"วัตรปฏิบัติ" หมายถึง "การปฏิบัติตามหน้าที่หรือตามศีล" บุคคลในโลกนี้เกิดมาล้วนมีหน้าที่ติดตัวกันมาทุกคน แต่ในทางศาสนา ซึ่งประสงค์ให้เกิดความสงบสุขแล้วบุคคลควรมีศีลมีธรรมประจำใจ มากำกับการกระทำด้วย สังคมมนุษย์จึงจะงดงามและสงบสุข
แม้ในยามสงคราม "วัตรปฏิบัติ" ก็ยังสามารถนำมาใช้ได้ และเป็นส่วนชี้ขาดสำคัญในการดำรงอยู่ของกองทัพ เพราะเปรียบประดุจดัง ระเบียบ วินัย อันกระตุ้นเตือนขวัญและกำลังใจของเหล่าทหารหาญ
"ขงเบ้ง" สมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งอาณาจักรจ๊กก๊ก เคยเขียนตำราพิชัยสงครามเล่มหนึ่งชื่อว่า "เจี้ยงย่วน" ซึ่งว่ากันว่าเป็นตำราที่ขงเบ้งมอบให้ "เกียงอุย" ลูกศิษย์เอกก่อนสิ้นลม ในตำรานั้นมีบทสำคัญอยู่บทหนึ่งว่าด้วย "หลักการปฏิบัติของขุนพล"
15 หลักการแห่งกองทัพธรรม
"วัตรปฏิบัติ" หมายถึง "การปฏิบัติตามหน้าที่หรือ ตามศีล" บุคคลในโลกนี้เกิดมาล้วนมีหน้าที่ติดตัวกันมาทุกคน แต่ในทางศาสนา ซึ่งประสงค์ให้เกิดความสงบสุขแล้วบุคคลควรมีศีลมีธรรมประจำใจ มากำกับการกระทำด้วย สังคมมนุษย์จึงจะงดงามและสงบสุข
แม้ในยามสงคราม "วัตรปฏิบัติ" ก็ยังสามารถนำมาใช้ได้ และเป็นส่วนชี้ขาดสำคัญในการดำรงอยู่ของกองทัพ เพราะเปรียบประดุจดัง ระเบียบ วินัย อันกระตุ้นเตือนขวัญและกำลังใจของเหล่าทหารหาญ
"ขงเบ้ง" สมุหนายกและผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งอาณาจักรจ๊กก๊ก เคยเขียนตำราพิชัยสงครามเล่มหนึ่งชื่อว่า "เจี้ยงย่วน" ซึ่งว่ากันว่าเป็นตำราที่ขงเบ้งมอบให้ "เกียงอุย" ลูกศิษย์เอกก่อนสิ้นลม ในตำรานั้นมีบทสำคัญอยู่บทหนึ่งว่าด้วย "หลักการปฏิบัติของขุนพล"
สามก๊กวิทยา จึงขอหยิบยกข้อความในตอนนี้มาจากหนังสือที่เรียบเรียงจากบันทึกสำคัญทางประวัติศาสตร์ "ปรัชญานิพนธ์และชีวประวัติของขงเบ้ง" ของคุณ "เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ" ดังนี้
สามก๊กวิทยา จึงขอหยิบยกข้อความในตอนนี้มาจากหนังสือที่เรียบเรียงจากบันทึกสำคัญทางประวัติศาสตร์ "ปรัชญานิพนธ์และชีวประวัติของขงเบ้ง" ของคุณ "เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ" ดังนี้
กฎเกณฑ์และหลักปฏิบัติของขุนพล
เหตุที่ขุนพลจะต้องประสบความพ่ายแพ้แก่ข้าศึกอย่างย่อยยับ ย่อมมีสมุฏฐานมาจากการประมาทกำลังของข้าศึกเป็นประการสำคัญ ฉะนั้นการสัประยุทธจะต้องมีแบบแผน ถ้าทำการรบพลาดจากแบบแผนก็จะต้องเกิดความพ่ายแพ้แก่ข้าศึกอย่างไม่มีปัญหา
แบบแผนดังกล่าวมีอยู่ 15 ประการดังนี้ :-
แบบแผนดังกล่าวมีอยู่ 15 ประการดังนี้ :-
- จักต้องมีแผนการอันล้ำลึก
- จักต้องประสานงานกันเป็นลูกโซ่
- จักต้องมีกำลังทหารที่กล้าหาญ เด็ดเดี่ยว
- จักต้องเป็นคนมือสะอาด มีความซื่อสัตย์
- จักต้องเป็นคนที่มีความยุติธรรม สามารถปูนบำเหน็จรางวัลแก่ผู้ที่มีคุณงามความดี ลงโทษแก่ผู้กระทำผิดตามกฎอัยการศึกอย่างเที่ยงธรรม
- มีขันติธรรม สามารถอดทนอดกลั้นต่อการสบประมาท และการเหยียบย่ำศักดิ์ศรีโดยไม่สะดุ้งสะเทือนแม้แต่น้อย
- ใจกว้าง มีจิตใจอารีอารอบต่อเพื่อนทหารด้วยกัน
- ถือสัจจะเป็นที่ตั้ง รักษาสัตย์ยิ่งกว่าชีวิต
- จักต้องเคารพนับถือปรัชญาเมธี ด้วยความนอบน้อม
- มีจิตใจหนักแน่น ไม่หวั่นไหวไปตามคารมของพวกประจบสอพลอ
- ไม่ทอดทิ้งเพื่อนทุกข์เพื่อนยากแต่เก่าก่อน
- มีจิตเมตตากรุณา พยายามชุบเลี้ยงผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาให้ก้าวหน้าเสมอ
- มีจิตซื่อสัตย์ต่อปิตุภูมิ แม้จะพลีชีพเพื่อชาติหลั่งเลือดลงโลมดิน ก็มิได้ลังเลใจ
- รู้จักอิ่มในลาภยศสักการ
- มีความคิดล้ำลึก สามารถประมาณกำลังของตนและกำลังของข้าศึกได้อย่างถูกต้อง
ในยามที่บ้านเมืองเข้าสู่กลียุค ผู้คนแตกแยกออกเป็นก๊กเป็นเหล่า หยิบอาวุธออกมารบราฆ่าฟันกันด้วยหัวใจรักชาติ ตามเหตุ ตามผลของฝ่ายตน "จูกัดเหลียง ขงเบ้ง" มังกรหลับแห่งหุบเขาโงลังกั๋ง ที่ปรึกษาของเล่าปี่ ได้สร้างกองทัพโดยอาศัยหลักปรัชญาและลัทธิเต๋า กองทัพของเขาจึงเปรียบดังกองทัพธรรม ยกไปที่ใดชนะใจที่นั่น
จาก "15 วัตรปฏิบัติของขงเบ้ง" สังเกตได้ไม่ยากเลยว่า ขงเบ้งใช้ศีลธรรมเป็นธง สำหรับสร้างกองทัพ ... กองทัพของขงเบ้ง จึงถูกยกให้เป็นพระเอกในหนังสือสามก๊ก
กองใดก๊กใด ต้องการชัยชนะอย่างแท้จริง ขอเพียงทำได้ดั่งขงเบ้ง ... แม้ว่าตอนจบขงเบ้งจะพ่ายแพ้ "สุมาอี้" รักษาก๊กไว้ไม่ได้ แต่ก็จะอยู่ในใจคน ไปชั่วกาลนาน .....
กรุณาแสดงความคิดเห็น