"จับฉ่าย" มีความหมายว่า ชื่ออาหารอย่างจีนชนิดหนึ่งที่ใส่ผักหลายๆอย่าง , ของต่างๆที่ปะปนกันไม่เป็นสำรับ ไม่เป็นชุด "จับฉ่าย" จึงไม่มีข้อจำกัด เพราะนอกจากเรื่องสามก๊กแล้ว ยังมีบทความอื่นอันเป็นประโยชน์อยู่มาก ซึ่ง นพ.บุญชัย ฯ ได้เขียนรวบรวมไว้แล้วโยนลงหม้อต้มเป็น "จับฉ่าย" อร่อยเหาะอยู่ในชามเดียวกัน
สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้
"สามก๊ก" เป็นวรรณกรรมจีนที่ได้รับความนิยมและการยอมรับมากที่สุดในโลก เรื่องสามก๊กจึงแพร่หลายและประยุกติ์เข้าได้กับทุกแวดวง ทุกสาขาอาชีพ ทั้งการทหาร การเมือง ธุรกิจ การศึกษา ภาพยนตร์ และเกม
ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ผมเองก็ได้รู้จักกับบล๊อก ๆ หนึ่ง ที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับสามก๊ก แบ่งออกเป็นตอนสั้น ๆ แต่ทุกบรรทัด ทุกถ้อยที ถ้อยทำนองอักษร กลับเต็มเปี่ยมไปด้วยพลัง ความฝัน คำสอนและแรงบันดาลใจ ที่สำคัญคือบล๊อกนี้เขียนและถ่ายทอดโดย บุคคลากรทางการแพทย์ สาขาอาชีพที่ได้รับการยอมรับจากสังคมว่าเป็นบุคคลากรชั้นนำ
"จับฉ่าย" เป็นชื่อบล๊อกสามก๊กที่เรากำลังจะกล่าวถึง บล๊อกนี้เป็นของ นพ.บุญชัย ธีระกาญจน์ นายแพทย์ผู้บริหารคนสำคัญของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร ที่ใช้เวลาว่างเขียนบทความทางการแพทย์ และวิธีการบริหารจัดการคน จัดการองค์กรแบบสามก๊ก
รูปแบบการเขียนเรื่องสามก๊กนั้น นพ.บุญชัย ฯ จะยกเอาข้อความหรือบทสนทนาจากตัวละครในหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) มาเกริ่นไว้ก่อน แล้วค่อยเสริมด้วยแนวความคิด ความรู้ และประสบการณ์ เป็นข้อความสั้น ๆ แต่ลึกซึ้งกินใจ หากอ่านแล้วคิดต่อยอดตาม จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
"จับฉ่าย" มีความหมายว่า ชื่ออาหารอย่างจีนชนิดหนึ่งที่ใส่ผักหลายๆอย่าง , ของต่างๆที่ปะปนกันไม่เป็นสำรับ ไม่เป็นชุด "จับฉ่าย" จึงไม่มีข้อจำกัด เพราะนอกจากเรื่องสามก๊กแล้ว ก็ยังมีบทความอื่นอันเป็นประโยชน์อยู่มาก ซึ่ง นพ.บุญชัย ฯ ได้เขียนรวบรวมไว้แล้วโยนลงหม้อต้มเป็น "จับฉ่าย" อร่อยเหาะอยู่ในชามเดียวกัน
"สามก๊กจับฉ่าย" ชามนี้รสเด็ดนัก สามก๊กวิทยา ไปชิมมาแล้ว จึงขอเชิญชวนผู้ที่รัก และตั้งใจจะใช้วิชาสามก๊กให้เป็นประโยชน์ ไปลิ้มชิมรสโดยทั่วกัน
รูปแบบการเขียนเรื่องสามก๊กนั้น นพ.บุญชัย ฯ จะยกเอาข้อความหรือบทสนทนาจากตัวละครในหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) มาเกริ่นไว้ก่อน แล้วค่อยเสริมด้วยแนวความคิด ความรู้ และประสบการณ์ เป็นข้อความสั้น ๆ แต่ลึกซึ้งกินใจ หากอ่านแล้วคิดต่อยอดตาม จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก
"จับฉ่าย" มีความหมายว่า ชื่ออาหารอย่างจีนชนิดหนึ่งที่ใส่ผักหลายๆอย่าง , ของต่างๆที่ปะปนกันไม่เป็นสำรับ ไม่เป็นชุด "จับฉ่าย" จึงไม่มีข้อจำกัด เพราะนอกจากเรื่องสามก๊กแล้ว ก็ยังมีบทความอื่นอันเป็นประโยชน์อยู่มาก ซึ่ง นพ.บุญชัย ฯ ได้เขียนรวบรวมไว้แล้วโยนลงหม้อต้มเป็น "จับฉ่าย" อร่อยเหาะอยู่ในชามเดียวกัน
"สามก๊กจับฉ่าย" ชามนี้รสเด็ดนัก สามก๊กวิทยา ไปชิมมาแล้ว จึงขอเชิญชวนผู้ที่รัก และตั้งใจจะใช้วิชาสามก๊กให้เป็นประโยชน์ ไปลิ้มชิมรสโดยทั่วกัน
สามก๊ก อ่านสามจบ ยังคบได้
นพ.บุญชัย ธีระกาญจน์ |
ผู้เขียนเองก็นับว่าอ่านสามก๊กมามากกว่าสามจบ ทั้งฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) ฉบับ วรรณไว พัธโนทัย ฉบับ ยาขอบ และฉบับ มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อ่านแล้วก็ลืม ลืมแล้วก็อ่าน อ่านทุกครั้งก็สนุกทุกครั้ง ไม่วิเคราะห์ไม่คิดมากให้เสียเวลา อ่านเอาสนุก อ่านเป็นนิยาย
ก็คนเขียนเขาเขียนเป็นนิยาย จะไปอ่านเอาสาระทำไมกัน หาก หลอกว้านจง ผู้ประพันธ์ รู้เข้าก็คงจะงุนงงเป็นยิ่งนักที่สามก๊กกลายเป็นตำราพิชัยสงคราม ตำราการบริหารเชิงยุทธศาสตร์ ไปได้
ผู้เขียนฟัง อาปา เล่าเรื่องสามก๊กให้ฟังมาตั้งแต่เด็ก ส่วนใหญ่เป็นเรื่องไหวพริบของตัวละครต่างๆในสามก๊ก ซึ่งก็เป็นเหตุทำให้ผู้เขียนสนใจอ่านสามก๊กเพื่อไปค้นหาข้อความที่อาปาเล่า ฉบับแรกที่อ่านก็เป็นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน) เล่มใหญ่หนาที่บ้านอาโกว
มานึกได้วันหนึ่งว่า น่าจะลองอ่านสามก๊กใหม่อีกสักหน คราวนี้จะลองอ่านแบบ อ่านเอาเรื่อง อ่านตรงที่คนอื่นเขาไม่อ่านกัน เพื่อยืนยันว่าอ่านอีกกี่จบก็น่าจะ ยังคบได้
นพ.บุญชัย ธีระกาญจน์
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
กรุณาแสดงความคิดเห็น