เตียนอุย (Dian Wei) เป็นองครักษ์คนสำคัญของโจโฉ เป็นชาวเมืองตันลิว รูปร่างแข็งแรง กำยำ สูงใหญ่ เขาเป็นองครักษ์ที่ดีที่สุดคนหนึ่งของโจโฉ และยอมสละได้แม้กระทั่งชีวิต เพื่อให้นายของตนมีชีวิตรอดปลอดภัย ประวัติของเขามีส่วนที่น่าสนใจอยู่ ตรงที่เขามีชื่อเล่น .... และชื่อนี้ไม่มีอยู่ในสามก๊กฉบับภาษาไทย
เตียนอุย (Dian Wei) เป็นองครักษ์คนสำคัญของโจโฉ เป็นชาวเมืองตันลิว รูปร่างแข็งแรง กำยำ สูงใหญ่ เขาเป็นองครักษ์ที่ดีที่สุดคนหนึ่งของโจโฉ และยอมสละได้แม้กระทั่งชีวิต เพื่อให้นายของตนมีชีวิตรอดปลอดภัย ประวัติของเขามีส่วนที่น่าสนใจอยู่ ตรงที่เขามีชื่อเล่น .... และชื่อนี้ไม่มีอยู่ในสามก๊กฉบับภาษาไทย“This is old E Lai again!” – “เอ้อไหลกลับชาติมาเกิดนี้เอง!”
ประวัติของเตียนอุย
ในหนังสือ พิชัยสงครามสามก๊ก ของ สังข์ พัธโนทัย กล่าวถึงประวัติของเตียนอุยว่า“เตียนอุย (เตี่ยนอุ่ย, 典韦, Tien Wei) เป็นชาวตำบลอี่อู๋ เมืองเฉินหลิว (ตันลิว) มณฑลเหอหนาน
รูปร่างสูงใหญ่ จิตใจห้าวหาญ มีเรี่ยวแรงมากมาย ถือง้าวคู่หนัก 80 ชั่งเป็นอาวุธ เดิมอยู่กับเตียวเมา แล้ววิวาทกับพวกบ่าว ต่อยตายไปหลายคน จึงหนีไปอยู่เขา แฮหัวตุ้นไปพบขณะที่เตียนอุยกำลังไล่จับเสือข้ามลำธาร ก็ชวนมาอยู่กับโจโฉ โจโฉได้ทดลองขี่ม้ารำง้าวดู พอดีเสาธงใหญ่ต้องพายุเอนจะล้ม ทหารประมาณ 25 คนเข้าประคองตั้งให้ตรงก็ไม่ไหว เตียนอุยเข้าประคองคนเดียว ก็ตั้งเสาขึ้นได้ โจโฉพอใจมาก รับตัวไว้ตั้งให้เป็น ตูอุ้ย (ทหารองครักษ์) ปรากฏว่าเตียนอุยปฏิบัติงานได้อย่างดียิ่ง และได้ช่วยชีวิตโจโฉไว้ขณะตกอยู่ในที่ล้อมของลิโป้ในเมืองลิหยง (หลีหยัง) ซึ่งหวุดหวิดที่สุด โจโฉถูกไฟคลอกถึงต้องฉีกเสื้อทิ้ง หนวดและผมไหม้เกรียม
ต่อมาโจโฉยกไปตีเมืองอ้วนเซีย (หวั่นเฉิง) ในมณฑลหูเป่ยได้ โดยเตียวสิ้วเจ้าเมืองยอมวางอาวุธแต่โดยดีก่อน แล้วกลับซ้อนกลมอมเหล้าเตียนอุย แล้วลักเอาง้าวคู่มือไปเสียจึงลงมือโจมตีทัพโจโฉ เตียนอุยกำลังมึนเมา ฉวยดาบของทหารต่อสู้จนดาบหัก แล้วฉวยศพทหารฟาดทหารเตียวสิ้วต่อไป ทหารเตียวสิ้วระดมยิงเกาทัณฑ์และเอาทวนแทงเตียนอุยหลายเล่ม เตียนอุยซวนไปยืนพิงประตูค่ายสิ้นใจตาย และโจโฉก็แตกทัพกลับ”
เตียนอุยจากเกมสามก๊ก Dynasty Warriors กำลังป้องกันลูกเกาทัณฑ์ |
ชื่อเล่นของเตียนอุย .... เอ้อไหล
ในตอนที่ 8 ของหนังสือสามก๊กฉบับภาษาไทยของเจ้าพระยาพระคลัง(หน) เมื่อโจโฉได้ประจักษ์ถึงพละกำลังของเตียนอุย ว่าขี่ม้ารำทวนได้แคล่วคล่อง ยกเสาธงใหญ่ที่ทหารยี่สิบห้าคนยกไม่ไหวได้ โจโฉได้สรรเสริญเตียนอุย เป็นใจความสั้น ๆ ว่า“มีกำลังดุจหนึ่งคนโบราณ”
คำสรรเสริญนี้ สั้นและย่อมากเสียจนไม่ได้ใจความอะไรเลย ผมจึงต้องเทียบเคียงกับ สามก๊กฉบับภาษาอังกฤษของ C.H. Brewitt Taylor ที่แปลมาจากภาษาจีนแบบตรงตัว ก็ได้ผลปรากฏว่า คำสรรเสริญของโจโฉสั้นจริง แต่ความสั้นนี้มีเรื่องราวและรายละเอียดมาก โดยโจโฉได้กล่าวว่า
“This is old E Lai again!”
แปลได้ประมาณว่า “เอ้อไหลกลับชาติมาเกิดนี้เอง!” (ในสามก๊กภาษาจีนเขียนว่า 古之恶来 : gǔ zhī è lái)
เราจึงทราบว่าจาก ที่เตียนอุยมีกำลังเหมือนคนโบราณ นั้นคือมีกำลังเหมือนคนที่ชื่อว่า “เอ้อไหล” ซึ่งเชิงอรรถในหนังสือสามก๊กภาษาอังกฤษอธิบายว่า “E Lai, whose physical strength was extraordinary, was a general of King Zhou, the last king of Shang Dynasty.” เอ้อไหล เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงมากเหนือคนธรรมดา เป็นขุนพลของพระเจ้าโจ้วหวัง กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซาง
เตียนอุยแบบภาพวาดสีน้ำจากเกมสามก๊ก |
เอ้อไหล เป็นยอดองครักษ์สมัยราชวงศ์ซาง (1600-1046 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นช่วงเวลาก่อนยุคสามก๊กมากกว่าหนึ่งพันปี จึงนับได้ว่าโจโฉเป็นนักศึกษาประวัติศาสตร์ตัวยง และหลังจากที่โจโฉได้ยกย่องเตียนอุยว่ามีกำลังดุจ เอ้อไหลกลับชาติมาเกิด
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เตียนอุยจึงมีชื่อเล่นว่า "เตียนอุยเอ้อไหล"
เตียนอุยผู้ถือศพเป็นอาวุธ จากศิลปะบนกำแพง |
ผมก็สงสัยในตัวคนนี้ว่าทำไม ในเกมยกย่องมากนัก น่าจะมีอะไรน่าฉงนใจ กว่าที่ผมเคยได้อ่าน
ตอบลบต่อไปหวังว่าจะเป็นเตียวคับ เพราะสงสัยเหมือนกันว่าแน่แค่ไหน
เล่นเกริ่นขนาดนี้ ผมต้องไปหาเรื่องเตียวคับมาลงเลยใช่ไหมเนี่ย
ลบเดี๋ยวต้องขอเวลาคิดดูก่อนนะครับ
เกี่ยวกับเรื่องหยิบศพ มองได้มั้ยว่า ไม่ได้ตั้งใจ แต่เอามาบังลูกธนูมากกว่า ลักษณธคือ เก็บอาวุธตกตามพื้นมาสู้ พอห่าลูกศรมาก็คว้าศพมาบัง แล้วนาทีติดพันก็ต้องเอาศพที่ใช้กำบังนั่นแหละหวดข้าศึกก่อนจะเกบหอกดาบเล่มอื่นมาสับต่อ
ตอบลบแต่นิยายเอามาทำซะอืมม์ กลายเป้นผู้ถือ"อาวุธประหลาด"ไปเรย
ไม่รู้เคยพบพบยัง
http://writer.dek-d.com/eagle/story/viewlongc.php?id=10590&chapter=60
ในล่างๆข้อความ เขาบอกว่า ปวศ.จริง ไม่ได้โดนขโมยทวนสั้นไปน่ะครับ ยังคงใช้ทวนคู่มือต่อสู้ไปคุ้มกันเฉาเชาหนี จนบาดเจ็บสาหัสเสียชีวิต
รายละเอียดอาจจะต่างกับในนิยาย แต่ลงเอยเหมือนตรงที่ เขาคุ้มกันเจ้านาย(เฉาเชา)ด้วยชีวิต
ขอบพระคุณครับ และก็เป็นไปได้มากเหลือเกินว่าจะเป็นเช่นนั้น นิยายประวัติศาสตร์มักมีเรื่องประเภทนี้เสมอ ๆ
ลบ