นักอ่านสามก๊กทั้งหลาย ท่านเคยคิดไหมว่า นานมากขนาดไหนแล้ว? ที่เราไม่ได้อ่านบทความสามก๊กดี ๆ บทความที่มีรสมีชาด มีสำบัดสำนวนไพเราะ อ่านแล้วลื่นลุ่ม หลงลงในท้องทุ่งแห่งตัวอักษร
สำหรับผมแล้ว "สามก๊กฉบับวณิพก" ของ ยาขอบ คือหนังสือสามก๊กที่อ่านแล้วมีความสุขที่สุด ทั้งการใช้คำ วิธีการเล่าเรื่อง และทัศนคติที่ผู้เขียนมีต่อตัวละครต่าง ๆ
เสียดายที่ปัจจุบัน ในวงการนักเขียนชั้นแนวหน้าปัจจุบัน ไม่ค่อยจะมีใครเขียนเรื่องสามก๊ก ทำให้ช่วง 10-20 ปีให้หลัง เรื่องสามก๊กในหน้าหนังสือจึงเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ การถกเถียงทางประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทหาร การใช้กลอุบาย การลงทุน และการบริหาร
สามก๊กของเรา ขาดเสน่ห์ทางวรรณกรรมไปอย่างเนิ่นนาน จนกระทั่งได้มีนักเขียนใหญ่ท่านหนึ่ง จับปากกามาวาดลวดลาย เติมความวิจิตรงดงามให้กับสามก๊ก นักเขียนท่านนี้คือ
"บินหลา สันกาลาคีรี"
"สามก๊ก" ของ บินหลา สันกาลาคีรี ที่อ่านแล้วชวนให้หวนถึง อารมณ์ศิลปินวณิพก ตามแบบยาขอบ
นักอ่านสามก๊กทั้งหลาย ท่านเคยคิดไหมว่า นานมากขนาดไหนแล้ว? ที่เราไม่ได้อ่านบทความสามก๊กดี ๆ บทความที่มีรสมีชาด มีสำบัดสำนวนไพเราะ อ่านแล้วลื่นลุ่ม หลงลงในท้องทุ่งแห่งตัวอักษร
สำหรับผมแล้ว "สามก๊กฉบับวณิพก" ของ ยาขอบ คือหนังสือสามก๊กที่อ่านแล้วมีความสุขที่สุด ทั้งการใช้คำ วิธีการเล่าเรื่อง และทัศนคติที่ผู้เขียนมีต่อตัวละครต่าง ๆ
เสียดายที่ปัจจุบัน ในวงการนักเขียนชั้นแนวหน้าปัจจุบัน ไม่ค่อยจะมีใครเขียนเรื่องสามก๊ก ทำให้ช่วง 10-20 ปีให้หลัง เรื่องสามก๊กในหน้าหนังสือจึงเต็มไปด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ การถกเถียงทางประวัติศาสตร์ การเมืองการปกครอง การทหาร การใช้กลอุบาย การลงทุน และการบริหาร
สามก๊กของเรา ขาดเสน่ห์ทางวรรณกรรมไปอย่างเนิ่นนาน จนกระทั่งได้มีนักเขียนใหญ่ท่านหนึ่ง จับปากกามาวาดลวดลาย เติมความวิจิตรงดงามให้กับสามก๊ก นักเขียนท่านนี้คือ
"บินหลา สันกาลาคีรี"
บินหลา สันกาลาคีรี |
บินหลา สันกาลาคีรี เป็นบรรณาธิการนิตยสารไรท์เตอร์ (Writer Thailand) นิตยสารวรรณกรรมรายเดือน ร่วมกับวรพจน์ พันธุ์พงศ์ แต่ในระยะหลังเขามีปัญหาเรื่องสุขภาพ จึงมีแผนว่าจะส่งหน้าที่ให้กับ อุทิศ เหมะมูล เป็นบรรณธิการคนใหม่ ตั้งแต่ ไรท์เตอร์เล่มที่ 25 เป็นต้นไป
"สามก๊ก" ของ บินหลา สันกาลาคีรี อาจจะไม่ใช่เรื่องสามก๊กโดยตรง แต่เป็นส่วนหนึ่งของคอลัมน์ "คนรู้จัก" คอลัมน์ที่นำเอาชีวประวัติของตัวละครในวรรณกรรม และวรรณคดีไทยต่าง ๆ มาเรียบเรียงใหม่ ให้สั้น กระทัด ชัดเจน สละสลวย ตัวละครใดมาจากเรื่องไหน ก็จะมีกำกับหัวแบ่งเป็นบ้าน ๆ ไว้ เช่น บ้านราชาธิราช บ้านพระอภัยมณี บ้านสามก๊ก เป็นต้น
"คนรู้จัก" เปิดตัวเป็นตอนแรกใน WRITER ฉบับที่ 13 ด้วย "บ้านสามก๊ก" ตอน "คนแซ่กวน" ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับครอบครัวของกวนอู ซึ่งก่อนเข้าหน้าบทความจะมีภาพวาดสีน้ำ ฝีมือของ "อานิสงส์ ทองระอา" สวยงามมาก
ในบางตอนของคอลัมน์ "คนรู้จัก" ก็มีตัวละครจากเรื่องอื่น ๆ บ้าง คละเคล้ากันไป แต่ บินหลา สันกาลาคีรี ก็ไม่เคยลืมสามก๊ก และเขียนเรื่อยมาจนถึงเล่มล่าสุด WRITER 24 ที่มีตัวละครจากบ้านสามก๊ก 2 คนคือ ขงเบ้งกับจิวยี่
บทความอ่านสนุก สรุปได้จับใจว่า ขงเบ้งคือผู้ที่มีความเพียรอยู่จนวาระสุดท้ายของชีวิต ส่วนจิวยี่คือชายชาติทหารที่ตายเพราะแพ้นักการเมือง !
WRITER 24 ปีที่ 2 พฤษภาคม 2557 มีเรื่องของ ขงเบ้งและจิวยี่ |
"บ้านสามก๊ก" คอลัมน์ "คนรู้จัก" มีตัวละครใด และอยู่ใน WRITER เล่มไหนบ้างนั้น? ผมพอจะรวบรวมได้ดังนี้
- WRITER13 - คนแซ่กวน - กวนเป๋ง กวนหิน กวนอู
- WRITER16 - เสนาธิการ - กุยแก เกียงอุย
- WRITER19 - พระเจ้าอยู่หัวของข้าพเจ้า - เคาทู
- WRITER20 - พ่อกับลูกชาย - จูกัดเจี๋ยม
- WRITER21 - Lacuna Longa, Vita Brevis คำพูดยืนยาว ชีวิต(ไม่)สั้น - จูล่ง
- WRITER24 - ไทต่างด้าว ท้าวต่างแดน - ขงเบ้ง จิวยี่
WRITER19 - พระเจ้าอยู่หัวของข้าพเจ้า - เคาทู |
WRITER21 - Lacuna Longa, Vita Brevis คำพูดยืนยาว ชีวิต(ไม่)สั้น - จูล่ง |
WRITER24 - ไทต่างด้าว ท้าวต่างแดน - ขงเบ้ง จิวยี่ |
กรุณาแสดงความคิดเห็น