เกมสามก๊กของค่าย Tecmo Koei มีความพิเศษและน่าสนใจตรงที่มักจะสอดแทรกเกร็ดความรู้เรื่องสามก๊กอยู่เสมอ ๆ ซึ่งล่าสุดในเกม Dynasty Warriors 8 Xtreme Legends (Shin Sangokumusou 7 Mushouden) ได้มีการเพิ่มตัวละครใหม่สองตัวคือ ตันก๋งและจูเหียน
สำหรับตันก๋งนั้น เชื่อว่าคนอ่านสามก๊กคงรู้จักกันดีเพราะมีบทบาทอยู่มากในตอนต้นเรื่อง แต่กับจูเหียนนั้น ได้ยินชื่อแล้วแทบจะนึกผลงานและเกียรติประวัติเขาไม่ออกเลย นั่นจึงเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ ที่ค่ายเกม Tecmo Koei ผู้สร้างเกมสามก๊กมายาวนานกว่า 30 ปี ให้ความสำคัญกับตัวละครตัวนี้
เกมสามก๊กของค่าย Tecmo Koei มีความพิเศษและน่าสนใจตรงที่มักจะสอดแทรกเกร็ดความรู้เรื่องสามก๊กอยู่เสมอ ๆ ซึ่งล่าสุดในเกม Dynasty Warriors 8 Xtreme Legends (Shin Sangokumusou 7 Mushouden) ได้มีการเพิ่มตัวละครใหม่สองตัวคือ ตันก๋งและจูเหียน
สำหรับตันก๋งนั้น เชื่อว่าคนอ่านสามก๊กคงรู้จักกันดีเพราะมีบทบาทอยู่มากในตอนต้นเรื่อง แต่กับจูเหียนนั้น ได้ยินชื่อแล้วแทบจะนึกผลงานและเกียรติประวัติเขาไม่ออกเลย นั่นจึงเป็นเรื่องน่าประหลาดใจ ที่ค่ายเกม Tecmo Koei ผู้สร้างเกมสามก๊กมายาวนานกว่า 30 ปี ให้ความสำคัญกับตัวละครตัวนี้
จูเหียน จากเกม Dynasty Warriors 8 Xtreme Legend |
ทั้งนี้ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1984 ได้มีการขุดค้นพบหลุมฝังศพของจูเหียน ที่เมืองหมานซาน มณฑลอานฮุย และพบว่าเป็นสุสานโบราณขนาดใหญ่พร้อมของมีค่าอีกหลายร้อยชิ้น ทั้งหมดอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ทางการจีนจึงตั้งให้เป็นสถานที่สำคัญ เป็นหลักฐานที่แสดงถึงความสำคัญของจูเหียนได้เป็นอย่างดี
ทั้งนี้จะขอยกตัวอย่างประวัติของของจูเหียนเชิงวรรณกรรมจากหนังสือพิชัยสงครามสามก๊กของคุณสังข์ พัธโนทัย และสามก๊กฉบับประวัติศาสตร์ของตันซิ่ว มาเปรียบเทียบให้เห็นเป็นเช่นไร เพื่อโปรดพิจารณา
สุสานจูเหียน อยู่ในสภาพสมบูรณ์มาก |
ประวัติของจูเหียน จากหนังสือพิชัยสงครามสามก๊ก
จูเหียน (จูหวัน , 朱然 , Chu Jan) เดิมเป็นคนในสกุลซือ เป็นบุตรของพี่สาวจูตี (จูจื้อ) มีชื่อรองว่า อี้ฟง ร่างสูงประมาณ 7 ฟุต รู้ฤกษ์บนฤกษ์ล่างลมฟ้าอากาศเป็นอย่างดี มีความเฉลียวฉลาดรอบรู้ในการพิชัยสงคราม ใจคอหนักแน่น กล้าหาญเป็นเพื่อนนักเรียนกับซุนกวน เมื่อซุนกวนเป็นใหญ่ในกังตั๋ง จึงเชิญจูเหียนมารับราชการ ตั้งให้เป็นเจ้าอุยเจียงจวิน (นายพลผู้ทรงพลานุภาพ) และให้มีบรรดาศักดิ์เป็นโหว (พระยา)
เมื่อซุนกวนให้ซุนหวนไปตีพระเจ้าเล่าปี่ที่ปลายแดนเมืองงิเต๋า(อี๊ตู) ได้ตั้งให้จูเหียนเป็นอิ้วตูตุ๊ (สามก๊กไทยแปลว่า แม่ทัพเรือ) มีฐานะเป็นรองแม่ทัพ แต่การรบครั้งนั้นเพลี่ยงพล้ำแก่พระเจ้าเล่าปี่
ชีวิตบั้นปลาย ได้ดำรงตำแหน่งจ่อต้าซี่อหม่า สมุหกลาโหมฝ่ายซ้าย กับเป็นอิ้วจวินซือ เสนาธิการทหารฝ่ายขวา
ตายในที่รบ โดยถูกจูล่งแทงด้วยทวนขณะไล่ติดตามพระเจ้าเล่าปี่ จึงแตกทัพลกซุน
อนุสาวรีย์จูเหียน |
ประวัติของจูเหียน ตามประวัติศาสตร์
<<ประวัติของจูเหียนจากบันทึกของตันซิ่ว "สามก๊กจี่">>จูเหียน (Zhu Ran) มีชื่อรองว่า อี้ฟง (Yifeng) จูเหียนเป็นลูกของพี่สาวจูตีซึ่งเดิมมีชื่อว่า ซือเหียน (Shi Ran) แต่เนื่องจากจูตี (Zhu Zhi) ไม่มีบุตร จึงรับเอามาเป็นบุตรบุญธรรมในสกุลจู ตั้งแต่อายุ 13 ปี จูเหียนเป็นเพื่อนร่วมชั้นเรียนของซุนกวน และเป็นเพื่อนที่สนิทกันมาก ต่อมาเมื่อซุนกวนครองอำนาจต่อ จูเหียนซึ่งขณะนั้นมีอายุได้ 19 ปี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองตันเอี๋ยง (Dan Yang) เพราะซุนกวนชื่นชอบในความรู้ความสามารถของเขา ซึ่งในเวลาต่อมาจูเหียนได้นำกำลังทหาร 2,000 นายไปปราบโจรผู้เขา ได้ราบคาบในระยะเวลาเพียง 1 เดือน
เมื่อครั้งโจโฉยกพลมาที่ปากน้ำยี่สู (Ruxu) จูเหียนทราบข่าวจึงรีบก่อสร้างค่ายป้องกันไว้ได้ก่อนที่โจโฉจะยกมาถึง เขาจึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นแม่ทัพแห่งเปียน (General of Pian) ต่อมาในปี ค.ศ.219 เขาได้เข้าร่วมศึกตีเมืองเกงจิ๋วกับลิบอง และจูเหียนจับกุมตัวกวนอูได้ที่เขาเจาสัน (Linju)
ครั้นเมื่อลิบองป่วยหนักใกล้ตาย ซุนกวนได้ถามลิบองว่า "ใครเหมาะสมที่จะรับตำแหน่งสืบจากท่าน ?" ลิบองตอบว่า "จูเหียนเหมาะสม" หลังลิบองเสียชีวิต ซุนกวนจึงตั้งให้จูเหียนเป็นเจ้าเมืองกังเหลง (Jiangling)
ในปี ค.ศ.222 เล่าปี่ยกทัพมาตีง่อก๊กแก้แค้นให้กวนอู จูเหียนร่วมรบภายใต้การบังคับบัญชาของลกซุน เขาทำทหาร 5,000 นายบุกโจมตีทัพหน้าของเล่าปี่จนแตกพ่าย จูเหียนไล่ตามตีและตัดเส้นทางลำเลียงเสบียงของเล่าปี่ ทำให้ได้รับการแต่งตั้งเป็น เจ้าพระยาหยงอัน (Marquis of Yong'an) แม่ทัพแห่งเชงเป่ย (General of Zhengbei)
ในปี ค.ศ.223 พระเจ้าโจผีได้ส่ง โจจิ๋น แฮหัวซงและเตียวคับ มาโจมตีเมืองกังเหลง ครั้นนี้สถานการณ์ไม่สู้ดีนัก เพราะซุนกวนส่ง ซุนเซ่ง (Sun Sheng) พัวเจี้ยง และ หยางหยู่ (Yang Yue) มาช่วยแต่ก็ไร้ผล ทหารในเมืองกังเหลงต้องการยอมแพ้และเข้าสวามิภักดิ์ต่อวุยก๊ก จูเหียนจึงเข้าแก้ไขสถานการณ์โดยสังหาร เหยาท่าย (Yao Tai) นายทหารแกนนำที่คิดแปรพักตร์ และฟื้นฟูขวัญกำลังใจของทหารภายในเมือง จูเหียนสามารถป้องกันเมืองไว้ได้นานถึง 6 เดือน จนฝ่ายวุยเสบียงอาหารหมดต้องยกทัพกลับไป ชื่อเสียงของจูเหียนจึงขจรขจายไปถึงแดนวุยก๊ก
ปี ค.ศ.229 ซุนกวนตั้งตนขึ้นเป็นฮ่องเต้ จูเหียนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นแม่ทัพแห่งเปียวจื่อ (General of Piaoji) วุยก๊กได้ส่ง เภาต๋ง (Pu Zhong) และเฮาจิด (Hu Zhi) นำทหารหลายพันนายเข้าโจมตีจูเหียน แม้ในขณะนั้นจูเหียนจะมีกำลังพลในค่ายเพียง 800 นาย แต่ก็สามารถขับไล่ผู้รุกรานออกไปได้
เมื่อลกซุนตาย จูเหียนได้เลื่อนเป็นแม่ทัพใหญ่ มีหน้าที่วางแผนยุทธศาสตร์ทางการเมือง และดูแลราชสำนักอยู่หลายปีร่วมกับจูกัดเก็ก บุตรของจูกัดกิ๋น และโปเสีย (Bu Xia) บุตรของโปเจ๋า (Bu Zhi) ในปีสุดท้าย จูเหียนล้มป่วยลงกระทันหัน ซุนกวนวิตกกังวลถึงขั้นกินไม่ได้นอนไม่หลับ เมื่อจูเหียนตาย ว่ากันว่าพิธีศพของเขา เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสาม รองจากงานศพของลิบองและเล่งทอง
จูเหียน จากเกมสามก๊ก12 หน้าตาคนละอารมณ์กับเกม DW8 เลย |
สรุป
ดูจากบันทึกทางประวัติศาสตร์ของตันซิ่วแล้ว ภาพลักษณ์ของจูเหียนนั้นไม่ธรรมดาเลย เป็นทั้งเพื่อนสนิทของพระเจ้าซุนกวน ผลงานและเกียรติประวัติก็อยู่ในอันดับต้น ๆ ของฝ่ายง่อก๊ก แต่เมื่อหลอกว้านจงนำมาเขียนเป็นนิทาน จูเหียนก็ถูกปลายปากกาของเขาแก้ไขประวัติ กลายเป็นเพียงทหารดาษดื่นธรรมดา ที่ต้องจบชีวิตด้วยฝีมือจูล่งในเพลงทวนเดียวดู ๆ ไปแล้ว อาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างมนุษย์ด้วยกันเองมากที่สุดนั้น ไม่ใช่ไกลอื่น "ปลายปากกา" ... แค่นี้เอง
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
- Zhu Ran - Wikipedia, the free encyclopedia
- Zhu Ran (Yifeng) - Sanguozhi (Records of the Three Kingdoms) Biography
จานกระเบื้องเคลือบในสุสานจูเหียน แสดงภาพสังคมขุนนางในยุคสามก๊ก มีการต้อนรับแขก ความรักสวยรักงามของสตรี การเล่นหมากรุก ฝึกนกพิราบ และเด็ก ๆ เล่นเป็นทหารฝึกขี่ม้า |
เพลียจริงๆ เห็นใจเฮียหลอ ยังไม่วายโดนแขวะ เขาอุตส่า แต่ง นิยาย สามก๊ก จนเป็นที่โด่งดังไปทั่วโลก สร้างงานสร้างเงินให้กับใครหลายคนทั้งไทยและเทศ ถ้าไม่มีเขาผู้นี้ เราอาจไม่มีบอร์ดนี้ก็เป็นได้ ใครที่หากินกับสามก๊กทั้งทางตรงทางอ้อมคงน่าจะยกย่องกันนิดหนึ่งนะครับ อย่าให้เหมือน ท่าน เล่า ชวน หัว(แตก) เลย หากินกับเขาแล้วยัง ดูถูก ดูแคลนเขาอีก จริงๆน่าจะยกย่องเข้าด้วยซ้ำไปนะครับ ฝากไว้
ตอบลบไม่เห็นดูถูกตรงไหนนะครับ เพียงแต่ขยายความพาดพิงเท่านั้นเองนี้นา
ลบผมหมายถึงท่าน เล่า ชวนหัว ครับ ไม่ได้หมายถึงท่าน สามก๊กวิทยา เพียงแต่ว่าท่านสามก๊กวิทยาแขวะนิดหน่อยเท่านั้นเอง
ลบสำหรับท่าน เล่าชวนหัวนั้น แก เกินบรรยายจริงๆท่านลองหาติดตามได้ แต่ไม่แน่ ท่านอาจชอบแนวแกก้เป็นได้
นานาจิตตังก็ว่ากันไป แล้วแต่ใครจะชอบหรือมองมุมไหนครับ
ขยายความอีกนิด รู้สึกไม่สบายใจตรงที่ ใช้คำว่า นิทานครับ สำหรับ คอสามก๊ก อย่างผม ตรงนี้ค่อนข้างรับไม่ได้ก็แค่นั้น ผมว่า สามก๊กนั้นเป็นอะไรที่มากกว่านิทานนะ ใช้คำว่า ตำนานยังพอรับได้ แต่ นิทาน มันค่อนข้างจะเกินไปจริงๆ เหมือนไม่ให้เกียรติกันเลย
ลบจริงๆแล้ว ปวส ที่อ้างถึงสามก๊กนั้น ก็เชื่อถือไม่ได้มากเท่าไรหรอกเพราะมันมีจุดที่น่าสงสัยอยู่เยอะ ทั้งตัวผู้เขียนเองและสถาณการณ์ในตอนนั้น
ขอบพระคุณทั้งสองท่านครับ
ลบผมไม่เคยคิดดูแคลนครูสามก๊กท่านใดเลย เพียงแต่ต้องการขยายให้เห็นมุมมองของสามก๊กทั้งสองด้าน
คือประวัติศาสตร์ของตันซิ่ว กับวรรณกรรมของหลอกว้านจง
หลอกว้านจงเขียนสามก๊กโดยตัดรายละเอียดของฝ่ายง่อออกไปเยอะมาก ขุนพลหลาย ๆ คนจึงถูกลืม และดัดแปลงประวัติเหมือนจูเหียน
ผมเขียนบล๊อคนี้ หลัก ๆ เพื่อเทิดทูนครูสองท่าน คือท่านเจ้าพระยาพระคลัง(หน) และหลอกว้านจง (ตามคำอุทิศด้านล่างสุดของบล๊อค)
แต่ก็ต้องขอบคุณท่านบัญชาอีกครั้ง ที่แสดงความเห็นให้เราได้มีโอกาสปรับความเข้าใจกัน
จูเหียนต้องคมปากกาหลอกว้านจง แต่คุณบัญชาโดนเหลี่ยมคีย์บอร์ดผมเต็ม ๆ เลย :) ... (ขำ ๆ ครับ เรารักสามก๊กเหมือนกัน)
5555 ไม่ว่าจะเฮียหลอ กว้านจง หรือเล่าชวนหัว ก็หากินกับแนวสามก๊กทั้งนั้นละครับ สามก๊ก มุมมองหลอกว้านจงก็ได้แนวคิดอีกแบบ เล่าชวนหัวก็ได้แนวคิดอีกแบบ แต่แกวิเคราะห์สามก๊กฉบับอื่นแล้วเปรียบเทียบกับของหลอกว้านจงแรงๆ ส่วนผมมองของหล่อกว้านจงเป็นวรรณกรรมครับ แต่มองในมุมนิทานก็น่าคิดเพราะหลอกว้านจงเแอบแต่งเองก็เยอะอยู่
ลบแต่มองมุมไหนก็สนุกในสามก๊กเหมือนกันได้ความคิดดี
ลบจบแบบได้คิดตามอีกแล้ว
ตอบลบถามเรื่องแฮหัวซงครับ ใช่คนเดียวกับที่โดนฮองตงฆ่าในนวนิยายตอนศึกฮั่นจงมั้ยครับ
ตอบลบคนละคนกันครับ คนที่ถูกฮองตงฆ่าคือแฮหัวเอี๋ยน
ลบส่วนแฮหัวชงมีศักดิ์เป็นหลานแฮหัวเอี๋ยน คาดว่าคน ๆ นี้เป็นผู้กุมความลับเรื่องหลุมฝังศพโจโฉ เพราะเขาได้รับมอบหมายให้เป็นผู้คุ้มกันศพโจโฉจากเมืองลกเอี๋ยง ไปยังเมืองเงียบกุ๋นครับ
อ่อ แต่ที่จำได้ในนิยายมีแม่ทัพสำคัญของโจโฉตายในศึกฮั่นจงพอสมควรนะครับ
ลบ1. แฮหัวเต๊ก พี่แฮหัวซง ถูกเงียมหงันฆ่าตาย
2. ฮันโฮ ถูกฮองตงฆ่า
3. แฮหัวซง ถูกจับเป็นเชลย ละถูกฮองตงยิงสอยในตอนหลัง
4. แฮหัวเอี๋ยน รู้กันแล้ว ตายอย่างน่าเสียดาย ไม่สมกับเป็นเค้าเลย
เท่าที่รู้ก็มีเท่านี้แหละครับตามนิยาย พออ่านชื่อแฮหัวซงเจอในประวัติจูเหียนเลยสงสัยขึ้นมาครับ
ผมเข้าใจแล้วครับ เป็นเพราะสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)แปลผิดนี่เอง
ลบแฮหัวซงในหนังสือสามก๊กภาษาไทย ถูกฮองตงยิงตอนปล่อยตัวแล้วตกม้าตาย
แต่ในหนังสือต้นฉบับเขาไม่ตาย ยังฝืนม้าวิ่งต่อไปได้ ซึ่งในฉบับภาษาอังกฤษกล่าวว่า "The wounded man did not fall, but went on."
เป็นการแปลผิดจริง ๆ เพราะในตอนที่กวนอูเสียเมืองเกงจิ๋ว ก็ยังมีชื่อแฮหัวซงอยู่รักษาเมืองเมืองซงหยง
ขอบพระคุณมากครับ ช่างสังเกตจริง ๆ
แต่ฮันโฮนี่น่าสงสารนะฮะ ฉบับประวัติศาสตร์นี่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร (ถุนเถียน)แท้ๆ โดนคุณหลอเขียนให้ไปเป็นไอ้โง่ให้ฮองตงเชือด T_T
ลบขอบคุณครับ
ตอบลบตามประวัติศาสตร์แฮหัวซงแก่ตายนี่ครับ (เคยอ่านในวิกิภาษาอังกฤษ)
ตอบลบลูกชายคือ แฮเฮาเทียน ถูกประหารไปตอนที่สุมาสูถอดพระเจ้าโจฮอง ส่วนลูกสาว คือ แฮหัวหลิน (แปลถูกหรือเปล่าไม่แน่ใจ) เป็นภรรยาของสุมาสู พอสุมาสูมีปัญหากับแฮเฮาเทียน ก็ถูกสามีขังจนตายครับ
แต่ผมอยากรู้จริงๆว่า ในปัจจุบันนี้ ยังมีคนแซ่แฮหัวสืบสกุลอยู่หรือเปล่า เพราะเซิร์จในกูเกิ้ลแล้วไม่มีเลย
เท่าที่รู้ๆ ในสมัยราชวงศ์จิ้น ก็ยังพอมีขุนนางแซ่นี้อยู่นะ
----------------------------
เข้าเรื่องจูเหียนดีกว่า (ตอนเล่นเกมชอบอ่านเป็นจูหลัน) ผมอยากทราบว่า จูเหียนเป็นพ่อของจูอี้ ขุนพลของง่อก๊กที่เคยยกขึ้นไปช่วยจูกัดเอี๋ยนก่อกบฏรึเปล่าครับ
- แฮหัวซง มีภรรยาเป็นน้องสาวของโจจิ๋น แต่เขาโปรดปรานนางสนมมากกว่าและเกิดเรื่องหึงหวงกัน พระเจ้าโจผีจึงสั่งประหารนางสนมคนนั้นด้วยการแขวนคอเป็นการตัดปัญหาและรักษาหน้าคนสกุลโจ แฮหัวซงจึงเสียใจมากและป่วยตายในปี ค.ศ.225
ตอบลบ- แซ่แฮหัว ในปัจจุบันคงมีใช้อยู่บ้าง ในแถบปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และไต้หวันครับ
- จูอี้ (Zhu Yi) เป็นลูกจูหวน (Zhu Huan) ส่วนลูกของจูเหียน ชื่อว่าจูจี่ (Zhu Ji) คนนี้ไม่มีในวรรณกรรมครับ
ในปี ค.ศ.223 พระเจ้าโจผีได้ส่ง โจจิ๋น แฮหัวซงและเตียวคับ มาโจมตีเมืองกังเหลง ครั้นนี้สถานการณ์ไม่สู้ดีนัก เพราะซุนกวนส่ง ซุนเซ่ง (Sun Sheng) พัวเจี้ยง และ หยางหยู่ (Yang Yue) มาช่วยแต่ก็ไร้ผล
ตอบลบพัวเจี้ยงนี่เหมือนเคยได้ยินว่าที่ถูกกวนหินปาดคอนั้นมีเฉพาะฉบับหลอกว้านจงแล้วก็ใช่ด้วยแฮะ แต่ไม่แน่ใจว่าประวัติศาสตร์นี่แกเป็นยังไง เพราะดูแล้วน่าจะเป็นแม่ทัพคนสำคัญของง่อก๊กอีกคนนึงทีเดียว ฝากคุณสามก๊กวิทยาเล่าให้ฟังด้วยจ้ะ :)
ยินดีอย่างยิ่งครับ เรื่องของพัวเจี้ยงมีประเด็นน่าสนใจอยู่ ขอเวลาแต่งสักสัปดาห์นะครับ
ลบ