Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

101 คำถามสามก๊ก

"101 คำถามสามก๊ก" คือหนังสือสามก๊กออกใหม่ที่เรากำลังจะกล่าวถึง หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักเขียนจากประเทศจีนนาม "หลี่ฉวนจวินและคณะ" แต่ได้มีการแปลเป็นภาษาไทยโดย "อาจารย์ถาวร สิกขโกศล" ผู้เชี่ยวชาญด้านสามก๊กชั้นแนวหน้าของประเทศ เนื้อหาเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเราคนไทย ไม่ค่อยจะมีโอกาสได้อ่านงานเขียนประเภทนี้เท่าใดนัก
101 คำถามสามก๊ก
เผยประวัติศาสตร์จริงจากอมตะนิยายจีนกับหนังสือสามก๊กออกใหม่ "101 คำถามสามก๊ก"
     ช่วงนี้มีหนังสือสามก๊กออกใหม่ ทยอยเปิดตัวกันออกมาเรื่อย ๆ สำหรับผู้ที่รักการอ่านก็ถือว่าเป็นความสุขที่มีหนังสือใหม่ ๆ มาให้ลิ้มลอง ยิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสามก๊กด้วยแล้ว มันดึงดูดเงินในกระเป๋าให้ซื้อหามาเก็บไว้บนชั้นหนังสือที่บ้านเหลือเกิน

     "101 คำถามสามก๊ก" คือหนังสือสามก๊กออกใหม่ที่เรากำลังจะกล่าวถึง หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักเขียนจากประเทศจีนนาม "หลี่ฉวนจวินและคณะ" แต่ได้มีการแปลเป็นภาษาไทยโดย "อาจารย์ถาวร สิกขโกศล" ผู้เชี่ยวชาญด้านสามก๊กชั้นแนวหน้าของประเทศ เนื้อหาเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเราคนไทย ไม่ค่อยจะมีโอกาสได้อ่านงานเขียนประเภทนี้เท่าใดนัก

     อาจารย์ถาวร ฯ หนึ่งในตำนานสามก๊กเมืองไทยมาแปลให้เองอย่างนี้ ทำให้หนังสือเล่มนี้ เป็นเพชรแท้สำหรับวงการหนังสือสามก๊กแน่นอน .... แล้วเราจะพลาดกันได้อย่างไรเล่า !?

"อาจารย์ถาวร สิกขโกศล" ผู้เชี่ยวชาญด้านสามก๊กชั้นแนวหน้าของประเทศ
"อาจารย์ถาวร สิกขโกศล" ผู้เชี่ยวชาญด้านสามก๊กชั้นแนวหน้าของประเทศ
รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ 

      หนังสือเล่มนี้จะรวบรวมคำถามที่น่าสนใจจำนวน 101 ข้อจาก "สามก๊ก" นวนิยายเลื่องชื่อ โดยตอบคำถามด้วยข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ อ้างอิงเนื้อหาจากพงศาวดาร พร้อมด้วยภาพประกอบที่น่าสนใจ

     "สามก๊ก" ยังคงมีเรื่องราวมากมายที่คนอ่านรุ่นหลังพูดถึงและขบคิดกันอย่างต่อเนื่อง แต่เรื่องจริงจากพงศาวดารเป็นเช่นไร เหตุการณ์บางอย่างที่เราเคยรู้เป็นจริงหรือไม่ หนังสือสือเล่มนี้มีคำตอบ
  • ปก - อ่อน 
  • พิมพ์ครั้งที่ - พิมพ์ครั้งแรก : สำนักพิมพ์มติชน, กรกฎาคม 2556
  • กระดาษ - เอ๊กซ์คาโร่ 65 แกรม 
  • จำนวนหน้า - 376 
  • ขนาดหนังสือ - 14.2 x 21.4 x 2 cm. 
  • ISBN - 978-974-02-1149-5 
  • น้ำหนัก -  430.0000
101 คำถามสามก๊ก

รายการคำถามจาก 101 คำถามสามก๊ก 
  1. โจโฉแซ่โจจริงหรือ ?
  2. ทำไมโจโฉจึงมีชื่อเล่นว่าอาหมาน ?
  3. ทำไมโจโฉถูกเรียกว่า "กังฉินหน้าขาว" ?
  4. ทำไมโจโฉจึงใช้แก้วแหวนเงินทองไถ่ตัวไช่เหวินจีกลับมา ?
  5. เตียวเสี้ยนเป็นภรรยาลิโป้หรือ ?
  6. เล่าปี่เป็นพระเจ้าอาจริงหรือ ?
  7. เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย สาบานเป็นพี่น้องกันในสวนท้อจริงหรือ ?
  8. เมื่อใกล้ตายซุนเซ็กพูดว่า "จงกั๋วกำลังวุ่นวาย" คำว่า "จงกั๋ว" ในยุคสามก๊กมีความหมายเหมือนปัจจุบันหรือไม่ ?
  9. ทำไมอ้วนสุดจึงเรียกอ้วนเสี้ยวผู้เป็นพี่ชายว่า "ขี้ข้าในบ้านกู" ?
  10. ช่วงศึกกัวต๋อ ทำไมโจโฉจึงวิ่งเท้าเปล่าออกมารับเขาฮิว ?
  11. "ต้มเหล้าแกล้มบ๊วย(เหมย)สดวิจารณ์ผู้กล้า" และ "อุ่นเหล้าตัดหัวฮัวหยง" คนยุคสามก๊กไยจึงอุ่นสุราให้ร้อนก่อนแล้วจึงดื่ม ?
  12. ทำไมโจโฉจึงตัดผมแทนตัดหัว ?
  13. ทำไมเหล่าที่ปรึกษาจึงเห็นว่าม้าเต๊กเลาของเล่าปี่ให้โทษแก่เจ้าของ ?
  14. อาวุธประจำตัวกวนอูคือ "ง้าวมังกรเขียวเสี้ยวจันทร์" จริงหรือ ?
  15. กวนอู "ตัดหัวงันเหลียง" และ "สังหารบุนทิว" จริงหรือ ?
  16. กวนอูอ่านพงศาวดารชุนชิวในราตรีจริงหรือ ?
  17. ทำไมเล่าปี่จึงไม่ใช้จูล่งทำงานใหญ่ ?
  18. ทำไมจูล่งจึงได้ชื่อว่าเป็น "ขุนพลนามเบ็ดเตล็ด" ?
  19. ในยุคสามก๊ก เมื่อตังทัพประจัญกัน แม่ทัพรบกันได้ถึงสองร้อยเพลงจริงหรือ ?
  20. การรบในสามก๊ก ทำไมตี "เครื่องทอง" ถอยทัพ ?
  21. เจตนาที่แท้จริงในการสร้างหอนกยูงทองของโจโฉคืออะไร ?
  22. ทำไมโจโฉขุดสระเหียนบู๊ (เสวียนอู่) ฝึกทัพเรือ ?
  23. ทำไมเล่าปี่จึงถูกเรียกว่า "เล่าอิจิ๋ว" ?
  24. ขงเบ้งเก็บตัวทำนาอยู่ที่เมืองหนันหยาง (ลำหยง) มณฑลเหอหนันหรือเมืองเซียงหยาง (ซงหยง)  มณฑลหูเป่ย ?
  25. ขงเบ้งได้ภรรยาอัปลักษณ์จริงหรือ ?
  26. ทำไมขงเบ้ง ชีซี และบังทอง จึงปลีกวิเวกอยู่ที่เมืองเก็งจิ๋ว ?
  27. ทำไมขงเบ้งเลือกไปอยู่กับเล่าปี่ ?
  28. ยุทธศาสตร์ที่หลงจง ขงเบ้งคิดเป็นคนแรกจริงหรือ ?
  29. เมื่อบังทองพบเล่าปี่ ไยบังทองจึงประสานมือคำนับ ไม่กราบคารวะ ?
  30. ชีซีอยู่ในค่ายโจโฉไม่พูดเลยสักคำจริงหรือ ?
  31. ในระหว่างการรบ ทำไมขงเบ้งชอบใช้วิชาโจมตีด้วยไฟ ?
  32. เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย สามคนนี้ เล่าปี่เป็นพี่ใหญ่จริงหรือ ?
  33. ข้อความ "(ถือ) พัดขนนก ผ้าโพกคาดแถบเขียว" ในบทกวีของชูตงพอหมายถึงขงเบ้งใช่ไหม ?
  34. ขงเบ้งเรียกลมบูรพาเป็นเรื่องแต่งขึ้นทั้งหมดหรือ ?
  35. ตอนขงเบ้งทำพิธีไสยศาสตร์ ทำไมต้องปล่อยผม ?
  36. แท้จริงแล้วใครเป็นผู้คิดแผนโจมตีด้วยไฟในศึกเซ็กเพ็ก ?
  37. โจโฉพ่ายศึกเซ็กเพ็กเพราะถูกโจมตีด้วยไฟหรือ ?
  38. กวนอูปล่อยโจโฉด้วยคุณธรรมที่ตำบลฮัวหยงจริงหรือ ?
  39. จิวยี่ถูกขงเบ้งทำให้แค้นใจตายจริงหรือ ?
  40. ทำไมขงเบ้งจึงไปเซ่นสรวง "เจ็ดอาลัย" จิวยี่ ?
  41. ทำไมคนเรียกจิวยี่ว่า "จิวหลาง(โจวหลาง)" ?
  42. แท้จริงแล้วใครเป็นผู้บัญชาการรบตัวจริงในศึกเซ็กเพ็ก ?
  43. วุ่ยก๊ก จ๊กก๊ก ง่อก๊ก แคว้นใดมีพื้นที่ใหญ่สุด ?
  44. โจโฉยังมิได้ตั้งตัวเป็นฮ่องเต้ แต่ทำไมใช้สรรพนามแทนตัวว่า "กู ()" ?
  45. ทำไมโจโฉประหารหมอฮัวโต๋(หัวถัว) ?
  46. แคว้นที่เล่าปี่ตั้ง ชื่อแคว้น "จ๊ก(สู่)" หรือ ?
  47. ซุนกวนตั้งมั่นที่กังตั๋ง (เจียงตง) กังตั๋งหมายถึงที่ใด ?
  48. ทำไมสามคนคือ ซุนกวน โจผี เล่าปี่ , ซุนกวนจึงตั้งตัวเป็นกษัตริย์หลังสุด ?
  49. ทำไมประมุขยุคสามก๊กเลือกคนตามรูปลักษณ์ ?
  50. จิวยี่เคยใช้กลหญิงงามจริงหรือ ?
  51. เล่าปี่ไปรับเลือกเป็นเขยศรีที่วัดกำลอจริงหรือ ?
  52. ทำไมเล่าปี่ ซุนกวน โจผี ล้วนได้หญิงซึ่งแต่งงานครั้งที่สอง ?
  53. ทำไมโลซกนั่งรถวัวเข้าท้องพระโรง ?
  54. กวนอูชะล่าใจจนเสียเก็งจิ๋วจริงหรือ ?
  55. เล่าปี่ตีกังตั๋งเพื่อแก้แค้นแทนกวนอูหรือ ?
  56. สมัญญา "จ้วงมิ่วโหว" ของกวนอูเป็นคำยกย่องหรือตำหนิ ?
  57. ทำไมช่างตัดผมและโกนหัวพื้นบ้านจึงยกย่องกวนอูเป็นปรมาจารย์ ?
  58. สาเหตุที่จ๊กก๊กล่มสลายก่อนก๊กอื่นคืออะไร ?
  59. เหตุใดโจชงตัวเอกในตำนาน "โจชงชั่งช้าง" จึงเป็นที่รักของโจโฉเป็นพิเศษ ?
  60. ทำไมโจโฉจัดพิธี "ยมอาวาห์-แต่งงานหลังตาย" ให้โจชง ?
  61. หนังสือซันจื้อจิง (คัมภีร์สามอักษร) กล่าวว่า "ข่งหญงสี่ขวบ รู้จักยอมให้สาลี่" ข่งหญงเป็นคนถ่อมตัวอ่อนข้อต่อผู้อื่นจริงหรือ ?
  62. เอี้ยวสิ้วถูกประหารเพราะความฉลาดหรือ ?
  63. ทำไมโจโฉบีบคั้นซุนฮกที่ปรึกษาอันดับหนึ่งของตนจนตาย ?
  64. ทำไมในที่สุดโจโฉเลือกโจผีเป็นทายาทสืบตำแหน่ง ?
  65. ทำไมโจโฉจึง "เสน่หาอาทร" สั่งเสียเรื่องชีวิตบั้นปลายของเมียน้อยตน ?
  66. โจโฉใช้อะไรตัดสินว่าสุมาอี้เป็นภัยต่อตน ?
  67. ศพโจโฉฝังอยู่ที่ไหนแน่ ?
  68. ตอนมีชีวิตอยู่โจโฉไม่ได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ แต่ทำไมตายแล้วคนจึงเรียกว่า "พระเจ้าวุ่ยอู่ตี้" ?
  69. ทำไมโจผีเปลี่ยนอักษรชื่อเมืองลั่วหยางจาก 雒阳 เป็น 洛阳 ?
  70. โจผีบังคับให้โจสิดแต่ง "กวีนิพนธ์เจ็ดก้าว" จริงหรือ ?
  71. กวีนิพนธ์เรื่อง "ลั่วเสินฟู่" ของโจสิดเขียนเรื่องพี่สะใภ้ของตนจริงหรือ ?
  72. ความสัมพันธ์ของเล่าปี่กับขงเข้งเหมือนปลากับน้ำจริงหรือ ?
  73. เล่าเสี้ยนปัญญาอ่อนจริงหรือ ?
  74. คำ "อู่เซียงโหว" ที่เรียกขงเบ้งและ "ฮั่นโซ่วถิงโหว" ที่เรียกกวนอูเป็นตำแหน่งขุนนางหรือ ?
  75. เหตุใดขงเบ้งและพี่น้องรวมสามคนจึงได้รับฉายาว่า มังกร เสือ และสุนัข ?
  76. ทำไมซุนกวนจึงบีบคั้นลกซุนจนตาย ?
  77. ขงเบ้งรบวุ่ยก๊กทางภาคเหนือเพื่อรวมแผ่นดินจริงหรือ ?
  78. "หมานโสว่" ที่ขงเบ้งคิดขึ้นคืออาหารชนิดใด ?
  79. ขงเบ้ง "จับแล้วปล่อยเบ้งเฮ็กเจ็ดครั้ง" จริงหรือ ?
  80. เหตุใดคนพื้นเมืองภาคใต้จึงขี่ช้างมารบกับทัพขงเบ้ง ?
  81. "โคไม้ม้าเลื่อน" ที่ขงเบ้งประดิษฐ์คืออะไรกันแน่ ?
  82. ขงเบ้งเคยใช้กลเมืองร้างจริงหรือ ?
  83. พยุหะแปดทิศของขงเบ้งเป็นพยุหะศิลาหรือ ?
  84. ขงเบ้งยกทัพปราบวุ่ยก๊ก ทำไมต้องยกออกทางเขากีสาน ?
  85. หลังจากพ่ายศึกเกเต๋ง ทำไมขงเบ้งจึงกล่าวว่า เรื่องคนตนไม่เสมอด้วยเล่าปี่ ?
  86. ทำไมขงเบ้งคิดว่าอุยเอี๋ยนต้องกบฏแน่นอน ?
  87. บังทองตายที่เนินหงส์ร่วงและขงเบ้งตายที่ทุ่งอู่จั้งหยวนเป็นเรื่องชะตาฟ้าลิขิตหรือ ?
  88. หลังจากที่ขงเบ้งตาย ทำไมในปากอมข้าวสารไว้เจ็ดเม็ด ?
  89. ขงเบ้งตายเพราะเหตุที่แท้จริงอะไร ?
  90. "เพลงผิดพลาด จิวยี่หันมอง" จิวยี่ดีดกู่ฉินหรือกู่เจิง ?
  91. ทำไมแม่ทัพนายกองยุคสามก๊กชอบเล่นหมากล้อม ?
  92. ทำไมวัฒนธรรมดื่มชาแพร่หลายในยุคสามก๊ก ?
  93. ทำไมผู้ชายในยุคสามก๊กจึงแต่งหน้า ?
  94. ทำไมพระจากแดนตะวันตกที่มาจีนล้วนเป็นนักมายากล ?
  95. ทำไมองุ่นเป็นผลไม้โปรดที่สุดของกษัตริย์ในยุคสามก๊ก ?
  96. ในยุคสามก๊ก ทำไมชนชั้นสูงจึงใช้ระบบแยกสำรับอาหาร ?
  97. ทำไมผู้หญิงยุคสามก๊กส่วนมากไม่ปรากฏชื่อ หรือไม่มีทั้งชื่อและแซ่ ?
  98. คนยุคสามก๊กส่งจดหมายกันด้วยวิธีใด ?
  99. ทำไมกวีแซ่โจสามพ่อลูกจึงชอบแต่ง "อิ๋วเซียนซือ-กวีนิพนธ์เซียนสัญจร" ?
  100. ทำไมปัญญาชนยุคสามก๊กส่วนมากจึงมีความคิดว่าควรหาความสุขให้ทันเวลา "ดื่มสุราร้องขับศัพท์บรรสานชีวิตคนจะยืนนานสักเพียงไหน ?"
  101. นักดนตรีพุทธศาสนาคนแรกของจีนคือใคร ?
ตัวอย่างหนังสือ
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

กรุณาแสดงความคิดเห็น

BLOGGER: 19
  1. ถ้ามีเนื้อหาข้างในให้ดูสักสองสามหน้าเป็นตัวอย่างก็คงดี :)

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ได้หนังสือมาแล้วครับ เดี๋ยวว่าง ๆ จะทำรายการให้ดูว่าทั้ง 101 คำถามนั้นมีอะไรบ้าง รับประกันเลยว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก และเป็นความรู้ใหม่ กว่า 80% อ่านแล้วน้ำตาแทบไหล ประมาณว่าอิ่มเอิบความรู้

      ลบ
  2. เล่มนี้พลาดไม่ได้จริงๆ สไตล์อิงประวัติศาสตร์แบบนี้รอมานาน

    ตอบลบ
  3. น่านใจมาก มีจำหน่ายรึยังครับ แอดมิน

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. มีแล้วครับ ราคา 240 บาท แต่ถ้าสั่งซื้ออนไลน์ที่เว็บไซต์มติชน (ตามลิงค์เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง) จะซื้อได้ที่ราคา 216 บาทเท่านั้นครับ

      ลบ
  4. อ่านไปบ้างแล้วครับ มือใหม่คง งง กับภาษา สำนวนการแปลนิดหนึ่งนะครับ

    ตอบลบ
  5. การที่จะอ่านเล่มนี้อย่างเข้าใจ ต้องเป็นผู้รู้ภาษาจีน (หรือรู้บ้าง) เเละรู้ต้นคำของคำที่ใช้ในเล่มจึงจะเข้าใจได้ทั้งหมด (เช่น การเรียกคน สรรพนาม วีลี สำนวน สิ่งของ เหตุการณ์ คำเฉพาะ) เพราะเล่มนี้ใช้คำที่มาจากบันทึกประวัติสาสตร์ เเละคำเหล่านั้นก็ยังปรากฏในฉบับวรรณกรรมซานกว๋อเหยี่ยนยี่อีกด้วย ซึ่งยังสื่อออกมาในภาพยนตร์โทรทัศน์สามก๊ก 1994 อย่างชัดเจน ผมเชื่อว่าคนที่ยังไม่เคยศึกษาคำดังกล่าวมาในภาคภาษาจีนเมื่ออ่านเล่มนี้เเล้วไม่เข้าใจเเน่นอนครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. เห็นด้วยครับ หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือสามก๊กชั้นสูง ผู้อ่านต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสามก๊กเป็นอย่างดี คำถามทั้ง 101 คำถาม เป็นคำถามระดับยาก ไม่มีพื้นฐานเรื่องสามก๊กมาก่อนอ่านแล้วงงแน่นอน ขนาดคนอ่านสามก๊กฉบับพระยาพระคลัง(หน)จนพรุนแล้ว เจอคำถามในเล่มนี้ยังไม่รู้จะตอบอย่างไรเลยครับ

      ลบ
    2. รู้สึกเหมือนอาจารย์หลี่ เช่นกัน อ่านบ้างบท แล้วยังนึกถึงภาพต่างๆใน สามก๊กเวอร์ชั่น 1994 เรื่อง ธรรมเนียมปฎิบัติจริงๆ
      ต้มเหล้าแกล้มบ๊วย รวมถึงเรื่องอุ่นสุราในฤดูหนาว
      เช่นโจโฉถอดรองเท้าออกมารับเขาฮิว ,เรื่องการประสานมือคำนับ หรือกราบคารวะ
      เรื่องคำสมัญญา (นึกถึงที่อาจารย์หลี่ก็เคยเขียนไว้)
      คำว่า 'กู" ที่อาจารย์หลี่เคยเขียนถึงในฉบับละครสามก๊ก เปรียบเทียบ ฯลฯ
      ยังอ่านไม่จบค่ะ เพิ่งจะได้มา กำลังค่อยๆ ละเมียดอ่าน ^_^

      มีเรื่องราวเกี่ยวกับขงเบ้ง เรื่องสถานที่พำนัก ว่าเป็นเซียงหยาง หรือหนันหยาง อ่านแล้วก็ยังมีคำถามอยู่อีกเยอะ

      ลบ
  6. มีข้อเเก้ไขในบางส่วนที่ผมอ่านเจอครับ
    หน้า 50 ... "เมื่อขงเบ้งไปเชิญเล่าปี่ที่บ้านเขาโงลังกั๋ง" ควรเเก้เป็น "เมื่อเล่าปี่ไปเชิญขงเบ้งที่บ้านเขาโงลังกั๋ง"
    หน้า 77 ... "ขงเบ้งยกออกจากเขากิสานเข้าตีจ๊กก๊ก" ควรเเก้เป็น "ขงเบ้งยกออกจากเขากิสานเข้าตีวุยก๊ก"
    บางส่วนครับ เพราะตอนนี้เเค่อ่านคร่าวๆ ถ้าพบอีกจะมาเพิ่มเติมครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. พิมพ์ผิดจริงด้วยครับ ท่านหลี่นี่ช่างสังเกตดีจริง ๆ

      ลบ
    2. อาจารย์หลี่ สมกับ 10,000 ไม่เคยพลาดจริงๆ สายตาฉับไวมาก

      ลบ
  7. อินทรีสามก๊ก22 กันยายน 2556 เวลา 03:04

    ว่าจะมาคอมเม้นหนังสือเล่มนี้นานแล้ว ขอแวะมาหน่อยก่อนนอน

    101 คำถามสามก๊ก "เป็นหนังสือเกี่ยวกับเกร็ดประวัติศาสตร์สามก๊กที่ดีที่สุดเล่มหนึ่งเท่าที่แปลเป็นภาษาไทยครับ"

    ผลงานค้นคว้าของหลี่ฉวนจวินและคณะ เป็นการลงลึกถึงประวัติศาสตร์จีนยุคสามก๊ก ในเชิงวัฒนธรรม การค้นคว้าเชิงประวัติศาสตร์ที่ละเอียด
    และมีค่ามาก นอกจากนี้ยังได้ อ.ถาวร สิกขโกศล ผู้รู้ด้านภาษาจีน ด้านสามก๊ก วัฒนธรรม และเป็นผู้มีส่วนอย่างมากในการผลักดันให้มีการ
    ทำสำเนาพิมพ์ซ้ำของสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลังหนโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์ ให้กลับมาทำพิมพ์ใหม่เพื่อรักษาต้นฉบับโบราณตั้งแต่ปี พ.ศ.2408
    เอาไว้ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและสืบทอดไว้ครับ คุณค่าเพียงนี้ก็มากพอที่คนรักสามก๊กจะเก็บหนังสือเล่มนี้แล้ว

    ขณะเดียวกัน ข้อมูลการค้นคว้าของ หลี่ฉวนจวิน "มีหลายประเด็นที่ตอบคำถามไม่เคลียร์เท่าใดครับ" ซึ่งก็มีหลายข้อที่ต้องเอานิยายมาช่วยตอบด้วย
    นอกจากนี้ข้อมูลบางอย่างก็มีความขัดแย้งกันกับข้อมูลชุดอื่น ซึ่งหลี่ฉวนจวิน ดูจะตั้งคำตอบในใจไว้แล้วไม่น้อย

    ในแง่นี้ผมตั้งขอสงสัยต่อ Bias ซึ่งหลี่ฉวนจวินมีในหลายๆจุดครับ แม้แต่อ.ถาวรเองก็เห็นขัดแย้งกับหลี่ฉวนจวินในบางประเด็น และในหลายข้อ
    ที่หลี่ฉวนจวินตอบไม่เคลียร์ กลับกลายเป็นว่า อ.ถาวร ช่วยอธิบายให้เราเข้าใจเคลียร์กว่าด้วย แต่หลายคำตอบก็ยังต้องรอการคน้คว้าเพิ่มเติม

    ซึ่งถ้าเป็นผู้ลงลึกเรื่องสามก๊ก น่าจะรู้จักหรือคุ้นชื่อของ อี้จงเทียน นักวิชาการผู้ใช้กลวิธีการนำเสนอการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ยุคสามก๊กด้วยลีลาสนุกสนาน
    เป็นรูปแบบที่พยายามให้คนทั่วสนใจ จนแกกลายเป็นนักประวัติศาสตร์ "ซุปเปอร์สตาร์" จนกระทั่งโดนนักวิชากไม่น้อยแอนตี้ ซึ่งจะพบว่ามีหลายประเด็นที่
    ต่อยอดและอธิบายเพิ่มจากอี้จงเทียน ไปจนถึงโต้แย้งบ้างก็มี

    แต่ทั้งนี ก็นับว่างานของคณะหลี่ฉวนจวินมีค่ามากครับ โดยเฉพาะในแง่ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบพระคุณ ท่านอินทรีสามก๊กมาก ๆ ครับ
      หนังสือ 101 เป็นหนังสือที่ดีมากครับ แม้จะมีความเห็นส่วนตัว หรือยกเอาวรรณกรรมมาอ้างอยู่บ้าง แต่ก็ถือว่าเป็นการสร้างสมความรู้ให้กับผู้อ่านเป็นอย่างดี ซึ่งหลาย ๆ คำถามเป็นคำถามหายาก เป็นคำถามที่คนไทยเราไม่รู้ทั้งการจะถาม และการจะตอบ เพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ขนบธรรมเนียม ประเพณีจีน หลายเรื่องอ่านแล้วก็ไม่เข้าใจ และต้องยอมปล่อยผ่านบ้าง มันยากเกินจะซึมซับหรือตีความให้เข้ากับบริบทของสังคมไทย
      แต่ก็ต้องขอบพระคุณ อ.ถาวร อย่างที่สุด ที่กล้าหาญและเสียสละทำงานนี้ เพราะงานแบบนี้เขียนยาก แปลยาก หาคนอ่านก็ยาก ถ้าใครไม่รักและสนใจสามก๊กจริง ๆ จัง ๆ ก็คงเฉย ๆ รวมทั้งระดับความยากของหนังสือเล่มนี้ คนอ่านต้องมีพื้นฐานเรื่องสามก๊กมาก่อน จึงจะเข้าใจ
      ประมาณว่า หนังสือเล่มนี้อยู่ลึกใต้สุดก้นบึ้งของกองหนังสือสามก๊กทั้งมวล .... ตำราวิเศษย่อมหายาก
      ผมได้อ่านเล่มนี้ จึงมีความสุขที่สุด

      ลบ
    2. ใช่ครับ ผมเห็นด้วยว่ามือใหม่ด้านสามก๊ก หรือคนที่ไม่ได้มีพื้นเพความรู้ด้านวัฒนธรรมจีน อ่านเล่มนี้แล้ว อาจจะงงมากๆ เพราะมันลงลึกด้านวัฒนธรรมจีน ในส่วนที่คนไทยทั่วไปไม่เข้าใจด้วย

      แต่ก็นับว่าเป็นการดีที่มีคนทำครับ เป็น Source ที่ใช้งานได้

      ลบ
  8. อีกประเด็นที่ผมเสียดายคือ "หลี่ฉวนจวินจั่วหัวคำถามบางข้อมาราวกับว่าพบคำตอบที่แน่ชัด แต่จากที่เขียนไว้ คำตอบก็ยังคลุมเครือมากและยิ่งมีหลายแนวทางมากขึ้น" นอกจากนี้บางคำตอบก็เป็นการอ้างอิงจากวรรณกรรม โดยไม่ได้ลงลึกไปในบันทึกประวัติศาสตร์ ทั้งๆที่เขาน่าจะทำได้

    มีการอธิบายบางประเด็นที่ทีมงาน ยังค่อนข้าง Bias (เช่นกรณีข้อสงสัยเรื่องจูล่ง และอีกข้อคือกวนอู ที่เห็นชัดๆ) ซึ่ง อ.ถาวรก็ได้เห็นแย้งกับหลี่ฉวนจวน และยกข้อโต้แย้งมาได้ดูเป็นกลางมากกว่าด้วย ส่วนหนึ่งอาจเพราะหลี่ฉวนจวินและทีมงาน "มองด้วยสายตาแบบคนจีน" ดังนั้นในกรณีนี้ผมว่าน่าสนใจที่บางด้าน หากมองด้วยสายตาของคนนอกแบบคนไทย ซึ่ง อ.ถาวร ได้ทำหน้าที่นี้ไว้ในหนังสือแล้ว ก็ทำให้ตีประเด็นต่างๆได้ดียิ่งขึ้น

    ตอบลบ
  9. เสียเงินอีกแล้วว เดี๋ยวจะไปซื้อมาอ่านค่ะ

    ขอบคุณค่ะ ^_^

    ตอบลบ
  10. ไม่มีคำนำเหรอ ว่าจะดูแนวทางของผุ้เขียนและผุ้แปล

    ตอบลบ

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,18,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,118,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,66,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: 101 คำถามสามก๊ก
101 คำถามสามก๊ก
"101 คำถามสามก๊ก" คือหนังสือสามก๊กออกใหม่ที่เรากำลังจะกล่าวถึง หนังสือเล่มนี้เขียนโดยนักเขียนจากประเทศจีนนาม "หลี่ฉวนจวินและคณะ" แต่ได้มีการแปลเป็นภาษาไทยโดย "อาจารย์ถาวร สิกขโกศล" ผู้เชี่ยวชาญด้านสามก๊กชั้นแนวหน้าของประเทศ เนื้อหาเกี่ยวกับ ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเราคนไทย ไม่ค่อยจะมีโอกาสได้อ่านงานเขียนประเภทนี้เท่าใดนัก
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgVvf7KEGsFMuD3SmUo00aSEu8kkjr_4J8c4bWWdv4iJQA9-jyC8fr7dARznUPT3eQuJGkpj7TneCEGc9-7EVLtqjRPvE2K-QnxXjYtIDmogv4E3rrb-00jHOkyk_Yd6cmOAknVASCNZaQ/s1600/101%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%81.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgVvf7KEGsFMuD3SmUo00aSEu8kkjr_4J8c4bWWdv4iJQA9-jyC8fr7dARznUPT3eQuJGkpj7TneCEGc9-7EVLtqjRPvE2K-QnxXjYtIDmogv4E3rrb-00jHOkyk_Yd6cmOAknVASCNZaQ/s72-c/101%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B9%8A%E0%B8%81.jpg
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2013/07/101-Three-Kingdoms-Questions.html?m=0
https://www.samkok911.com/?m=0
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2013/07/101-Three-Kingdoms-Questions.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ