ปี พ.ศ.2557 ประเทศไทย “เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป” นักเขียนหนุ่ม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสามก๊กได้เขียนหนังสือทฤษฎีเกม สาขา “สามก๊ก” !?
“ทฤษฎีเกม” (Game Theory) เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับกลยุทธ์ หรือเกมทางคณิตศาสตร์ ที่วิเคราะห์ความสำเร็จจากการตัดสินใจของฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด คล้าย ๆ กับเป็นการวางแผนคำนวณล่วงหน้าว่าถ้าฝ่ายตรงข้ามเลือกแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่ง เราจะใช้วิธีการใดรับมือ“ศาสตร์แห่งการบริหารมิตรและศัตรู ที่นำมาปรับใช้ได้จริงทุกยุคสมัย”
เดิมที “ทฤษฎีเกม” ถูกใช้ในการวิเคราะห์เกมการแข่งขัน “เกมไพ่” เพื่อช่วยให้ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบ ต่อมาภายหลังจึงได้มีการประยุกต์ใช้เป็นแนวทางหรือทฤษฎี ที่ใช้ในการเจรจาต่อรอง และนำไปใช้กันในวงกว้าง หลากหลายสาขา อาทิเช่น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ
ในปี พ.ศ. 2487 จอห์น ฟอน นอยมันน์ (John Von Neumann) และ ออสการ์ มอร์เกินสเติร์น (Oskar Morgenstern) ได้ตีพิมพ์ตำราสำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีเกมชื่อว่า Theory of Games and Economic Behavior และต่อมาในปี พ.ศ.2537 จอห์น แนช (John Nash) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันได้พัฒนาทฤษฎีนี้ จนได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์
ปี พ.ศ.2557 ประเทศไทย “เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป” นักเขียนหนุ่ม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องสามก๊กได้เขียนหนังสือทฤษฎีเกม สาขา “สามก๊ก” !?
“สามก๊ก ฉบับ บริหารความขัดแย้งด้วยทฤษฎีเกม” คือชื่อของหนังสือเล่มนี้
หนังสือเล่มนี้ คือผลการวิจัยที่เกิดจากการนำทฤษฎีรัฐศาสตร์สมัยใหม่มา "อ่าน" สามก๊ก ซึ่งประพันธ์มาแล้วกว่าพันปี ซึ่งผลที่ได้ ชี้ให้เห็นว่าแม้กาลเวลาจะร่วงเลยไป สามก๊กก็ยังเป็นภูมิปัญญาแห่งโลกตะวันออกที่ไม่เคยล้าสมัย
การตัดสินใจของเหล่าผู้นำ การเลือกบริหารความขัดแย้งในรูปแบบต่าง ๆ การจัดการกับ "มิตร" และ "ศัตรู" ยังคงคมคาย และสามารถอธิบายในกรอบวิชาการสมัยใหม่ได้ ยิ่งเมื่ออ่านด้วยทฤษฎีเหล่านี้ แนวคิดในสามก๊กก็ยิ่งชัดเจนเป็นรูปธรรม สดใหม่ สามารถนำมาปรับใช้ให้เข้ากับสถานการณ์ในสังคมปัจจุบัน
“สามก๊ก ฉบับ บริหารความขัดแย้งด้วยทฤษฎีเกม” จึงเป็นหนังสือที่น่าสนใจอีกเล่มหนึ่ง สำหรับนักอ่านสามก๊กทุก ๆ ท่านครับ
เนื้อหาหนังสือ
เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป |
อย่างไรก็ตาม ความอยู่รอดของกลุ่มการเมืองกลับไม่ได้ขึ้นกับเสน่ห์ของผู้นำ ความสามารถของบุคลากร หรือแสนยานุภาพของกองทัพเสมอไป หากแต่ยังขึ้นกับว่าผู้นำแต่ละคนนั้นเลือกที่จะจัดการกับกลุ่มอำนาจอื่นๆ ในฐานะ "มิตร" และ "ศัตรู" อย่างไร การจัดการบริหารความขัดแย้งอย่างถูกต้องหรือผิดพลาด ล้วนเป็นการปูหนทางไปสู่ความรุ่งเรืองหรือล่มสลายได้
หนังสือเล่มนี้มีความน่าสนใจ เพราะใช้ทฤษฎีสมัยใหม่ เช่น ทฤษฎีเกม และการจำแนกพฤติกรรมยามที่เกิดความขัดแย้งมาวิเคราะห์พฤติกรรมต่างๆ ของเหล่าผู้นำในสามก๊ก ผลการวิเคราะห์นับว่าน่าทึ่งอย่างยิ่ง เพราะเป็นการเปิดมิติใหม่ให้กับวรรณกรรมโบราณที่มีอายุมากว่า 1,700 ปี และแสดงให้เห็นว่าแนวคิดในสามก๊กยังคงน่าศึกษาใช้เป็นแบบอย่างของเหล่าผู้สนใจ รัฐประศาสนศาสตร์และการบริหารได้โดยไม่ล้าสมัย
ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าเหตุใดสามก๊กจึงยังคงเป็นตำราการเมืองการปกครองที่ยืนยงผ่านการเวลามาได้ เฉกเช่นงานวรรณกรรมกรีกคลาสสิก หรือ The Prince ของมาเคียเวลลี่แห่งโลกตะวันตกนั่นเอง
คำนิยม
"สามก๊ก" เป็นเรื่องของการเมืองการปกครอง การศึกสงคราม ซึ่งแน่นอนว่าย่อมเต็มไปด้วยการแข่งขันและความขัดแย้งนานาสารพัน ดังนั้น เมื่อมีหนังสือเล่มหนึ่งเอา "ทฤษฎีเกม" มาอธิบายเหตุการณ์ความขัดแย้งในเนื้อเรื่องยุคสามอาณาจักร จึงเปรียบเสมือนเอา "มะระ" มาใส่ "ก๋วยเตี๋ยวไก่" เรียกได้ว่าเป็นของที่ตอบโจทย์กันได้เป็นอย่างดี
คำนิยม โดย ชัชวนันท์ สันธิเดช
แฟนพันธุ์แท้สามก๊ก สุดยอดแฟนพันธุ์แท้แห่งปี 2008
หนังสือเล่มนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่จะยืนยันความจริงเบื้องต้น ผู้เขียนได้ใช้มุมมองเรื่องการบริหารความขัดแย้งที่อธิบายโดยทฤษฎีเกมแบบง่าย ๆ มาชี้ให้เห็นว่าก๊กต่าง ๆ ล้วนแต่ใช้ทฤษฎีเกมด้วยกันทั้งสิ้น ที่สำคัญผู้อ่านสามารถอ่านเรื่องราวเหล่านี้ได้อย่างสนุกสนาน และได้ความรู้ทางการบริหารเบื้องต้นไปพร้อม ๆ กัน
คำนิยม โดย ศ.ดร.สมบัติ จันทรวงศ์
รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ
- ชื่อเรื่อง : สามก๊ก ฉบับ บริหารความขัดแย้งด้วยทฤษฎีเกม
- ผู้เขียน: เปี่ยมศักดิ์ คุณากรประทีป
- สำนักพิมพ์ : Post Books
- รหัสหนังสือ ISBN: 9789742281854
- ขนาด: 12.9 x 18.5 cm
- ราคาปก: 145.00 บาท
- Post Books รายละเอียดหนังสือ สามก๊ก ฉบับ บริหารความขัดแย้งด้วยทฤษฎีเกม
- ทฤษฎีเกม - วิกิพีเดีย
- Game Theory | Coursera - เรียนรู้เรื่องทฤษฎีเกม
กรุณาแสดงความคิดเห็น