Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

เรื่องเล่าจากลายคราม - บาราย

"เรื่องเล่าจากลายคราม" เป็นชื่อของบทความในคอลัมน์ "คัมภีร์จากแผ่นดิน" เป็นบทประพันธ์ของนักเขียนนามปากกา "บาราย" อยู่ในเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ ประจำวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2556 เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องกังไสลายครามและความเกี่ยวข้องกัยวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก เห็นว่าน่าสนใจมากจึงขออนุญาตนำมาเสนอให้ได้ชมกัน
เรื่องเล่าจากลายคราม

     "เรื่องเล่าจากลายคราม" เป็นชื่อของบทความในคอลัมน์ "คัมภีร์จากแผ่นดิน" เป็นบทประพันธ์ของนักเขียนนามปากกา "บาราย" อยู่ในเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ ประจำวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2556 เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องกังไสลายครามและความเกี่ยวข้องกับวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก เห็นว่าน่าสนใจมากจึงขออนุญาตนำมาเสนอให้ได้ชมกัน
 
     นอกจากเรื่องเครื่องกังไสแล้ว ภายในบทความยังได้กล่าวถึงบทเพลง ๆ หนึ่ง ที่นำทำนองมาจากเพลงจีนขิมเล็ก ที่ผมอ่านเนื้อร้องแล้ว นึกคุ้นจำได้ว่าเป็นเพลงของพระอาจารย์ "พร ภิรมณ์" ชื่อเพลง "ขงเบ้ง" เป็นเพลงในตอนที่ขงเบ้งตีขิมลวงสุมาอี้ ที่มีท่วงทำนองสนุกสนานมาก ผมจึงนำคลิปจาก Youtube มาฝากด้วยครับ

กังไสลายคราม
กังไสลายคราม

เรื่องเล่าจากลายคราม

     ในหัวข้อ สามก๊ก ลายพลรบ จากหนังสือ กังไสลายคราม (สำนักพิมพ์ พี วาทิน พับลิเคชั่นฯ เครือต่วยตูน) วรินทราศรมเขียนว่า เครื่องกังไสลายครามในยุคราชวงศ์เช็ง เปลี่ยนคตินิยมจากการเขียนสัญลักษณ์มงคลต่างๆ ตามปรัชญาจีน ทั้งจากลัทธิเต๋า ขงจื๊อ และพุทธ มาเป็นเขียนลายภาพ ทั้งที่ภาพวิวสถานที่สำคัญ และภาพเล่าเรื่องจากนิยายหรือตำนานจีนโบราณ

      ภาพที่โดดเด่นมาก คือภาพเล่าเรื่องสามก๊ก ลายที่นิยมเขียนกันมาก คือลายพลรบ ที่คนไทยเรียกว่า ลายขงเบ้งตีขิม

      เครื่องลายครามลายพลรบ ไม่ใช่โบราณวัตถุเข้าสมัย ที่เอาไปประมูลกันในระดับโลก เพิ่งนำเข้าเมืองไทยโดยห้างกิมตึ๋งฮกกี่ ของพระยาโชฎึกราชเศรษฐี (พุก) สมัยเสาชิงช้าเฟื่องฟู ในสมัยรัชกาลที่ 5

      “เหตุผลที่นำมาเสนอ เพราะยังเป็นของที่พอเสาะหากันได้ และเพื่อการศึกษาของมือใหม่” วรินทราศรมว่า

      วรินทราศรมมีภาพแจกันใบเขื่อง พื้นสีขาว เขียนเรื่องสามก๊ก ตอนเสียอุบายขงเบ้ง และเล่าเรื่องประกอบว่า ตอนนั้นสุมาอี้ ขุนพลชรา ทหารเอกของโจโฉ ตีเมืองเกเต๋ง แตกย่อยยับแล้ว ก็เคลื่อนทัพใหญ่จะเข้ายึดเมืองเสเสีย (จีนกลาง ซีเฉิง แปลว่า เมืองตะวันตก)

      เมืองเสเสีย เป็นคลังเสบียงใหญ่ เป็นแหล่งส่งกำลังบำรุงสำคัญ ขงเบ้งส่งกำลังส่วนใหญ่ แยกย้ายกระจัดกระจายออกไปรบแบบกองโจร ตัวเองคุมกำลัง 5 พันคน อยู่รักษาเมืองเสเสีย เทียบกำลังกัน ขณะนั้นสุมาอี้มีกำลังมากกว่าขงเบ้งถึง 29 เท่า

      ทหารขงเบ้งเห็นทัพใหญ่มาประชิดติดเมือง ก็ชักเกิดความระส่ำระสาย ขงเบ้งอ่านใจลูกน้องออก จึงต้องประกาศิต ใครขัดขืนคำสั่งจะตัดศีรษะทิ้ง แล้วก็สั่งให้ทหารไปเปิดประตูเมือง เหลือทหารไม่กี่คน ก็ทำหน้าที่ปัดกวาดไม่รู้หนาวรู้ร้อน ส่วนทหารส่วนใหญ่ให้เข้าไปซ่อนตัวเงียบ ตัวขงเบ้งเอง ขึ้นนั่งบนเชิงเทิน ดีดกระจับปี่ ท่วงทีสบายๆไม่หนาวร้อน เสมือนมีแผนลวงลึกๆ ซ่อนเอาไว้

      เครื่องดนตรีที่สามก๊กเล่าว่า กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีจีนโบราณ คนชั้นสูงตั้งแต่นักปราชญ์ กวี ขุนทหาร และคนในราชสำนักนิยมเล่น...แต่พอมีคนแปลในเมืองไทย เครื่องดนตรีไทยไม่มีกระจับปี่ มีแต่ที่คล้ายๆกัน คือขิม สามก๊กฉบับเจ้าพระยาคลัง (หน) จึงแปลว่า ขงเบ้งตีขิม

      สามก๊กในเมืองไทยนิยมเล่นทั่วไป ทั้งงิ้ว ละครร้อง ละครรำ รวมทั้งเพลงไทย มีเพลงไทยเก่าแก่ชุดหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง แต่ยังร้องเล่นกันอยู่ถึงวันนี้ ในทำนองเพลงจีนขิมเล็ก

      “ขึ้นนั่งบนกำแพงแกล้งตีขิม พยักยิ้มให้ข้าศึกนึกฉงน ไพรีมิได้แจ้งแห่งยุบล ให้เลิกทัพกลับพลรีบหนีไป”

      เพลงชุดนี้จบลงด้วยเพลงจีน ใจ่ยอ แต่ละท่อนร้องรับหมู่อย่างสนุกครึกครื้น โดยที่คนร้องก็ไม่รู้คำแปล

      "จี่ใจ่ยอ ฮ่อฟังจง ต้องฮ้อฮอ ต้องฮอมุ่ยเชียง เอี่ยวหลี มาเพียวไอ่ยอ ไอยู่ลิวผิวหนู น่ำฟังไอ่ยอ (ฮ้อ)"

      ขณะขงเบ้งตีขิม วรินทราศรมเล่าว่า ทัพหน้าของสุมาอี้ ก็ไม่กล้าบุกเข้าเมือง ร้อนถึงสุมาอี้ มีทหาร 20 ม้าอารักขา เข้ามาเลียบกำแพงเมืองดูเหตุการณ์

      สุมาอี้ตั้งสมาธิฟังเพลงขิม...แม้ว่าจะแฝงแววหวาดกลัวอยู่บ้าง แต่ก็ยังลังเล เข็ดเขี้ยวฝีมือกันมาก่อน เพราะเคยถูกกลลวงเสียท่าขงเบ้ง จนแพ้ยับเยินมาแล้ว

      แม้บุตรชายสุมาอี้จะยืนยันกับพ่อ ขงเบ้งหมดท่าไม่มีไต๋อะไรในมือแล้ว แต่สุมาอี้ก็ไม่เชื่อลูก ยึดหลักปลอดภัยเอาตัวรอดไว้ก่อน สั่งทหารถอยทัพ

      ถ้าเป็นโป๊กเกอร์ งานนี้ขงเบ้งลักไก่สุมาอี้อย่างจัง หากสุมาอี้่ใจถึงจับไก่ได้ ขงเบ้งก็เสียเมืองไปแล้ว

      สามก๊กตอนขงเบ้งตีขิม นิยมเอามาเล่ากัน เพราะยกย่องในความใจถึงของขงเบ้ง เมื่อเล่นงิ้ว เล่นละครแล้ว ยังไม่หนำใจ ก็เอามาเขียนในกังไสลายคราม ลายนี้ก็เป็นที่นิยมกันมาก

      “การเล่นเครื่องลายคราม สนุกที่การอ่านลาย และอ่านที่มาของลายให้ออก” วรินทราศรมทิ้งท้ายให้นักเลงลายครามรุ่นใหม่ได้คิด

OบารายO
กังไสลายครามสามก๊ก
กังไสลายครามสามก๊ก
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

พรภิรมย์ - ขงเบ้ง ตอนที่ ๑ และ ๒

กรุณาแสดงความคิดเห็น

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,18,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,118,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,66,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: เรื่องเล่าจากลายคราม - บาราย
เรื่องเล่าจากลายคราม - บาราย
"เรื่องเล่าจากลายคราม" เป็นชื่อของบทความในคอลัมน์ "คัมภีร์จากแผ่นดิน" เป็นบทประพันธ์ของนักเขียนนามปากกา "บาราย" อยู่ในเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ ประจำวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2556 เป็นเรื่องเกี่ยวกับเครื่องกังไสลายครามและความเกี่ยวข้องกัยวรรณกรรมจีนเรื่องสามก๊ก เห็นว่าน่าสนใจมากจึงขออนุญาตนำมาเสนอให้ได้ชมกัน
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiEi1bapFYozNFKzy3q9uKNN7AcD24sWbXhKA3WwtPqF0XhxTNjF-4mkg-IVXgkOqjXp1DjfCjh5YuYIMXSx4oFt_eZNA7V2cyg_dwaie1znphJEX95OvJuj6kamMCMRvXiUHagtn1rAcQ/s1600/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiEi1bapFYozNFKzy3q9uKNN7AcD24sWbXhKA3WwtPqF0XhxTNjF-4mkg-IVXgkOqjXp1DjfCjh5YuYIMXSx4oFt_eZNA7V2cyg_dwaie1znphJEX95OvJuj6kamMCMRvXiUHagtn1rAcQ/s72-c/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1.jpg
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2013/05/blog-post_20.html
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2013/05/blog-post_20.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ