Loading ...

$show=home

จุดเริ่มต้นของการศึกษาสามก๊ก

แหล่งศึกษาเรียนรู้ ทุกเรื่องราวของวรรณกรรมเพชรน้ำเอกของโลก

สามก๊กวิทยา : THREE KINGDOMS ACADEMY

ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่อาณาจักร
"สามก๊กวิทยา"
THREE KINGDOMS ACADEMY

สามก๊ก1994 (ละครโทรทัศน์)

ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" เป็นภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นโดย สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ด้วยความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 84 ตอน ความยาวตอนละ 44 นาที
สามก๊ก1994 (ละครโทรทัศน์)

     ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" เป็นภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นโดย สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ด้วยความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 84 ตอน ความยาวตอนละ 44 นาที

     ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" นี้นำเข้ามาฉายในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อกลางปี พ.ศ. 2537 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อ.ส.ม.ท. โดยบริษัทมีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด เวลาประมาณ 22.00 น. และทางช่องเอ็มวีทีวี วาไรตี้แชนแนล เมื่อต้นปี พ.ศ. 2551ต่อมาได้ฉายทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 22.30 น. - 23.23 น. เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 ถึงวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551 ในระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวนั้นได้มีการปรับเวลาการออกอากาศเป็นเวลา 22.00 น. - 22.53 น.

     หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2551 และได้นำไปออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา โดยใช้ชื่อว่า "สามก๊กฉบับนักบริหาร" ทุกวัน จันทร์ - ศุกร์ เวลา 22.00 น. - 23.00 น.

รายชื่อตอนสามก๊ก1994 จำนวน 84 ตอน

  • ตอนที่ 1 สามวีรบุรุษสาบานในสวนท้อ (桃园三结义)
  • ตอนที่ 2 ศึกสิบขันที (十常侍乱政)
  • ตอนที่ 3 ตั๋งโต๊ะครองเมือง (董卓霸京师)
  • ตอนที่ 4 โจโฉมอบดาบ (孟德献刀)
  • ตอนที่ 5 สามวีรบุรุษรบลิโป้ (三英战吕布)
  • ตอนที่ 6 อุบายห่วงสัมพันธ์ (连环计)
  • ตอนที่ 7 ศึกชิงนาง(凤仪亭)
  • ตอนที่ 8 เล่าปี่ครองซีจิ๋ว (三让徐州)
  • ตอนที่ 9 ซุนเซ็กคิดการใหญ่ (孙策立业)
  • ตอนที่ 10 ลิโป้เสี่ยงทายเกาทัณฑ์ (辕门射戟)
  • ตอนที่ 11 ศึกเมืองอ้วนเซีย (宛城之战)
  • ตอนที่ 12 ยุทธการปราบลิโป้ (白门楼(上))
  • ตอนที่ 13 อวสานลิโป้ (白门楼(下))
  • ตอนที่ 14 โจโฉเล่าปี่วิจารณ์วีรบุรุษ (煮酒论英雄)
  • ตอนที่ 15 อ้วนเสี้ยวเคลื่อนพล (袁曹起兵)
  • ตอนที่ 16 กวนอูทำสัญญาสามข้อ (关羽约三事)
  • ตอนที่ 17 กวนอูคืนตราตั้ง (挂印封金)
  • ตอนที่ 18 บุกเดี่ยวพันลี้ (千里走单骑)
  • ตอนที่ 19 พี่น้องพร้อมหน้า (古城相会)
  • ตอนที่ 20 ซุนเซ็กสิ้นชีพ (孙策之死)
  • ตอนที่ 21 ยุทธการกัวต๋อ (官渡之战(上))
  • ตอนที่ 22 อ้วนเสี้ยวแตกทัพ (官渡之战(下))
  • ตอนที่ 23 อวสานอ้วนเสี้ยว (大破袁绍)
  • ตอนที่ 24 โผนม้าหนีภัย (跃马檀溪)
  • ตอนที่ 25 เล่าปี่แสวงปราชญ์ (刘备求贤)
  • ตอนที่ 26 ชีซีเสนอตัวขงเบ้ง (回马荐诸葛)
  • ตอนที่ 27 ยุทธศาสตร์สามก๊ก (三顾茅庐)
  • ตอนที่ 28 เผาทัพแฮหัวตุ้น (火烧博望坡)
  • ตอนที่ 29 อพยพข้ามน้ำ (携民渡江)
  • ตอนที่ 30 สงครามลิ้น (舌战群儒)
  • ตอนที่ 31 ยั่วจิวยี่ให้รบ (智激周瑜)
  • ตอนที่ 32 จิวยี่ลวงฆ่าเล่าปี่ (周瑜空设计)
  • ตอนที่ 33 งานเลี้ยงชุมนุมวีรชน (群英会)
  • ตอนที่ 34 ขงเบ้งยืมลูกเกาทัณฑ์ (草船借箭)
  • ตอนที่ 35 อุบายเจ็บกาย (苦肉计)
  • ตอนที่ 36 บังทองวางกลห่วงโซ่ (庞统献连环)
  • ตอนที่ 37 โจโฉลำพอง (横槊赋诗)
  • ตอนที่ 38 ขงเบ้งเรียกลม (诸葛祭风)
  • ตอนที่ 39 เผาทัพโจโฉ (火烧赤壁)
  • ตอนที่ 40 อุบายยึดลำกุ๋น (智取南郡)
  • ตอนที่ 41 เล่าปี่ขยายอำนาจ (力夺四郡)
  • ตอนที่ 42 อุบายนางงาม (美人计)
  • ตอนที่ 43 ดูตัวว่าที่บุตรเขย (甘露寺)
  • ตอนที่ 44 หนีกลับเกงจิ๋ว (回荆州)
  • ตอนที่ 45 จิวยี่กระอักเลือด (三气周瑜)
  • ตอนที่ 46 ขงเบ้งไว้อาลัยจิวยี่ (卧龙吊孝)
  • ตอนที่ 47 โจโฉตัดหนวดหนีตาย (割须弃袍)
  • ตอนที่ 48 เตียวสงมอบแผนที่ (张松献图)
  • ตอนที่ 49 เล่าปี่เข้าเสฉวน (刘备入川)
  • ตอนที่ 50 บังทองสิ้นบุญ (凤雏落坡)
  • ตอนที่ 51 เตียวหุยรบเงียมหงัน (义释严颜)
  • ตอนที่ 52 ยึดได้เสฉวน (夺战西川)
  • ตอนที่ 53 กวนอูบุกเดี่ยวข้ามฟาก (单刀赴会)
  • ตอนที่ 54 ยุทธการหับป๋า (合肥会战)
  • ตอนที่ 55 ชิงตำแหน่งรัชทายาท (立嗣之争)
  • ตอนที่ 56 ศึกเขาเตงกุนสัน (定军山)
  • ตอนที่ 57 เล่าปี่ยึดฮันต๋ง (巧取汉中)
  • ตอนที่ 58 น้ำทำลายทัพ (水淹七军)
  • ตอนที่ 59 กวนอูสิ้นบุญ (走麦城)
  • ตอนที่ 60 อวสานโจโฉ (曹操之死)
  • ตอนที่ 61 โจผีชิงราชบัลลังก์ (曹丕篡汉)
  • ตอนที่ 62 ยกทัพล้างแค้นกวนอู (兴兵伐吴)
  • ตอนที่ 63 ลกซุนเผาค่ายเล่าปี่ (火烧连营)
  • ตอนที่ 64 ฟื้นสัมพันธไมตรี (安居平五路)
  • ตอนที่ 65 ยกทัพปราบเบ้งเฮ็ก (兵渡泸水)
  • ตอนที่ 66 นักพรตชี้ทางรอด (绝路问津)
  • ตอนที่ 67 ชนะใจเบ้งเฮ็ก (七擒孟获)
  • ตอนที่ 68 บุกวุยก๊ก (出师北伐)
  • ตอนที่ 69 เกียงอุยสวามิภักดิ์ (收姜维)
  • ตอนที่ 70 สุมาอี้ฟื้นตำแหน่ง(司马复出)
  • ตอนที่ 71 ประหารม้าเจ๊ก (空城退敌)
  • ตอนที่ 72 สุมาอี้รับตราตั้ง (司马取印)
  • ตอนที่ 73 ประลองปัญญาที่เขากิสาน (祁山斗智)
  • ตอนที่ 74 เทวดาขงเบ้งหลอกสุมาอี้ (诸葛妆神)
  • ตอนที่ 75 บุกกิสานครั้งที่หก (六出祁山)
  • ตอนที่ 76 เพลิงเผาสุมาอี้ (火熄上方谷)
  • ตอนที่ 77 ขงเบ้งสิ้นบุญ (秋风五丈原)
  • ตอนที่ 78 สุมาอี้รัฐประหาร, เเสร้งป่วยลวงโจซอง (诈病赚曹爽)
  • ตอนที่ 79 ศึกภายในง่อก๊ก (吴宫干戈)
  • ตอนที่ 80 ล้อมเขาเทียดลองสัน (兵困铁笼山)
  • ตอนที่ 81 สุมาเจียวปลงพระชนม์ (司马昭弑君)
  • ตอนที่ 82 เล่าเสี้ยนหลงขันที (九伐中原)
  • ตอนที่ 83 จ๊กก๊กล่มสลาย (偷渡阴平)
  • ตอนที่ 84 อวสานสามก๊ก (三分归晋)

ชมสามก๊ก1994 TVB Thailand พากษ์ไทย

    ช่อง TVB Thailand ร่วมกับ MVHub เจ้าของลิขสิทธิ์ ได้นำละครโทรทัศน์ สามก๊ก 1994 พากย์ไทย ลงใน Youtube แล้ว ดูจบครบทุกตอน และไม่โดนลบแน่นอน

สามก๊ก1994 ทั้ง 84 ตอน จาก Youtube พากษ์จีน

     ชมละครโทรทัศน์ สามก๊ก1994 ต้นฉบับภาษาจีน ลิขสิทธิ์แท้จากสถานีโทรทัศน์ CCTV ประเทศจีน บน Youtube ครบถ้วนทุกตอน

กรุณาแสดงความคิดเห็น

BLOGGER: 14
  1. ไม่ระบุชื่อ7 ธันวาคม 2555 เวลา 21:37

    สามก๊ก 1994 เป็นละครมหากาพย์ตำนานสามก๊ก ที่มีคุณค่าสูงเต็มเปี่ยมไปด้วย วัฒนธรรม ธรรมเนียม การคัดสรร องค์ประกอบ ที่มีความสอดคล้องและมีความหมาย ที่ผู้ที่ดูสามก๊ก ชุดนี้ได้ดูอย่างลึกซึ้งในหลายรอบจะเข้าใจ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สามก๊กภาคนี้ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดแล้วครับ ภาคหลัง ๆที่ทำออกมาจึงต้องแต่งเติมสีสัน และใส่แง่คิดใหม่ ๆ เข้าไป
      แต่ original ก็คือ original ที่ไม่มีอะไรมาแทนๆได้

      ลบ
  2. แม่นางเตียว8 ธันวาคม 2555 เวลา 11:55

    ใช่ค่ะ ถ้าได้ดู เวอร์ชั่น 1994 อย่างลึกซึ้ง แล้วถือเป็นละครแห่งตำนานที่ classic ไปแล้วค่ะ เพราะผุ้สร้างและนักแสดงตั้งใจและศึกษาส่วนประกอบต่างๆในยุคฮั่น ทั้งการใช้ภาษา วรรณธรรม ดนตรี ถึงแม้จะสร้างตามวรรณกรรม แต่ก็มีการปรับเปลี่ยนบทอยู่บ้างแต่ก็ยังถือว่าเป็นฉบับที่ให้ความหมายและคงคุณค่าตามวรรณกรรมได้สมบูรณ์ที่สุด

    ในยุคหลังๆ ที่นำมาสร้างถึงแม้จะมีเทคนิคที่ดูตระการตา แต่ความหมายขององค์ประกอบ และความลึกซึ้งในความหมายของเรื่องราวที่สอดคล้อง กลับดูได้ไม่ลึกซึ้งเท่ากับภาค 1994 นี้เลยค่ะ

    ตอบลบ


  3. ความเห็นของผมต่อภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994

    จากการได้อ่านวรรณกรรมสามก๊ก เเละได้ชมภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องสามก๊กชุดนี้ รวมทั้งภาพยนตร์เกี่ยวกับสามก๊กหลายชุดตั้งเเต่มีการสร้างมานับตั้งเเต่อดีตจนปัจจุบัน พบว่าภาพยนตร์โทรทัศน์ สามก๊ก 1994 มีความสมบูรณ์มากที่สุด ทั้งด้านเนื้อหา ตัวละคร ฉากสิ่งปลูกสร้าง ฉากสถานที่ธรรมชาติ (การลงถ่ายทำในพื้นที่จริง) รวมทั้งรายละเอียดอื่นๆในภาพยนตร์ ไม่ว่าจะด้านขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ศิลปะ ตัวอักษร ดนตรี คำพูด กิริยาท่าทางของตัวละคร(นักเเสดง) เสื้อผ้า หรือเเม้เเต่เรื่องเล็กๆ อย่างการติดหนวดติดผมที่ทำได้ดีมากจนหาเรื่องอื่นเทียบไม่ได้(ติดได้สมจริง เเม้จะไม่สมจริงทุกฉากก็ตาม)

    "ตัวละคร/นักเเสดง" ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นตัวสื่อเนื้อหาให้ผู้ชม ทีมงานสร้างจึงต้องใส่ใจเป็นพิเศษจึงคัดเลือกเป็นอย่างดี ชนิดคัดเเล้วคัดอีก เพื่อให้ตัวละครออกมาดังที่ปรากฏในจินตนาการเเละอุดมคติของคนทั่วไป ทั้งนี้นักเเสดงยังต้องฝึกทักษะด้านต่างๆ ทั้งการเดิน การคารวะ การใช้อาวุธ การขี่ม้า เเละตัวละครของสามก๊ก 1994 ก็ออกมาเเบบที่ผู้ชมไม่ผิดหวัง ดังหลุดออกมาจากจินตนาการ ดังที่เราคุ้นตากัน ไม่ว่าจะเป็น โจโฉ เล่าปี่ ขงเบ้ง กวนอู เตียวหุย ซุนกวน ฯลฯ ยิ่งเเต่งตัวติดหนวดทำผมเเล้ว ยิ่งสมกับที่ผู้ชมได้เคยอ่านในหนังสือกันเลยทีเดียว

    "ฉากรบเเละกองทัพ" เเม้จะไม่ดุเดือดเเบบสามก๊ก 2010 เเต่ฉากรบในสามก๊ก 1994 นั้นจะออกมาสมจริงเเบบ "ปุถุชนคนธรรมดา" เช่นฉากรบบนหลังม้าจะใช้ม้าจริงทั้งถ่ายใกล้เเละไกล ไม่ใช้หุ่นหรือสิ่งของหรือพาหนะอื่นใดมาช่วยในฉากใกล้ดังหนังเรื่องอื่นๆ เลย รวทั้งเรื่องการใช้อาวุธด้วย ส่วนเรื่องกองทัพนั้น ไม่มีการใช้ภาพคอมช่วย เเต่ใช้จำนวนคนจากค่ายทหารหลายสังกัดมาเข้าฉากทำให้กองทัพดูใหญ่โต(เเม้จะไม่ใหญ่มาก บางฉากอาจจะน้อยไป) ภาพกองทัพออกมาสวยมากในหลายๆฉาก ทั้งธงทิวปลิวไสว ฝุ่น ควัน ซึ่งไม่สามารถเห็นได้ในภาพยนตร์ในสมัยหลังนี้เลย

    เรื่อง “การลงพื้นที่” ทหารเดินกันบนเขา บนหน้าผาสูงชันกันจริงๆ เช่นฉากเตียวหุยลอบยึดอวนเทาก๋วน ฉากสะพานเลียบผา ฉากเตงงายลอบบุกทางอิมเป๋ง (เเนะนำให้ดูนะครับ) ทั้งหุบเขา บนเขา หน้าผา แม่น้ำ ทะเล ทะเลทราย ป่า และภูมิประเทศที่แปลกตาตอนปราบเบ้งเฮ็กได้ลงถ่ายทำใน “หยุนหนาน” เมื่อเห็นภาพก็บอกได้คำเดียวว่า ไม่เคยเห็นเรื่องใดทำได้เช่นนี้มาก่อนเลย ไม่ว่าจะเป็นฉากขงเบ้งนำทัพลงใต้ ...ภายในถ้ำ...หุบเขาของโต้สู้...อองเป๋งรบเบ้งเฮ็ก...จกหยงรบทหารจ๊ก...จัวปัวสก...เมืองงินแข


    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. "ตัวละคร/นักแสดง" ขอเสริมอาจารย์หลี่ การคัดเลือกเน้นที่คุณวุฒิและคุณสมบัติของนักแสดง ดังนั้นจะเห็นว่าส่วนหนึ่งเป็นนักแสดงอาวุโสที่ผ่านการแสดงในชุดวรรณกรรม ไซอิ๋ว ซึ่งจะไม่เน้นที่นักแสดงหน้าตาดีอย่างเดียว การฝึกทักษะก็เป็นส่วนสำคัญและเคี่ยวเข็ญมาก กว่าจะถ่ายผ่านฉากได้ การถ่ายทำหลายปี ซึ่งอยุ่กับระยะเวลาของอากาศอย่างที่อาจารย์หลี่ บอกว่าชุดนี้เน้นความสมจริงของฤดู นักแสดงหลายคนจึงไม่อาจจะอยุ่ครบวาระการถ่ายทำได้ ยกเว้นตัวละครหลักๆ ที่สำคัญ ยังคงอยู่จนครบวาระ

      "ฉากรบและกองทัพ" เรื่องทัพประจันบาน ธงทิว การเคลื่อนทัพ การตั้งทัพ กลมกลืนแลดูสวยงามมาก โดยมีอุปกรณ์ในการรบที่เหมาะสมกับยุคด้วย

      "การลงพื้นที่" ทั้งภูมิประเทศ ชัยภูมิ นี่สวยงาม ยืนถ่ายกันบนหน้าผา บนโขดหิน ริมแม่น้ำ ข้ามแม่น้ำ หรือแม้กระทั่งทหารนอนเปลือยกายตอนข้ามแม่น้ำพิษก็สมจริง

      ลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. “เรื่องฤดูกาล” สามก๊กชุดนี้ก็ให้ความสำคัญเพื่อให้สมจริง เนื้อเรื่องตรงไหนเป็นฤดูใดก็ถ่ายทำฤดูนั้น เช่นตอนสิบแปดหัวเมืองมารบตั๋งโต๊ะก็ถ่ายทำฤดูหนาว ซึ่งความจริงไม่ต้องทำถึงขนาดนั้นก็ได้ แต่สามก๊ก 1994 ก็ยังทำ เพื่อให้สมจริง ฉากสาบานในสวนท้อก็ถ่ายทำช่วงดอกท้อบานจริงๆ ไม่ใช้ดอกปลอม

      “ฉากเรือรบ” เป็นอีกฉากที่สร้างได้ดี สามก๊ก 1994 ใช้เรือรบที่สร้างขึ้นจริง เเละที่สำคัญคือแสดงในน้ำจริง (มีบางฉากใช้โมเดลเรือจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ถ่ายประกอบฉากไกลๆ แต่ก็เป็นภาพสมจริง) ลักษณะเรือ ทั้งลำเรือเเละใบเรือดูเก่าสมจริง ต่างจากสามก๊ก 2010 ที่ใช้ภาพ CG ทุกครั้ง เมื่อถ่ายบริเวณในเรือก็ยังไม่สมจริงนัก ยิ่งเป็นภาพมุมนอกเรือก็ไม่เห็นเรืออยู่ในน้ำจริงๆ เเละมักจะเลี่ยงโดยใช้มุมกล้องมาช่วยเท่านั้น

      "สถานที่ถ่ายทำที่เป็นสิ่งปลูกสร้าง" ไม่ว่าจะเป็นกำเเพงเมืองต่างๆ ที่เห็นในหนังมีจำนวนมากมาย บ้านเมือง ท้องพระโรง ปราสาทราชวัง จวนขุนนาง (อยู่ที่ฮั่นเฉิง汉城) เเละปราสาทนกยูงทองเเดง (铜雀台) ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ถ่ายทำภาพยนตร์โทรทัศน์ชุดนี้โดยเฉพาะ ทำให้ภาพยนตร์เเละภาพยนตร์โทรทัศน์ในสมัยหลังได้ใช้สถานที่เหล่านั้นในการถ่ายทำอีกด้วย เช่นปราสาทนกยูงทองเเดงใช้ถ่ายทำในหลายเรื่อง เช่น สามก๊ก 1994, สามก๊ก 2010, สามก๊กขุนศึกเลือดมังกร, มู่หลาน, ขงจื๊อ, บูเช็คเทียน, ไซอิ๋ว, สุยหู่จ้วน ฯลฯ เเละล่าสุด ฉากนี้ยังใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Assassins 銅雀台

      "อุปกรณ์ประกอบฉาก" ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะ ตั่ง ฉากกั้น (ผิงเฟิง คือฉากที่ตั้งข้างหลัง มีลวดลายสวยงามหลายเเบบ) ป้านสุรา จอกสุรา กระถางจุดเครื่องหอม ที่วางกระบี่ ตะเกียง เครื่องดนตรีชนิดต่างๆ กระจก อาวุธ นาฬิกา(เเดดเเละน้ำ) พนักอิง หมอน ราวผ้า หีบเก็บของ หีบศพ ฯลฯ ต่างก็ทำออกมาได้สมจริงมาก (ดังที่ผมเคยทำภาพชุด เทียบข้าวของเครื่องใช้ศิลปะฮั่นกับภาพข้าวของเครื่องใช้จากสามก๊ก 1994 ที่เคยลงในสามก๊กวิวไว้หลายเดือนก่อน)

      “มุมกล้อง” ของสามก๊ก 1994 นั้นถ่ายทำได้มุมสวยมีเสน่ห์และมีศิลปะเป็นอย่างมาก เเละเรื่องการจัด “แสง” ยิ่งดูหลายรอบจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่นฉากที่มีแสงส่องผ่านช่องหน้าต่างไม้แล้วมีควันจางๆ ทำให้มองเห็นภาพที่สวยงามมาก หรือฉากในค่ายขงเบ้ง (ตอนขงเบ้งส่งชุดสตรีให้สุมาอี้แล้วตนก็รอฟังข่าวอยู่ในกระโจม)

      ลบ
    2. "บทเเละคำสนทนา" จะถอดมาจากสามก๊กฉบับวรรณกรรมซึ่งมีความไพเราะตามเเบบฉบับ สำนวนภาษาโบราณฟังเเล้วได้อรรถรสในการชมยิ่งขึ้น เช่น ถ้าเราชมภาพยนตร์เรื่อง "สุริโยไท" ก็ต้องเป็นคำโบราณ จะมาพูดกันเเบบภาษาปัจจุบันก็คงไร้ความสมจริงเเละหมดอรรถรส คุณค่าดูน้อยลงอย่างเเน่นอน

      ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ยืนยันจริงๆ ครับว่าสามก๊กชุดนี้สมบูรณ์มากที่สุดตั้งเเต่มีการสร้างสามก๊กมาทั้งหมดครับ

      ลบ
    3. "เสื้อผ้า ทรงผม"
      เสื้อผ้ามีลักษณะเอกลักษณ์ลายของยุคฮั่น ผ้ามีความพริ้วไหว แม้บางชุดจะดูเรียบไม่มีลวดลาย แต่ตัวละครก็ใส่ได้บุคคลิกภาพที่กลมกลืน โดยความพริ้มไหวของเนื้อผ้า ผู้สวมใส่ต้องมีบุคคลิกภาพที่สำคัญ ช่วงคอ หัวไหล่ และลำตัวตรงใส่แล้วจะดูสง่ามาก ซึ่งการฝึกทักษะในการแสดงก็จะมีส่วนเสริมและเชื่อมโยงในจุดนี้ด้วย

      ชุดทหารแม้จะมีการปรับเปลี่ยนบ้างแต่ก็ยังคงดูเป็นชุดนักรบที่เหมาะสมและงามสง่า

      ส่วนทรงผมนี่ มีเอกลักษณ์การมัดผมของตัวละครหญิงและชายในยุคฮั่นเทียบจากภาพวาดต่างๆ และโดยเฉพาะการมัดผมและผ้ามัดผมของตัวละครชายนั้นเป็นเอกลักษณ์มาก

      "ดนตรี และบทเพลงประกอบ"
      สร้างสรร โดยนักแต่งเพลงและนักดนตรีระดับครู ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีทางประวัติศาสตร์ และในยุคฮั่น ดังนั้นบทเพลงและดนตรี เสียงฉิน
      ของเวอร์ชั่น 1994 เป็นดนตรีที่เต็มเปี่ยมไปด้วย เสน่ห์ ความไพเราะยิ่ง บทเพลงมีความหมาย บอกเล่าอย่างตรงไปตรงมา และเชื่อมโยงกับเรื่องราวและตัวละครได้อย่างยอดเยี่ยม

      ลบ
  5. เห็นด้วยกับ ศ.เจริญ ครับ

    ความคิดเห็นต่อภาพยนตร์โทรทัศน์ เรื่อง สามก๊ก 1994

    ศาสตราจารย์เจริญ วรรธนะสิน

    "ตัวละครทุกตัวที่กำลังลุกขึ้นมากระโดดโลดเต้นพลิกประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นคนดังอย่างขงเบ้ง เล่าปี่ กวนอู เตียวหุย เเม้กระทั่งเตียวจูล่งเเละมีอีกหลายๆ ตัวในสามก๊ก ผู้ที่สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ได้คัดมาอย่างดี ผมเชื่อเเน่ว่าในชั่วชีวิตของผม ผมคงจะไม่เห็นการสร้างหนังสามก๊กได้ดีอย่างนี้อีกเเล้ว เเล้วก็คนที่เลือกตัวผู้เเสดงก็เลือกได้อย่างเหมาะเจาะ ไม่ว่าจะเป็น เตียวหุย กวนอู เล่าปี่ เเม้กระทั่งซุนกวน โจโฉ เมื่อก่อนนี้เราอ่านในหนังสือของฉบับพระยาพระคลัง (หน) ตัวละครอยู่ในจินตนาการของเราอย่างไร ออกมาเป็นอย่างนั้นเลยนะครับ เเละเขาถ่ายทำอย่างปราณีตจริงๆ เเม้กระทั่งบรรดาฉาก โต๊ะ ตั่ง อะไรต่างๆ เครื่องประดับ ท่านผู้ชมอย่าคิดว่าเขาประหยัดกันนะครับ ความจริงภาพยนตร์เรื่องนี้เขาสร้างด้วยทุนตั้งห้าร้อยล้านบาท เขามีการวิจัยนะครับ เเม้กระทั่งจอก ไหสุรา เครื่องเเต่งกาย เป็นคนในสมัย 1,800 ปี ทั้งนั้นนะครับ อัศจรรย์จริงๆ นะครับ"

    ................. จาก สามก๊กฉบับนักบริหาร ตอนที่หนึ่ง

    ตอบลบ
  6. อาจารย์หลี่ วิเคราะห์ให้เห็นภาพตามได้เยี่ยมจริงๆ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ต้องขอบคุณทั้งสองท่าน (อ.หลี่,แม่นางเตียว) มาครับที่ช่วยเติมเต็มรายละเอียดของภาพยนตร์สามก๊กเรื่องนี้
      เขียนอธิบายได้ละเอียดและสมบูรณ์แบบมาก อ่านแล้วก็นึกอยากจะนำมาปัดฝุ่นเปิดดูอีกรอบ

      ลบ
  7. สามก๊ก 1994 กับ 2010 เเบบไหนสนุกกว่ากันคับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. สนุกและต้องดูทั้งสองแบบเลยครับ ให้ดู 1994 เป็นมาตรฐาน แล้วค่อยเสริมแนวคิดใหม่ๆ ด้วย 2010 ครับ

      ลบ

ชื่อ

กวนอู,67,การ์ตูน,19,การเมือง,77,กิจกรรม,18,เกม,160,ขงเบ้ง,94,ของสะสม,40,ข่าวสาร,118,คำคมสามก๊ก,77,จิวยี่,5,จูล่ง,21,โจโฉ,66,ซุนกวน,7,เตียวหุย,11,เนื้อหาสามก๊ก,5,บทความ,353,บุคคลภาษิตในสามก๊ก,12,แบบเรียน,8,ปรัชญา,45,เพลง,41,ภาพยนตร์,53,รูปภาพ,67,ลิโป้,9,เล่าปี่,18,วิดีโอ,66,วิธีคิดวิธีทำงาน,13,เว็บไซต์,14,สถานที่,21,สามก๊ก12,14,สามก๊ก13,32,สามก๊ก14,3,สามก๊ก2010,95,สามก๊ก8,1,สามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง(หน),87,สุมาอี้,15,หงสาจอมราชันย์,13,หนังสือ,173,อาวุธ,7,แอป,43,Dynasty Warriors,57,E-book,87,
ltr
item
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy: สามก๊ก1994 (ละครโทรทัศน์)
สามก๊ก1994 (ละครโทรทัศน์)
ภาพยนตร์โทรทัศน์ชุด "สามก๊ก" เป็นภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นโดย สถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี ของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเริ่มถ่ายทำตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ด้วยความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น ออกอากาศครั้งแรกในปี พ.ศ. 2538 แบ่งเนื้อหาออกเป็น 84 ตอน ความยาวตอนละ 44 นาที
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiodA8ukt-O0OPVT0YVpWMgQvSo5s5bghC43sum1ni73eULwfVdQOfuaXDUqdfEWElYAZPIvCrUdc0RWwlyOp2vS7-CormEeX7ZamEohC-EwGLIo3bh8EVcnIvr3TGlEqLpn1WYAnFqCtU/s640/%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%258A%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiodA8ukt-O0OPVT0YVpWMgQvSo5s5bghC43sum1ni73eULwfVdQOfuaXDUqdfEWElYAZPIvCrUdc0RWwlyOp2vS7-CormEeX7ZamEohC-EwGLIo3bh8EVcnIvr3TGlEqLpn1WYAnFqCtU/s72-c/%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A1%25E0%25B8%2581%25E0%25B9%258A%25E0%25B8%2581%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B4%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B2.jpg
สามก๊กวิทยา : Three Kingdoms Academy
https://www.samkok911.com/2012/07/1994.html?m=0
https://www.samkok911.com/?m=0
https://www.samkok911.com/
https://www.samkok911.com/2012/07/1994.html
true
4216477688648787518
UTF-8
โหลดเนื้อหาทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ดูทั้งหมด อ่านเพิ่ม ตอบ ยกเลิกการตอบ ลบ โดย หน้าแรก หน้า โพสต์ ดูทั้งหมด เรื่องแนะนำสำหรับคุณ หมวดหมู่บทความ เนื้อหาในช่วงเวลา ค้นหา บทความทั้งหมด ไม่พบเนื้อหาที่คุณต้องการ กลับหน้าแรก Sunday Monday Tuesday Wednesday Thursday Friday Saturday Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat January February March April May June July August September October November December Jan Feb Mar Apr May Jun Jul Aug Sep Oct Nov Dec just now 1 minute ago $$1$$ minutes ago 1 hour ago $$1$$ hours ago Yesterday $$1$$ days ago $$1$$ weeks ago more than 5 weeks ago Followers Follow THIS PREMIUM CONTENT IS LOCKED STEP 1: Share to a social network STEP 2: Click the link on your social network Copy All Code Select All Code All codes were copied to your clipboard Can not copy the codes / texts, please press [CTRL]+[C] (or CMD+C with Mac) to copy สารบัญ