เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2555 ประเทศไทยของเราได้สูญเสียครู อังคาร กัลยาณพงศ์ นัก ปราชญ์ กวีและจิตรกรเอกไป ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการเพราะ ครูอังคาร เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในฐานะเป็นจิตรกรและกวีชั้นแนวหน้าของประเทศ ท่านเป็นกวีที่คงความเป็นไทย ทั้งในด้านความคิดและรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นกวีที่มีความคิดเป็นอิสระ ไม่ถูกร้อยรัดด้วยรูปแบบที่ตายตัว
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2555 ประเทศไทยของเราได้สูญเสียครู อังคาร กัลยาณพงศ์ นัก ปราชญ์ กวีและจิตรกรเอกไป ซึ่งนับว่าเป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของวงการเพราะ ครูอังคาร เป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับในฐานะเป็นจิตรกรและกวีชั้นแนวหน้าของประเทศ ท่านเป็นกวีที่คงความเป็นไทย ทั้งในด้านความคิดและรูปแบบ อีกทั้งยังเป็นกวีที่มีความคิดเป็นอิสระ ไม่ถูกร้อยรัดด้วยรูปแบบที่ตายตัว
ทั้งนี้หากพูดถึงเรื่องกวีในเรื่องสามก๊ก ส่วนใหญ่เราจะนึกถึง โจโฉ หรือโจสิด ที่ชอบแต่งโคลงแต่งกลอน แล้วนำมาร้องเล่นในโอกาสต่าง ๆ แต่ถ้าหากจะถามหา กวีระดับนักปราชญ์ราชบัณฑิตในเรื่องสามก๊ก ก็กลับแทบจะมองหาไม่เห็น
ส่วนนักปราชญ์อย่างจูกัดเหลียง ขงเบ้ง ผู้รอบรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ทุกแขนงสาขาวิชา และได้รับการยกย่องให้เป็นชายที่ฉลาดปราดเปรื่องที่สุดคนหนึ่งของประเทศจีน ความจัดเจนทางด้านศิลปะของขงเบ้งนั้น ก็เด่นดังเฉพาะทางด้านดนตรี ตามที่เห็นขงเบ้งตีขิมแข่งกับจิวยี่ในหนังสามก๊กโจโฉแตกทัพเรือ และใช้กลเมืองร้างตีขิมหลอกสุมาอี้ให้ถอยทัพกลับไป
เราไม่ค่อยเห็นขงเบ้ง วาดรูป แต่งกลอน หรือร่ายบทกวีอะไร นอกเสียจากตอนที่ขงเบ้งปรากฏตัวครั้งแรกต่อหน้าพระเจ้าอา เล่าปี่ ตามความในหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ที่ลุกขึ้นจากเตียงนอนว่า
ขงเบ้งแสร้งทำนอนเสียวันนั้นช้านาน จนบ่ายห้าโมงแล้วจึงพลิกตัวตื่นขึ้นว่าโคลงสี่บทเป็นใจความว่า " ผู้ใดนอนหลับ ใจก็มิรู้สัญญา จักษุอันหลับอยู่นั้นจะดูสิ่งใดก็มิได้เห็น หอน้อยเรานี้ก็เป็นที่สำราญ ถึงเทศกาลฝนก็นอนอุ่น พระอาทิตย์เจ้าเอ๋ย อย่าเพ่อคล้อยคลับให้ลับหน้าต่าง หยุดส่องแสงอยู่ก่อนจะได้นอนให้สบาย"
บทกวีที่ขงเบ้งร่ายออกมานี้ หากลองนำมาเทียบกับบทกวีจากหนังสือสามก๊กฉบับต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย เริ่มจากหนังสือสามก๊กภาษาอังกฤษ เขียนไว้ว่า
"Can any know what fate is his?
Yet have I felt throughout my life,
The day would come at last to quit
The calm retreat for toil and strife."
Yet have I felt throughout my life,
The day would come at last to quit
The calm retreat for toil and strife."
กวีภาษาอังกฤษบทนี้ อาจารย์ยาขอบ ได้แปลไว้อย่างไพเราะ ในหนังสือสามก๊กฉบับวณิพกว่า
"ยากจะหา คนใด รู้โชคตน
แต่ข้ามี กังวล เพราะเชื่อว่า
ที่สุดวัน วันหนึ่ง คงจะมา
ให้ข้าลา นิเวกสุข เข้าคลุกงาน"
แต่ข้ามี กังวล เพราะเชื่อว่า
ที่สุดวัน วันหนึ่ง คงจะมา
ให้ข้าลา นิเวกสุข เข้าคลุกงาน"
และในกวีบทเดียวกันนี้ คุณสังข์ พัธโนทัย ได้แปลออกมาว่า
"มีใครหรือรู้โชคชะตาตน
ข้านี่แหละฝึกฝนรู้ตนอยู่
วันเวลามาใกล้ใคร่ครวญดู
ต้องไปสู่ความยากลำบากเอย"
ข้านี่แหละฝึกฝนรู้ตนอยู่
วันเวลามาใกล้ใคร่ครวญดู
ต้องไปสู่ความยากลำบากเอย"
อ่านดูเท่านี้ หลาย ๆ ท่านคงได้คำตอบ ว่าทำไม ขงเบ้งจึงไม่ใช่คนเจ้าบทเจ้ากลอน เพราะ ความเป็นอัจฉริยะของเขา ทุ่มเทไปทางด้านอื่น ๆ เสียหมด การแต่งกลอน แต่งกวีไม่ใช่เรื่องง่ายเลย .... ประเทศของเราจึงสูญเสียครั้งใหญ่ เมื่อครู อังคาร กัลยาณพงศ์ “ชายผู้หาวเป็นลายกนก ฝันเป็นโคลงสี่สุภาพ” ได้ลาจากไป ... ขอไว้อาลัยย้อนหลังให้ครูด้วยคนครับ
ขงเบ้งร่ายกวี - Youtube
ความฝัน ใครรู้ ล่วงหน้า
แต่ข้า นี้แล รู้ได้
ยามวสันต์ นอนเพลินไป
ตะวัน ครรลัย บ่ายคล้อย
แต่ข้า นี้แล รู้ได้
ยามวสันต์ นอนเพลินไป
ตะวัน ครรลัย บ่ายคล้อย
เพิ่มภาษาจีนลงในนี้ด้วยจะสมบูรณ์ขึ้นครับ
ตอบลบกวีที่ขงเบ้งท่องตอนเล่าปี่เยือนกระท่อมครั้งที่สาม
大梦谁先觉 平生我自知
草堂春睡足 窗外日迟迟
(วรรณกรรมสามก๊กฉบับภาษาจีน)
ความฝันใครรู้ล่วงหน้า .. เเต่ข้านี้เเลรู้ได้
ยามวสันต์นอนเพลินไป .. ตะวันครรลัยบ่ายคล้อย
(ภาพยนตร์โทรทัศน์สามก๊ก 1994)
ความฝันใครเล่ารู้ล่วงหน้า .. เเต่ชีวิตข้าย่อมรู้ดี
ฤดูใบไม้ผลินอนหลับในกระท่อมหญ้า .. นอกหน้าต่างตะวันเคลื่อนคล้อย
(เเปลเล่นๆตามเเบบฉบับของผม :) )
ปล. ที่ว่าขงเบ้งประชันตี "ขิม" น่าจะใช้ว่า "ฉิน" หรือ "กู่ฉิน" มากกว่าครับ เพราะสมัยนี้เครื่องดนตรีนี้ไม่ใช่ข้อมูลที่คลุมเครือดังการเเปลสามก๊กสมัยก่อนที่คนไทยไม่รู้จักครับ
ขอบพระคุณ ท่านหลี่กว้านเผิงมากครับสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม เป็นประโยชน์มากจริง ๆ และยินดีรับไว้แก้ไขครับ
ลบ