นักอ่านสามก๊กทั่วโลกต่างยินยอมพร้อมใจกันยกย่องให้ สามก๊กฉบับภาษาอังกฤษของ ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ (Charles Henry Brewitt-Taylor) เป็นงานแปลชิ้นเอกที่เปิดโลก นำวรรณกรรมจีนเอกเรื่องนี้ออกสู่สายตาชาวโลก อย่างไม่มีเงื่อนไขหรือข้อโต้แย้งใด ๆ
แต่ในทางกลับกัน .... ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ ผู้ที่เป็นข้าราชการชั้นสูง มีผลงานเด่นระดับโลก กลับมีชะตาชีวิตที่สุดแสนจะรันทด ยากเกินกว่าที่คน ๆ หนึ่งจะพบเจอได้
นักอ่านสามก๊กทั่วโลกต่างยินยอมพร้อมใจกันยกย่องให้ สามก๊กฉบับภาษาอังกฤษของ ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ (Charles Henry Brewitt-Taylor) เป็นงานแปลชิ้นเอกที่เปิดโลก นำวรรณกรรมจีนเอกเรื่องนี้ออกสู่สายตาชาวโลก อย่างไม่มีเงื่อนไขหรือข้อโต้แย้งใด ๆ"ประวัติของผู้แปลเรื่องสามก๊กจากภาษาจีนเป็นอังกฤษ"
แต่ในทางกลับกัน .... ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ ผู้ที่เป็นข้าราชการชั้นสูง มีผลงานเด่นระดับโลก กลับมีชะตาชีวิตที่สุดแสนจะรันทด ยากเกินกว่าที่คน ๆ หนึ่งจะพบเจอได้
Public Success, Private Sorrow
Public Success, Private Sorrow:The Life and Times of Charles Henry Brewitt-Taylor (1857-1938), China Customs Commissioner and Pioneer Translator เป็นหนังสือที่ตีแผ่ชีวประวัติของบริวิท-เทเลอร์ ประพันธ์โดย Isidore Cyril Cannon ผู้ที่สนใจในความขัดแย้งอย่างสุดขั้วของชายผู้นี้Public Success, Private Sorrow หนังสือที่ตีแผ่ชีวิตรันทดของผู้แปลสามก๊ก C.H.Brewitt-Taylor |
บิดา ฆ่าตัวตาย
บริวิท-เทเล่อร์ (บีที) เกิดเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ.1857 ในเมืองคิงส์ตัน, ซัสเซก (Kingston, Sussex) ประเทศอังกฤษ เขาเกิดในครอบครัวยากจน บิดาเป็นกลาสีเรือ มารดาเป็นช่างเย็บผ้า พอหาเลี้ยงประทังชีวิต แต่ต่อมา บิดาต้องลาออกจากงานเพราะป่วยหนักด้วยความจนยาก บิดาของเขาจึงกระทำอัตวินิบาตกรรม หรือฆ่าตัวตายในเดือนตุลาคม ค.ศ.1868 ทิ้งให้หนูน้อยบีที วัย 11 ปี อยู่กับมารดาเพียงลำพัง
การเสียชีวิตของบิดา พอจะมีด้านดีอยู่บ้าง เพราะเมื่อบีทีน้อยกลายเป็นเด็กอนาถา เขาได้รับการอุปถัมป์ให้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนพยาบาลหลวง (Royal Hospital School) เมืองกรีนิช (Greenwich) โรงเรียนที่ทำให้เขาได้มีโอกาสเรียนรู้ในวิชาเดินเรือและดาราศาสตร์ อันเป็นพื้นฐานสำคัญให้เขาได้เข้ารับราชการในกาลภาคหน้า
บ้านทะลาย เมียตายจาก
การรบที่ฝูโจว ทำให้บ้านของบริวิท-เทเลอร์ พินาศย่อยยับ |
ณ ที่นี้เองที่เขาได้กลายเป็นเพื่อนสนิทของท่านรองกงสุล เฮอร์เบิร์ต ไจล์ส (Vice-Consul, H. A. Giles) ผู้คิดค้นระบบเวด-ไจลส์ (Wade-Giles System) และเป็นแรงบันดาลให้ให้บีทีศึกษาภาษาจีนอย่างจริงจัง จนสามารถแต่งตำราภาษาจีนได้หลายเรื่อง
โชคร้ายเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1885 เมื่อเกิดเหตุการณ์ สงครามจีน-ฝรั่งเศส กองเรือของฝรั่งเศสได้ระดมยิงฝั่งที่เมืองฝูโจว ทำให้บ้านของบีทีถูกถล่มพังยับ
เสียบ้านยังพอสร้างได้ใหม่ บีทีเริ่มสร้างเนื้อสร้างตัว ครอบครัวมีทั้งทุกข์และสุข เขามีลูกหลายคน แต่ก็เหลือรอดเพียงบุตรชาย 2 คน แต่เคราะห์กรรมที่สาหัสเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1891 เมื่อภรรยาคลอดบุตรคนสุดท้าย เธอได้ล้มป่วยลงและเสียชีวิต สร้างความเสียใจให้กับบีทีเป็นอย่างมาก
บ้านถูกเผา ข้าเก่าเมียรัก
ฝรั่งต่างชาติกำลังตัดแบ่งประเทศ ชาวจีนจึงตั้งกลุ่ม "กบฎนักมวย" เพื่อขับไล่ |
ปี ค.ศ.1900 เกิดกบฎนักมวย (Boxer Rebellion) ต่อต้านชาวต่างชาติ บีทีและครอบครัวจึงต้องหลบไปพักอาศัยอยู่ในบริเวณสถานฑูตอังกฤษ ทำให้บ้านของเขาถูกเผาทำลายทิ้ง ของมีค่าสูญหายหมดสิ้น แต่ของสิ่งใดก็ไม่มีค่าเท่า "ต้นฉบับสามก๊กฉบับภาษาอังกฤษ" ที่ถูกเผาไปพร้อมกับตัวบ้าน
หลังเหตุการณ์สงบลง บีทีย้ายไปพักอาศัยอยู่ในตัวเมืองเซี่ยงไฮ้ แต่ไม่ชอบความแออัด อึกทึกครึกโครม เขาจึงพาครอบครัวเดินทางย้ายไปอยู่มณฑลยูนนาน ใกล้ชายแดนอินโดจีน(เวียดนาม) แต่ด้วยความที่เขารักการเดินทางและงานสำรวจ เขาจึงออกเดินทางท่องเที่ยวไปยังส่วนต่าง ๆ ของประเทศจีนโดยทิ้งให้ภรรยาอยู่บ้านตามลำพัง
เรื่องร้ายมาเกิด เมื่อครั้งหนึ่งเขาเป็นห่วงความปลอดภัยของภรรยาจึงส่งข้าราชการผู้ใต้บังคับบัญชาให้มาช่วยดูแล ชายหนุ่มหญิงสาวอยู่ด้วยกันนานวันเข้าก็ลักลอบมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว บีทีโมโหมากไล่ข้าราชการคนนั้นออกจากงาน ส่วนภรรยาของเขาก็กลายเป็นคนวิกลจริต ต้องส่งตัวไปรักษาอาการประสาทหลอนที่ประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์ แต่อาการไม่หายขาด ต้องเทียวเข้าเทียวออกโรงพยาบาลอยู่ตลอดทั้งชีวิต
ตรงข้ามกับชีวิตส่วนตัว งานราชการของบีทีเจริญก้าวหน้า เขาได้เป็นกรรมาธิการของมหาวิทยาลัยในปักกิ่ง รวมทั้งเป็นอธิบดีกรมศุลกากรในเมืองมุกเดน (ปัจจุบันคือเมืองเสิ่นหยาง) ก่อนไปเกษียณอายุราชการที่เมืองจุงกิง ในปี ค.ศ.1920 ด้วยวัย 62 ปี
ลูกชายสองคน ก็ไม่เหลือ
สงครามโลกครั้งที่ 1 พรากชีวิตลูกชายคนรองของบีทีไป |
เรย์มอนด์ บุตรชายคนรองทำงานให้กับหน่วยแพทย์ทหาร เสียชีวิตจากการรบในแนวหน้าในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งด้วยวัยเพียง 30 ปี ตายโดยที่ยังไม่เคยได้เห็นหน้าลูกของเขา ส่วนเลียวนาร์ด บุตรชายคนโตเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ด้วยวัย 48 ปี
ชีวิตคนเป็นพ่อ ของผู้ชายที่ชื่อ ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ จึงช่างน่าสงสารยิ่งนัก
การตีพิมพ์หนังสือสามก๊ก
แม้ว่าชีวิตของบีทีจะพบเจอกับอุปสรรค์ขวากหนามและเรื่องสะเทือนใจมากมาย แม้ว่าต้นฉบับสามก๊กภาษาอังกฤษของเขาจะถูกเผาทำลายเมื่อครั้งเหตุการ์กบฎนักมวย แต่เขาก็ไม่เคยละความพยายามที่จะแปลสามก๊กให้สำเร็จหนังสือสามก๊กฉบับภาษาอังกฤษเล่มแรก ได้ตีพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ.1925 โดยสำนักพิมพ์ Kelly and Walsh สามก๊กและงานเขียนอื่น ๆ ของเขาได้รับการตีพิมพ์เรื่อยมาอีกหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในเซี่ยงไฮ้ ฮ่องกง สิงคโปร์ และอีกหลาย ๆ ประเทศ จนกลายเป็นหนังสือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเล่มหนึ่ง
Guanzhong Luo, C. H. Brewitt-Taylor, tr. San Kuo. Shanghai: Kelly & Walsh, 1925 |
อุทิศแด่ บีที
ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์ (Charles Henry Brewitt-Taylor) |
ชีวิตของเขาต้องพบเจอกับปัญหามากมาย แต่เขาก็เข้มแข็ง อดทนเอาชนะมันได้เสมอ ในทางส่วนตัวของบีที แม้ว่าชีวิตจะเต็มไปด้วยเรื่องน่าสังเวชใจ แต่เขาก็ไม่เคยนำมันมาเป็นปัญหา ให้มีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน คนเราสามารถประสบความสำเร็จได้ แม้จะมีเรื่องสะเทือนใจผ่านเข้ามาในชีวิต
เรื่องราวของชายที่ชื่อ "ชาร์ลส์ เฮนรี่ บริวิท-เทเลอร์" จึงให้ข้อคิดและกำลังใจเรา ไม่แพ้วรรณกรรมเรื่อง "สามก๊ก" งานแปลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกใบนี้เลย .....
Elie, Fife, the Parish Church |
เป็นแรงบันดาลใจได้ดีจริงๆ อนิจจาตัวเราดั่งมังกรต้องขังในบ่อ แม้แต่ปลาเล็กปลาน้อยก็ยังดูถูก
ตอบลบ