ในสมัยสามก๊กเองมีนักบวชผู้อวดคุณวิเศษมากมาย แม้จะไม่ได้เป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา หรือไม่อาจเรียกว่าเป็น "สมี" ได้เต็มปากเต็มคำนัก ยกตัวอย่างเช่น "เตียวก๊ก" ผู้วิเศษที่อ้างว่าได้คำภีร์ไทเผงเยาสุดมาจากเทพเทวดา แล้วสร้างศรัทธาหลอกลวงประชาชนให้กลายเป็นโจรโพกผ้าเหลือง สร้างความเดือดร้อนวุ่นวายไปทั่ว เป็นต้นเหตุแห่งความเสื่อมทั้งมวลในเรื่องสามก๊ก
นอกจากเตียวก๊กแล้ว เรายังมี "สมี" อีกคนหนึ่งที่มีชีวิตน่าสนใจ เพราะเขาคนนี้มีกำเนิดคล้ายคลึงกันกับเตียวก๊ก เพียงแต่ว่าถูกกำจัดไปเสียก่อน นั่นก็คือ "อิเกียด" (于吉 , Yu Ji)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ระบุความหมายของคำว่า "สมี" คำที่โด่งดังอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อต่าง ๆ ในปัจจุบันว่าเป็น "คําเรียกพระภิกษุผู้ต้องอธิกรณ์ขั้นปาราชิก" ซึ่งในพจนานุกรมของ อ.เปลื้อง ณ นคร ก็ได้ให้ความหมายไปในแนวทางเดียวกันว่า "คำเรียกคนถูกไล่สึกจากพระ เพราะต้องอาบัติปาราชิก บุคคลที่เป็นสมีจะบวชอีกไม่ได้ตลอดชีวิต"
พระที่ต้องอาบัติปาราชิกนั้น เกิดจากการกระทำ 4 ข้อ คือ
- เสพเมถุน
- ลักขโมย
- ฆ่ามนุษย์
- พูดอวดคุณวิเศษ
นอกจากเตียวก๊กแล้ว เรายังมี "สมี" อีกคนหนึ่งที่มีชีวิตน่าสนใจ เพราะเขาคนนี้มีกำเนิดคล้ายคลึงกันกับเตียวก๊ก เพียงแต่ว่าถูกกำจัดไปเสียก่อนที่จะสร้างศรัทธาขนาดกลายเป็นกองกำลังป่วนเมือง นั่นก็คือ "อิเกียด" (于吉 , Yu Ji)
ประวัติย่อของอิเกียด
ผีอิเกียดมาหลอกหลอนซุนเซ็ก |
"อิเกียด (于吉 , Yu Chi) เป็นชาวหลงเสีย ( หลังเอ๋ย์ ) มณฑลซานตุง ตั้งตัวเป็นเต้าหยินผู้วิเศษ เข้าไปหลอกลวงประชาชนในเขตแคว้นกังตั๋ง ซึ่งซุนเซ็กเป็นผู้ปกครอง มีผู้นิยมเลื่อมใสมาก ซุนเซ็กไม่เชื่อถือ และเกรงว่าอิเกียดจะซ่องสุมผู้คนก่อการร้ายเป็นภัยแก่ตน จึงให้ทหารจับตัวไปฆ่าเสีย แล้วเอาศพประจานไว้ ณ ทางสามแพ่ง คืนนั้นซุนเซ็กเห็นรูปอิเกียดเดินกรายแขนเข้ามาตรงหน้า ก็โกรธ ชักกระบี่ออกฟัน แล้วล้มสลบและล้มเจ็บ ไม่ช้าก็ตายตามอิเกียดไปด้วย"
ทัศนะทั่วไปเกี่ยวกับอิเกียด
"อิเกียด" มีชื่อจริงว่า "กำเกียด" |
แต่คนอัจฉริยะระดับหลอกว้านจง "ไม่มีมูล" เขาคงไม่นำมาเขียนเป็นเรื่องราว เพราะเรื่องของอิเกียดนั้น ต่อมาภายหลังได้มีการตรวจชำระประวัติศาสตร์ใหม่ และค้นพบว่าเรื่องของอิเกียดนั้นมีบันทึกอยู่จริง เพียงแต่ว่าปรากฏในบันทึกอื่นที่ไม่ใช่สามก๊กจี่ เช่นในจดหมายเหตุโห้ฮั่นสู่ (后汉书) หรือจดหมายเหตุฮั่นยุคหลัง ของนักประวัติศาสตร์จีนชื่อ ฟานเย่ว์ (范晔) (398–445) และบันทึกเจียงเปียวจ้วน (江表傳) ที่เผยซงจื่อนำมาใช้เขียนเป็นอนุทินต่อท้ายสามก๊กจี่อยู่บ่อย ๆ
ที่สำคัญก็คือนักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อว่า "อิเกียด" เป็นชื่อที่เขียนผิด และควรจะเขียนเป็น "กานจี๋" (干吉 , Gan Ji) มากกว่า
"กานจี๋" เขียนด้วยตัวอักษรจีนว่า "干吉" ส่วน "อิเกียด" เขียนว่า "于吉"(อ่านว่า อวี่จี๋) หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าตัวอักษรจีนตัวแรกนั้นแตกต่างกัน ตรงที่ตัวหนึ่งมีหัวแต่อีกตัวไม่มี นั่นจึงหมายความว่าเกิดการผิดพลาดในการถ่ายทอดคำในหนังสือสามก๊ก ทำให้ชื่อ กานจี๋ จึงกลายมาเป็น อวี่จี๋
ทั้งนี้เพื่อให้เข้ากับการออกเสียงสมัยเจ้าพระยาพระคลัง(หน) รวมทั้งให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน (พระที่เสพเมถุน อวดคุณวิเศษ ใส่ Ray-Ban หิ้วกระเป๋า Louis Vuitton) ผมจะขอเรียก "กานจี๋" ว่า "กำเกียด" และเรียกแบบเหน็บแนมว่า "สมีกำ"
ประวัติของกำเอียด
Dr.Rafe de Crespigny ผู้เชี่ยวชาญด้านเมืองจีนและเอเซีย ได้เขียนประวัติของกำเกียดไว้ในหนังสือชื่อว่า "A BIOGRAPHICAL DICTIONARY OF LATER HAN TO THE THREE KINGDOMS (23-220 AD)" ซึ่งเป็นสารานุกรมเล่มโตเกี่ยวกับประวัติบุคคลสำคัญของจีนสมัยฮั่นยุคหลังจนถึงยุคสามก๊ก แปลจากอังกฤษเป็นไทย ได้ดังนี้กำเกียด (Gan Ji , 干吉) หรือ อิเกียด (Yu Ji ,于吉) |
ในปี ค.ศ.200 กำเกียดมีอาชีพเป็นครูสอนศาสนา อยู่ในแคว้นยังจิ๋วทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี ซึ่งดินแดนแถบนั้นปกครองโดยขุนพลหนุ่มนามว่าซุนเซ็ก เนื่องจากผู้คนเคารพยกย่องกำเกียดมาก ซุนเซ็กจึงไม่พอใจ
มีเรื่องราวความโกรธของซุนเซ็กหลายเรื่อง เรื่องแรกคือ ระหว่างที่ซุนเซ็กกำลังให้โอวาทกับกองทหารอยู่ กำเกียดได้เดินทางผ่านมาพอดี เหล่าทหารของซุนเซ็กจึงหันไปให้ความสนใจแก่กำเกียดมากกว่า ส่วนเรื่องที่สองเล่าว่า กำเกียดอยู่ในกองทัพของซุนเซ็ก เขาเรียกฝนมาเพื่อช่วยให้เรือขนส่งเดินทางไปต่อได้ แต่ซุนเซ็กกลับไม่พอใจ เพราะเห็นเหล่าทหารชื่นชมกำเกียดมากกว่าตน ซุนเซ็กจึงสังหารกำเกียด
ลูกศิษย์ของกำเกียดอ้างว่า กำเกียดมิได้ถูกฆ่าตาย เพราะเขาเป็นอมตะ ในเรื่องเล่ายังกล่าวต่อว่า ต่อมาเมื่อซุนเซ็กได้รับบาดเจ็บ เขามองดูกระจกแล้วพบว่าใบหน้าของเขากลายเป็นหน้าของกำเอียด ซุนเซ็กจึงคลุ้มคลั่งสังเวชใจ จนพิษบาดแผลกำเริบและเสียชีวิตในที่สุด
ในวิชาคำสอนและพิธีกรรมของกำเกียดนั้น ประกอบด้วยการรักษาโรค ซึ่งคล้ายคลึงกับวิชาของเตียวก๊ก หัวหน้าโจรโพกผ้าเหลือง และเตียวเหลง จ้าวลัทธิทางภาคตะวันตก (ปู่ของเตียวฬ่อ ลัทธิห้าทะนานข้าวสาร) มีความเกี่ยวเนื่องกันมาตามตำราวิเศษ ชื่อ ไทแผงจิ้ง (Taiping Jing , 太平經)
ในประวัติของเซียงกาย (Xiang Kai) ขุนนางสมัยพระเจ้าฮวนเต้ ปี ค.ศ.166 (จากจดหมายเหตุโห้ฮั่นสู่ , Hou Han Shu , History of the Later Han) ได้กล่าวว่าตำราวิเศษเล่มนี้ ลูกศิษย์ของกำเกียดชื่อว่า กงฉง (Gong Chong) เคยนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระเจ้าชุนเต้ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าเซียงกายก็อยู่ในเหตุการณ์นั้นด้วย โดยในชีวประวัติของเซียงกาย เขียนไว้ว่าตำรานี้ชื่อ ไทแผงชิงเหลงสู่/เต้า (Taiping qingling shu/dao , 太平清领书/道 ) แปลว่า "หนทางสู่ความสงบสุข , หัวเขียว" มีเนื้อหารวม 170 บท เขียนบทผืนผ้าไหมสีเขียวอ่อน ขอบสีแดงชาด หัวเรื่องเขียนด้วยสีเขียวเข้ม ชื่อเรื่องเขียนด้วยสีแดงชาด อันสีเขียวและสีแดงชาดเป็นสีของความศักดิ์สิทธิ์
กำเอียด และกงฉง เป็นผู้ค้นพบตำราเล่มนี้ที่น้ำพุกู่หยัง (Quyang) เมืองแห้ฝือ เนื้อหาเกี่ยวกับสรวงสวรรค์ หยิน-หยาง ธาตุทั้งห้า และพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ ทางราชสำนักจึงไม่ยอมรับตำราเล่มนี้ โดยเซียงกายได้ลงความเห็นว่าเป็นตำราที่ไร้ประโยชน์ ต่อมาภายหลังตำราเล่มนี้จึงตกไปอยู่ในมือของเตียวก๊ก
ความเป็น "สมี"
อิเกียดกับซุนเซ็ก จากสามก๊ก1994 โปรดสังเกตความอลังการของขบวนแห่ว่าต่างกันขนาดไหน |
กระนั้นการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงเช่นนี้ ก็ต้องตามตำราและเข้าข้ายของการเป็น "สมี" ทั้งสิ้น
ในวรรณกรรมสามก๊ก ซุนเซ็กสังหารกำเกียดก็เพราะเห็นว่า กำเกียดมีวิชาและแนวทางการประพฤติตนไม่ต่างจากเตียวก๊ก อาศัยคุณวิเศษ สร้างความเคารพศรัทธา และแสวงหาอำนาจใส่ตัว ขืนปล่อยไว้เหตุการณ์จะซ้ำรอยเมื่อครั้งโจรโพกผ้าเหลือง ซุนเซ็กไม่ยอมรับว่ากำเกียดเป็นนักบวชผู้ทรงศีล แต่เป็นแค่สมีธรรมดา
อิเกียดจากสามก๊ก 1994 ไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์ใด ๆ และตายในดาบเดียว |
"สมีกำ" จบชีวิตไปนานแล้ว แต่เขายังอยู่ยงคงกระพัน ไม่ตายหายไปไหน ลัทธิเต๋าสายสมีกำ ปัจจุบันในแผ่นดินจีนก็ยังคงมีผู้สืบทอดนับถือกันเรื่อยมาถึงทุกวันนี้ ส่วนแนวทางของการเป็น "สมี" ก็ยังมีคนใช้หากิน มีคนเชื่อ หลงศรัทธางมงายไม่ขาด
จะคนในสมัยสามก๊ก หรือคนในยุคดิจิตอล "สมี" ก็ยังหลอกคนได้ หลอกคนดี ... ทุกวันนี้ยังล่องหน หาไม่ยักเจอ ...
สามก๊ก1994 ตอน ซุนเซ็กสิ้นชีพ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
ภาพกำเกียดเสกน้ำมนต์ จากการ์ดเกมของจีน |
ทั้งชื่อทั้งนามสกุลทำให้จำสับสนกับ อิกิ๋ม (Yu Jin)
ตอบลบโห..ผมผ่านบทความนี้มาได้ไงเนี่ย
ตอบลบขอบคุณ บล็อค สามก๊กมากครับ
ได้ความรู้สุดยอดเลย