วิถีแห่งอำนาจโลซก คอลัมน์พิเศษในหนังสือพิมพ์ข่าวสด อันว่าจะกล่าวถึงประวัติความเป็นมา และวีรกรรมของที่ปรึกษาคนสำคัญแห่งอาณาจักรง่อก๊ก
โดย เสถียร จันทิมาธร
"การแสวงหา "สัจจะ" จาก "ความเป็นจริง" ในกรณีโลซก""เสถียร จันทิมาธร" สื่อมวลชนอาวุโส เริ่มต้นศักราชใหม่ด้วยบทความสามก๊ก "วิถีแห่งอำนาจ โลซก" คอลัมน์พิเศษในหนังสือพิมพ์ข่าวสด อันว่าจะกล่าวถึงประวัติความเป็นมา และวีรกรรมของที่ปรึกษาคนสำคัญแห่งอาณาจักรง่อก๊ก ผู้มีนามว่า "โลซก"
อาจารย์เสถียร ฯ เขียนบทความพิเศษในชุด "วิถีแห่งอำนาจ" มาแล้วหลายเรื่อง ผ่านการรวมเล่มมาแล้วก็หลายตอน ซึ่งในชุดที่เกี่ยวกับตัวละคร "สามก๊ก" นั้น ประกอบไปด้วย
"วิถีแห่งอำนาจ โลซก" จึงเป็น วิถีแห่งอำนาจสามก๊ก ชุดที่ 4 ที่ยึดมั่นในการนำเสนอเนื้อหาที่จุดประเด็น เจาะลึก และแถลงไข ในสิ่งที่ผู้อ่านสามก๊กไม่สามารถอ่านพบได้ในวรรณกรรม ซึ่งในส่วนของโลซกเองนั้น อ.เสถียร ฯ ได้เริ่มต้นบทความตอนที่ 1 ด้วยเรื่อง ไฉนจึงเป็น "ไอ้โลซก"
สำหรับนักอ่านที่สนใจ ก็สามารถติดตามอ่านได้ในหนังสือพิมพ์ข่าวสด และในเว็บไซต์ข่าวสดออนไลน์ ทั้งนี้ สามก๊กวิทยา ได้นำตัวอย่างบทความตอนที่ 1 ไฉนจึงเป็น "ไอ้โลซก" มาให้อ่านกันด้วยครับ
ไฉนจึงเป็น "ไอ้โลซก"
หากถือเอา โกวิท ตั้งตรงจิต เป็นนัก "สามก๊กวิทยา" ซึ่งยึดกุมแบบแผนจากต้นฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นบรรทัดฐาน
หนังสือ "สารานุกรมสามก๊ก" หน้า 352 ระบุว่า
โลซกเป็นคนมีจิตใจดี มีความยุติธรรม เคร่งครัดในศีลธรรมคำสัตย์ เห็นใจคนจน คนไร้อำนาจ หลังสงครามเซ็กเพ็กเล่าปี่กับขงเบ้งฉวยโอกาสทองยึดแคว้นเกงจิ๋วเอาไว้เป็นที่มั่น ซุนกวนให้โลซกทวงคืนก็ไม่สำเร็จดังใจ เพราะโลซกถกเถียงกับเล่าปี่ไม่ทันเกม ไม่มีวาทศิลป์ มีแต่ความซื่อและเห็นอกเห็นใจ
คนไทยชอบเอาคนว่าโลซกมาด่ากันว่าโง่เง่า
และเมื่อตอบ "1000 ปัญหาในสามก๊ก" เมื่อถึงปัญหาที่ 376 ในวงสนทนาระดับปัญญาชนทั้งคนจีนด้วยกันเองหรือคนไทยที่มีเชื้อสายจีนเขามีคำสบประมาทเพื่อนฝูงที่มีสติปัญญาน้อย พูดจาไม่ทันคน เล่นการพนันไม่ทันเกม เสียท่าคนอื่นง่ายๆ
หรือคนที่ซื่อจนกลายเป็นเซ่อว่า "ไอ้โลซก"
คำว่าโลซกซึ่งเป็นชื่อของ "ที่ปรึกษา" ราชการแผ่นดินของซุนกวน ประมุขแห่ง ก๊กง่อเลยกลายเป็นคำที่มีความหมายว่า "ไอ้โง่"
เหตุใด ทำไมหรือชื่อ "โลซก" จึงมีความหมายไปในทางโง่เง่าเต่าตุ่นได้ถึงเพียงนี้
คําตอบจาก โกวิท ตั้งตรงจิต คือ โลซกเป็นคนมีสติปัญญาความรู้ในระดับปริญญาตรี นี่สมมติเอานะครับ
ส่วนของจิวยี่คงระดับปริญญาโท
ขงเบ้งนั้นระดับปริญญาเอก และหลายสาขา เช่น วิชายุทธศาสตร์ การเมือง ประวัติศาสตร์ โหราศาสตร์ ดาราศาสตร์
ด้วยเหตุนี้ โลซกจึงเสียทีขงเบ้งทุกครั้งทุกคราวที่จิวยี่ใช้ให้ไปเจรจาความเมือง
ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาเมืองเกงจิ๋ว โลซกไปเจรจาครั้งใดก็ไม่สำเร็จถูกขงเบ้งใช้เล่ห์เพทุบายสารพัด เพราะความอ่อนหัดในการเจรจาของโลซก นักการทูตระดับปลายแถวก็เหมาะสมแล้วกับการให้สมญานามคนไม่ทันคนว่า "โลซก"
เช่นเดียวกับเว็บไซต์ "สามก๊กวิทยา" ได้ระบุว่า
วัยรุ่นไทยเมื่อสมัยสองพันห้า (พ.ศ.2500) ซึ่งเป็น กลุ่มคนที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมาจากช่วงสงคราม โลกและการปฏิวัติรัฐ ประหารที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง วัยรุ่นไทยสมัยนั้นจึงมีจิตใจกล้าแกร่งไม่กลัวใคร ใจนักเลง
อ่านทั้ง "สามก๊ก" และ "สามเกลอ พล นิกร กิมหงวน" และมีคำด่าตามประสาวัยรุ่นว่า "ไอ้โลซก" หมายความว่า "ซื่อจนเซ่อ"
กระนั้น หากคำนึงจากความเป็นจริงอันปรากฏในสามก๊กสำนวน เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ที่ว่า
โลซกเป็นคนปัญญาดี รอบรู้ เจ้าตำรา แม้ในยามออกศึกก็มีตำรับตำราติดมืออยู่ไม่ห่าง ทั้งยังมีวินัย ใจบุญ ไม่ยึดติดในทรัพย์ศฤงคาร และเห็นอกเห็นใจคนอื่นเสมอ
จึงเป็นเรื่อง "แปลก" อย่างชวนให้ "พิศวง"
ขณะเดียวกัน หากคำนึงจากความเป็นจริงที่โลซกได้รับความไว้วางใจอย่างสูงให้ดำรงตำแหน่งเป็น "แม่ทัพ" รับผิดชอบการทหารของก๊กง่อต่อจากจิวยี่
ยิ่งชวนให้พิศวงจนถึงขั้นงงงวย
การเข้าดำรงตำแหน่งเป็น "แม่ทัพ" ของโลซกมิได้เป็นเรื่องบังเอิญ ตรงกันข้าม เป็นการเสนอจากจิวยี่ก่อนเสียชีวิต และซุนกวนก็เห็นพร้อมด้วยความเต็มใจ
หากเทียบกับโครงสร้างทหารของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน โลซกก็คือประธานคณะเสนาธิการทหาร หากเทียบกับโครงสร้างทหารของกองทัพไทย โลซกย่อมดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารบังคับบัญชาทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ
การถูกมองและตีตราว่าเป็น "คนโง่เง่าเต่าตุ่น" จึงน่าสงสัย
น่าสงสัยในวิจารณญาณของซุนกวน น่าสงสัยในวิจารณญาณของจิวยี่ว่าตัดสินใจด้วยความรอบคอบและรัดกุมมากเพียงใด
การศึกษาและทำความเข้าใจกับเรื่องราวของโลซกจึงมีความสำคัญ ไม่เพียง เพราะว่าโลซกเข้ามามีส่วนร่วมในการค้ำจุนและเสริมสร้างอำนาจทางการเมือง การทหารให้กับก๊กง่อเท่านั้น
หากแต่ยังมีส่วนอย่างสำคัญในศึกเซ็กเพ็ก
หากแต่ยังมีส่วนอย่างสำคัญในกรณีของเกงจิ๋วที่ยืดเยื้อและยาวนานจากยุคศึก เซ็กเพ็กกระทั่งยุคศึกอิเหลงอันมีส่วนในการสิ้นไปของเล่าปี่ ด้วยฝีมือและการวางแผนอย่างแยบยลของแม่ทัพลกซุนผู้เยาว์วัยอีกด้วย
การแสวงหา "สัจจะ" จาก "ความเป็นจริง" ในกรณีโลซกจึงทรงความหมาย
เสถียร จันทิมาธร
รวมบทความ "วิถีแห่งอำนาจ โลซก"
- ไฉนจึงเป็น "ไอ้โลซก" (1)
- เงาสะท้อน ล่อกวนตง (2)
- เกิดจาก ตระกูล มั่งคั่ง (3)
- โลซก ในยุค ซุนเซก (4)
- ภาพโลซก ก่อนค.ศ.200 (5)
- อ่านซุนกวน ผ่านจิวยี่ (6)
- ซุนกวน แรกพบ โลซก (7)
- แนวทาง นโยบาย บนยี่ภู่ (8)
- ยุทธศาสตร์ กังตั๋ง ของโลซก (9)
- จูกัดกิ๋น กับ จูกัดเหลียง (10)
- ท่าที โจโฉ ต่อ กังตั๋ง (11)
- โจโฉ ขยาย อำนาจ (12)
- คณะที่ปรึกษา ซุนกวน (13)
- ปราบหองจอ ตามยุทธศาสตร์ (14)
- สัมพันธ์ เล่าปี่ เล่าเปียว (15)
- ท่าที เล่าปี่ ต่อเกงจิ๋ว (16)
- จูกัดเหลียง เป็นใคร (17)
- การศึก ทุ่งพกบ๋อง (18)
- โจโฉ กลืน แคว้นเกงจิ๋ว(19)
- ถึงเวลา โลซก สำแดง (20)
- ท่าที เล่าปี่ ซุนกวน (21)
- ท่วงท่า เล่าปี่ ขงเบ้ง(22)
- มุมมอง จาก “ยาขอบ” (23)
- สาส์นโจโฉ ถึงซุนกวน (24)
- ข้อเสนอให้ยอมจำนน (25)
- คำโต้แย้ง จากโลซก (26)
- ความนัย ลึกซึ้ง โลซก (27)
- ถล่มเหล่าเมธี ด้วยฝีปาก (28)
- เหตุผล ของแต่ละเมธี (29)
- แรกซุนกวน พบขงเบ้ง (30)
- กระบวนท่า เจรจา ยั่วยุ (31)
- ความอดทน ของโลซก (32)
- ซุนกวน โกรธง่าย หายเร็ว (33)
- รูปแห่ง การเมือง 3 เส้า (34)
- ซุนกวน โลเล ไม่แน่ใจ (35)
- คำตอบ อยู่ที่ จิวยี่ (36)
- จิวยี่ ก็คิด ยอมจำนน (37)
- ท่าทีเทียเภา ท่าทีลิบอง (38)
- โลซก ผิดหวัง จิวยี่ (39)
- เสือจิวยี่ ปะสิงห์ขงเบ้ง (40)
- โฉมสะคราญ แห่งกังตั๋ง (41)
- กวีนิพนธ์ ของ โจสิด (42)
- สามก๊ก กับ ความเป็นจริง (43)
- ความสำเร็จ ของ ขงเบ้ง (44)
- จิวยี่ เข้าพบ ซุนกวน (45)
- คำประกาศ ของ จิวยี่ (46)
- เด็ดเดี่ยว จาก ซุนกวน (47)
- จิวยี่ คิดกำจัด ขงเบ้ง (48)
- กำลังซุนกวน กำลังเล่าปี่ (49)
- โลซก ระหว่าง เขาควาย (50)
- บทบาท ประสาน แนวร่วม (51)
- พรางเรือ ยืมเกาทัณฑ์ (52)
- กลยุทธ์ เผากองทัพ โจโฉ (53)
- คล้องเรือ ด้วยโซ่ เหล็ก (54)
- ศาลาเจ็ดดาว เรียกลมฝน (55)
- ยึดลำกุ๋น กะ ซงหยง (56)
- โลซก ทวงคืน เกงจิ๋ว (57)
- กรณีเล่าปี่ ยืมเกงจิ๋ว (58)
- ตำบล กระสุนตก โลซก (59)
- อันเนื่อง แต่ศึกผาแดง (60)
- เกงจิ๋ว ยุทธภูมิสัญจร (61)
- ไฉน ปฏิเสธ บังทอง (62)
- 2 คน 2 คม โลซก บังทอง (63)
- กรณีบังทอง สะท้อนโลซก (64)
- เกงจิ๋ว หลังยุค ขงเบ้ง (65)
- จูกัดกิ๋น ทวงคืน เกงจิ๋ว (66)
- แผนลับ โลซก กวนอู (67)
- ผ้าโพกศีรษะเขียว กวนอู (68)
- สนทนา หน้าเหล้า หน้าข้าว (69)
- โลซก ในกำมือ กวนอู (70)
- ยุทธศาสตร์กังตั๋ง โลซก (71)
- แคว้นจก ยอมคาย 3 เมือง (72)
- กลยุทธ์ ล้อมเว่ย ช่วยจ้าว (73)
- วาระสุดท้าย ของ โลซก (74)
- ประเมิน ยุทธศาสตร์กังตั๋ง (75)
- การรุกลงใต้ ของโจโฉ (76)
- จิวยี่ โลซก ขงเบ้ง 3 พลัง (77)
- ใครเป็นใคร ในศึกผาแดง (78)
- ยุคสามก๊ก หลังศึกผาแดง (79)
- ทำไมต้อง “ยืม” เกงจิ๋ว (80)
- ตำแหน่ง ที่ตั้ง เกงจิ๋ว (81)
- วิถีโลซก เส้นทางเกงจิ๋ว (82)
- นิยาย เชิง ประวัติศาสตร์ (83)
- ความเป็นจริง หลอกว้านจง (84)
- สามก๊ก พัฒนาการ ของจีน (85)
- วีรชน ก่อเกิด ในกลียุค(86)
- ยืมเกาทัณฑ์ ด้วยเรือฟาง (87)
- ท่วงทำนอง ขงเบ้ง โลซก (88)
- ตำราพิชัยสงคราม สามก๊ก (89))
- โลซก จากมุม ฮว่อยี่เจีย (90)
- มองต่างมุม หลอกว้านจง (91)
- 2 ท่าที ซุนกวน โลซก (92)
- วาระ สุดท้าย ของโลซก (93)
- โลซก สถานะ "เหยื่อ" (94)
- โตในยุค โจรโพกผ้าเหลือง (95)
- จากเซ็กเพ็ก ถึงเกงจิ๋ว (96)
- ไปกับ ยุทธศาสตร์กังตั๋ง (97)
- ขงเบ้ง เปรียบเทียบ โลซก (98)
กรุณาแสดงความคิดเห็น