"เตียวหุยเข้าเข็ม - หยาบช้าอย่างแยบยล" (Zhāng Fēi chuān zhēn, cū zhōng yǒu xì , 張飛穿針—粗中有細) สำนวนนี้เป็นที่รู้จักกันดี และมีใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวจีน
วรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก ติดต่อกันมายาวนานหลายร้อยปี ด้วยเพราะมีตัวละครที่น่าสนใจมากมาย หลายคนมีชื่อชั้นระดับตำนาน เป็นที่ชื่นชอบของชาวบ้าน และหลายเรื่องกลายเป็นนิทานสอนใจเล่ากันมาปากต่อปาก張飛穿針—粗中有細
ในสำนวนคำพังเพยของจีนแบบ 2 วรรคตอน ที่เรียกว่า เซี่ย-โหว้-อวี่ (Xiēhòuyǔ, 歇後語) ซึ่งในวรรคแรกจะเป็นสำนวนขึ้นต้นให้ชวนสงสัย ส่วนวรรคที่สองจะเป็นความหมาย ได้มีสำนวนเกี่ยวกับสามก๊กอยู่สำนวนหนึ่งว่า
"เตียวหุยเข้าเข็ม - หยาบช้าอย่างแยบยล" (Zhāng Fēi chuān zhēn, cū zhōng yǒu xì , 張飛穿針—粗中有細) สำนวนนี้เป็นที่รู้จักกันดี และมีใช้กันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวจีน
ในสำนวนไทยที่คล้ายกันก็คือ "เข้าด้ายเข้าเข็ม" ซึ่งแปลว่า "คับขัน, สำคัญ, หมายถึงเวลาสำคัญ ถ้าทำผิดพลาดหรือมีอะไรมาขัดจังหวะแม้เพียงเล็กน้อยก็เสียการ" แต่ในสำนวนจีน "เตียวหุยเข้าเข็ม" มีความหมายพิเศษกว่า โดยมีที่มาดังนี้
เมื่อครั้งเตียวหุยยังเยาว์วัย เขาได้ศึกษาร่ำเรียนวิชากับอาจารย์ชื่อว่า หวังหยางเหนียน (Wang Yangnian) อาจารย์ท่านนี้รอบรู้เชี่ยวชาญทั้งบู๊และบุ๋น เขาอบรมสั่งสอนเตียวหุยอย่างตั้งใจ
อาจารย์หวัง สังเกตเห็นว่าเตียวหุยเป็นเด็กอารมณ์ร้าย ดื้อด้าน และใจร้อนวู่วาม เขาจึงต้องการจะสอนให้เตียวหุยรู้จักการควบคุมจิตใจและอารมณ์บ้าง
วิธีการของอาจารย์หวังก็คือ สั่งให้เตียวหุยสอดด้ายเข้าเข็ม ซึ่งเข็มที่ใช้นี้ก็คือเข็มเย็บผ้าที่สตรีใช้เย็บปักถักร้อยธรรมดา ๆ นั่นเอง เตียวหุยประหลาดใจและไม่ค่อยพอใจนักที่อาจารย์สั่งให้เขาทำงานของสตรี แต่ก็ต้องจำยอม
เตียวหุยต้องฝึกพิเศษ ด้วยเข็มและด้าย |
อาจารย์หวังเห็นดังนั้นจึงสอนขึ้นว่า "เตียวหุยเอ๋ย ... เข็มมีตาอันเล็ก เจ้ามีตาอันโต แต่หัวใจของเจ้ากลับหามีตาไม่"
"การจะเป็นขุนพลที่ดี มิเพียงต้องฝึกฝนการต่อสู้ แต่จำเป็นจะต้องเรียนรู้ในศาสตร์แขนงอื่นด้วย จงเอาชนะศัตรูด้วยเพลงยุทธ์อันโดดเด่น และกลศึกอันล้ำลึก"
ว่าแล้ว อาจารย์หวังก็หยิบเข็มและได้มาทำให้เตียวหุยดู พลางสอนต่อไปว่า "ไม่ต้องรีบร้อน ทำวันนี้ไม่สำเร็จ เจ้าก็ค่อยทำต่อในวันพรุ่งนี้ หากพรุ่งนี้ไม่สำเร็จอีก เจ้าก็ค่อยทำในวันถัดไป ต่อแต่นี้จะทำการสิ่งใดจงไตร่ตรองใคร่ครวญ และคิดให้ละเอียดรอบคอบ"
หลักจากนั้น เตียวหุยก็จะมานั่งฝึกสอดด้ายเข้าเข็มทุกวัน เขาเริ่มรู้จักกับความสงบและมีสมาธิ การฝึกนี้ช่วยให้เขามองสิ่งต่าง ๆ ได้ละเอียดรอบคอบมากขึ้น แม้ว่าปกติเขาจะมีลักษณะใจร้อนวู่วาม แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ เขาก็สามารถทำได้ดี ดังที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องสามก๊ก ว่าเตียวหุยสามารถใช้กลอุบายอยู่หลายต่อหลายครั้ง
"เตียวหุยเข้าเข็ม - หยาบช้าอย่างแยบยล" จึงเป็นสำนวนที่แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมและลักษณะนิสัยของเตียวหุยได้เป็นอย่างดี ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เปรียบเทียบกับคนที่ ปกติมีนิสัยใจร้อนวู่วามแต่บางครั้งก็กลับสงบเสงี่ยมมีสมาธิได้อย่างน่าเหลือเชื่อ
Zhang Fei's Famous Roar
วีดีโอตัวอย่างจากภาพยนตร์สามก๊กโจโฉแตกทัพเรือ (Red Cliff) ที่แสดงถึงสำนวน "เตียวหุยเข้าเข็ม"
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
เสียดายอาจารย์ลืมสอนว่า "กินเหล้ายังไงให้เอาอยู่" เลยโดนลูกน้องตัดคอซะหมดลาย 555
ตอบลบอาจารย์คงเป็นคอสุราเหมือนกัน เรื่องนี้เลยสอนกันไม่ได้ ... :)
ลบเยี่ยมจริงๆ
ตอบลบ