ห้องกวน (Huang Quan, 黃權) ชื่อรอง กงเหิง (Gongheng ,公衡) เป็นชาวตำบลหลังจง เมืองปาซี มณฑลเสฉวน เดิมรับราชการอยู่กับเล่าเจี้ยง ต่อมาในปี ค.ศ.211
ห้องกวน (Huang Quan, 黃權) ชื่อรอง กงเหิง (Gongheng ,公衡) เป็นชาวตำบลหลังจง เมืองปาซี มณฑลเสฉวน เดิมรับราชการอยู่กับเล่าเจี้ยง ต่อมาในปี ค.ศ.211 ห้องกวนเตือนเล่าเจี้ยงว่าไม่ควรรับเล่าปี่เข้ามาในแคว้นเสฉวน เพราะเล่าปี่มีแผนการแย่งชิงเมือง แต่เล่าเจี้ยงไม่เชื่อฟัง
ในหนังสือสามก๊กภาษาไทย ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) เรียกชื่อของห้องกวนในตอนแรก ๆ ว่า “อุยก๋วน” ซึ่งไปซ้ำกับ “อุยก๋วน” ขุนนางของสุมาเจียวที่ไปจับตัวเตงงายมาลงโทษ โปรดอย่าเข้าใจผิดว่าเป็นคนเดียวกัน
ห้องกวน เป็นบุรุษที่น่าเลื่อมใสศรัทธาคนหนึ่ง ไม่เด่น ไม่ดัง แต่มีบทบาทสำคัญมากมายหลายตอน เริ่มตั้งแต่ตอนที่เล่าเจี้ยงเชิญเล่าปี่เข้ามาในเมืองเสฉวน ห้องกวน(อุยก๋วน ในสามก๊กภาษาไทย) กับอองลุยเป็นผู้คัดค้านอย่างถึงที่สุด ซึ่งส่วนมากเรามักจะนึกถึงอองลุย เพราะ อองลุยคัดค้านชนิดถวายชีวิต เพราะเอาเชือกมัดตัวห้อยหัว ลงมาจากกำแพงเมืองก่อนตัดเชือกพร้อมกับคำคมที่มีความหมายจับใจที่สุดประโยคหนึ่งว่า " ยาดีกินขมปาก แต่เป็นประโยชน์แก่คนไข้ คนซื่อกล่าวคำไม่เพราะหู แต่เป็นประโยชน์แก่กาลภายหน้า"
เล่าเจี้ยง เจ้าเมืองเสฉวน |
สุดท้ายเมืองเสฉวนก็ตกไปอยู่ในมือของเล่าปี่ ขุนนางในเมืองเสฉวนล้วนยินดีและออกมาต้อนรับเล่าปี่อย่างอึกทึกครึกโครม มีเพียงห้องกวน(และเล่าป๊า) ที่ไม่ยอมออกมาต้อนรับตามประเพณี เล่าปี่จึงลองใจโดยสั่งการให้จับตัวห้องกวนและครอบครัวไปประหารทั้งหมด ห้องกวนก็นิ่งไม่ขัดขืนประการใด เล่าปี่จึงสั่งให้ยกเลิกการประหารแล้วกล่าวว่า
“อันอุยก๋วน เล่าป๊านั้นมีความซื่อสัตย์ต่อนายนัก ควรเราเลี้ยงสืบไป อย่าให้ทหารทั้งปวงทำอันตรายแม้แต่ด้ายเส้นหนึ่งเข็มเล่มหนึ่งเป็นอันขาดทีเดียว”
ห้องกวน ได้ยินเล่าปี่ว่าดังนั้นจึงเข้ารับราชการกับเล่าปี่เรื่อยมา และได้รับความไว้วางใจจากเล่าปี่เป็นอย่างมาก โดยได้รับพระราชทานยศเป็น เจิ้นเป่ยเจียงจวิน (นายพล) และได้รับมอบหมายให้เป็นที่ปรึกษากองหลวง เมื่อครั้งที่พระเจ้าเล่าปี่ยาตราทัพไปรบกับพระเจ้าซุนกวนเพื่อแก้แค้นแทนกวนอู เรียกได้ว่าเล่าปี่ไม่ง้อขงเบ้ง และให้ห้องกวนทำหน้าที่นั้นแทน
ในการศึกครั้งสำคัญนี้ ห้องกวน ได้แนะนำพระเจ้าเล่าปี่ที่ตั้งค่ายน้ำรายลงไปในแดนกังตั๋งว่า “อันจะให้กองทัพเรือยกเข้าไปนั้นเห็นจะง่าย อันจะกลับถอยมายากด้วยขืนน้ำ ข้าพเจ้าจะขอไปตั้งเป็นทัพหน้าอยู่จะได้ช่วยทัพเรือง่าย พระองค์เป็นทัพหลังอยู่แล้วเห็นจะไม่เสียทีแก่ข้าศึก”
พระเจ้าเล่าปี่ |
จุดด่างพร้อยเดียวในชีวิตของห้องกวน ก็คือการยอมสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้าโจผี เขาเลือกที่จะรักษาชีวิตดีกว่ายอมตายเหมือนทหารกล้าคนอื่น ๆ และตัวเขาเองนั้นได้ถูกทดสอบจากพระเจ้าโจผีโดยการปล่อยข่าวว่า เล่าปี่โกรธมากที่ห้องกวนแปรพักตร์และจับตัวครอบครัวห้องกวนประหารชีวิตจนหมดสิ้น แต่ห้องกวนไม่เชื่อข่าวลือนั้นเพราะเชื่อมั่นในคุณธรรมของเล่าปี่ ซึ่งก็เป็นไปตามนั้นเพราะเล่าปี่ เข้าใจสถานการณ์ของห้องกวนดี แม้จะมีคนยุให้จับตัวครอบครัวของห้องกวนมาประหาร โดยเล่าปี่กล่าวว่า “เราเห็นห้องกวนไม่เป็นขบถ ชอบแต่เลี้ยงบุตรภรรยาไว้ให้ดี อย่าให้อดอยากกว่าเขาจะกลับมาจึงจะชอบ” ซึ่งความในตอนนี้ในหนังสือสามก๊กภาษาอังกฤษ กล่าวได้ประทับใจกว่า ว่า
“Really, I betrayed him, not he me. Why should I take vengeance on his family?” (ความจริงแล้ว เราเองต่างหากที่ขบถต่อเขา หาใช่เขาขบถต่อเราไม่ แล้วเหตุใดจึงต้องทำร้ายครอบครัวเขาด้วย)
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของห้องกวน ในดินแดนวุยก๊กอีกด้วยว่า หลังจากที่พระเจ้าเล่าปี่สิ้นพระชนม์ เหล่าขุนนาง ข้าราชการในดินแดนวุยก๊กทุกนายต่างดีอกดีใจ จัดงานเลี้ยงฉลองกันภายในวัง คงมีเพียงแต่ ห้องกวน เท่านั้นที่ไม่มาร่วมงานและไว้อาลัยอย่างเงียบสงบภายในบ้านพักของเขา พระเจ้าโจผีรู้ข่าวนี้ แต่ไม่ทรงตรัสว่าอย่างใด และชื่นชมในความจงรักภักดีของห้องกวนที่มีต่อเล่าปี่มาก
ต่อมาห้องกวน ทราบว่าพระเจ้าโจผีทรงรับรู้ข่าวนี้ ห้องกวนจึงตระหนักถึงคุณของพระเจ้าโจผี และตั้งใจว่าจะไม่แสดงอารมณ์ใด ๆ ให้ปรากฏอีกตลอดชีวิต เขาจึงมีชื่อเสียงมากเรื่องการเก็บงำความรู้สึก ทั้งการยินดีและยินร้าย
พระเจ้าโจผี |
สายลับของสุมาอี้จึงรีบกลับเข้ามารายงานข่าว ตั้งแต่นั้นมาสุมาอี้จึงนับถือห้องกวนเป็นอย่างมาก ที่ความสามารถควบคุมอารมณ์ไว้ได้อย่างมั่นคง แม้ในสถานการณ์คับขัน ที่ไม่มีใครจับตามองอยู่ก็ตาม ....
เรื่องของห้องกวน จึงเป็นเรื่องของบุรุษเจนโลก ผู้ผ่านร้อนผ่านหนาว รู้จักการใช้ชีวิต รู้รักษาตัวรอดในสถานการณ์หน้าสิ่วหน้าขวาน เขารับใช้นายของเขาทุกคนอย่างสุดความสามารถ ทั้งเล่าเจี้ยงที่เสฉวน เล่าปี่ที่จ๊กก๊ก และโจผีที่วุยก๊ก อย่างจงรักภักดีที่สุดแม้จะผิดหวังและพบกับจุดเปลี่ยนในชีวิตหลายต่อหลายครั้งก็ตาม
กรุณาแสดงความคิดเห็น