บังทองรากผัก บังทองรากผัก ไม่ใช่ชื่อรายการอาหาร โปรดอย่าเข้าใจผิด แต่เป็นเรื่องของบังทอง จากหนังสือ "ว่าด้วยรากผัก" ตำรา...
บังทองรากผัก |
บังทองรากผัก ไม่ใช่ชื่อรายการอาหาร โปรดอย่าเข้าใจผิด แต่เป็นเรื่องของบังทอง จากหนังสือ "ว่าด้วยรากผัก" ตำราแนว How to สำหรับการฝึกฝนตนเอง เล่มสำคัญเล่มหนึ่งของประเทศจีน ซึ่งเรื่องนี้ผมบังเอิญไปอ่านเจอเข้าจากหนังสือ “สายธารแห่งปัญญา” ของคุณ บุญศักดิ์ แสงระวี ซึ่งนำหนังสือ "ว่าด้วยรากผัก" มาแปลและตั้งชื่อใหม่
ตำรา ว่าด้วยรากผัก หรือ ภาษิตว่าด้วยรากผัก ประพันธ์โดย หงอิ้งหมิง ขุนนางในรัชสมัยของพระเจ้าหมินเสินจงฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1573 – 1691) ซึ่งต่อมาถูกค้นพบอยู่ในหีบหนังสือของวังจิ่งหยางกง ในพระราชวังโบราณกรุงปักกิ่ง
ส่วนชื่อของหนังสือที่เกี่ยวกับรากผักนั้น สันนิษฐานว่ามาจากคำกล่าวที่ว่า “คนเราถ้ากินรากผักได้ จะทำอะไรก็สำเร็จ” อมตะวาจาของ วังซิ่นหมิน ขุนนางยุคราชวงศ์ซ่ง ที่หมายความว่า รากผักแข็งและกระด้าง ต้องเคี้ยวให้ละเอียดเท่านั้นจึงจะรู้รส เหมือนคนที่ต้องอดทนต่อความยากลำบากในชีวิต จึงจะได้รับความสำเร็จ ด้วยความหมายอันลึกซึ้งของวาทะนี้ ต่อมา เหมา เจ๋อตุง บุรุษผู้เป็นดั่งสัญลักษณ์ของชาติจีน ก็เคยได้นำคำกล่าวนี้มาใช้เช่นกัน
ตำรา ว่าด้วยรากผัก หรือ ภาษิตว่าด้วยรากผัก ประพันธ์โดย หงอิ้งหมิง ขุนนางในรัชสมัยของพระเจ้าหมินเสินจงฮ่องเต้ แห่งราชวงศ์หมิง (ค.ศ.1573 – 1691) ซึ่งต่อมาถูกค้นพบอยู่ในหีบหนังสือของวังจิ่งหยางกง ในพระราชวังโบราณกรุงปักกิ่ง
ส่วนชื่อของหนังสือที่เกี่ยวกับรากผักนั้น สันนิษฐานว่ามาจากคำกล่าวที่ว่า “คนเราถ้ากินรากผักได้ จะทำอะไรก็สำเร็จ” อมตะวาจาของ วังซิ่นหมิน ขุนนางยุคราชวงศ์ซ่ง ที่หมายความว่า รากผักแข็งและกระด้าง ต้องเคี้ยวให้ละเอียดเท่านั้นจึงจะรู้รส เหมือนคนที่ต้องอดทนต่อความยากลำบากในชีวิต จึงจะได้รับความสำเร็จ ด้วยความหมายอันลึกซึ้งของวาทะนี้ ต่อมา เหมา เจ๋อตุง บุรุษผู้เป็นดั่งสัญลักษณ์ของชาติจีน ก็เคยได้นำคำกล่าวนี้มาใช้เช่นกัน
หนังสือสายธารแห่งปัญญา ของ บุญศักดิ์ แสงระวี |
เนื้อหาของตำรา ว่าด้วยรากผัก จะเป็นข้อคิดคำคม สั้น ๆ แต่มีความหมายลึกซึ้ง (รายละเอียดอื่น ๆ โปรดสืบค้นเพิ่มเติมจากอินเตอร์เนต) ซึ่งเรื่องของบังทองนั้น จะอยู่ในหัวข้อเรื่อง “ซ่อนความสามารถเก็บสติปัญญา เพื่อแบกภาระหนักฝ่าทางไกล : บังทองคนอัปลักษณ์” มีรายละเอียดดังนี้
เหยี่ยวยืนเหมือนหลับ เสือเดินเหมือนป่วยนิทัศน์อุทาหรณ์ - บังทองคนอัปลักษณ์
เป็นมาตรการที่จะล่อจับเหยื่อ ฉะนั้น
สุภาพชนแม้เฉลียวฉลาดก็ไม่ควรอวด
แม้มีสติปัญญาก็ไม่ควรแสดง
จึงจะมีพละกำลังในการแบกภาระอันใหญ่หลวง
บังทองชำระตัดสินความ จากหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) |
เหยี่ยวกับเสือล้วนเป็นสัตว์ดุร้ายที่ทุกคนกลัว เหตุใดมันจึงน่ากลัวเล่า ? ก็เพราะเหยี่ยวเมื่อมันเกาะอยู่บนต้นไม้ กิริยาอาการมันเหมือนหลับอยู่ ส่วนเสือ เมื่อก้าวเดินก็เชื่องช้าเซื่องซึมเหมือนกำลังป่วยอยู่ ทำให้คนเราคลายความระมัดระวัง หลงกลต้องถูกเสือคาบไปกินในที่สุด
เพราะฉะนั้น “ภาษิตรากผัก” จึงบอกแก่เราว่า
“สัตว์ที่น่ากลัวที่สุด คือสัตว์ที่เราเห็นว่าผอมโซอ่อนแอที่สุด ส่วนคนที่มีความสามารถที่สุด ที่จะได้รับความสำเร็จที่สุดในอนาคต ล้วนแต่เป็นคนที่ดูไปแล้ว ไม่มีความสะดุดตาอะไรเลย”
ในสมัยสามก๊ก ผู้กล้าทั้งสิบทิศ ล้วนแต่ออกรวบรวมกำลังไปในที่ต่าง ๆ หวังว่าตนจะได้เป็นใหญ่ท่ามกลางผู้กล้าทั้งหลาย
วันหนึ่งมีคนมาขอพบเล่าปี่ คนคนนั้นคิ้วหนา จมูกแบน หน้าดำ หนวดสั้น เป็นคนอัปลักษณ์ยิ่งนัก ซึ่งเล่าปี่ไม่เคยพบเห็นใครที่อัปลักษณ์ยิ่งกว่านี้มาก่อน
เมื่อเล่าปี่ต้อนรับเขา เขาก็บอกว่าเขาชื่อบังทอง มาหาเล่าปี่เพราะทราบข่าวว่า เล่าปี่ต้องการจะรวบรวมคนดีมีสติปัญญาความสามารถ จึงมาขอสมัครอยู่ด้วย
เล่าปี่เห็นเขามีหน้าตาอัปลักษณ์เช่นนั้น จึงคิดว่าคงจะไม่มีสติปัญญามากมายดังคำกล่าวอ้าง จึงส่งเขาไปเป็นนายอำเภอที่เมืองเหลยหยาง ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ
บังทองรู้สึกว่าเขาถูกดูแคลน เมื่อไปถึงเมืองเหลยหยาง ก็เอาแต่กินเหล้าหาความสำราญ ไม่สนใจใยดีในกิจการบ้านเมือง เมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน คำร้องทุกข์ของราษฎรก็กองอยู่เป็นตั้ง ๆ
เล่าปี่ได้ข่าวเข้าก็โกรธ สั่งให้เตียวหุยไปสอบสวนดู เมื่อเตียวหุยไปถึงที่นั่น ราษฎรและเหล่าขุนนางพากันออกมาต้อนรับเอิกเกริก แต่ไม่เห็นบังทองแม้แต่เงา
เตียวหุยเป็นคนมุทะลุ โกรธจนตัวสั่น สั่งให้คนไปตามบังทองมา เมื่อบังทองมาพบ กลิ่นเหล้าก็โชยมาแต่ไกล เสื้อผ้าก็มอมแมมไม่เรียบร้อย เดินโซซัดโซเซตุปัดตุเป๋เข้ามา
เตียวหุยเห็นดังนั้นก็ตวาดว่า “ท่านเอาแต่กินเหล้า ทำให้ราชการต้องเสียหาย จะว่าอย่างไร ?”
บังทองตอบว่า “ข้าพเจ้าทำให้ราชการเสียหายที่ไหนกัน ?” ว่าแล้วก็จัดแจงแต่งตัวให้เรียบร้อย สั่งให้ราษฎรนำคำร้องทุกข์มา เขาจัดการแก้ปัญหาไปอย่างยุติธรรมทุกเรื่อง หูเขาฟังเรื่องราวร้องทุกข์ มือก็เขียนคำตัดสินไป ปากก็สั่งให้ดำเนินการ ทุกเรื่องเป็นที่แจ่มชัด และไม่มีความผิดพลาดที่ใดเลย เตียวหุยได้แต่รู้สึกประหลาดใจจนตาค้าง
บังทองว่าราชการเสร็จเรียบร้อยภายในไม่กี่เวลา แล้วหันมาถามเตียวหุยว่า “ข้าพเจ้าทำให้ราชการเสียหายตรงไหน ? ข้าพเจ้ารู้ความเป็นไปในแผ่นดินโดยละเอียด การปกครองอำเภอเล็ก ๆ แบบนี้ง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปากเสียอีก”
เตียวหุยรู้สึกประหลาดใจ ไม่กล้าต่อว่าบังทองอีก รีบกลับไปรายงานให้เล่าปี่ทราบ เล่าปี่จึงเปลี่ยนท่าทีของตนต่อบังทองใหม่ แต่งตั้งเขาให้รับหน้าที่สำคัญสืบไป
เพราะฉะนั้น “ภาษิตรากผัก” จึงบอกแก่เราว่า
“สัตว์ที่น่ากลัวที่สุด คือสัตว์ที่เราเห็นว่าผอมโซอ่อนแอที่สุด ส่วนคนที่มีความสามารถที่สุด ที่จะได้รับความสำเร็จที่สุดในอนาคต ล้วนแต่เป็นคนที่ดูไปแล้ว ไม่มีความสะดุดตาอะไรเลย”
ในสมัยสามก๊ก ผู้กล้าทั้งสิบทิศ ล้วนแต่ออกรวบรวมกำลังไปในที่ต่าง ๆ หวังว่าตนจะได้เป็นใหญ่ท่ามกลางผู้กล้าทั้งหลาย
วันหนึ่งมีคนมาขอพบเล่าปี่ คนคนนั้นคิ้วหนา จมูกแบน หน้าดำ หนวดสั้น เป็นคนอัปลักษณ์ยิ่งนัก ซึ่งเล่าปี่ไม่เคยพบเห็นใครที่อัปลักษณ์ยิ่งกว่านี้มาก่อน
เมื่อเล่าปี่ต้อนรับเขา เขาก็บอกว่าเขาชื่อบังทอง มาหาเล่าปี่เพราะทราบข่าวว่า เล่าปี่ต้องการจะรวบรวมคนดีมีสติปัญญาความสามารถ จึงมาขอสมัครอยู่ด้วย
เล่าปี่เห็นเขามีหน้าตาอัปลักษณ์เช่นนั้น จึงคิดว่าคงจะไม่มีสติปัญญามากมายดังคำกล่าวอ้าง จึงส่งเขาไปเป็นนายอำเภอที่เมืองเหลยหยาง ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ
บังทองรู้สึกว่าเขาถูกดูแคลน เมื่อไปถึงเมืองเหลยหยาง ก็เอาแต่กินเหล้าหาความสำราญ ไม่สนใจใยดีในกิจการบ้านเมือง เมื่อเวลาผ่านไป 3 เดือน คำร้องทุกข์ของราษฎรก็กองอยู่เป็นตั้ง ๆ
เล่าปี่ได้ข่าวเข้าก็โกรธ สั่งให้เตียวหุยไปสอบสวนดู เมื่อเตียวหุยไปถึงที่นั่น ราษฎรและเหล่าขุนนางพากันออกมาต้อนรับเอิกเกริก แต่ไม่เห็นบังทองแม้แต่เงา
เตียวหุยเป็นคนมุทะลุ โกรธจนตัวสั่น สั่งให้คนไปตามบังทองมา เมื่อบังทองมาพบ กลิ่นเหล้าก็โชยมาแต่ไกล เสื้อผ้าก็มอมแมมไม่เรียบร้อย เดินโซซัดโซเซตุปัดตุเป๋เข้ามา
เตียวหุยเห็นดังนั้นก็ตวาดว่า “ท่านเอาแต่กินเหล้า ทำให้ราชการต้องเสียหาย จะว่าอย่างไร ?”
บังทองตอบว่า “ข้าพเจ้าทำให้ราชการเสียหายที่ไหนกัน ?” ว่าแล้วก็จัดแจงแต่งตัวให้เรียบร้อย สั่งให้ราษฎรนำคำร้องทุกข์มา เขาจัดการแก้ปัญหาไปอย่างยุติธรรมทุกเรื่อง หูเขาฟังเรื่องราวร้องทุกข์ มือก็เขียนคำตัดสินไป ปากก็สั่งให้ดำเนินการ ทุกเรื่องเป็นที่แจ่มชัด และไม่มีความผิดพลาดที่ใดเลย เตียวหุยได้แต่รู้สึกประหลาดใจจนตาค้าง
บังทองว่าราชการเสร็จเรียบร้อยภายในไม่กี่เวลา แล้วหันมาถามเตียวหุยว่า “ข้าพเจ้าทำให้ราชการเสียหายตรงไหน ? ข้าพเจ้ารู้ความเป็นไปในแผ่นดินโดยละเอียด การปกครองอำเภอเล็ก ๆ แบบนี้ง่ายยิ่งกว่าปอกกล้วยเข้าปากเสียอีก”
เตียวหุยรู้สึกประหลาดใจ ไม่กล้าต่อว่าบังทองอีก รีบกลับไปรายงานให้เล่าปี่ทราบ เล่าปี่จึงเปลี่ยนท่าทีของตนต่อบังทองใหม่ แต่งตั้งเขาให้รับหน้าที่สำคัญสืบไป
กรุณาแสดงความคิดเห็น