เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ผู้ประพันธ์เรื่อง สามก๊ก เป็น กวีเอก ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อ "หน" มีความสามารถทางด้านการประพันธ์ชั้นเลิศเป็นที่เลื่องลือระบือไกล ท่านแต่งได้ทั้งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ร่าย และร้อยแก้ว ท่านถึงอสัญกรรมเมื่อ พ.ศ.2348
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ผู้ประพันธ์เรื่อง สามก๊ก เป็น กวีเอก ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อ "หน" มีความสามารถทางด้านการประพันธ์ชั้นเลิศเป็นที่เลื่องลือระบือไกล ท่านแต่งได้ทั้งกาพย์ กลอน โคลง ฉันท์ ร่าย และร้อยแก้ว ท่านถึงอสัญกรรมเมื่อ พ.ศ.2348
ผลงานของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
- สามก๊ก
- ราชาธิราช
- ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง
- สมบัติอมรินทร์คำกลอน
- กากีคำกลอน
- มหาชาติร่ายยาวกัณฑ์กุมารและมัทรี
- อิเหนาคำฉันท์
- ลิลิตเพชรมงกุฎ
- โคลงสุภาษิต
- กลอนและร่ายจารึกเรื่องสร้างภูเขาที่วัดราชคฤห์
- ลิลิตศรีวิชัยชาดก
ประวัติของ เจ้าพระยาพระคลัง (หน)
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นบุตร เจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ฦๅชัย (บุญมี) กับท่านผู้หญิงเจริญ มีบุตรธิดาหลายคน ที่มีชื่อเสียงคือ เจ้าจอมพุ่ม ในรัชกาลที่ 2, เจ้าจอมมารดานิ่ม พระมารดาสมเด็จฯ กรมพระยาเดชาดิศร (มั่ง) ในรัชกาลที่ 2, นายเกต และนายพัด ซึ่งเป็นกวีและครูพิณพาทย์เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นต้นสกุล บุญ-หลง เป็นกวีเอกในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่ง สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์ประวัติของท่านไว้ใน คำนำหนังสือ "ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง" ว่า
"เจ้าพระยาพระคลัง เสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า นามเดิม หน เดิมเป็น หลวงสรวิชิต เคยรับราชการอย่างข้าหลวงเดิมในรัชกาลที่ 1 โปรดให้เป็น พระยาพิพัฒโกษา แล้วภายหลังเป็นเจ้าพระยาพระคลัง(หน) มีข้อความในคำปรึกษาความชอบว่า หลวงสรวิชิตจงรักภักดีสัตย์ซื่อ หมายเป็นข้าใต้ละอองธุลีพระบาทมาช้านาน แล้วก็ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินการพระราชสงครามมาแต่ก่อน และครั้งนี้ได้ทำราชการด้วยสมเด็จพระเจ้าหลานเธอ กรมหลวงอนุรักษ์เทเวศน์จนสำเร็จราชการ แล้วได้แต่งคนเอากิจราชการหนักเบาในเมืองธนบุรีออกไปแจ้งใต้ฝ่าละอองธุลีพระ บาทฉบับหนึ่งถึงด่านพระจารึกนั้น มีความชอบ ขอพระราชทานเอาหลวงสรวิชิตให้เป็นพระยาพิพัฒโกษา
ในหนังสือสำดับเสนาบดี ของ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ ว่าทรงเห็นว่าหลวงสรวิชิต นายด่านเมืองอุทัย ชื่อ หม่อมหน เข้ามารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี เป็นคนมีความสวามิภักดิ์ ได้แต่งคนเอากิจราชการสอดหนังสือลับไปถวายถึงด่านพระจารึก แล้วก็ได้ไปรับเสด็จถึงทุ่งแสนแสบ มีความชอบหลายอย่าง ทั้งฝีปากเรียบเรียงหนังสือก็ดี จึงโปรดตั้งให้เป็นที่พระยาพิพัฒโกษา ครั้นโปรดให้ตั้งพระยาพระคลัง(สน)เป็นพระยาศรีอรรคราชแล้ว จึงโปรดให้ตั้งพระยาพิพัฒโกษา ขึ้นเป็น เจ้าพระยาพระคลัง(หน) บุตรมีมากไม่ได้รับราชการ ที่ทราบชื่อคือ นายเกต นายทัด เป็นจิตกวี และเป็นครูพิณพาทย์ บุตรหญิงที่ปรากฏ คือ เจ้าจอมมารดานิ่ม เป็นเจ้าจอมมารดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเดชาดิศร ในรัชกาลที่ 2 พระยาพระคลัง(หน)ถึงแก่อสัญกรรมในรัชกาลที่ 1 เมื่อปีฉลู พ.ศ.2348"
สามก๊ก เจ้าพระยาพระคลัง (หน) |
ในบรรดางานนิพนธ์ของเจ้าพระยาพระคลัง(หน) เรื่องกากีคำกลอน สามก๊ก ราชาธิราช และมหาชาติร่ายยาวกัณฑ์กุมารและมัทรี เป็นที่รู้จักแพร่หลายที่สุด เรื่องกากีคำกลอนนั้นเราพอใจจะอ่านทั้งที่เป็นเรื่อง และทั้งเมื่อผู้ขับร้องในชั้นหลังเลือกบางตอนประมาณ 1 ใน 3 มาขับร้องเข้ากับมโหรี ซึ่งเรียกกันว่า บทมโหรีเรื่องกากี โดยเฉพาะมหาชาติร่ายยาว กัณฑ์กุมารและกัณฑ์มัทรี สำนวนของท่านเป็นเยี่ยมที่สุด แม้จะมีผู้แต่งประชันกันหลายความก็ตาม ก็ยังสู้สำนวนของเจ้าพระยาพระคลัง(หน)ไม่ได้
ส่วนอิเหนาคำฉันท์และลิลิตเพชรมงกุฎนั้น เจ้าพระยาพระคลัง(หน)แต่งแต่เมื่อครั้งยังอยู่ในวัยหนุ่ม เมื่อมีบรรดาศักดิ์เป็นหลวงสรวิชิตรับราชการอยู่ในแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้า ธนบุรี และคงเป็นสมัยที่ยังไม่มีความชำนาญในการประพันธ์มากนัก จึงปรากฏว่าคุณภาพในทางวรรณคดีมีสู้เรื่องอื่นๆซึ่งแต่งในชั้นหลังต่อมาไม่ ได้
อีกเรื่องหนึ่ง คือ ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวงนั้น แต่งตามพระราชโองการ และใจความเกี่ยวกับพระราชพิธี จึงยากที่จะไพเราะเท่าวรรณคดีที่มีชื่อเล่มอื่นๆของท่าน ลิลิตวิชัยชาดกก็เช่นกัน ไม่จัดว่าเป็นงานชิ้นเยี่ยมนัก จึงไม่แพร่หลาย อย่างไรก็ตาม ยังมีหนังสือซึ่งเป็นงานของท่านอีกเล่มหนึ่ง ซึ่งแม้จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักเช่นกัน แต่ถ้าพิจารณาไปแล้วก็มีความดีในลักษณะของวรรณคดีซ่อนอยู่เป็นอันมาก งานชิ้นนั้นก็คือหนังสือสมบัติอมรินทร์คำกลอน ซึ่งจะขอแนะนำให้รู้จักกับวรรณคดีเล่มนี้ต่อไป
หนังสืออมรินทร์คำกลอนนี้ เดิมอยู่ในสมุดข่อย เมื่อหอพระสมุดวชิรญาณซึ่งทำหน้าที่ชำระวรรณคดีต่างๆ อยู่ในขณะนั้น พบสมุดเล่มนี้เข้าจึงได้นำมาตีพิมพ์ แต่มิได้พิมพ์เป็นรูปเล่มเช่นเดียวกับหนังสือวรรณคดีอื่นๆ เพราะมีปริมาณไม่มากนัก มีเพียง ๓๗๐ คำกลอนเท่านั้น ทั้งอีก ๘๐ คำกลอน ในตอนหลังๆก็มีผู้สนใจในวรรณคดีเก่าบางท่าน ให้คำวิจารณ์ไว้ว่า อาจจะไม่ใช่สำนวนของเจ้าพระยาพระคลัง(หน)เอง แต่มีผู้แต่งเติมขึ้นภายหลัง เพราะความเก่าจบตั้งแต่พระอินทร์ไปตามนางสุชาดาคืนมาได้ ความใหม่นี้ด้อยในด้านความไพเราะและแต่งค้างไว้
ในการพิมพ์ ครั้งนั้น ได้นำลงพิมพ์ไว้ในหนังสือวชิรญาณ ซึ่งเป็นนิตยสารของหอพระสมุดวชิรญาณ จึงทำให้วรรณคดีที่ดีเด่นเล่มนี้ไม่แพร่หลายไปเท่าที่ควร ระยะเวลาที่แต่งวรรณคดีเรื่องนี้ยังไม่ทราบแน่นอน แต่พอจะสันนิษฐานได้ว่าจะแต่งก่อนกากีคำกลอน เพราะความปราณีตไพเราะของถ้อยคำผิดกัน ถ้าเรื่องสมบัติอมรินทร์คำกลอนแต่ก่อนกากีคำกลอน สมบัติอมรินทร์ก็จะเป็นนิทานคำกลอนเล่มแรกในประวัติวรรณคดีไทย และเป็นการเบิกทางสำหรับการประพันธ์นิทานคำกลอนเล่มอื่นๆซึ่งเป็นที่นิยมกัน ต่อมาในสมัยหลังมาก เริ่มต้นด้วยนิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณีของสุนทรภู่ มาจนเรื่องจักรๆวงศ์ๆซึ่งแต่งกันอย่างแพร่หลายในชั้นหลัง
ข้อมุลจาก : ภาษาสยามดอทคอม,วิกิพีเดีย
กรุณาแสดงความคิดเห็น