'วิถีแห่งกุนซือซุนฮก' เป็นคอลัมน์พิเศษเกี่ยวกับเรื่องสามก๊ก ในหนังสือพิมพ์ข่าวสด ผลงานจากปลายปากกา ของอาจารย์ เสถียร จันทิมาธร
"ที่ปรึกษาหมายเลข 1 ของโจโฉ ผู้ค้ำชูราชวงศ์ฮั่น"'วิถีแห่งกุนซือซุนฮก' เป็นคอลัมน์พิเศษเกี่ยวกับเรื่องสามก๊ก ในหนังสือพิมพ์ข่าวสด ผลงานใหม่ล่าสุดจากปลายปากกา ของอาจารย์ เสถียร จันทิมาธร
จากคอลัมน์นี้ ก็นับเป็นอีกครั้งที่อาจารย์ เสถียร ฯ เขียนคอลัมน์เกี่ยวกับสามก๊ก นับเป็นตัวละครรายที่ 5 ต่อจากเรื่อง วิถีแห่งอำนาจ สุมาอี้ , วิถีแห่งอำนาจ โจโฉ , วิถีแห่งอำนาจ ลกซุน และ วิถีแห่งอำนาจ โลซก
ซุนฮก (Xun Yu, 荀彧) เป็นที่ปรึกษาคนสำคัญของโจโฉ เดิมทีนั้นเคยอยู่รับใช้อ้วนเสี้ยวมาก่อน แต่ซุนฮกเห็นว่าอ้วนเสี้ยวเป็นคนไม่เอาไหน ใช้คนไม่เป็น จึงออกราชการแล้วมาอยู่กับโจโฉ
ซุนฮกคอยช่วยเหลือโจโฉตั้งแต่เริ่มตั้งตัวในภาคตะวันออก จนได้ขึ้นเป็นมหาอุปราช ซุนฮกคอยวางแผนในการรบให้โจโฉ จนรวบรวมแผ่นดินจีนตอนเหนือได้ทั้งหมด
ต่อมาภายหลัง โจโฉคิดตั้งตนเป็นวุยก๋ง แต่ซุนฮกไม่เห็นด้วย เพราะซุนฮกสำนึกดีว่าสิ่งที่โจโฉกระทำนั้นเป็นการเอิบเอื้อมต่อราชวงศ์ฮั่น จึงคัดค้าน ทำให้โจโฉไม่พอใจและส่งกล่องเปล่าไปให้ซุนฮก ซุนฮกเข้าใจความหมายว่าโจโฉไม่ต้องการตนอีกต่อไปแล้ว จึงดื่มยาพิษฆ่าตัวตาย
สำหรับนักอ่านท่านใดที่สนใจ สามารถติดตามอ่าน 'วิถีแห่งกุนซือซุนฮก' ในหนังสือพิมพ์ข่าวสด รวมทั้งเว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ ทั้งนี้เราได้นำตัวอย่างในตอนแรก 'คือ จางเหลียง ของ โจโฉ' มาให้อ่านกันด้วยครับ
คือ จางเหลียง ของ โจโฉ (1)
นามของซุนฮกปรากฏในยุทธนิยายสามก๊กฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในหน้า 189 ตอนที่ 8
ครั้นอยู่มาวันหนึ่ง ซุนฮก ผู้อา ซุนสิว ผู้หลาน ซึ่งอยู่กับอ้วนเสี้ยวจึงปรึกษากันว่า
"อ้วนเสี้ยวเป็นคนหยาบช้าเห็นเราจะอยู่ด้วยสืบไปนั้นมิได้ บัดนี้หัวเมืองฝ่ายตะวันออกนั้นโจโฉเป็นใหญ่ มีใจโอบอ้อมอารีแก่คนทั้งปวง เราพากันไปอยู่ด้วยจึงจะควร"
ซุนสิวผู้หลานเห็นด้วย จึงพากันหนีอ้วนเสี้ยวไปเข้าเกลี้ยกล่อมโจโฉ ณ เมืองกุนจิ๋ว
โจโฉเห็นซุนฮก ซุนสิว นั้นคมสัน เห็นจะมีสติปัญญา จึงหามาพูดจาแล้วตั้งไว้เป็น "ที่ปรึกษา"
ขณะที่สำนวน วรรณไว พัธโนทัย เนื้อความเดียวกันปรากฏในหน้า 151 ตอนที่ 10 หลังจากพระเจ้าเหี้ยนเต้โปรดแต่งตั้งให้โจโฉเป็น "ขุนพลผู้พิทักษ์ตะวันออก" โจโฉจึงยกไปตั้งอยู่ ณ แคว้นกุนจิ๋ว แล้วเกลี้ยกล่อมผู้มีสติปัญญาสามารถและผู้มีฝีมือในการรบไว้เป็นพวกมากมาย
ยังมีอาหลาน 2 คนมีสติปัญญาดีมาเข้าพวกด้วย
ผู้เป็นอาแซ่ซุน ชื่อฮก มีสมญาว่าเหวินลั่ว เป็นชาวเมืองเองฉวน เป็นบุตรของซุนคุน เดิมรับราชการอยู่กับอ้วนเสี้ยว
โจโฉดีใจมากพูดว่า "ท่านคือผู้สร้างชีวิตให้ข้าพเจ้า"
สำนวนแปล พญ.กัลยา สุพันธุ์วณิช ถอดออกมาว่า ที่เอี่ยนโจวเฉาเชาประกาศรับผู้มีความสามารถมีอาหลาน 2 คนมาเข้าด้วย เคยอยู่กับหยวนเส้ามาก่อน
เฉาเชาดีใจมากว่า "เจ้าคือจื่อฝางของข้า"
เมื่ออ่าน 3 สำนวนเปรียบเทียบกัน ความน่าสนใจมิได้อยู่ที่สำนวน เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ระบุความเห็นของโจโฉว่า "คมสัน เห็นจะมีสติปัญญา"
สำนวน วรรณไว พัธโนทัย ระบุคำโจโฉที่ว่า "ท่านคือผู้สร้างชีวิตให้ข้าพเจ้า"
ความกำกวมจากสำนวน เจ้าพระยาพระคลัง (หน) และสำนวน วรรณไว พัธโนทัย มาได้ความกระจ่างจากสำนวน พญ.กัลยา สุพันธุ์วณิช
"เจ้าคือ จื่อฝางของข้า"
พร้อมกับทำเชิงอรรถอธิบายด้วยว่า จื่อฝางเป็นชื่อเรียกของ "จางเหลียง" เสนาธิการของฮั่นเกาจู่หลิวปัง ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่น เป็น 1 ใน 3 ของผู้มีคุณูปการใหญ่หลวงต่อการตั้งราชวงศ์ฮั่น
ในที่นี้เป็นการบอกเป็นนัยๆ ว่าเฉาเชานั้นมีความมักใหญ่ใฝ่สูง
ไม่ว่าจะประโยคที่ว่า "ท่านคือผู้สร้างชีวิตให้ข้าพเจ้า" ไม่ว่าจะประโยคที่ว่า "เจ้าคือจื่อฝางของข้า" น่าจะเป็นส่วนที่เติมลงไปในภายหลัง
โดยปลายพู่กันของ "หลอกวนตง"
เท่ากับเอาบทบาทและความหมายของซุนฮกในภายหลังไปอธิบายในสถานการณ์เมื่อแรกที่ซุนฮกเข้าไปอยู่ในร่มเงาของโจโฉ หรือเฉาเชา
ตรงนี้จึงเท่ากับเป็น "หมุดหมาย" ให้กับนามของ "ซุนฮก"
ยิ่งหากศึกษาจากหนังสือ "ยอดกุนซือสามก๊ก" จากการเรียบเรียงและวิเคราะห์ของ กิตติ โล่ห์เพชรัตน์ ก็ยิ่งมองเห็นบทบาทและความหมาย
ซุนฮกนับเป็นกุนซือคนแรกๆ ของโจโฉ จึงเป็นที่ปรึกษาอาวุโส
มีวัยอ่อนกว่าโจโฉประมาณ 8 ปี โจโฉรักและไว้วางใจซุนฮกมากกว่าผู้ใด ถึงขนาดที่เคยเสี่ยงตายย้อนกลับไปช่วยซุนฮกเมื่อครั้งที่ลิโป้เผาเมือง ซึ่งไม่เคยมีกุนซือคนใดได้รับเกียรติเช่นนี้ และเป็นคนที่โจโฉอยากแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งสำคัญที่สุด
แต่ซุนฮกปฏิเสธ
มีครั้งหนึ่งที่โจโฉกับซุนฮกได้สนทนาแลกเปลี่ยนความเห็นกัน โจโฉถึงกับกล่าวขึ้นว่า "จื่อฝานของข้านั้นที่แท้ก็คือเจ้า"
จื่อฝาน หรือ จื่อฝาง เป็นชื่อรองของ "จางเหลียง" กุนซือคู่พระทัยของ "เล่าปัง"
ไม่ว่าโจโฉจะยกย่องซุนฮกว่า "เจ้าคือจื่อฝางของข้า" หรือ "จื่อฝานของข้านั้นที่แท้ก็คือเจ้า" หรือ "ท่านคือผู้สร้างชีวิตให้ข้าพเจ้า"
เมื่อนำมาร้อยเรียงก็จะเป็นคำอธิบายเช่นเดียวกับบทสรุปของพระเจ้าฮั่นโกโจในไซ่ฮั่นที่ว่า
"จางเหลียงรู้กลอุบายลึกซึ้ง คิดอ่านป้องกันภัยทั้งปวงไปถึงพันโยชน์"
หรือที่ อธิคม สวัสดิญาณ แปลออกมาเป็นสำนวนอย่างรวบรัดภายหลังว่า "ข้าไม่อาจเทียบกับจางเหลียงได้ในด้านวางแผนในกระโจมคว้าชัยพันลี้"
การชูนามของ "ซุนฮก" ไปวางอยู่ระนาบเดียวกับนามของ "จางเหลียง" ไม่ว่าจะโดยโจโฉ ไม่ว่าจะโดยพู่กันของหลอกวนตง
ล้วนทำให้ "ซุนฮก" มีความโดดเด่น
เพราะจางเหลียงมีส่วนในการให้คำปรึกษาต่อเล่าปังกระทั่งได้ชัยชนะเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่นในที่สุด ขณะที่กล่าวสำหรับซุนฮกเขาอยู่ในฐานะเป็นที่ปรึกษาหมายเลข 1 ของโจโฉ
ความสำเร็จและความล้มเหลวของโจโฉจึงมีความสัมพันธ์กับซุนฮก
รวมบทความ วิถีแห่งกุนซือซุนฮก
- คือ จางเหลียง ของ โจโฉ (1)
- เกิดในตระกูลใหญ่ มั่นคง (2)
- รากฐาน การศึกษา อบรม (3)
- จากเองฉวน มายังกิจิ๋ว (4)
- จากฮันฮก ไปอ้วนเสี้ยว (5)
- โจโฉ ดาวรุ่ง พุ่งแรง (6)
- เน้น หลักการ ความสามารถ (7)
- ทักท้วง ทัดทาน จากซุนฮก (8)
- ทำไม จึงต้อง ทัดทาน (9)
- รักษา ฐานที่มั่น โจโฉ (10)
- ถึงครา โอรสสวรรค์ อ่อนแอ (11)
- ขานรับ คำขอ ฮ่องเต้ (12)
- แนวรบ อ้วนเสี้ยว อ้วนสุด (13)
- โจโฉ ในจุดอันเป็นผู้นำ (14)
- โจโฉ เข้านคร ลั่วหยาง (15)
- ความคิด ย้าย เมืองหลวง (16)
- ชะตาต้าฮั่น กำลังจะหมด (17)
- ที่ปรึกษา หมายเลข 1 (18)
- กลศึก สองสิงห์ ชิงอาหาร (19)
- เมล็ดพันธุ์ ความหวาด ระแวง (20)
- โจโฉ ขยายผล กลยุทธ์ (21)
- กลยุทธ์ ไล่เสือ กินหมาป่า (22)
- เล่าปี่ ไปพึ่งพิง โจโฉ (23)
- กุยแก เห็นแย้ง ซุนฮก (24)
- ทิศทาง แนวร่วม โจโฉ (25)
- การข่าว ซุนฮก จากฮูโต๋ (26)
- ข่าวสาร ข้อมูล ซุนฮก (27)
- จุดดี จุดด้อย โจโฉ อ้วนเสี้ยว (28)
- ข้อเสีย 10 ข้อดี 10 (29)
- ท่าที สุขุม ซุนฮก (30)
- แผนลับ จับตัว ลิโป้ (31)
- พระปิตุลา นาม เล่าปี่ (32)
- ท่าที ต่อ พระปิตุลา เล่าปี่ (33)
- ฮ่องเต้ ป้อมค่าย โจโฉ (34)
- รอยร้าว ฮ่องเต้ โจโฉ (35)
- อุทาหรณ์ ชี้กวาง เป็นม้า (36)
- พระราชโองการ โลหิต (37)
- เสื้อ รัดเอว พระราชทาน (38)
- รวมพลัง กำจัด อ้ายโจโฉ (39)
- เล่าปี่ ร่วมกำจัด โจโฉ (40)
- เสพสุรา วิจารณ์ วีรบุรุษ (41)
- มังกร เล่าปี่ ลงทะเล (42)
- จากเล่าปี่ ไปยัง อ้วนเสี้ยว (43)
- ซุนฮก วิเคราะห์ อ้วนเสี้ยว (44)
- แผนลึก ก่อนศึก กัวต๋อ (45)
- ผลวิเคราะห์ อัน เฉียบคม (46)
- บทวิพากษ์ จาก ยีเอ๋ง (47)
- โวหาร ยีเอ๋ง ซุนฮก (48)
- กลยุทธ์ ยืมดาบ ฆ่ายีเอ๋ง (49)
- กุมดวงใจ เมินแขน ขา (50)
- ทัพโจโฉ เผด็จศึก เล่าปี่ (51)
- แผน เผด็จศึก กวนอู (52)
- แผนแยก กวนอู จากเล่าปี่ (53)
- กลยุทธ์ รั้งดึง กวนอู (54)
- ความระแวง ของ ซุนฮก (55)
- ศึกยืดเยื้อ จาก อ้วนเสี้ยว (56)
- ความยินดี โจโฉ เขาฮิว (57)
- สาส์น ซุนฮก จากฮูโต๋ (58)
- การศึก ย่อมมิหน่ายเล่ห์ (59)
- แผนซุนฮกฤๅ ซุนฮิว (60)
- จบสิ้น การศึก กัวต๋อ (61)
- คน "นอก" สว่าง คน "ใน" มืด (62)
- บทสรุป จาก เหมาเจ๋อตง (63)
- เป็นซุนฮก หรือเป็นซุนฮิว (64)
- น่าจะเป็นซุนฮิว มากกว่าซุนฮก (65)
- ดุลกำลัง ภาคเหนือ แปรเปลี่ยน (66)
- แนวหลัง ซุนฮก ไว้ใจได้ (67)
- คำสดุดี ซุนฮก จากโจโฉ (68)
- แนวคิดฟื้น 9 มณฑล (69)
- ซุนฮก เครือข่าย วงศ์วาน (70)
- สัมพันธ์ โจโฉ ซุนฮก แกร่ง (71)
- บทบาท ทักท้วง ทัดทาน (72)
- โครงสร้างใหม่ วุยก๊ก (73)
- เคลื่อนทัพใหญ่ ลงภาคใต้ (74)
- แพ้ศึก รำลึก ถึงกุยแก (75)
- ไฉน ถวิลหา อาวรณ์กุยแก (76)
- เหตุเกิด เมื่อปี ค.ศ.212 (77)
- โจโฉ ไม่พอใจ ซุนฮก (78)
- วาระ สุดท้าย ซุนฮก (79)
- ทำไม โจโฉ จึงโกรธ (80)
- บทแทรก จาก เผยซงจือ (81)
- จำแนก แจกแจง โจโฉ (82)
- โจโฉ กดบีบ ซุนฮก (83)
- มุมมอง ของ คึกฤทธิ์ ปราโมช (84)
- ประติมากรรม ของซุนฮก (85)
- คณะที่ปรึกษา ของ โจโฉ (86)
- บทบาท สร้าง ที่ปรึกษา (87)
- ตั้งหลัก เพื่อครอง แผ่นดิน (88)
- 3 นโยบายใหญ่ ซุนฮก (89)
- สัมพันธ์ โจโฉ ซุนฮก (90)
- บทบาท มอกาย ซุนฮก (91)
- เงื่อนงำ การตาย ซุนฮก (92)
- เปรียบเทียบ กุยแก ซุนฮก (93)
- ประเมิน บทบาท ซุนฮก (94)
- กรณี ลิโป้ กับ เตียวเมา (95)
- เปลือยซุนฮก เปลือยโจโฉ (96)
- ขุนนาง แห่ง ราชสำนักฮั่น (97)
- ไม่มี ซุนฮก คนที่ 2 (98)
- เส้นทางบุ๋น เส้นทางกุนซือ (99)
- ตัวตน ความเป็น ซุนฮก (100)
กรุณาแสดงความคิดเห็น