ในเรื่องสามก๊กขงเบ้งมักจะได้รับการยกย่องในเรื่องสติปัญญาความสามารถ ให้ทัดเทียมกับวีรชนในอดีตมากมายอาทิเช่น เก่งสง ขวัญต๋ง งักเย และเตียวเหลียง ซึ่งบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นเอก ทางด้านบุ๋นและบู๊ ใครเป็นใครบ้างนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกัน
ประวัติของเหล่าวีรชนผู้เป็นต้นแบบของขงเบ้งในเรื่องสามก๊กขงเบ้งมักจะได้รับการยกย่องในเรื่องสติปัญญาความสามารถ ให้ทัดเทียมกับวีรชนในอดีตมากมายอาทิเช่น เก่งสง ขวัญต๋ง งักเย และเตียวเหลียง ซึ่งบุคคลเหล่านี้ล้วนเป็นเอก ทางด้านบุ๋นและบู๊ ใครเป็นใครบ้างนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักกัน
“เก่งสง” (Lu Wang, Lu Shang) “เจียงไท่กง” “เจียงจื่อหยา” (Jiāng Zǐyá) หรือ “ไท่กงหวัง” (Tàigōng Wàng) |
เก่งสง
“เราว่าแต่เพียงนี้เป็นประมาณดอก พิเคราะห์ดูสติปัญญาของขงเบ้งนั้นจะเปรียบได้ถึงเก่งสง ผู้เป็นที่ทำนุบำรุงแผ่นดินพระเจ้าจิ๋วบุนอ๋อง ซึ่งเสวยราชสมบัติสืบมาได้ถึงแปดร้อยปีนั้นอีก” คือคำยกย่องขงเบ้ง ที่สุมาเต๊กโชกล่าวไว้แก่เล่าปี่“เก่งสง” (Lu Wang, Lu Shang) ชื่อนี้น้อยคนนักที่จะรู้จัก เพราะมีแต่ในหนังสือสามก๊กภาษาไทยเท่านั้นที่เรียกเขาในชื่อนี้ ส่วนคนทั่วไปจะเรียกเขาว่า “เจียงไท่กง” “เจียงจื่อหยา” (Jiāng Zǐyá) หรือ “ไท่กงหวัง” (Tàigōng Wàng) ยอดขุนพลเฒ่า นักวางแผน ผู้เป็นเจ้าแห่งตำราพิชัยสงครามเล่มแรกในประวัติศาสตร์จีน
เก่งสง เคยเป็นขุนนางในราชวงศ์ซาง แต่ทนความโหดร้ายในการปกครองของโจ้วอ๋อง ไม่ได้ จึงเร้นกายมาพำนักที่ชนบทห่างไกล ติดแม่น้ำเว่ยสุ่ย (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลส่านซี) เก่งสงมักจะออกไปตกปลาด้วยคันเบ็ดที่มีลักษณะประหลาดคือ คันตรง ขอตรง เคยมีคนถามเขาว่าเบ็ดแบบนี้จะตกอะไรได้ เก่งสงจึงบอกว่า เขาอยากได้ความตรง ไม่อยากได้ความงอ และเขาไม่ได้รอปลามาติดเบ็ด เขารอกษัตริย์มาติดเบ็ดต่างหาก
เก่งสงตกปลาอยู่อย่างนั้นจนอายุได้ 80 ปี ขณะที่เก่งสงนั่งตกปลา จิ๋วบุนอ๋องซึ่งไปล่าสัตว์ ก็ได้มาเชิญเขาไปร่วมงานด้วย เพราะได้ยินกิตติศัพท์รวมทั้งเคยมีคำทำนายว่า จะได้พบเจอคนที่จะสามารถช่วยโค่นล้มทรราชที่นี่ จิ๋วบุนอ๋องได้ออกแรงโดยทรงลากรถให้เก่งสงนั่งลงจากเขา ได้ถึง 808 ก้าว เชือกจึงขาด เก่งสงจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจะช่วยให้ตระกูลของท่านครองราชย์ 808 ปี นี่คือมติของสวรรค์ แล้วหลังจากนั้น เก่งสงก็ช่วยให้ จิ๋วบุนอ๋องโค่นล้มโจ้วอ๋อง และขึ้นครองราชย์ได้สำเร็จ
นอกจากนี้เก่งสง ยังได้รับการยกย่องเป็นบิดาและเจ้าแห่งตำราพิชัยสงคราม เนื่องจากได้เขียนตำราพิชัยสงครามชื่อ “หกความลับแห่งยุทธศาสตร์” ซึ่งต่อมาได้ตกอยู่ในมือของ เตียวเหลียง ยอดกุนซือแห่งยุคอีกคนหนึ่ง
“ขวันต๋ง” หรือ “ก่วนจง” (Guan Zhong) |
ขวันต๋ง
“อันขงเบ้งมีสติปัญญาเป็นอันมาก เหมือนกับขวันต๋ง งักเยซึ่งได้ทำนุบำรุงแผ่นดินครั้งซุนสิวนั้น” เป็นคำยกยอขงเบ้งจากสุมาเต๊กโช เมื่อครั้งได้ทราบว่าชีซีแนะนำให้เล่าปี่ไปเชิญขงเบ้งมาเป็นที่ปรึกษา“ขวันต๋ง” หรือ “ก่วนจง” (Guan Zhong) คือยอดนักปกครอง นักบริหารที่ทำให้รัฐฉีกลายเป็นมหาอำนาจ โดยไม่ต้องทำสงครามขยายดินแดน และทำให้ ฉีหวนกง กลายเป็นมหาราชของยุคนั้น ซึ่ง ขงจื้อ ได้กล่าวยกย่องแนวทางของ ขวันต๋ง เอาไว้ว่า
" ขวันต๋งเป็นนักปกครองอัจฉริยะ สร้างความผาสุกให้แก่ราชอาณาจักรจีน มาตรแม้นไม่มี ขวันต๋งเกิดมาแล้ว แผ่นดินจีนก็คงตกเป็นของพวกคนป่าคนดอย คนจีนในสมัยปัจจุบัน (สมัยขงจื้อ) คงมีความเป็นอยู่แบบคนฮวนไปแล้ว "
ขวันต๋ง ได้เขียนตำราการบริหาร การปกครองหลายฉบับ ซึ่งไม่เคยล้าสมัย แม้จะเขียนมานานกว่า 2,600 ปีแล้ว ดังเช่นในตำราสรรนิพนธ์ก่วนจื๊อ หรือสาส์นก่วนจือ ซึ่งขอยกตัวอย่างบทที่ว่าด้วยความดำรงอยู่ของรัฐมาดังนี้
" รัฐย่อมอยู่ได้ด้วยปัจจัย 4 ประการ
ถ้าขาดไปประการหนึ่ง รัฐจะขาดความสงบสุข
ถ้าขาดไปสองประการ รัฐจะเผชิญภาวะวิกฤติ
ถ้าขาดไปสามประการ รัฐจะเกิดจลาจล
ถ้าขาดหมดสี่ประการ รัฐก็จะดับสูญไป
ขาดความสงบสุข ก็ยังมีทางแก้ไข ในภาวะวิกฤติ ยังหาทางออกได้ เกิดจลาจล อาจกอบกู้สถานการณ์ให้คืนดีได้
แต่ถ้ารัฐดับสูญแล้ว ไม่มีทางแก้ไขเยียวยาได้อีก แล้วปัจจัย 4 ที่กล่าวถึงคืออะไร ? ทั้ง 4 ประการ ได้แก่
- จริยวัตรที่งดงาม
- ความประพฤติที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
- การอภิปรายอย่างตรงไปตรงมา
- ความรู้สึกสำนึกและละอายต่อบาป "
“งักเย” หรือ เล่ออี้ (Yue Yi) |
งักเย
“แต่ก่อนข้าพเจ้าแจ้งว่าอาจารย์ฮกหลงอยู่ตำบลเขาโงลังกั๋ง เขาเลื่องลือว่ากอปรด้วยสติปัญญามาก เหมือนอาจารย์ขวันต๋งงักเย ยังจะจริงกระนั้นหรือ” เป็นคำกล่าวของเตียวเจียว เมื่อพบกับขงเบ้งเป็นครั้งแรก“งักเย” หรือ เล่ออี้ (Yue Yi) เป็นชาวแคว้นเว่ย เมื่อครั้งที่ เอี้ยนเจาหวาง ประกาศหาตัวผู้มีความสามารถนั้น งักเย คือหนึ่งในผู้ที่มาเข้าด้วยกับแคว้นเอี้ยน และได้รับการแต่งตั้งเป็นถึงแม่ทัพใหญ่ ซึ่งในขณะนั้นแคว้นเอี้ยนเป็นแคว้นเล็ก และถูกแคว้นฉี ซึ่งเป็นแคว้นใหญ่รุกรานอยู่เป็นประจำ
286 ปีก่อน ค.ศ. แคว้นฉีทำลายแคว้นซ่ง ทำให้แคว้นอื่น ๆต่างพากันหวาดหวั่นไปทั่ว ดังนั้นแคว้นฉินจึงริเริ่มความคิดให้แคว้น ฉิน, ฉู่, เว่ย, จ้าว, หาน และเอี้ยน ทั้งหมด 6 แคว้นรวมกำลังกันยกทัพไปโจมตีแคว้นฉี หลังจากกองทัพพันธมิตร6ทัพตีทัพฉีพ่ายแล้ว ก็กลับขัดแย้งกันเอง จึงเหลือเพียงทัพเอี้ยน ที่บุกตีแคว้นฉีต่อไปภายใต้การนำของงักเย
งักเย นำทัพเอี้ยนที่มีกำลังน้อยเข้าตีแคว้นฉี 5 ปี ตีเมืองแตกไป 70 กว่าเมือง แต่ภายหลังถูกอุบายของ เถียนตาน เชื้อพระวงศ์ฉี ส่งสายลับไปยุให้ เอี้ยนเจาหวาง กับ งักเย แตกคอกัน งักเยจึงต้องหลบหนีไปยังแคว้นจ้าว ทัพฉีจึงชิงเอาเมืองกลับคืนมาได้ทั้งหมด แต่อย่างไรก็ตามวีรกรรมของ งักเย ที่ตีเมืองได้ 70 กว่าเมืองนี้ ก็ยากที่จะหาใครเทียมได้
“เตียวเหลียง” หรือ “จางเหลียง” (Zhang Liang) |
เตียวเหลียง
“ถ้าได้คนนี้มาแล้วก็เหมือนพระเจ้าฮั่นโกโจได้เตียวเหลียงผู้มีปัญญามาไว้ เป็นที่ปรึกษา” เป็นคำรับประกันจากชีซี ที่กล่าวยกย่องขงเบ้ง ก่อนที่ชีซีจะไปอยู่กับโจโฉ“เตียวเหลียง” หรือ “จางเหลียง” (Zhang Liang) เป็นผู้ที่เคยอาจหาญลอบปลงพระชนม์ฉินซีฮ่องเต้แต่ไม่สำเร็จ เขาช่วยให้เล่าปังสามารถปราบดาภิเษกเป็นจักรพรรดิ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ว่ากันว่าเคล็ดลับของ เตียวเหลียง ก็คือ การได้รับสุดยอดตำราพิชัยสงครามของเก่งสง (ตำราพิชัยสงครามไท่กง,ไท่กงปิงฝ่า) จากชายชราคนหนึ่งนามว่า ผู้เฒ่าหินเหลือง
เตียวเหลียงศึกษาพิชัยสงครามไท่กง ทุกวันจนแตกฉาน จนต่อมาเขาได้เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของเล่าปัง ร่วมกันวางแผนโค่นล้มราชวงศ์ฉินลงได้สำเร็จ และนอกจากนี้เขายังช่วยให้เล่าปังสามารถรบชนะ ฌ้อปาอ๋อง ในสมัยสงครามฉู่-ฮั่นอีกด้วย
ในบันทึกประวัติศาสตร์จีนของ ซือหม่าเชียน ได้เขียนยกย่อง เตียวเหลียงไว้ว่า “เมื่อ ถึงคราวที่พระเจ้าฮั่นโกโจเผชิญปัญหาหนักหนาถึงขนาดคอขาดบาดตาย เตียวเหลียงผู้นี้ก็มักจะเป็นคนที่ช่วยพระองค์ให้รอดพ้นจากเรื่องเหล่านั้น เสมอ” นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าว่าเตียวเหลียงเป็นชายหนุ่มหน้าสวย และมักถูกเข้าใจผิดอยู่บ่อยครั้งว่าเป็นสตรี
ในหนังสือสามก๊กภาษาไทย สุมาเต๊กโช กล่าวยกย่องขงเบ้งต่อเล่าปี่ ไว้แต่เพียงว่า เปรียบดังเก่งสง แต่ในหนังสือสามก๊กฉบับภาษาอังกฤษ ได้เปรียบ ขงเบ้งไว้กับเตียวเหลียงด้วย ดังความว่า
"One of them is Lu Wang, who laid the foundations of the Zhou Dynasty so firmly that it lasted eight hundred years; and the other Zhang Liang, who made the Han glorious for four centuries."
เยี่ยมเลยครับ อยากรู้ประวัติ บุคคลเหล่านี้มานานแล้ว ขอบคุณครับ
ตอบลบยินดีอย่างยิ่งครับคุณหมอ
ตอบลบเรื่องสามก๊กพูดถึงบุคคลเหล่านี้บ่อย ๆ แต่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก
โดยเฉพาะ "เก่งสง" คนนี้เป็นระดับตำนาน เจ้าแห่งกลยุทธ์เลย
ซึ่งมีข้อมูลแบบละเอียดยิบอยู่ในหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ "10 กุนซือจีนยอดอัจฉริยะ" ของคุณ วัชระ ชีวะโกเศรษฐ
ขอแนะนำให้อ่านเลยครับ สำหรับคนที่ชอบเรื่องจีนและสามก๊ก (เล่มนี้มี กุยแก เป็น 1 ใน 10 ด้วย)
กุยแกนี่เก่งมากถ้าได้อยู่กับโจโฉต่อไปวุยก๊กอาจจะยิ่งใหญ่ในยุคของโจโฉ
ลบรัฐย่อมอยู่ได้ด้วยปัจจัย 4 ประการ
ตอบลบถ้าขาดไปประการหนึ่ง รัฐจะขาดความสงบสุข
ถ้าขาดไปสองประการ รัฐจะเผชิญภาวะวิกฤติ
ถ้าขาดไปสามประการ รัฐจะเกิดจลาจล
ถ้าขาดหมดสี่ประการ รัฐก็จะดับสูญไป
ทั้ง 4 ประการ ได้แก่
1) จริยวัตรที่งดงาม
2) ความประพฤติที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
3) การอภิปรายอย่างตรงไปตรงมา
4) ความรู้สึกสำนึกและละอายต่อบาป
ยังคงใช้ได้จนถึงปัจจุบัน ขอเพียงนักการเมืองรับรู้และทำตาม บ้านเมืองคงสงบสุขกว่านี้
ชอบมากๆครับ ขอบคุณที่หามาให้
ตอบลบแต่ก่อนผมเคยเอาเตียวเหลียง เซี่ยงอี่มาเล่นในสามก๊ก10 ได้น่ะคับแต่ตอนนี้เลิกเล่นไปนานพอกลับมาเล่นใหม่ลืมวืธีการไปแล้วท่านใดรู้วิธีเอาตัวละครลับเหล่านี้ออกมาได้ช่วยแนะนำด้วยครับ
ตอบลบขอบคุณ ค้าบบ
ตอบลบเก่งสงหรือเก่งถั่วลิสงกันแน่ครับ
ตอบลบ