เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 คุณ "กิเลน ประลองเชิง" คอลัมนิสต์อาวุโส ผู้มีปากกาเป็นอาวุธ ได้เขียนบทความเรื่อง "หนึ่งเพลงรบ" ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับคำว่า "หุยเหอ" หรือ "เพลง(รบ)" ไว้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และ ไทยรัฐออนไลน์
สไตล์งานเขียนของคุณกิเลน ฯ ยังคงเฉียบคมและแยบยลทุกบทความ สามก๊กวิทยาอ่านแล้วสนุก คิดตามแล้ว "ทันเกม แต่ไม่ทันกล" จึงต้องขออนุญาตนำมาบันทึกไว้กับแบ่งให้เพื่อน ๆ ที่ยังไม่ได้อ่านได้ชมและช่วยกันคิดครับ
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2557 คุณ "กิเลน ประลองเชิง" คอลัมนิสต์อาวุโส ผู้มีปากกาเป็นอาวุธ ได้เขียนบทความเรื่อง "หนึ่งเพลงรบ" ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับคำว่า "หุยเหอ" หรือ "เพลง(รบ)" ไว้ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และ ไทยรัฐออนไลน์ยุคสมัยนี้ ไม่มี “เพลงเดียวตกม้าตาย”
สไตล์งานเขียนของคุณกิเลน ฯ ยังคงเฉียบคมและแยบยลทุกบทความ สามก๊กวิทยาอ่านแล้วสนุก คิดตามแล้ว "ทันเกม แต่ไม่ทันกล" จึงต้องขออนุญาตนำมาบันทึกไว้กับแบ่งให้เพื่อน ๆ ที่ยังไม่ได้อ่านได้ช่วยกันชม ช่วยกันคิดครับ
หนึ่งเพลงรบ
นิยายสามก๊ก ฉบับภาษาจีน เอาเค้าจากพงศาวดาร มาเติมเสริมแต่ง ระหว่าง พ.ศ.763–823 ใช้คำบรรยายการเข้าสัประยุทธ์ แต่ละครั้งว่า “หุยเหอ” มีความหมายว่า “เพลง”อาจารย์ถาวร สิกขโกศล อธิบายไว้ในหนังสือ 101 คำถามสามก๊ก (สำนักพิมพ์มติชน) หุย หมายถึง การเข้าสัประยุทธ์ ประจัญบาน เหอ หมายถึง “หันกลับ”
สงครามสมัยราชวงศ์ชาง ถึงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ใช้รถศึกเป็นหลัก เมื่อการรบเริ่ม รถทั้งสองฝ่ายก็แล่นเข้าหากัน ระยะห่าง ก็ใช้ธนูยิงกัน ใกล้เข้ามาก็ใช้อาวุธยาว เช่น ง้าว หรือทวน
เมื่อรถแล่นสวนกันไป ต่างฝ่ายต่างหันกลับ เตรียมรบรอบใหม่ ถ้ายังไม่มีใครพลาดท่า ก็วนเวียน เหอ ประจัญ หุย หันกลับ รอบต่อไป จนกว่าจะตายกันไปข้างหนึ่ง
สามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) บรรยายตอนลิโป้ ทหารเอกตั๋งโต๊ะ ถือทวนขี่ม้าเซ็กเธาว์ไล่ฆ่าทหารเอกฝ่ายอ้วนเสี้ยวหนีกระเจิง
ถึงคิวคมทวนจะแทงกองซุนจ้าน “เตียวหุยควบม้าเข้าสกัดหน้าม้าลิโป้ไว้” แล้วร้องตวาดด้วยเสียงอันดัง ม้าลิโป้นั้นตกใจถอยหลังทรุดออกไปเป็นหลายก้าว
เตียวหุยจึงร้องด่าว่า อ้ายลูกสามพ่อ กูจะมารบกับมึงเหตุใดมึงจึงชักม้าถอยไป
ลิโป้ได้ยินก็โกรธ จึงขับม้าเข้ารบด้วยเตียวหุยถึงห้าสิบเพลง ก็มิได้แพ้ชนะกัน
กวนอูเห็นดังนั้น กลัวว่ากำลังเตียวหุยจะน้อยกว่าลิโป้ จึงขับม้าเข้ารบด้วยลิโป้ได้สามสิบเพลง เล่าปี่จึงขับม้าถือกระบี่สองมือเข้าช่วยรบ
แลม้าเล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ล้อมม้าลิโป้ไว้เป็นสามเส้า ลิโป้รบป้องกันไว้เป็นสามารถ
ลิโป้เห็นเป็นกระบวนศึกกระหนาบหนักหนา จึงขับม้าหนี
ผมอ่านสามก๊ก ตอนนี้หลายเที่ยว จับใจ...ในกระบวนฝีมือรบ ยอดขุนพลในสามก๊กที่มีชื่อเสียงเลื่องลือทุกคน ผมยกให้ลิโป้เป็นเอก ...โห ก็ขนาด เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย สามรุมหนึ่ง ยังเอาไม่อยู่
แต่การรบ ที่สนุกที่สุด อยู่ตอนต้นๆ สามก๊ก สามพี่น้อง
เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ยังเป็นทหารเล็กๆ อยู่กับกองซุนจ้าน
ฮัวหยง ทหารเอกฝ่ายศัตรู ไล่ฆ่าทหารเอกอ้วนเสี้ยว ล้มตายคนแล้วคนเล่า หาคนสู้ไม่ได้
เมื่อกวนอูเสนอตัว อ้วนเสี้ยวได้ยินว่า เป็นแค่ ทหารม้าถือเกาทัณฑ์ ก็ตวาดว่า เป็นแต่ทหารม้าเลวบังอาจเข้ามาอาสา สั่งให้ขับออกไปเสีย โจโฉชอบท่าทีกวนอู ขอร้องอ้วนเสี้ยวให้ทดลอง
แล้วก็ให้อุ่นสุรารินใส่จอกยื่นให้ กวนอูคำนับแล้วว่า “ขอให้ท่านงดสุราไว้ก่อน”
ว่าแล้วกวนอูก็ถือง้าวออกไป รบ ด้วยฮัวหยง ฝ่ายหัวเมืองทั้งหวงซึ่งอยู่ในค่าย ได้ยินเสียงกลองแลม้าล่ออื้ออึง ก็ชวนกันออกไปดู ก็เห็นกวนอูหิ้วเอาหัวฮัวหยง กลับเข้ามาทิ้งไว้ตรงหน้าค่าย
โจโฉเอาจอกสุราจอกเดิมมาคำนับ กวนอูเอาสุรานั้นมากิน สุรานั้นยังอุ่นอยู่
จับความตามลีลานิยายสามก๊ก กวนอูตัดหัวฮัวหยงได้ ในเวลา ไม่ถึงหนึ่งเพลง
อาจารย์ถาวร เขียนว่า ถึงยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ปรปักษ์สำคัญของจีน คือชนเผ่าซุงหนู ทางภาคเหนือ รบบนหลังม้า...ลักษณะการรบแบบ เหอ หุย ประจัญ หันกลับ ก็เลิกแล้วกันไป
แต่คำว่า เหอ หุย ที่มีความหมายถึง “เพลงรบ” ก็ยังใช้กันต่อมา ใครที่แค่รบแพ้แค่ยกแรก คนไทยเอามาใช้เป็นสำนวน เพลงเดียวตกม้าตาย นักรบที่ฝีมือห่างชั้น ผลก็ออกมา เพลงเดียวตกม้าตาย
ส่วนนักรบที่ฝีมือเก่งกล้า อย่างลิโป้ นั้น เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย ใช้วิชาหมาหมู่ สามรุมหนึ่ง รบกันติดพันเป็นร้อยเพลง ก็ยังเอาชนะไม่ได้ การรบยืดเยื้ออย่างนี้ อย่าว่าแต่ไพร่ราบทหารเลว จะเหนื่อย
พลดนตรี ตีทั้งกลองรบ ตีม้าล่อเลิกรบ ก็ยังล้า พูดง่ายๆ ได้ว่า กองเชียร์ก็เชียร์จนเชียร์ไม่ไหว
ยุคสมัยนี้ ขุนทหารที่ฝีมือดี อย่างกวนอู ไม่มีอีกแล้ว
กิเลน ประลองเชิง
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
กรุณาแสดงความคิดเห็น