนะตัวจริงแห่งสามก๊ก" ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับ
ตอบลบเป็นไปได้ไหมคับที่สุมาอี้รู้อยู่แล้วว่าขงเบ้งไม่มีทหาไม่อยากจะฆ่าขงเบ้งเพราะกลัวว่าตัวเองจะถูกฆ่าภายหลัง(เสร็จศึกฆ๋าขุนพล) เลยเอาเรื่องพิณทหารดักซุ่มเป็นข้ออ้างปล่อยขงเบ้งไป รอจนกว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงแล้วยึดอำนาจ คล้ายๆกับแม่ทัพห่านซินที่ไม่อยากฆ่าเซี้ยงหวี้ก่อนเวลาอันสมควร เพราะตัวเองจะถูกฆ่า กับเตียวเหลียงที่ไม่ถอนรากถอนโคนฟานเจินแต่แรกรอจนฟานเจินทำให้เซียงหวี้แข่งแกร่งตัวเองจะได้แสดงความสามารถเต็มที่สร้างความเชื่อใจแก่กษัตริย์ตนทำให้ไม่ระแวงได้
ตอบลบในวรรณกรรมคงไม่ครับ เพราะสุมาอี้ถูกตุ๋นเต็ม ๆ
ลบส่วนในประวัติศาสตร์ก็คงไม่อีก เพราะนักประวัติศาสตร์หลายท่านวิเคราะห์ไว้ว่า "กลเมืองร้าง" ไม่มีจริงครับ