ในเรื่องสามก๊กตอนที่ขงเบ้งยกทัพไปปราบเบ้งเฮ็กซึ่งอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของเมืองเสฉวนนั้น ขงเบ้งได้จับและปล่อยเบ้งเฮ็กไปแล้วถึงหกครั้ง จนกระทั้งศึกครั้งที่เจ็ด เบ้งเฮ็กได้ไปขอความช่วยเหลือจาก ลุดตัดกุด เจ้าเมืองออโกก๊ก
อันทหารตีนกะเป๋งเหล่านี้มีกำลังพลังใส่เกราะหวายคงทนแก่อาวุธเสมอตัวทุกคน
อันเราจะรบพุ่งเอาชัยชนะมันนั้นเห็นขัดสน
ในหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ตอนที่ 69 เบ้งเฮ็กไปขอกำลังลุดตัดกุดมาช่วย ได้บรรยายถึงลักษณะของลุดตัดกุดและทหารเมืองออโกก๊กนี้ว่า
“ ลุดตัดกุดนั้นมีกำลังพลังเป็นอันมาก สูงวาสามศอก กินแต่เนื้อสัตว์แลผลไม้ต่างอาหาร แล้วก็มีวิชาคงทนสารพัดอาวุธ ทหารซึ่งจะเข้าสู้สงครามนั้นก็เข้มแข็งสามารถ เอาหวายแช่น้ำมันไว้หกเดือนมาถักทำเป็นเกราะ แม้ถึงทางกันดารจะข้ามน้ำก็ลอยตัวข้ามฟากไปได้ ถึงถูกอาวุธธนูเกาทัณฑ์ก็มิได้เข้าเป็นอันขาด จึงเรียกทหารเหล่านั้นชื่อว่าตีนกะเป๋ง”
ลุดตัดกุด เจ้าเมืองออโกก๊ก |
คำว่า ตีน ก็คือ เท้า ส่วนคำว่ากะเป๋ง ไม่มีความหมายทางการ แต่ก็ฟังดูคล้ายชื่อเรียกภาชนะชนิดหนึ่งคล้ายกระป๋อง ซึ่งเมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันคงเป็นความหมายที่แปลกพิลึก และคงไม่ใช่ความหมายที่สามก๊กฉบับพระยาพระคลัง(หน) ต้องการจะสื่อถึงอย่างแน่แท้
เกราะหวายตีนกะเป๋ง ของลุดตัดกุด |
ทหารเกราะหวายในภาษาจีน 藤甲兵 (Téng jiǎbīng) อ่านว่า “เถิงเจี่ยปิง” ซึ่งคำนี้เป็นที่มาของคำว่า “ตีนกะเป๋ง” เพราะหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) เรียกชื่อตัวละครและสถานที่ต่าง ๆ ตามสำเนียงฮกเกี้ยน ซึ่งอ่านออกเสียงคำนี้เป็น “ตี๊นกะปี๊ง”
เกราะหวายแช่น้ำมัน เหนียว ลอยน้ำ เชื้อเพลิงอย่างดี |
สารคดีจีนเกี่ยวกับเกราะหวายของลุดตัดกุด
ไม่รู้ว่าพวกม่าน (บ้าน) เป็นพม่าหรือว่าไตยกันแน่
ตอบลบไม่ทราบแน่ชัดครับ แต่ความคิดเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าน่าจะเป็นเวียดนาม เพราะเขามีตำนานพื้นบ้าน รวมทั้งวีรบุรุษหลายคนซึ่งขี่ช้างรบกับจีนในช่วงยุคสามก๊กหลายคนครับ
ลบ