“คติธรรมจากสามก๊ก” เป็นหนังสือสามก๊กที่ประพันธ์โดย “พระราชรัตนมุณี” (ชัยวัฒน์ ปฺญญาสิริ ป.ธ.๙) เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม รองเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
หนังสือสามก๊กสำหรับอ่านเสริมส่วนมากนั้น มักจะกล่าวถึงการชิงไหวชิงพริบ ทางการเมืองและการทหาร หรือไม่ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการคน เรื่องจิตวิทยาเสียส่วนใหญ่ ไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะเห็นหนังสือสามก๊กที่เขียนในมุมมองของพระพุทธศาสนา อย่างเช่นหนังสือ “คติธรรมจากสามก๊ก” ที่ผมกำลังจะกล่าวถึงเล่มนี้
“คติธรรมจากสามก๊ก” เป็นหนังสือสามก๊กที่ประพันธ์โดย “พระราชรัตนมุณี” (ชัยวัฒน์ ปฺญญาสิริ ป.ธ.๙) เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม รองเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
หนังสือสามก๊กสำหรับอ่านเสริมส่วนมากนั้น มักจะกล่าวถึงการชิงไหวชิงพริบ ทางการเมืองและการทหาร หรือไม่ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการคน เรื่องจิตวิทยาเสียส่วนใหญ่ ไม่บ่อยครั้งนักที่เราจะเห็นหนังสือสามก๊กที่เขียนในมุมมองของพระพุทธศาสนา อย่างเช่นหนังสือ “คติธรรมจากสามก๊ก” ที่ผมกำลังจะกล่าวถึงเล่มนี้
เว็บไซต์แสงธรรม (www.sangdhamma.com) |
ในโอกาสนี้ ผมในฐานะของเว็บไซต์ “สามก๊กวิทยา” จึงอยากจะขอกราบขอบพระคุณเว็บไซต์ “แสงธรรม” ที่ได้มอบหนังสือ “คติธรรมจากสามก๊ก” ให้และเพื่อเป็นการเผยแผ่คติธรรมในชั้นต้น ผมจึงขออนุญาตนำ “คำปรารภ” ที่เปรียบเสมือนคำนำของ พระราชรัตนมุณี เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม มาให้อ่านก่อนเป็นคติธรรมขั้นปฐม ก่อนที่จะมีการเผยแผ่หนังสือเล่มนี้ในรูปแบบอื่นต่อไปครับ
“พระราชรัตนมุณี” เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม ผู้ประพันธ์ "คติธรรมจากเรื่องสามก๊ก" |
คำปรารภ
หนังสือที่ท่านอ่านอยู่นี้ ผู้เขียนให้ชื่อว่า คติธรรมจากสามก๊ก จับเอาเฉพาะเรื่องของโจโฉ ตั้งเป็นคำถามว่า โจโฉผู้ร้ายหรือพระเอก ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจว่า ธรรมะนั้นโดยความหมายกว้าง ๆ คืออุบายวิธีสำหรับทำงานและทำใจ ผู้หวังจะทำงานให้ได้รับความสำเร็จ ก็ใช้ธรรมะสำหรับทำงานเช่น ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นต้น ผู้หวังจะทำใจให้พ้นจากความทุกข์ ก็ใช้ธรรมะสำหรับทำใจ หรือใช้ปัญญา รู้จักมอง รู้จักใช้พิจารณา รู้จักวางใจไว้กับความจริงของสรรพสิ่งที่ว่า ทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
นักปราชญ์ผู้สอนธรรมเพื่อให้คนจำได้ และนำเอาไปประพฤติปฏิบัติ จะสอนเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆคือ
- สอนแต่เนื้อหาของธรรมนั้น ๆ
- สอนโดยนำธรรมนั้นมาสมมติ เป็นบุคคล เป็นสัตว์ ที่เรียกว่านิทาน หรือนิยาย
ชีวประวัติในการทำงานของโจโฉ ตั้งแต่เริ่มต้นชีวิตจนถึงจบชีวิต นับว่าได้รับความสำเร็จสูงสุดในบรรดาสามก๊กใหญ่ ๆ ที่เป็นเช่นนี้ เพราะโจโฉมีคุณสมบัติสำคัญในตัว 4 ประการคือ
- มีสติปัญญา
- มีความเพียรพยายามอย่างยิ่ง
- มีอัธยาศัย จึงได้ผู้มีปัญญาและฝีมือเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
- มีบุญช่วยให้รอดพ้นจากภัยอันตราย และนำไปสู่ความสำเร็จ
- รางวัล หรือให้สินบน เพื่อให้คนมีฝีมือ ทั้งฝ่ายตรงข้ามมาอยู่กับตน
- ทำให้ฝ่ายตรงข้ามแตกสามัคคี จนถึงประหัตประหารกันเอง
- ขู่ให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความกลัว
- ประนีประนอม คือเมื่อเห็นว่าตนเองจะเสียที หรือยังเอาชนะฝ่ายตรงข้ามไม่ได้ ก็ขอญาติดีกัน หรือพักรบกันไว้ก่อน
โจโฉเข้ามาทำงานการเมืองเพื่อรวบรวมประเทศของตน ที่เกิดความแตกแยกเป็นร้อยแคว้นพันแคว้น อันเกิดมาจากความผิดพลาดของฮ่องเต้และขันที ผลสัมฤทธิ์ของงาน ก็คือการปราบปรามหัวเมืองต่าง ๆ ที่แยกตัวออกเป็นอิสระให้ราบคาบ แล้วสร้างประเทศให้เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แต่เพียงหนึ่งเดียวได้สำเร็จ ใครหรือสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคต่อผลสัมฤทธิ์นั้น โจโฉก็จำเป็นต้องกำจัดให้พ้นไป การทำงานเพื่อประเทศชาติ จะคำนึงถึงใครคนใดคนหนึ่งไม่ได้ นี้คือคติธรรมสำหรับทำงานที่ได้จากสามก๊ก อันว่าด้วยชีวประวัติการทำงานของโจโฉ
ส่วนคติธรรม สำหรับทำใจที่ได้จากสามก๊ก อันว่าด้วยชีวประวัติการทำงานของโจโฉนั้น จะเห็นความจริงได้ว่า โจโฉนั้นแม้จะมีสติปัญญา มีความเพียรพยายามทำงานได้สำเร็จกว้างใหญ่ไพศาล และได้ขึ้นสู่จุดหมายของชีวิตได้สูงสุดเพียงใดก็ตาม แต่เขาก็หนีความจริงของชีวิตไม่พ้น นั่นคือสุดท้ายเขาต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย และเขาก็หนีกฎแห่งกรรมไม่พ้น คือเขาฆ่า เขาโหดเหี้ยม ทำร้ายใครไว้ เขาก็ได้รับความทุกข์ทรมานทั้งร่างกาย และจิตใจก่อนจะตาย ไม่น้อยไปกว่าคนที่ถูกเขาฆ่า เขาทำร้ายไว้เลย
ขอผู้อ่านหนังสือคติธรรมจากสามก๊กนี้แล้ว จงได้คติธรรม ทั้งสำหรับทำงาน และสำหรับทำใจโดยทั่วกัน เทอญ
พระราชรัตนมุนี
เจ้าคณะจังหวัดนครปฐม
รองเจ้าอาวาสวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
กรุณาแสดงความคิดเห็น