วิกิซอร์ซ (wikisource) เป็นห้องสมุดออนไลน์ซึ่งรวบรวมสิ่งตีพิมพ์ งานเขียน และบทความที่อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์หมดลง และกลายเป็นสาธารณสมบัติ โดยผลงานเหล่านี้จะได้รับการเก็บรวบรวม และบำรุงรักษาโดยสมาชิกของทางวิกิซอร์ซเอง ซึ่งในปัจจุบันวิกิซอร์ซมีสิ่งตีพิมพ์ในเนื้อหาภาษาไทยอยู่หลายชิ้น และหนึ่งในนั้นคือ "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)"
วิกิซอร์ซ (wikisource) เป็นห้องสมุดออนไลน์ซึ่งรวบรวมสิ่งตีพิมพ์ งานเขียน และบทความที่อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์หมดลง และกลายเป็นสาธารณสมบัติ โดยผลงานเหล่านี้จะได้รับการเก็บรวบรวม และบำรุงรักษาโดยสมาชิกของทางวิกิซอร์ซเอง ซึ่งในปัจจุบันวิกิซอร์ซมีสิ่งตีพิมพ์ในเนื้อหาภาษาไทยอยู่หลายชิ้น และหนึ่งในนั้นคือ "สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน)"
ข้อมูลใน "สามก๊ก-วิกิซอร์ซ" ระบุว่า "เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2347 อายุคุ้มครองลิขสิทธิ์ในจึงสิ้นลงเมื่อ พ.ศ. 2397 อันเป็นเวลาห้าสิบปีหลังอสัญกรรม" จึงนับว่าผลงานของท่านเป็นสาธารณสมบัติ เพราะการคุ้มครองลิขสิทธิ์หมดอายุลงแล้ว ตามมาตรา 19 และมาตรา 20 แห่ง พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ซึ่งว่า
" มาตรา 19 "
- ภายใต้บังคับมาตรา 21 และมาตรา 22 ลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย
- ในกรณีที่มีผู้สร้างสรรค์ร่วม ลิขสิทธิ์ในงานดังกล่าวให้มีอยู่ตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ร่วม และมีอยู่ต่อไปอีกเป็นเวลาห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ร่วมคนสุดท้ายถึงแก่ความตาย
- ถ้าผู้สร้างสรรค์ หรือผู้สร้างสรรค์ร่วม ทุกคนถึงแก่ความตาย ก่อนที่ได้มีการโฆษณางานนั้น ให้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวมีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
- ในกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคล ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
- งานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น โดยผู้สร้างสรรค์ใช้นามแฝง หรือไม่ปรากฏชื่อผู้สร้างสรรค์ ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น แต่ถ้าได้มีการโฆษณางานนั้นในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว ให้ลิขสิทธิ์มีอายุห้าสิบปีนับแต่ได้มีการโฆษณาเป็นครั้งแรก
- ในกรณีที่รู้ตัวผู้สร้างสรรค์ ให้นำมาตรา 19 มาใช้บังคับโดยอนุโลม"
นักอ่านสามก๊กท่านใด มีไฟล์หนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) และต้องการช่วยเหลือ วิกิซอร์ซ ซึ่งเป็นมูลนิธิ ๆ หนึ่งในเครือข่ายของ วิกิพีเดีย ในการรวบรวมบทความให้ครบถ้วน ก็สามารถสมัครเข้าไปใช้และบันทึกเนื้อหาของสามก๊กไว้ได้
นอกจากนี้ ในวิกิซอร์ซ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือ ในหน้าหนังสือที่เราสนใจ จะสามารถสั่งพิมพ์เป็นรูปเล่ม หรือดาว์นโหลดไฟล์ PDF มาเก็บไว้อ่านภายหลังในลักษณะของ Ebook ได้อีกด้วย
ในวิกิซอร์ซ อนุญาตให้บันทึกไฟล์ในรูปแบบ PDF ได้เลย |
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลเพิ่มเติม
สามก๊ก (Romance of the Three Kingdoms , 三國演義 , Sānguó yǎnyì) เป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์ เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จัดเป็นวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก เป็นมรดกทางปัญญาของปราชญ์ชาวตะวันออกที่สุดยอด มีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากกว่า 10 ภาษา และมีการตีพิมพ์อย่างแพร่หลายทั่วโลก แต่งขึ้นประมาณในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ยุคสมัยราชวงศ์หยวน ประพันธ์โดย หลัว กวั้นจง (羅貫中 , Luó Guànzhōng)
สามก๊กฉบับภาษาไทย แปลและเรียบเรียงเป็นครั้งแรกโดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2345 ในรูปแบบสมุดไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ในปี พ.ศ. 2408 และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งภายใต้ชื่อ "หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา" โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ในปี พ.ศ. 2471 ปัจจุบันสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีกหลายครั้งโดยหลายสำนักพิมพ์ถือเป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เล่มที่ 2 โดยแปลหลังจากไซ่ฮั่นและเก่าแก่ที่สุดในไทย
สามก๊กฉบับภาษาไทย แปลและเรียบเรียงเป็นครั้งแรกโดย เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2345 ในรูปแบบสมุดไทย ตีพิมพ์ครั้งแรกโดยโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ ในปี พ.ศ. 2408 และได้รับการตีพิมพ์ซ้ำอีกครั้งภายใต้ชื่อ "หนังสือสามก๊ก ฉบับราชบัณฑิตยสภา" โดยโรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร ในปี พ.ศ. 2471 ปัจจุบันสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้รับการตีพิมพ์ใหม่อีกหลายครั้งโดยหลายสำนักพิมพ์ถือเป็นวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เล่มที่ 2 โดยแปลหลังจากไซ่ฮั่นและเก่าแก่ที่สุดในไทย
กรุณาแสดงความคิดเห็น