ในเรื่อง "สามก๊ก" ของเราเองก็มีสุภาพบุรุษมากมายหลายท่าน บางท่านสุภาพเรียบร้อย บางท่านอ่อนน้อมถ่อมตน บางท่านปกครองอย่างเที่ยงธรรม บางท่านกล้าหาญชาญชัย เรียกได้ว่าในเรื่องสามก๊ก มีสุภาพบุรุษมากมายให้เราศึกษาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ก็เพื่อให้เข้ากับคอนเซ็ปต์ "สุภาพบุรุษจุฑาเทพ" ผมจึงขอคัดเลือกสุภาพบุรุษจาดเรื่องสามก๊กมา 5 คน ตามเหตุและผลดังต่อไปนี้
"สุภาพบุรุษจุฑาเทพ" เป็นนวนิยายรักแนวพีเรียดที่กล่าวถึง พี่น้อง 5 คนของราชสกุล
"จุฑาเทพ" และสร้างเป็นละครในโอกาสครบรอบ 42 ปีของสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 นิยายชุดนี้ประกอบไปด้วยหนังสือ 5 เล่ม ประพันธ์โดย ณารา, ร่มแก้ว, เก้าแต้ม, ซ่อนกลิ่น และแพรณัฐ แยกกันเขียนชีวิตรักของพี่น้อง 5 คนคือ คุณชายธราธร, คุณชายปวรรุจ, คุณชายพุฒิภัทร, คุณชายรัชชานนท์, และคุณชายรณพีร์ ซึ่งแม้นิยายจะออกแนวเพ้อฝันห่างไกลความเป็นจริง แต่ก็ถูกอกถูกใจคอละครเป็นอย่างมาก เพราะมีนักแสดงหน้าตาดีทุกคนไม่ว่าจะเป็น พระเอก นางเอก นางร้าย หรือตัวประกอบ รวมทั้งเนื้อหาของละครที่ช่วยเติมเต็มความสุขให้กับผู้ชม ในยามที่สังคมวุ่นวาย
ในเรื่อง
"สามก๊ก" ของเราเองก็มีสุภาพบุรุษมากมายหลายท่าน บางท่านสุภาพเรียบร้อย บางท่านอ่อนน้อมถ่อมตน บางท่านปกครองอย่างเที่ยงธรรม บางท่านกล้าหาญชาญชัย เรียกได้ว่าในเรื่องสามก๊ก มีสุภาพบุรุษมากมายให้เราศึกษาเป็นเยี่ยงอย่าง แต่ก็เพื่อให้เข้ากับคอนเซ็ปต์
"สุภาพบุรุษจุฑาเทพ" ผมจึงขอคัดเลือกสุภาพบุรุษจากเรื่องสามก๊กมา 5 คน ตามเหตุและผลดังต่อไปนี้
|
จิวยี่ |
1. จิวยี่ -
“เทพยดาองค์ใดหนอซึ่งให้เราเกิดมาแล้ว เหตุใดจึงให้ขงเบ้งเกิดมาด้วยเล่า” เป็นคำกล่าวด้วยความคับแค้นและน้อยอกน้อยใจก่อนตายของจิวยี่ตามบทละครในวรรณกรรมที่สร้างให้จิวยี่กลายเป็นตัวร้าย ขี้อิจฉา เพียงเพื่อต้องการยกระดับจูกัดเหลียงขงเบ้งให้ดูดี แต่กับจิวยี่ตัวจริงในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ฉบับต่าง ๆ ล้วนยกย่องให้จิวยี่เป็นสุดยอดสุภาพบุรุษแห่งแผ่นดินแดนใต้ โดยมีการเรียกชื่อของจิวยี่ว่า
"จิวหลาง" (โจวหลาง) แปลว่า
"สุภาพบุรุษแซ่จิว" เพราะจิวยี่นั้นรูปหล่อ มีชาติตระกูล ถึงพร้อมด้วยสติปัญญา ภรรยาก็สวยสด สงสัยว่าหลอกวนตงหมั่นไส้ คนอะไรสมบูรณ์แบบ จึงต้องละเลงปากกาให้จิวยี่กลายเป็นตัวร้ายไปเลย
|
จูล่ง |
2. จูล่ง -
"สุภาพบุรุษแห่งเสียงสาน" เป็นสมญานามที่บรมครูยาขอบให้ไว้ในสามก๊กฉบับวณิพก
เตียวจูล่งหยุน ผู้นี้เป็นขวัญใจนักอ่านสามก๊กมาทุกยุคทุกสมัย หนังสือสามก๊กไม่ว่าจะฉบับใด ล้วนยอมรับในความเป็นสุภาพบุรุษของจูล่งทุกเล่ม คุณสมบัติของจูล่งนั้น เชื่อว่าคงไม่ต้องบรรยายให้ยางรองคีย์บอร์ดของผมสึก เพราะเชื่อว่าทุกท่านคงทราบดีกันอยู่แล้ว
|
เตียวเลี้ยว |
3. เตียวเลี้ยว -
"เตียวเลี้ยวไล้เหลี่ยว เตียวเลี้ยวมาแล้ว" ชื่อนี้เด็กได้ยินยังหยุดร้องไห้ เตียวเลี้ยวเป็นยอดขุนพลของวุยก๊กที่ผมมองว่ามีความเป็นสุภาพบุรุษมากที่สุด ทั้งฝีมือการรบ หรือคุณธรรมเตียวเลี้ยวไม่เป็นรองใคร นี่ถ้าเตียวเลี้ยวรูปงามและหน้าตาดีระดับพระเอก ผมคงเปรียบเขาว่าเป็นจูล่งของฝั่งวุยไปเลย ความเป็นสุภาพบุรุษของเตียวเลี้ยวที่ประทับใจผมมากที่สุดคือตอนที่เขาพบกับกวนอู ตอนนั้นเตียวเลี้ยวเป็นทหารเอกของลิโป้ยกทัพมาตีเมืองเสียวพ่ายของเล่าปี่ ตอนนั้นกวนอูอยู่บนกำแพงเมืองเมื่อเห็นเตียวเลี้ยวยกทัพมา กวนอูจึงพูดขึ้นว่า
"ตัวท่านมีสีสันบริบูรณ์ เราเห็นว่าจะมีสติปัญญาและความละอาย เป็นไฉนมาอยู่ในเงื้อมมือลิโป้ซึ่งเป็นคนหยาบช้านั้นเราเห็นไม่สมควร" เตียวเลี้ยวได้ยินดังนั้นจึงละอายใจและไม่ได้บุกเข้าตีเมืองด้านที่กวนอูเฝ้า นี่เป็นเหตุการณ์ที่สมควรยกย่องว่าเตียวเลี้ยวเป็นสุภาพบุรุษเพราะเขารู้ดีว่าลิโป้นั้นไร้ความชอบธรรมและเหตุผลที่จะมาตีเมืองของเล่าปี่ นอกเหนือจากเหตุการนี้ก็มีการเกลี้ยกล่อมกวนอูให้รับราชการกับโจโฉ รวมทั้งการที่เขารับราชการกับโจโฉอย่างเข้มแข็ง จริงใจทุก ๆ ครั้ง
|
เอียวเก๋า |
|
ลกข้อง |
4. และ 5. เอียวเก๋า กับ ลกข้อง ขุนพลสองท่านนี้ อาจจะมีคนรู้จักน้อย เพราะอยู่ตอนท้ายเรื่อง และในหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน)กล่าวถึงไว้เพียงสั้น ๆ เอียวเก๋าอยู่ฝ่ายวุยก๊ก ส่วนลกข้องเป็นบุตรลกซุนอยู่ฝ่ายง่อก๊ก ทั้งสองคนเป็นแม่ทัพรักษาดินแดนที่ตั้งทัพเผชิญหน้ากัน แต่ปรากฎว่าทั้งคู่กลับมีมิตรภาพอันดีต่อกัน เพราะยอมรับนับถือที่ต่างคนต่างปกครองทหารและราษฎรด้วยความเมตตาธรรม ทั้งเอียวเก๋าและลกข้องจึงไม่มีเหตุผลอะไรที่จะต้องยกทัพไปฆ่าแกงกันให้ราษฎรเดือดร้อน ความเป็นสุภาพบุรุษของทั้ง 2 ท่านนี้ ใครสนใจต้องหาจากสามก๊กฉบับสมบูรณ์เท่านั้น
|
"สุภาพบุรุษจุฑาเทพ" ดังเพราะสังคมไทยกำลังเรียกร้องหา "สุภาพบุรุษ" |
"สามก๊ก" มีสุภาพบุรุษมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกมองตัวละครนั้น ๆ ในแบบไหน อย่างไร ไม่อาจสรุปได้ว่ามีสุภาพบุรุษเพียง 5 ท่านตามที่ได้กล่าวมานี้เท่านั้น เพราะนี่เป็นเพียงมุมมองส่วนตัวของผมเท่านั้น อีกทั้งความเป็นสุภาพบุรุษ มันเป็นคำนิยามที่ไม่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไปตามทัศนคติและค่านิยมของสังคม ณ เวลานั้น ๆ
ในสังคมไทยเราปัจจุบันนี้ เต็มไปด้วยปัญหาทุกภาคส่วน ทั้งทุจริต คดโกง ก้าวร้าว หยาบกระด้าง และหลอกลวง หากสังเกตจากความนิยมในละครเรื่อง
"สุภาพบุรุษจุฑาเทพ" แล้ว ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ได้ดีว่า สิ่งที่สังคมไทยกำลังแสวงหานั้น หาใช่ความร่ำรวย อำนาจ วาสนา หรือบารมี แต่กลับเป็นความเป็น
"สุภาพบุรุษ" นี่เอง
“...ทั่วโลกมีความเดือดร้อนมาก คือความไม่สามัคคี ความแก่งแย่งกัน ความไม่เป็นผู้ที่เป็นสุภาพบุรุษนั้นอย่างมาก ซึ่งจะนำโลกไปสู่หายนะ ฉะนั้น ต้องส่งเสริมและต้องฝึกฝนตนเองให้มีความแข็งแกร่งทั้งทางกายและจิตใจให้ดี และแสดงออกมาให้เห็นว่า ความดีคือความเป็นสุภาพชนและเป็นคนที่มีความกล้าหาญที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง...”
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ครู นักเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในโอกาสที่ได้เข้าเฝ้า ฯ กราบถวายบังคม
ลาไปแข่งขันรักบี้ฟุตบอลที่ประเทศมาเลเซีย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม 2518
1. จิวยี่ ไม่เห็นด้วย ว่าจะเป็นสุภาพบุรุษตรงไหน วางแผนจะฆ่าขงเบ้งอยู่ตลอดเวลา ตัดปัญหาแค่ตรงหน้าแต่สร้างปัญหาระยะยาว
ตอบลบ2. จูล่ง ยอมรับโดยดีไม่มีข้อโต้แย้ง ประทับใจในตอนที่ขงเบ้งถอยทัพและให้จูล่งคุมท้ายทัพ
3. เตียวเลี้ยว ในด้านการรบ ไม่กังขาสักกะข้อละ แต่ถ้าจะยอมยกเตียวเลี้ยวเป็นสุภาพบุรุษ โยนให้ลุงหน้าแดง มิดีกว่ารึ วีรเวรวีรกรรมครั้งฮองตงครั้งนึง ที่เหลือนึกไม่ออก
4. และ 5. มิตรภาพกลางสนามรบ ผู้ที่เห็น การให้เกีรยติ เป็นเรื่องงดงามเนี่ยแหละ สุภาพบุรุษของแท้เรย
ป.ล. นี่ก็เป็นความเห็นส่วนบุคคล ถูกผิดอย่างไรขออภัยครับ ^ ^"
ขอบพระคุณครับ เป็นความคิดเห็นที่ดีมาก
ลบ- จิวยี่ในวรรณกรรมคือตัวอิจฉาแต่ในประวัติศาสตร์นี่เขาระดับพระเอกของก๊กง่อเลย
- ส่วนเตียวเลี้ยวเขาเป็นขุนพลฝ่ายวุยที่ผมมองว่าเข้าข่ายที่สุดแล้วเพราะแสดงอะไรแมน ๆ เยอะครับ และแทบไม่มีตำหนิเรื่องความหยาบเลย ถ้าหากเทียบกับลุงหน้าแดงแล้ว ลุงแกสุภาพกับผู้น้อย แต่แข็งกร้าวกับผู้ใหญ่ เย่อหยิ่งกับศัตรู
- เอียวเก๋า ลกข้อง ... ถ้าปัญหาชายแดนภาคใต้ที่อ้างว่าเจรจาตกลงกันแล้วเป็นได้แบบนี้ ก็จะประเสริฐมากครับ
ปล. ความเห็นส่วนบุคคลไม่มีผิดถูกครับ แสดงได้เต็มที่เลย ไม่ต้องเกรงใจ
กดไลค์... ตงไหนว่า 5555
ลบต้องขออภัยด้วยครับ เพราะยังไม่มีโอกาสได้ศึกษา สามก๊ก ฉ. ปวศ. เลย ยังคงติดแบบวรรณกรรม ทำให้การวิเคาระห์เป็นไปในแนวทางที่อีตาหลอแกชักจูง
ป.ล. ใต้เรานี่ เข้าข่าย ฌ้อปาอ๋อง กับหันซิ่นมากกว่านะ อุ อิ
จริง ๆ อย่าไปยึดติดเลยครับ จะประวัติศาสตร์หรือวรรณกรรม มันเชื่อเชื่อถือไม่ได้ทั้งหมด
ลบเฉินโซว่ คนเขียนประวัติศาสตร์สามก๊ก ไม่เป็นกลางนักเพราะเป็นข้าฯในราชสำนักฝ่ายจิ้นของแซ่สุมา เขียนเชลียฝ่ายวุย ยกยอโจโฉ สุมาอี้ เป็นเอกสารราชการที่มีการรับรองอย่างถูกต้อง เฉินโซว่เขียนตามประสาเกมการเมือง แต่ก็สมควรยกย่องเพราะเป็นผู้ที่ทำให้สามก๊กเป็นอมตะมาจนถึงทุกวันนี้
หลอกวนตง อ่านประวัติศาสตร์แล้วหมั่นไส้ เอามาเขียนใหม่ เชลียฝ่ายจ๊ก เล่าปี่ ขงเบ้ง แต่งเติมให้สนุก แต่ก็ยังคงประวัติศาสตร์ของเฉินโซว่ไว้ถึง 70% ส่วนอีก 30% เป็นเรื่องเต่งใหม่ เขาเรียกกันว่า "จริงเจ็ด เท็จสาม" ซึ่งไอ้ "เท็จสาม" นี่แหละครับที่ทำให้สามก๊กไม่มีวันเลือนหาย เพราะถ้าไม่มี "เท็จสาม" สามก๊กก็คงเป็นประวัติศาสตร์จีนพื้น ๆ ตอนหนึ่งที่ไม่ได้มีใครสนใจอะไรเป็นพิเศษ
อ่านสามก๊ก อย่ามัวเสียเวลาเถียงกันว่าอะไรจริงไม่จริง เป็นประวัติศาสตร์หรือเรื่องแต่ง เราอ่านเอาประโยชน์และนำตัวอย่างไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันดีกว่าครับ
อ่านเอาประโยชน์และนำตัวอย่างไปปรับใช้ในชีวิต คำนี้ใช่เลยครับ แต่ผมพอดีเพิ่งอ่านหนังสือเรื่อง "ผ่าสมองโจโฉ" ของเล่าชวนหัว มา อ่านแล้วแนวคิดเล่าชวนหัวออกแหวกแนวดีเพิ่มมุมมองเหมือนกันครับ อ่านเจอเรื่องของเฉินโซ่วมาเล่าชวนหัวบอกว่า เฉินโซ่วเขียนถึงขงเบ้งมากที่สุดเพราะมีความรู้เกี่ยวกับขงเบ้งมากที่สุด โจโฉเป็นคนรองลงมา เฉินโซ่วเขียนคอนข้างเป็นธรรม บางคนอ่านว่าเฉินโว่วมีอคติเข้าข้างโจโฉ แต่ถ้าได้อ่านทบทวนหลายๆเที่ยวจะเปลี่ยนทัศนคติใหม่ เพราะเฉินโซ่วเขียนสามก๊กเมื่อราชวงศ์วุ่ยของโจโฉดับสูญไปแล้ว และราชวงศ์วงศ์จิ้นที่ขึ้นมาแทนต้องการเหญียบยํ่าราชวงศ์วุ่ยที่ส้มไปเพราะฝีมือตระกูลสุมา จึงไม่มีเหตุผลที่เฉินโซ่วจะเข้าข้างต้องเข้าข้างตระกูลโจ ยิ่งราชวงศ์สุมาประกาศชัดเจนในตอนล้มตระกูลโจว่า เพื่อต้องการแก้แค้นให้กับราชวงศ์ฮั่น ตอนที่เฉินโซ่ววิจารย์ขงเบ้งว่าไม่ใช้นักการทหาร ที่เฉินโซ่วเขียนไว้ไม่ใช่เป็นการตำหนิขงเบ้งแต่เป็นการแสดงความรู้สรุปตอนท้าย ซึ่งเฉินโซ่วเขียนถึงขงเบ้งในทางยกย่องทั้งหมดและเขียนถึงขงเบ้งมากที่สุด ส่วนที่ว่าบิดาของเฉินโซ่วถูกขงเบ้งลงโทษเล่าชวนหัวบอกว่าบิดาของเฉินโซ่วถูกลงโทษ เพราะไม่อาจเขียนประวัติศาสตร์เสฉวนตามที่ขงเบ้งต้องการได้ โดยเฉพาะตอนที่ขงเบ้งไปทำศึกแล้วแพ้กลับมาครั้งแล้วครั้งเล่า จนทำให้ชาวเสฉวนตายจาก ขงเบ้งไม่ต้องการให้เรื่องปรากฎในประวัติสาสตร์
ตอบลบขอบพระคุณสำหรับความคิดเห็นครับ
ลบเล่าชวนหัว หรือ อ.สุขสันต์ เป็นผู้รู้เรื่องสามก๊กมากที่สุดคนหนึ่งในประเทศ แต่งานเขียนของท่านเป็นงานเขียนแนวสร้างกระแส เปิดทัศนคติและมุมมองใหม่ ๆ
บางเรื่องก็มีเหตุผล บางเรื่องก็ใช้อารมณ์และวิจารณญาณส่วนบุคคลตัดสิน อ่านแล้วต้องคิด ต้องค้นคว้าตาม
เฉินโซว่เขียน "สามก๊กจี่" แยกเป็น 3 ชุดคือ วุยจี่ จ๊กจี่ และง่อจี่ ทั้ง 3 ชุดนี้ วุยจี่ มีรายละเอียดมากที่สุด รองลงมาคือ ง่อจี่ และจ๊กจี่ ตามลำดับ
วุยจี่ และ ง่อจี่ เฉินโซว่ไม่ได้เขียนเองทั้งหมด เพราะเขาเพียงแต่นำของเก่าที่นักประวัติศาสตร์ของแต่ละก๊กเขียนไว้มาเรียบเรียงใหม่
ส่วน จ๊กจี่ เขาเขียนขึ้นมาใหม่จากความทรงจำของเขาเอง เขาจึงลงรายละเอียดได้มาก รู้ลึกถึงข้อเด่นข้อด้อยของแต่ละคน
แต่กระนั้น เรื่องประวัติศาสตร์ยังไงก็ฟังธงไม่ได้ว่าอะไรจริง-เท็จ เพราะมักมีข้อมูลคัดคานกันอยู่เสมอ
ความเห็นของเล่าชวนหัว ก็เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ แต่เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่สมดุลย์
จึงขอแนะนำให้อ่านบทความเรื่อง "สามก๊กจี่ และ สามก๊กเอี้ยนหงี" ของ อ.ยง อิงคเวทย์ ประกอบกันด้วย
บทความนี้เป็นบทความที่อธิบายความเป็นมาของเรื่องสามก๊กได้ดีและละเอียดที่สุดครับ
http://samkok911.blogspot.com/2012/11/blog-post_3.html
ขงเบ้งเหมาะที่จะเป็นที่ปรึกษามากกว่า เหมือนเตียวเหลียงไง
ตอบลบผมว่าอีกคนนึงที่กับคำว่าสุภาพบุรุษน่าจะเป็น"โลซก"แห่งง่อก๊กนะครับ เพราะนอกจากสติปัญญา การมองการไกลความซื่อสัตย์และความสามารถแล้ว ที่สำคัญคือโลซกมีความเป็น"สุภาพชน"มากๆ ซึ่งจิวยี่เองยังต้องเอ่ยปากพูดเลยว่า"หากจะมีเพื่อน ต้องมีให้ได้อย่างโลซก"
ตอบลบโลซกนั้นเป็นผู้ริเริ่มให้ก่อตั้งพันธมิตร"ซุน-เล่า"
เพื่อต่อต้านโจโฉ ซึ่งในช่วงที่ขงเบ้งจำเป็นต้องอยู่วางแผนกับฝ่ายซุนกวนนั้น ก็ได้โลซกนี่แหล่ะที่ช่วยรับรองความปลอดภัยให้ แม้แต่ตัวขงเบ้งเองยังต้องกล่าวเลยว่า"ข้ารอดตายหลายครั้ง เป็นเพราะท่านช่วยเหลือ ต้องขอบคุณท่านจริงๆ"
หลังจากเสร็จศึกเซ็กเพ็ก เล่าปี่ได้แคว้นเกงจิ๋วไว้ได้ทั้งหมดอย่างง่ายดาย ด้วยอาศัยจังหวะที่โจโฉกับซุนกวนรยกันอยู่ เมื่อจิวยี่ทราบข่าวแล้วก็โกรธมาก จึงคิดที่จะยกทัพไปตีเกงจิ๋วให้หายแค้น แต่โลซกกลับเห็นว่าหากซุนกวนกับเล่าปี่รบพุ่งกันเอง โจโฉก็จะต้องซ้ำเติมแน่นอน จึงยอมทำสัญญากับเล่าปี่ให้ยืมแคว้นเกงจิ๋วไปพลางๆก่อน แม้ว่าในนิยายนั้นจะเป็นแผนของขงเบ้งที่จะขอยืมเมืองแบบไม่มีกำหนด แต่ในประวัติศาสตร์แล้ว นี่เป็นแผน"เพิ่มศัตรูให้กับโจโฉ"กล่าวคือ โลซกรู้ดีว่สหากจะรบกับโจโฉนั้น แค่กำลังของง่อก๊กฝ่ายเดียวคงไม่พอแน่ จำเป็นต้องมีพันธมิตรด้วย ซึ่งการให้เล่าปี่ยืมเกงจิ๋วนั้นจะสามารถสร้างศัตรูระยะยาวให้กับโจโฉ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อง่อก๊กด้วยเช่นกัน
หลังจากที่จิวยี่ตาย โลซกได้รับตำแหน่งใหญ่แทน
ในช่วงนั้นเอง บังทอง ศิษย์ร่วมสพนักกับขงเบ้งต้องการที่จะรับใช้ง่อก๊ก แต่ซุนกวนเห็นหน้าตาบังทองดูแปลกพิกลจึงไม่คิดจะรับไว้ โลซกเกรงว่าบังทองจะรู้สึกเสียใจแล้วจะไปเข้าด้วยโจโฉ จึงแนะให้ไปอยู่กับเล่าปี่ พร้อมทั้งเขียนหนังสือรับรองความสามารถของบังทองให้ด้วย นี่แสดงให้เห็นถึงความจริงใจที่โลซกมีต่อเล่าปี่อย่างแท้จริง
ขอบพระคุณครับ โลซกนี่ก็เป็นตัวละครที่น่านับถือคนนึงครับ มีทั้งสติปัญญาและความกล้าหาญ ก็คงต้องเก็บไว้เป็นสุภาพบุรุษจุฑาเทพภาค 2 ล่ะครับ (ถ้ามี)
ลบ