"คัมภีร์ขงเบ้ง : Book of Zhuge Liang" เป็นชื่อของบล๊อกแห่งหนึ่ง ที่บันทึกสาระความรู้จากหนังสือ "ตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง" ไว้ให้อ่านกันแบบเต็มอิ่ม เหมาะกับผู้ที่ต้องการศึกษาแนวทางการบริหาร ปรัชญาการดำเนินชีวิตของขงเบ้งอย่างยิ่ง
เนื้อหาของตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง ไม่ค่อยจะมีใครคัดมาลงไว้ให้อ่านในโลกออนไลน์มากนัก แม้จะมีหนังสือแปลออกมาวางจำหน่ายแล้วหลายเล่ม ที่พบเห็นมักจะหยิบยกมาเพียงบางบทบางตอน แต่ในตอนนี้มีผู้อาสานำความรู้จากตำราเล่มนี้ มาบันทึกไว้ในบล๊อกให้เราได้อ่านกัน
"คัมภีร์ขงเบ้ง : Book of Zhuge Liang" เป็นชื่อของบล๊อกแห่งหนึ่ง ที่บันทึกสาระความรู้จากหนังสือ "ตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง" ไว้ให้อ่านกันแบบเต็มอิ่ม เหมาะกับผู้ที่ต้องการศึกษาแนวทางการบริหาร ปรัชญาการดำเนินชีวิตของขงเบ้งอย่างยิ่ง"ภูมิปัญญาแห่งกาลสมัย ที่ทุกคนควรอ่าน"
เนื้อหาของตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง ไม่ค่อยจะมีใครคัดมาลงไว้ให้อ่านในโลกออนไลน์มากนัก แม้จะมีหนังสือแปลออกมาวางจำหน่ายแล้วหลายเล่ม ที่พบเห็นมักจะหยิบยกมาเพียงบางบทบางตอน แต่ในตอนนี้มีผู้อาสานำความรู้จากตำราเล่มนี้ มาบันทึกไว้ในบล๊อกให้เราได้อ่านกัน
บล๊อก "คัมภีร์ขงเบ้ง : Book of Zhuge Liang" เป็นของคุณ ปิยะฤทธิ์ พลายมณี ที่ทยอยคัดบทความจากหนังสือ"ตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง" ของ อมร ทองสุข มาลงไว้ในบล๊อกอย่างละเอียด ครบถ้วนสมบูรณ์ทุกบท ทุกตอน
ใครยังไม่เคยอ่าน "ตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง" จึงสามารถแวะเข้าไปอ่านได้ที่บล๊อกของคุณปิยะฤทธิ์ ฯ ทั้งนี้เนื่องจากในบล๊อกไม่ได้จัดสารบัญและเรียงลำดับก่อนหลังของบทความไว้ ผมจึงได้ทำสารบัญมาแวะไว้ที่นี่ด้วย เพื่อช่วยให้ทุกท่านไปเยี่ยมชมได้ง่ายขึ้นครับ
คำนำจากเจ้าของบล๊อก
หากจะกล่าวถึง “ขงเบ้ง” ก็คงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก จูกัดเหลียง ปราชญ์ชาวจีนผู้มีภูมิปัญญามากมาย ท่านนี้ โดยเฉพาะกับคนที่เคยอ่านวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่อง “สามก๊ก” ซึ่งประพันธ์โดย “หลัว กวั้นจง” ที่จัดว่าเป็นเพชรน้ำเอกของวรรณกรรมจีน และเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาวตะวันออกที่มีคุณค่ายิ่ง ซึ่งได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆมากกว่า 10 ภาษา และตีพิมพ์แพร่หลายไปทั่วโลก
จูกัดเหลียงดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านยุทธนาการของพระเจ้าเล่าปี่แห่งจ๊กก๊ก เป็นสมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย ในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่น (206 - 220 ก่อน ค.ศ.) ขงเบ้งยังมีความสามารถในอีกหลาย ๆ ด้านทั้งในด้านปรัชญา ดาราศาสตร์ การเมือง การทูต ยุทธ์พิชัยสงคราม วิศวกร ฯลฯ และยังได้ชื่อว่าเป็นนักประดิษฐ์ด้วย เช่น คิดค้นหมั่นโถว หน้าไม้กล โคมลอยและระบบชลประทาน เป็นต้น
เมื่อไม่นานมานี้ นักประวัติศาสตร์ชาวจีนได้ค้นพบหนังสือโบราณฉบับหนึ่ง ซึ่งหลายๆคนเชื่อว่าเป็น “ตำราพิชัยสงคราม” ที่เขียนขึ้นโดยขงเบ้ง ที่หลงเหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน และแม้ยังไม่มีข้อสรุปของนักวิชาการว่าเป็นงานเขียนของขงเบ้งจริงแท้หรือไม่ แต่โดยเนื้อหาสาระของตำราพิชัยสงครามเล่มนี้ ก็นับว่าเป็นภูมิปัญญาแห่งอดีตกาลที่ทรงคุณค่ายิ่ง
โดยตำราพิชัยสงครามขงเบ้งจะแบ่งออกเป็นสองหมวดใหญ่ๆ คือ 1) ว่าด้วยเรื่องของแม่ทัพ ซึ่งมีเนื้อหาเน้นถึงการปกครองบุคคลากรเป็นหลัก และ 2) เป็นเรื่องของประศาสน์นโยบาย 16 ประการ เน้นถึงเรื่องปรัชญาการปกครองหรือบริหารองค์กร โดยมีสารัตถะครอบคลุมทั้งในเรื่องการบริหารบุคคลและการวางยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ด้วย นับว่ามีคุณประโยชน์ไพศาล ที่เพื่อนผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ในเรื่องต่าง ๆ เช่น การบริหารคน ธุรกิจ องค์กร และอื่น ๆ อีกมากมาย
อนึ่ง ผมได้คัดลอกเนื้อหาสาระ ทั้งหมดนี้ มาจากหนังสือ “ตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง” ซึ่งแปลโดยคุณอมร ทองสุข ของสำนักพิมพ์ชุณหวัตร พิมพ์ครั้งที่แรก ธันวาคม พ.ศ. 2552 ด้วยเพราะเห็นว่าเป็นความรู้อันทรงคุณค่ายิ่ง และควรนำมาเผยแพร่ต่อคนทั่วไป โดยเฉพาะกับเพื่อนนักอ่านในโลกไอที หากแม้เป็นการกระทำที่ล่วงละเมิดต่อลิขสิทธิ์ของทางสำนักพิมพ์ชุณหวัตร จำกัด ผมจึงขอประทานอภัย มา ณ ที่นี้ด้วย
สุดท้ายนี้ ขอให้เพื่อนผู้อ่านทุกท่านได้รับประโยชน์จากภูมิปัญญาแห่งกาลสมัยนี้..อย่างอเนกอนันต์
.............................................................
ปิยะฤทธิ์ พลายมณี
เนื้อหาภายในบล๊อก
คำนำ
ฎีกาออกศึก
โอวาทสอนบุตร
ตำราพิชัยสงครามขงเบ้ง
- 1) ว่าด้วยเรื่องแม่ทัพ
- 2) ขับไล่สิ่งชั่วร้าย (ว่าด้วยการกำจัดสิ่งชั่วร้ายห้าประการขององค์กร)
- 3) การดูคน (ว่าด้วยกลวิธีในการดูคนเจ็ดประการ)
- 4) ประเภทของแม่ทัพ (ว่าด้วยการแบ่งแยกประเภทของผู้นำ)
- 5) คุณลักษณะแห่งแม่ทัพ (ว่าด้วยคุณลักษณะของผู้นำกับระดับความสามารถในการบริหาร)
- 6) ข้อควรตระหนักแห่งแม่ทัพ (ว่าด้วยลักษณะนิสัยแปดอย่างที่มิควรมีของการเป็นผู้นำ)
- 7) ปณิธานแห่งแม่ทัพ (ว่าด้วยทัศนคติและปณิธานที่ผู้นำควรมี)
- 8) ความชำนาญแห่งแม่ทัพ (ว่าด้วยความสามารถที่ควรจะมีของผู้นำ)
- 9) ความแกร่งแห่งแม่ทัพ (ว่าด้วยศาสตร์แห่งความอ่อนและแข็งในการบริหาร)
- 10) ความผยองและความตระหนี่แห่งแม่ทัพ (ว่าด้วยอุปนิสัยที่จะเป็นอุปสรรคต่อการยอมรับของผู้ตาม)
- 11) ความเข้มแข็งแห่งแม่ทัพ (ว่าด้วยความเข้มแข็งห้าประการและความเลวร้ายแปดประการของผู้นำ)
- 12) ออกศึก (ว่าด้วยการให้เกียรติและการมอบความไว้วางใจกับผู้ปฏิบัติ)
- 13) การเลือกบุคลากร (ว่าด้วยการแบ่งกลุ่มคนและการเลือกใช้คนให้ตรงตามความสามารถที่มี)
- 14) การใช้ปัญญา (ว่าด้วยเหตุปัจจัยแห่งความสำเร็จสามประการ)
- 15) อยุทธ์ (ว่าด้วยคุณภาพห้าระดับแห่งการปกครอง)
- 16) ข้อตระหนักแห่งแม่ทัพ (ว่าด้วยสิ่งที่ควรรู้ในการบริหารงานของผู้นำ)
- 17) การป้องกัน (ว่าด้วยความสำคัญของการป้องกัน)
- 18) การฝึกปรือ (ว่าด้วยความสำคัญของการฝึกฝน)
- 19) ปลวกแห่งกองทัพ (ว่าด้วยสิ่งที่บ่อนทำลายเก้าประการขององค์กร)
- 20) คนสนิท (ว่าด้วยคณะทำงานสามประเภทที่ผู้นำพึงมี)
- 21) รอคอยอย่างรอบครอบ (ว่าด้วยวินัยสิบห้าประการในการรอคอยโอกาสของผู้นำ)
- 22) การณ์สาม (ว่าด้วยการกระทำการด้วยการพิจารณาการณ์ทั้งสาม)
- 23) เคร่งอาญา (ว่าด้วยความสำคัญของการเคร่งครัดกฎระเบียบวินัย)
- 24) แม่ทัพที่ดี (ว่าด้วยการเป็นที่ยอมรับของผู้ตามด้วยหลักสี่ประการ)
- 25) พิจารณาเหตุ (ว่าด้วยการกระทำให้ตรงตามมูลหตุที่แท้จริง)
- 26) สถานการณ์รบ (ว่าด้วยกระทำการให้สอดคล้องกับเหตุปัจจัยแห่งฟ้าดินและคน)
- 27) แพ้ชนะ (ว่าด้วยลางแห่งชัยชนะและความพ่ายแพ้ขององค์กร)
- 28) มอบอำนาจ (ว่าด้วยการมอบอำนาจการให้บำเหน็จและการลงอาญาแก่ผู้บริหาร)
- 29) โศกเศร้ากับผู้วายชนม์ (ว่าด้วยการร่วมทุกข์ร่วมสุขกับผู้ตาม)
- 30) ที่ปรึกษาสาม (ว่าด้วยคณะที่ปรึกษาสามประเภทที่ผู้นำพึงมี)
- 31) การบัญชาการ (ว่าด้วยความสามารถในการบัญชาการสามระดับ)
- 32) พลิกแพลง (ว่าด้วยการปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์)
- 33) ฉวยโอกาส (ว่าด้วยมรรคาแห่งการฉวยโอกาส)
- 34) ประเมินความสามารถ (ว่าด้วยหลัก 12 ประการในการประเมินฝ่ายตรงข้าม)
- 35) ทำศึกอย่างสบาย (ว่าด้วยความสำคัญของการเตรียมพร้อม)
- 36) ชัยภูมิ (ว่าด้วยการจัดขบวนทัพให้เหมาะสมกับชัยภูมิ)
- 37) ลักษณะนิสัย (ว่าด้วยการปฏิบัติให้เหมาะสมกับลักษณะนิสัยของบุคคล)
- 38) สถานการณ์รบ (ว่าด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ของฝ่ายตรงข้ามก่อนกระทำการ)
- 39) การจัดทัพ (ว่าด้วยหัวใจของการบริหารองค์กร)
- 40) ปลอบขวัญทหาร (ว่าด้วยววิธีห้าประการในการมัดใจผู้ใต้บังคับบัญชา)
- 41) อุทาหรณ์ (ว่าด้วยอุทาหรณ์ที่พึงระลึกถึงของการเป็นผู้นำ)
- 42) มรรคาแห่งการรบ (ว่าด้วยการใช้กลยุทธ์การรบที่เหมาะสม)
- 43) สมานฉันท์ (ว่าด้วยอำนาจแห่งความสมานฉันท์)
- 44) วิเคราะห์สถานการณ์ (ว่าด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อล่วงรู้ความจริงของเหตุการณ์)
- 45) ภาวะผู้นำของแม่ทัพ (ว่าด้วยวิธีการที่จะเป็นที่เคารพของผู้ใต้บังคับบัญชา)
- 46) คำสั่งประกาศิต (ว่าด้วยสิ่งที่ทำให้เกิดความประกาศิตของผู้นำ)
- 47) อี๋บูรพา (ว่าด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ชนเผ่าอี๋แห่งแดนบูรพา)
- 48) หมันทักษิณ (ว่าด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ชนเผ่าหมันแห่งแดนทักษิณ)
- 49) หยงประจิม (ว่าด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ชนเผ่าหยงแห่งแดนประจิม)
- 50) ตี๋อุดร (ว่าด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์ชนเผ่าตี๋แห่งแดนอุดร)
- 1) การบริหารประเทศ (ว่าด้วยหลักการพื้นฐานของการบริหารองค์กรขนาดใหญ่)
- 2) กษัตริย์ขุนนาง (ว่าด้วยสัมพันธภาพระหว่างผู้นำและผู้ตาม)
- 3) มองสดับ (ว่าด้วยมรรคาแห่งการสดับเสียงจากผู้ใต้บังคับบัญชา)
- 4) การฟังคำทัดทาน (ว่าด้วยความสำคัญของการเปิดใจรับฟังปัญหา)
- 5) การจับสิ่งพิรุธ (ว่าด้วยความสำคัญและวิธีการในการสอดส่องข้อพิรุธ)
- 6) ปกครองคน (ว่าด้วยหลักการในการปกครองคน)
- 7) การแต่งตั้งการปลด (ว่าด้วยหลักการในการบิหารองค์กรด้วยการแต่งตั้งและการปลด)
- 8) การตรวจสอบโยกย้าย (ว่าด้วยความสำคัญในการประเมินผลและการลงโทษภายในองค์กร)
- 9) บริหารกองทัพ (ว่าด้วยหลักการในการบริหารกองทัพ)
- 10) บำเหน็จอาญา (ว่าด้วยความสำคัญของระบบการให้รางวัลและการลงโทษ)
- 11) ปีติโกรธา (ว่าด้วยการระวังเรื่องอารมณ์ปีติและโกรธาในการบริหารองค์กร)
- 12) การบริหารความยุ่งเหยิง (ว่าด้วยหลักการในการบริหารงานที่มีความซับซ้อน)
- 13) การออกคำสั่ง (ว่าด้วยการออกคำสั่งของผู้บังคับบัญชา)
- 14) การประหาร (ว่าด้วยการลงโทษผู้ที่กระทำความผิดอุกฉกรรจ์เจ็ดอย่างในองค์กร)
- 15) ใคร่ครวญ (ว่าด้วยมรรคาแห่งการใคร่ครวญปัญหา)
- 16) การพิจารณา (ว่าด้วยข้อคิดในการประกอบการคิดพิจารณา)
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
- ปิยะฤทธิ์ พลายมณี : Google Plus เจ้าของบล๊อก "คัมภีร์ขงเบ้ง : Book of Zhuge Liang"
- คัมภีร์ขงเบ้ง : Book of Zhuge Liang
ขอบคุณครับ ที่ช่วยแชร์เและประชาสัมพันธ์เว็บบล็อก " คัมภีร์ขงเบ้ง " และผมหวังว่าเนื้อหาสาระจากหนังสือเล่มนี้ จะให้ปัญญากับเพื่อนๆในโลกไอทีได้อีกมากมาย : ปิยะฤทธิ์ พลายมณี
ตอบลบยินดีอย่างที่สุดและจะติดตามตอนต่อ ๆ ไปครับ
ลบหาอ่านมานาน ขอบคุณครับ
ตอบลบ