เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ผมได้เจอหนังสือฟรี eBook เล่มหนึ่งของ "สถาบันอาศรมศิลป์" ที่มีชื่อว่า "ภูมิปัญญากีฬาไทย : More Than Sport" ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับการนำเอาท่าทางของศิลปะการป้องกันตัวของไทย มาประยุกต์เป็นท่าออกกำลังกาย โดยมีหัวข้อสำคัญอาทิเช่น มวยไทย ไม้พลอง ไม้ตะพด ผ้าขาวม้า และการละเล่นกีฬาภูมิปัญญาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย
แต่ที่น่าสนใจที่สุดก็คือ ส่วนหนึ่งในท่ารำพลอง มีท่าหนึ่งชื่อว่า "โจโฉลูบหนวด" !?
สามก๊กในแบบภูมิปัญญาไทย
เมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ผมได้เจอหนังสือฟรี eBook เล่มหนึ่งของ "สถาบันอาศรมศิลป์" ที่มีชื่อว่า "ภูมิปัญญากีฬาไทย : More Than Sport" ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับการนำเอาท่าทางของศิลปะการป้องกันตัวของไทย มาประยุกต์เป็นท่าออกกำลังกาย โดยมีหัวข้อสำคัญอาทิเช่น มวยไทย ไม้พลอง ไม้ตะพด ผ้าขาวม้า และการละเล่นกีฬาภูมิปัญญาไทยสำหรับเด็กปฐมวัย
แต่ที่น่าสนใจที่สุดก็คือ ส่วนหนึ่งในท่ารำพลอง มีท่าหนึ่งชื่อว่า "โจโฉลูบหนวด" !?
ในหน้า 108 หัวข้อ "ไม้รำที่ 7 โจโฉลูบหนวด" ได้แสดงภาพและอธิบายความหมายของชื่อเพลงรำนี้ไว้สั้น ๆ ว่า "เป็นท่าที่ใช้ข่มขวัญคู่ต่อสู้ เพื่อกระตุ้นให้คู่ต่อสู้ เสียสมาธิหรือโกรธ ทำให้เราได้เปรียบ เป็นท่า ที่ช่วยบริหารข้อมือและการทรงตัว"
ท่ารำท่านี้มีจุดน่าสังเกตที่การนำมือซ้ายมาจับจีบที่หน้าอก ดูคล้ายกับการลูบหนวด ผสมผสามกับการควงพลอง ยกเท้าไปมา ผมจึงสันนิษฐานว่าการที่ครูมวยท่านได้ตั้งชื่อไม้รำท่านี้ว่า "โจโฉลูบหนวด" นั้นก็น่าจะมาจากการแสดงงิ้ว ที่ตัวร้ายอย่างโจโฉโผล่ออกมาแล้วร่ายรำ ลูบหนวดข่มขวัญศัตรู ยั่วยวนชวนให้โมโห
เห็นแล้วก็ชื่นหัวใจ อยากแบ่งปันให้เพื่อน ๆ นักอ่านบล๊อกสามก๊กวิทยา ได้ทราบโดยทั่วกันว่า มีสามก๊กในศิลปะไทยแขนงนี้ด้วย
แต่ส่วนที่ประทับใจที่สุดในหนังสือเล่มนี้นั้น ผมคิดว่าน่าจะเป็นแนวความคิดของ ท่านอาจารย์วิชิต ชี้เชิญ ครูภูมิปัญญาไทยสาขาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของไทย ปี 2548 ผู้ริเริ่ม บุกเบิกการนำเอาภูมิปัญญาในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของไทยมาใช้เป็นการออกกำลังกาย ที่ว่า
“สอนคนให้เป็นมวย” คือการปรับจิตปรับใจผู้เรียนให้มี ความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูรู้คุณ มีความสุขุมและเป็นสุภาพบุรุษ มิใช่นักเลงมวย แต่เมื่อถึงคราวคับขันก็มีสติปัญญา เผชิญสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตรายได้อย่างมั่นคงด้วยการแก้ปัญหาเป็น รักษาตนให้ปลอดภัยและเป็นสุขได้โดยง่าย
อ.วิชิต ฯ ท่านตั้งใจหวังให้ทุกคนได้ประจักษ์ว่า ความเป็นมวยนี้เป็นยิ่งกว่ากีฬา (More than Sport) เพราะเป็นการบ่มเพาะ ขัดเกลาจิตใจ ให้เป็นปถุชนโดยสมบูรณ์ แนวคิดนี้จึงกลายเป็นที่มาของชื่อหนังสือ "ภูมิปัญญากีฬาไทย : More Than Sport"
เห็นแล้วก็พลอยปรารถนา อยากให้ สามก๊กเป็นมากกว่าวรรณกรรม ....
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
แต่ที่น่าสนใจที่สุดก็คือ ส่วนหนึ่งในท่ารำพลอง มีท่าหนึ่งชื่อว่า "โจโฉลูบหนวด" !?
ในหน้า 108 หัวข้อ "ไม้รำที่ 7 โจโฉลูบหนวด" ได้แสดงภาพและอธิบายความหมายของชื่อเพลงรำนี้ไว้สั้น ๆ ว่า "เป็นท่าที่ใช้ข่มขวัญคู่ต่อสู้ เพื่อกระตุ้นให้คู่ต่อสู้ เสียสมาธิหรือโกรธ ทำให้เราได้เปรียบ เป็นท่า ที่ช่วยบริหารข้อมือและการทรงตัว"
ท่ารำท่านี้มีจุดน่าสังเกตที่การนำมือซ้ายมาจับจีบที่หน้าอก ดูคล้ายกับการลูบหนวด ผสมผสามกับการควงพลอง ยกเท้าไปมา ผมจึงสันนิษฐานว่าการที่ครูมวยท่านได้ตั้งชื่อไม้รำท่านี้ว่า "โจโฉลูบหนวด" นั้นก็น่าจะมาจากการแสดงงิ้ว ที่ตัวร้ายอย่างโจโฉโผล่ออกมาแล้วร่ายรำ ลูบหนวดข่มขวัญศัตรู ยั่วยวนชวนให้โมโห
เห็นแล้วก็ชื่นหัวใจ อยากแบ่งปันให้เพื่อน ๆ นักอ่านบล๊อกสามก๊กวิทยา ได้ทราบโดยทั่วกันว่า มีสามก๊กในศิลปะไทยแขนงนี้ด้วย
แต่ส่วนที่ประทับใจที่สุดในหนังสือเล่มนี้นั้น ผมคิดว่าน่าจะเป็นแนวความคิดของ ท่านอาจารย์วิชิต ชี้เชิญ ครูภูมิปัญญาไทยสาขาศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของไทย ปี 2548 ผู้ริเริ่ม บุกเบิกการนำเอาภูมิปัญญาในศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของไทยมาใช้เป็นการออกกำลังกาย ที่ว่า
“สอนคนให้เป็นมวย” คือการปรับจิตปรับใจผู้เรียนให้มี ความอ่อนน้อมถ่อมตน มีความกตัญญูรู้คุณ มีความสุขุมและเป็นสุภาพบุรุษ มิใช่นักเลงมวย แต่เมื่อถึงคราวคับขันก็มีสติปัญญา เผชิญสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตรายได้อย่างมั่นคงด้วยการแก้ปัญหาเป็น รักษาตนให้ปลอดภัยและเป็นสุขได้โดยง่าย
อาจารย์วิชิต ชี้เชิญ |
เห็นแล้วก็พลอยปรารถนา อยากให้ สามก๊กเป็นมากกว่าวรรณกรรม ....
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
- Download eBook หนังสือ "ภูมิปัญญากีฬาไทย : More Than Sport"
- สถาบันอาศรมศิลป์ - Arsom Silp Institute of the Art
กรุณาแสดงความคิดเห็น