“สามก๊กไม่ใส่น้ำแข็ง” เรื่องของเราในวันนี้ก็มาจากรูปภาพของตัวละครลึกลับตัวหนึ่ง เป็นรูปชายชรากำแท่งน้ำแข็งไว้ในมือ และชายผู้นี้ไม่มีชื่อเสียงเรียงนามปรากฎในหนังสือสามก๊กฉบับภาษาไทย เขาผู้นั้นคือ “โหลวซือโป”
"เรื่องของน้ำแข็ง กับ สามก๊กฉบับภาษาไทย"
“สามก๊กไม่ใส่น้ำแข็ง” เรื่องของเราในวันนี้ก็มาจากรูปภาพของตัวละครลึกลับตัวหนึ่ง เป็นรูปชายชรากำแท่งน้ำแข็งไว้ในมือ และชายผู้นี้ไม่มีชื่อเสียงเรียงนามปรากฎในหนังสือสามก๊กฉบับภาษาไทย เขาผู้นั้นคือ “โหลวซือโป”
โหลวซือโป (Lou Zibo) หรือโหลวกุย (Lou Gui) เป็นนักพรตมีสมญานามว่า “ดอกบ๊วยฝันใฝ่” (Plum-Blossom Dreamer) ซึ่งตามบันทึกประวัติศาสตร์เขาคือหนึ่งในที่ปรึกษาของโจโฉ ที่แนะนำให้โจโฉสร้างค่ายน้ำแข็งเพื่อรับมือกับม้าเฉียว ในศึกด่านตงก๋วน โจโฉยกย่องโหลวซือโปเป็นอย่างมาก แต่เนื่องจากโหลวซือโปเป็นคนตรงไปตรงมา พูดจาขวานผ่าซาก สุดท้ายเขาจึงถูกโจโฉประหารชีวิต
ค่ายน้ำแข็งของโหลวซือโปนี้ ตามวรรณกรรมต้นฉบับอธิบายว่า ในศึกระหว่างโจโฉกับม้าเฉียว หลังจากที่โจโฉต้องตัดหนวดหนีม้าเฉียวอย่างหัวซุกหัวซุน ม้าเฉียวยังคงตามตีโจโฉมาเรื่อย ๆ ในเวลานั้นเป็นฤดูหนาวอากาศหนาวเหน็บ ค่ายของโจโฉถูกตี ถูกเผาและยึดไปเป็นจำนวนมาก โจโฉต้องยกทัพข้ามแม่น้ำอุยโหหนีไปถึงห้าสิบเส้น จึงให้ทหารสร้างค่ายใหม่ขึ้นอย่างรวดเร็ว ดั่งเทพดามานฤมิตให้
ค่ายที่สร้างใหม่นี้อยู่ในหนังสือสามก๊กภาษาไทยตอนที่ 48 แต่ไม่ได้บอกถึงที่มาที่ไปของค่ายนี้แต่อย่างใด ซึ่งความมหัศจรรย์ที่หายไปในตอนนี้ก็คือ โจโฉให้ทหารขนดินมาสร้างค่ายขึ้นใหม่แต่เนื่องจากดินที่นำมาสร้างค่ายเป็นดินปนทราย จับตัวได้ไม่ดี ก่อสร้างได้ไม่ทันไรก็พังทลายลง ไม่อาจต้านทานอันตรายใด ๆ ได้ ทหารของโจโฉพากันปลงตก เพราะอากาศก็หนาวเหน็บ ค่ายป้องกันก็ไม่มี หากกองทัพเสเหลียงของม้าเฉียวยกมาเมื่อใดก็คงพากันตายสิ้น
โชคยังเข้าข้างโจโฉเมื่อมีนักพรตคนหนึ่งนามว่าโหลวซือโป มาขอเข้าพบ แล้วแนะนำโจโฉว่า คืนนี้จะมีลมหนาวพัดมา น้ำจะกลายเป็นน้ำแข็ง ขอให้ท่านรีบสั่งการให้ทหารขนดินมากองให้สูงระดับหัวเข่าแล้วเอาน้ำราดให้แข็งตัว แล้วให้ทำเช่นนี้ซ้ำ ๆ ให้สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็จะได้ค่ายรบอันแข็งแรงทนทาน
โจโฉไม่รอช้าสั่งการให้ทหารดำเนินการภายในคืนนั้นทันที ปรากฏว่าพอฟ้าสาง ค่ายน้ำแข็งของโจโฉก็เสร็จสิ้นพอดี กับที่กองทัพเสเหลียงมาถึง แสงแดดที่กระทบน้ำแข็งที่เคลือบผิวดินทราย เปล่งประกายสีทองระยิบระยับ สร้างความตื่นตะลึงให้กับผู้พบเห็น โจโฉจึงหัวเราะแล้วยิ้มเยาะให้กับม้าเฉียวว่า
“ท่านเห็นฝีมือเราหรือไม่ คิดว่าเผาค่ายเราเสียได้แล้วเราจะไม่มีค่ายอยู่หรือ แต่ทำครู่เดียวก็ได้ดั่งเทพดามานฤมิตให้ ซึ่งท่านจะต่อสู้นั้นที่ไหนจะมีชัยชนะแก่เรา จงเร่งคำนับเสียเถิด”
ม้าเฉียว |
ในปีนั้นมีเรือเมล์ ชื่อ “เจ้าพระยา” เดินทางมาจากสิงคโปร์ และนำน้ำแข็งใส่กล่องกลบด้วยขี้เลื่อยเพื่อรักษาความเย็นเข้ามาถวายพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 ซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้ราชสำนักเป็นอย่างมาก พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานน้ำแข็งออกแจกจ่ายกันให้ลองลิ้มชิมรส ส่วนชาวบ้านที่ได้ยินกิตติศัพท์ความแปลกของน้ำแข็ง หลายคนไม่ยอมเชื่อว่าจะทำน้ำให้แข็งเป็นก้อนได้อย่างไร จึงเกิดสำนวนคำว่า "ปั้นน้ำเป็นตัวขึ้น" ซึ่งหมายถึงการสร้างเรื่องหลอกลวงนั่นเอง
กว่าชาวบ้านชาวช่อง จะเชื่ออย่างสนิทใจ ก็ต้องรอถึงปี พ.ศ.2448 สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อ นายเลิศ เศรษฐบุตร ได้ตั้งโรงน้ำแข็งชื่อ "น้ำแข็งสยาม" ขึ้นเป็นแห่งแรก ที่สะพานเหล็กล่าง ถนนเจริญกรุง ชาวบ้านเรียกว่า "โรงน้ำแข็งนายเลิศ"
ด้วยเหตุนี้ หนังสือสามก๊กของเราจึงไม่ใส่น้ำแข็ง และไม่มีเทพดาผู้สร้างสรรค์ค่ายน้ำแข็งอันสวยงาม ผู้ที่มีนามว่า "โหลวซือโป"
อันนี้มันแบบใส่น้ำแข็งนี่ครับ
ตอบลบฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน) ลืมใส่น้ำแข็ง บทความนี้จึงช่วยเติมเข้าไปครับ
ลบ