Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

สามก๊ก เจียวต้าย และ เล่าเซี่ยงชุน

"เจียวต้าย" ชื่อนี้เป็นชื่อของนักเขียนเรื่องสามก๊ก ที่นักอ่านเรื่องสามก๊กใน "คลับสามก๊ก" ของเว็บ "พันทิปดอทคอม" หรือ Bloggang จะรู้จักกันดี หรือหากเป็นชื่อนามปากกาที่ใช้ในการตีพิมพ์ลงหนังสือ ก็คือ "เล่าเซี่ยงชุน" ผู้เขียนเรื่อง "สามก๊กฉบับลิ่วล้อ"
สามก๊ก เจียวต้าย และ เล่าเซี่ยงชุน
สามก๊กฉบับลิ่วล้อ ได้รับรางวัลนราธิป 2556
     "เจียวต้าย" ชื่อนี้เป็นชื่อของนักเขียนเรื่องสามก๊ก ที่นักอ่านเรื่องสามก๊กใน "คลับสามก๊ก" ของเว็บ "พันทิปดอทคอม" หรือ Bloggang จะรู้จักกันดี หรือหากเป็นชื่อนามปากกาที่ใช้ในการตีพิมพ์ลงหนังสือ ก็คือ "เล่าเซี่ยงชุน" ผู้เขียนเรื่อง "สามก๊กฉบับลิ่วล้อ"

     นักเขียนท่านนี้เป็นใคร ? และมีความสำคัญกับวรรณกรรมสามก๊กเช่นไร ?

 นักเขียนรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ. 2556 

งานมอบรางวัลนราธิป ประจำปี ๒๕๕๖
งานมอบรางวัลนราธิป ประจำปี 2556 (ภาพจากบล็อกสายหมอกและก้อนเมฆ)
     "รางวัลนราธิป" เป็นรางวัลเกียรติคุณที่มอบให้กับนักเขียนและบรรณาธิการอาวุโส โดยมีหลักเกณฑ์ที่จะมอบรางวัลให้กับผู้ซึ่งมีอายุมากกว่า 80 ปี มีผลงานเป็นที่ยกย่องกว้างขวาง จัดโดย สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2544

     ส่วนรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ.2556 นั้นได้มีการประกาศผลเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2557 ณ ห้องประชุมใหญ่ หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี เทเวศร์ กรุงเทพฯ โดยมีนักเขียน นักแปล กวี และบรรณาธิการ จำนวน 15 ท่าน ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ซึ่งหนึ่งในรายชื่อนั้น ทำให้ผมสะดุดใจและอดปลื้มใจไปด้วยไม่ได้ ที่เห็นรายชื่อของ นายทหารบกท่านหนึ่ง นามว่า "พันเอกไพฑูรย์ นิมิปาล" 

     พันเอกไพฑูรย์ นิมิปาล ท่านนี้มิใช่ใครอื่น แต่ท่านคือผู้เรียบเรียง "สามก๊กฉบับลิ่วล้อ" นามปากกา “เล่าเซี่ยงชุน” หรือชื่อในวงการเว็บว่า "เจียวต้าย" ที่แฟน ๆ นักอ่านเรื่องสามก๊กรู้จักกันดีนั่นเอง

พันเอกไพฑูรย์ นิมิปาล (กลาง) ในงานมอบรางวัลนราธิป ประจำปี 2556
พันเอกไพฑูรย์ นิมิปาล (กลาง) ในงานมอบรางวัลนราธิป ประจำปี 2556 (ภาพจากบล็อกสายหมอกและก้อนเมฆ)
      พ.อ.ไพฑูรย์ ฯ ใช้เวลาว่างหลังเกษียณอายุราชการ ใช้นามปากกา “เล่าเซี่ยงชุน” จับปากกาเขียนหนังสือ ตั้งแต่ พ.ศ.2534 จนถึง พ.ศ.2541 โดยเอานิยายอิงพงศาวดารจีนเรื่องสามก๊กของเจ้าพระยาพระคลัง(หน) มาเรียบเรียงใหม่เป็น "สามก๊กฉบับลิ่วล้อ" ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำนวน 3 เล่ม เล่มที่ 1 จำนวน 26 ชุด รวม 40 ตอน, เล่มที่ 2 จำนวน 23 ชุด รวม 34 ตอน, เล่มที่ 3 จำนวน 18 ชุด รวม 35 ตอน, รวมทั้งสิ้น 67 ชุด 110 ตอน

     นอกจากเรื่องสามก๊กฉบับลิ่วล้อแล้ว ท่านยังมีผลงานเกี่ยวกับสามก๊กฉบับอื่น ๆ อีกเช่น สามก๊กฉบับฮูหยิน, สามก๊กฉบับอัศวิน, สามก๊กฉบับฮ่องเต้, สามก๊กฉบับย่นย่อ ฯลฯ ผลงานทั้งหมดของท่าน นอกจากจะตีพิมพ์เป็นหนังสือแล้ว ยังสามารถติดตามอ่านได้ใน BlogGang.com : : เจียวต้าย และ Club: คลับสามก๊ก - Pantip อีกด้วย

"สามก๊กฉบับลิ่วล้อ" ผลงานชิ้นเอกของ “เล่าเซี่ยงชุน”
"สามก๊กฉบับลิ่วล้อ" ผลงานชิ้นเอกของ “เล่าเซี่ยงชุน”
     ลุงเจียวต้าย เป็นนักเขียนท่านหนึ่งที่ได้แสดงออกถึงความมานะอุตสาหะ ท่านทุ่มเทและรักการเขียนเรื่องสามก๊กอย่างเต็มตื้นของหัวใจ ผลงานของลุงเจียวต้ายเป็นแรงบันดาลใจให้อนุชนคนรุ่นหลังสนใจศึกษาเรื่องสามก๊ก เช่นบล๊อกสามก๊กวิทยา เองก็ได้ใช้แบบอย่างความรักและทุ่มเทในเรื่องสามก๊กจากคุณลุงเป็นแนวทาง

     ในฐานะตัวแทนของคนรุ่นหลังที่รักในวิชาสามก๊ก สามก๊กวิทยาขอแสดงความความยินดีกับคุณลุงเจียวต้าย ที่ได้รับรางวัลนราธิป ประจำปี พ.ศ.2556 และขอให้คุณลุงมีสุขภาพกายสุขภาพใจที่สมบูรณ์ แข็งแรง เขียนเรื่องสามก๊กให้ลูกให้หลาน ได้อ่านกันต่อไปนะครับ

     ผลงาน และเรื่องราวของลุงเจียวต้ายทั้งหมด สามารถติดตามชมได้ในหัวข้อเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องด้านล่างนี้ครับ

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

กรุณาแสดงความคิดเห็น

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,18,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,118,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,66,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: สามก๊ก เจียวต้าย และ เล่าเซี่ยงชุน
สามก๊ก เจียวต้าย และ เล่าเซี่ยงชุน
"เจียวต้าย" ชื่อนี้เป็นชื่อของนักเขียนเรื่องสามก๊ก ที่นักอ่านเรื่องสามก๊กใน "คลับสามก๊ก" ของเว็บ "พันทิปดอทคอม" หรือ Bloggang จะรู้จักกันดี หรือหากเป็นชื่อนามปากกาที่ใช้ในการตีพิมพ์ลงหนังสือ ก็คือ "เล่าเซี่ยงชุน" ผู้เขียนเรื่อง "สามก๊กฉบับลิ่วล้อ"
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjmdfBeEBIJojVb91IBpv4R8jbSez1pBB8xzhecTHLvMZhtUDNtrVKTBGYg6OyLpVo-YZsA88QdMwNBjJE7bDeCIv3anHji0THI-5lhOBOmeVDkU_x8_glqBkU35N61nNA0qTjZr7v2uAU/s1600/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjmdfBeEBIJojVb91IBpv4R8jbSez1pBB8xzhecTHLvMZhtUDNtrVKTBGYg6OyLpVo-YZsA88QdMwNBjJE7bDeCIv3anHji0THI-5lhOBOmeVDkU_x8_glqBkU35N61nNA0qTjZr7v2uAU/s72-c/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2.jpg
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2014/02/blog-post.html
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2014/02/blog-post.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ